สามัคคีเภทคำฉันท์


ผู้สอน
นางสาว ดาราภรณ์ วังขุนพรหม
เข้าสู่ระบบเมื่อ ประมาณ 10 ปี ที่แล้ว

ชื่อวิชา
สามัคคีเภทคำฉันท์

รหัสวิชา
10198

สถานศึกษา
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช

คำอธิบายวิชา
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ ๗ “สามัคคีเภทคำฉันท์”

หน่วยการเรียนรู้ที่ ๗ เรื่อง “สามัคคีเภทคำฉันท์”

เวลา ๕ ชั่วโมง

๑. เป้าหมายการเรียนรู้

๑.๑ ผลการเรียนรู้

๑) อ่านออกเสียงบทร้อยกรองประเภทฉันท์

๒) วิเคราะห์วิจารณ์วรรณคดีและวรรณกรรม ตามหลักการวิจารณ์วรรณคดีเบื้องต้น

๑.๒ จุดประสงค์การเรียนรู้

๑) บอกเล่าประวัติผู้แต่ง ที่มาของเรื่อง เนื้อเรื่อง และนำไปใช้เป็นข้อมูลในการศึกษาวรรณกรรม

๒) อ่านออกเสียงบทร้อยกรองประเภทฉันท์ได้ถูกต้อง

๓) อธิบายรูปแบบคำประพันธ์ประเภทฉันท์และกลวิธีการแต่ง

๔) วิเคราะห์อุปนิสัยและพฤติกรรมของตัวละครทุกเรื่องที่อ่านและนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตจริง

๕) บอกคุณค่าของเรื่องที่อ่านในด้านวรรณศิลป์และจริยธรรมได้

๒. สาระสำคัญ

๒.๑ สาระการเรียนรู้

๑) ประวัติผู้แต่ง

๒) เนื้อเรื่องย่อ

๓) ลักษณะคำประพันธ์

๔) กลวิธีการประพันธ์

๕) ลักษณะอุปนิสัยและพฤติกรรมของตัวละคร

๖) คุณค่างานประพันธ์

๗) บทประพันธ์เรื่อง สามัคคีเภทคำฉันท์

๒.๒ ทักษะกระบวนการ

๑) ทักษะกระบวนการตามธรรมชาติวิชา

การอ่าน การเขียน การพูด

๒) ทักษะกระบวนการทั่วไป

กระบวนการทำงานกลุ่ม กระบวนการสังเกต กระบวนการสร้างความตระหนัก กระบวนการปฏิบัติ

๓) ทักษะการคิด

ทักษะการเก็บความรู้ ทักษะการสรุปย่อ ทักษะการคิดวิเคราะห์ ทักษะการใช้ความรู้ ทักษะการอธิบาย ทักษะการทำความกระจ่าง

๓. ร่องรอยการเรียนรู้

๓.๑ ผลงาน / ชิ้นงาน ได้แก่

๑) การนำเสนอผลงานในใบงาน

๒) ผลงานการรวบรวมเว็บไซต์วรรณคดี

๓.๒ กระบวนการขั้นตอนการปฏิบัติงาน ได้แก่

๑) การตอบคำถามเกี่ยวกับประวัติผู้แต่งและความรู้เกี่ยวกับเรื่อง

๒) การอ่านคำประพันธ์ประเภทฉันท์

๓) การอธิบายรูปแบบคำประพันธ์ประเภทฉันท์และกลวิธีการประพันธ์

๔) การวิเคราะห์อุปนิสัยและพฤติกรรมของตัวละคร

๕) การบอกคุณค่าของเรื่องที่อ่าน

๖) การพูดรายงานเรื่องวรรณคดีต่างประเทศ

๓.๓ พฤติกรรมลักษณะพึงประสงค์

รู้คุณค่าวรรณคดีไทย ความรับผิดชอบ และมีส่วนร่วมในการทำงานกลุ่ม

๓.๔ ความรู้ความเข้าใจ

ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเนื้อหาของหน่วยการเรียน

๔. แนวทางการวัดผลและประเมินผล

๑. สังเกตพฤติกรรมการเรียน

๒. ประเมินผลงานกลุ่ม

๓. ทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลัง เรียน

๑. แบบสังเกตพฤติกรรมการเรียน

๒. แบบประเมินผลงานกลุ่ม

๓.แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทาง การเรียนหลังเรียน

เกณฑ์ผ่านขั้นต่ำ

๑. ได้ระดับ “พอใช้” ขึ้นไป

๒. ได้ระดับ “พอใช้” ขึ้นไป

๓. ได้คะแนนรวมร้อยละ ๕๐

ขึ้นไป

การสรุปผลการประเมิน

ต้องผ่านเกณฑ์ขั้นต่ำทั้ง ๓ รายการ

๕. กิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อการเรียนรู้

๕.๑ ขั้นนำ นักเรียนร่วมกันอภิปรายเรื่องความสามัคคีว่ามีความสำคัญต่อความสงบสุขและความมั่นคงของประเทศชาติ จากนั้นให้นักเรียนช่วยกันระดมความคิดเกี่ยวกับประโยชน์ของความสามัคคี

๕.๒ ขั้นสอน

ตอนที่ ๑ อ่านและทบทวนเกี่ยวกับเรื่อง

๑. นักเรียนร่วมกันร้องเพลงสยามานุสติ พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวจากแผ่นใสหรือสไลด์

๒. นักเรียนช่วยกันสรุปความหมายของคำว่า “สามัคคีคือพลัง” และช่วยกันสรุปว่าการแตกความสามัคคีจะมีผลอย่างไร

๓. นักเรียนอ่านประวัติผู้แต่งและเนื้อเรื่องย่อ จากหนังสือเรียน

๔. ครูทบทวนความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับประวัติผู้แต่ง โดยตั้งคำถามให้นักเรียนตอบ เช่น

- นายชิตมีนามสกุลเดิมว่าอะไร เหตุใดจึงเปลี่ยนนามสกุลเป็น “บุรทัต”

- นายชิตมีความสามารถในการแต่งคำประพันธ์ประเภทใดเป็นพิเศษ

- ผลงานของนายชิตนอกจากเรื่อง “สามัคคีเภทคำฉันท์” มีอะไรอีกบ้าง

- สามัคคีเภทคำฉันท์มีคุณค่าอย่างไร

๕. ครูอธิบายเพิ่มเติมและให้นักเรียนปฏิบัติกิจกรรม ๑ ในหนังสือเรียน

๖. ครูตรวจคำตอบของนักเรียน แก้ไข ติชม และอธิบายให้ชัดเจนยิ่งขึ้น

ตอนที่ ๒ รูปแบบของคำประพันธ์ วิเคราะห์อุปนิสัยและพฤติกรรมของตัวละคร ประเมินคุณค่าในด้านวรรณศิลป์และจริยธรรม

๑. ครูฝึกให้นักเรียนอ่านคำประพันธ์ประเภทฉันท์จากแผ่นใสหรือสไลด์โดยให้นักเรียนอ่านเป็นทำนองเสนาะ

๒. นักเรียนอธิบายคำศัพท์ ช่วยกันถอดความคำประพันธ์เป็นร้อยแก้วแล้วจับใจความสำคัญ (ย่อความ)

๓. ครูและนักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็น ครูอธิบายเพิ่มเติมให้ชัดเจนยิ่งขึ้น

๔. นักเรียนแบ่งกลุ่มออกเป็น ๖ กลุ่ม ให้แต่ละกลุ่มอ่านศึกษาเนื้อเรื่องตามที่กำหนดให้ และให้ตัวแทนกลุ่มแต่ละกลุ่มรับใบงานและปฏิบัติกิจกรรมตามที่กำหนดไว้ในใบงาน

๕. ครูและนักเรียนร่วมแสดงความคิดเห็นการนำเสนอผลงานของแต่ละกลุ่ม

ทักษะการใช้ความรู้

ทักษะการสรุปย่อ

ทักษะการเก็บความรู้

ทักษะการคิดวิเคราะห์

ทักษะการใช้ความรู้

ทักษะการทำความกระจ่าง

ทักษะการอ่าน

ทักษะการอธิบาย

ทักษะการคิดวิเคราะห์

ทักษะการใช้ความรู้

ทักษะการทำความกระจ่าง

กิจกรรมการเรียนการสอน ฝึกทักษะการคิดแบบ
๖. ครูและนักเรียนร่วมกันแก้ไข ติชม และตรวจผลงานกลุ่มตามแบบประเมินผลที่ให้มา

๗. นักเรียนทำกิจกรรมตรวจสอบความเข้าใจ กิจกรรม ๒ และ ๓ ในหนังสือเรียน

๘. ครูตรวจผลงาน แก้ไข ติชม และอธิบายเพิ่มเติมให้ชัดเจนยิ่งขึ้น

-

ทักษะการใช้ความรู้

ทักษะการทำความกระจ่าง

๕.๓ ขั้นสรุป

๑) นักเรียนและครูร่วมกันสรุปตามประเด็น ดังนี้

(๑) ประวัติผู้แต่ง และเนื้อเรื่องย่อ

(๒) รูปแบบคำประพันธ์ประเภทฉันท์ และกลวิธีการประพันธ์

(๓) การวิเคราะห์อุปนิสัยและพฤติกรรมของตัวละคร นำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตจริง

(๔) คุณค่าของเรื่องในด้านวรรณศิลป์และด้านคุณธรรมจริยธรรม

๒) ครูแจ้งผลการปฏิบัติงานของนักเรียนและให้ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม

๖. สื่อการเรียนรู้/แหล่งเรียนรู้

๖.๑ สื่อการเรียนรู้

๑) หนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ ภาคเรียนที่ ๑

๒) แผ่นใสหรือสไลด์เพลงสยามานุสติ พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

๓) แผ่นใสหรือสไลด์คำประพันธ์ประเภทฉันท์

๔) ใบงาน

๖.๒ แหล่งเรียนรู้

๑) ห้องสมุดโรงเรียน

๒) ห้องสมุดภาษาไทย

๓) ห้องสมุดประชาชน

๔) หอสมุดแห่งชาติ

๕) แหล่งเรียนรู้ทางอินเทอร์เน็ต

- http://www.gotoknow.org/blogs/posts/406381

. กิจกรรมเสนอแนะ

๗.๑ กิจกรรมส่งเสริมการอ่านเชิงวิเคราะห์ ประกอบด้วยขั้นตอน ดังนี้

ขั้นรวบรวมข้อมูล

นักเรียนรวบรวมวรรณคดีเรื่องราวต่างๆ ที่นักเรียนสนใจ

ขั้นวิเคราะห์

นักเรียนฝึกวิเคราะห์และจำแนกข้อเท็จจริงและข้อคิดเห็น ข้อแสดงอารมณ์ ความรู้สึก จากวรรณคดีที่เตรียมไว้

ขั้นสรุป

นักเรียนสรุปสาระสำคัญและข้อคิดของวรรณคดีเรื่องราวต่างๆ ที่ได้เตรียมไว้

ขั้นประยุกต์ใช้

นักเรียนนำข้อคิดจากวรรณคดีเรื่องราวต่างๆ ที่ได้รวบรวมมานั้นมาประยุกต์ใช้ในชีวิตจริง

๗.๒ กิจกรรมการบูรณาการ

กิจกรรมที่ ๑

ครูสามารถบูรณาการการเรียนรู้กับกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ สาระที่ ๓ : ภาษากับความสัมพันธ์กับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น โดยให้นักเรียนปฏิบัติกิจกรรม ดังนี้

ภาระงาน “ศึกษาค้นคว้าหาความรู้เกี่ยวกับวรรณคดีต่างประเทศ”

การบูรณาการ ท ๓.๑, ท ๕.๑ และ ต ๓.๑

จุดประสงค์การเรียนรู้ พูดอธิบายความรู้และลักษณะวรรณคดีต่างประเทศ

ผลงานที่ต้องการ พูดรายงานเรื่องวรรณคดีต่างประเทศ

ขั้นตอนการทำงาน

๑. กำหนดให้นักเรียนศึกษาค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับวรรณคดีต่างประเทศที่ตนสนใจ โดยบอกชื่อผู้แต่ง เนื้อเรื่องย่อ ข้อคิดและคุณค่าที่ได้จากเรื่อง คนละ ๑ เรื่อง

๒. รวบรวมและเรียบเรียงความรู้เกี่ยวกับวรรณคดีต่างประเทศ

๓. พูดเสนอผลงานหน้าชั้นเรียน

เกณฑ์การประเมิน

๑. ความถูกต้องครบถ้วนสมบูรณ์

๒. ความประณีต เรียบร้อย ถูกต้องตามรูปแบบและหลักเกณฑ์

๓. ความน่าสนใจในการนำเสนอ

กิจกรรมที่ ๒

ครูสามารถบูรณาการการเรียนกับกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี สาระที่ ๔ : เทคโนโลยีสารสนเทศ โดยให้นักเรียนศึกษาสื่ออิเล็กทรอนิกส์จากของจริง และให้นักเรียนปฏิบัติกิจกรรม ดังนี้

ภาระงาน “รวบรวมเว็บไซต์ที่ให้ความรู้เกี่ยวกับวรรณคดี”

การบูรณาการ ท ๕.๑ และ ง ๔.๑

จุดประสงค์การเรียนรู้รวบรวมเว็บไซต์ให้ความรู้เกี่ยวกับวรรณคดีได้

ผลงานที่ต้องการ เว็บไซต์ที่ให้ความรู้เกี่ยวกับวรรณคดี

ขั้นตอนการทำงาน

๑. กำหนดให้นักเรียนเลือกสืบค้นข้อมูลจากอินเทอร์เน็ต

๒. นักเรียนนำผลงานการสืบค้นมาจัดทำเป็นสมุดคู่มือการสืบค้นแหล่งเรียนรู้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพในการอ่านวรรณคดีประเภทต่างๆ

๓. นำผลงานการศึกษาค้นคว้าดังกล่าวนำเสนอหน้าชั้นเรียน

เกณฑ์การประเมิน

๑. ความถูกต้องครบถ้วนสมบูรณ์ของข้อมูลที่ค้นคว้ามานำเสนอ

๒. ความประณีตเรียบร้อย

๓. ความน่าสนใจในการนำเสนอ


ClassStart ให้บริการฟรีโดย บริษัท ปิยะวัฒนา จำกัด
เราเป็นกิจการเพื่อสังคม (Social Enterprise)
สนับสนุนโดย
ผู้ไม่ประสงค์ออกนามท่านหนึ่ง (2563-2566)
มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์ (2561-2563)
กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (2557-2558)
กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (2557)
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (2554-2558)
GotoKnow
ClassStart Books