สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ม.4/1-4/5


ผู้สอน
สถาพร อ่อนโนนเขวา
เข้าสู่ระบบเมื่อ มากกว่า 9 ปี ที่แล้ว

ชื่อวิชา
สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ม.4/1-4/5

รหัสวิชา
11585

สถานศึกษา
โรงเรียนคำชะอีวิทยาคาร

คำอธิบายวิชา

บทที่ 1 สังคมของเรา

บทที่ 1 สังคมของเราสาระการเรียนรู้1.โครงสร้างสังคม

-การจัดระเบียบทางสังคม

-สถาบันทางสังคม

2.การขัดเกลาทางสังคม

3.การเปลี่ยนแปลงทางสังคม

4.การแก้ปัญหาและแนวทางการพัฒนาสังคม

โครงสร้างทางสังคม

โครงสร้างทางสังคม คือ ระบบความสัมพันธ์ของกลุ่มคนในสังคม ที่มารวมตัวกันเป็นกลุ่มสังคม

1.กลุ่มปฐมภูมิ หมายถึง กลุ่มสังคมที่มีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดสนิทสนมกัน

2.กลุ่มทุติยภูมิ หมายถึง กลุ่มสังคมที่มีความสัมพันธ์กันแบบเป็นทางการ

การจัดระเบียบสังคม

การจัดระเบียบทางสังคม หมายถึง กระบวนการทางสังคมที่จัดขึ้นเพื่อควบคุมสมาชิกให้มีความสัมพันธ์กันภายใต้แบบแผนและกฎเกณฑ์เดียวกัน

สาเหตุของการจัดระเบียบสังคม

1.เพื่อให้การติดต่อสัมพันธ์เป็นไปปอย่างเรียบร้อย

2.เพื่อป้องกันความขัดแย้งระหว่างสมาชิกในสังคม

3.ช่วยให้สังคมดำรงอยู่อย่างสงบสุข

องค์ประกอบของการจัดระเบียบทางสังคม

1.บรรทัดฐานทางสังคม คือ แบบแผน กฎเกณฑ์ ข้อบังคับ ในการปฏิบัติซึ่งเป็นสิ่งที่สังคมยอมรับ

1.1 วิถีประชาหรือวิถีชาวบ้าน คือ แบบแผนความประพฤติที่สมาชิกปฏิบัติด้วยความเคยชิน

1.2 จารีต คือ แบบแผนความประพฤติที่สมาชิกประพฤติปฏิบัติอย่างเคร่งครัด

1.3 กฎหมาย คือ กฎเกณฑ์หรือข้อบังคับที่รัฐบัญญัติขึ้นเป็นลายลักษณ์อักษร

2.สถานภาพ คือ ตำแหน่งของบุคคลที่สังคมกำหนดขึ้น

ลักษณะของสถานภาพ

1)เป็นสิ่งเฉพาะบุคคลที่ทำให้แตกต่างไปจากผู้อื่น

2)บุคคลหนึ่งอาจมีหลายสถานภาพ

3)เป็นสิทธิและหน้าที่ทั้งหมดที่บุคคลมีอยู่ในการติดต่อกับผู้อื่น

4)เป็นตัวกำหนดว่าบุคคลนั้นมีหน้าที่และความรับผิดชอบอย่างไรในสังคม

สถานภาพ แบ่งออกเป็น 2ประเภท คือ

1)สถานภาพที่ติดตัวมาโดยสังคมเป็นผู้กำหนด

2)สถานภาพที่ได้มาภายหลังโดยความสามารถ

3. บทบาท หมายถึง การปฎิบัติตามหน้าที่และการแสดงพฤติกรรมตามสถานภาพ

4. การควบคุมทางสังคม คือ กระบวนการต่างๆ ทางสังคม ที่มุ่งหมายให้สมาชิกของสังคมยอมรับและปฏิบัติตามบรรทัดฐานทางสังคม

สถาบันทางสังคม

สถาบันทางสังคม หมายถึง แบบแผนในการคิด การกระทำที่คนในสังคมยึดถือ ยอมรับและปฏิบัติกันมาภายใต้กฎเกณฑ์ทางสังคม

ประเภทและบทบาทหน้าที่ของสถาบันสังคม

1.สถาบันครอบครัว

สถาบันทางสังคม เป็นสถาบันพื้นฐานของสังคมไทย ซึ่งเกิดจากกลุ่มคนตั้งแต่สองคนขึ้นไปมีความสัมพันธ์กันทางสมรส ทางสายโลหิต

หน้าที่ของสถาบันครอบครัว

1)สร้างสรรค์สมาชิกใหม่ให้แก่สังคม

2)เลี้ยงดูและอบรมสมาชิกของครอบครัว

3)อบรมสั่งสอนให้รู้ระเบียบแบบแผนและโครงสร้างของสังคม

4)ให้ความรักและความอบอุ่นด้วยความบริสุทธิ์ใจ

5)กำหนดสถานภาพทางสังคมให้แก่สมาชิก เพื่อให้สมาชิกแต่ละคนเรียนรู้บทบาทของตนในด้านต่างๆ

2.สถาบันการศึกษา

สถาบันการศึกษา เป็นสถาบันที่จำเป็นสำหรับการพัฒนามนุษย์ต่อจากสถาบันครอบครัว โดยให้การศึกษาแก่สมาชิกในสังคม มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้สมาชิกในสังคมเป็นบุคคลที่มีคุณภาพ มีความรู้ความสามารถ มีคุณธรรม จริยธรรม

หน้าที่ของสถาบันการศึกษา

1)ให้ความรู้ ความสามารถ และทักษะแก่บุคคล

2)อบรมสมาชิกให้มีคุณธรรม จริยธรรม

3)สอนและฝึกอาชีพให้แก่สมาชิก

4)อนุรักษ์และส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม

5)เป็นแหล่งความรู้ที่สำคัญเพื่อการพัฒนาและถ่ายทอดความรู้ให้แก่สมาชิก

3.สถาบันศาสนา

สถาบันศาสนา เป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมก่อให้เกิดแบบแผนหรือแนวทางในการปฏิบัติตนของสมาชิกซึ่งประกอบด้วยความเชื่อ ความรู้สึกทางอารมณ์

สถาบันศาสนามีรูปแบบที่สำคัญ ได้แก่ พิธีกรรม หลักความเชื่อ หลักธรรมคำสอน

หน้าที่สำคัญของศาสนา

1)จัดประเพณีและวัฒนธรรมทางศาสนา

2)อบรมศีลธรรมให้แก่สมาชิกของสังคม

3)เป็นพื้นฐานสำคัญของอำนาจรัฐ

สถาบันการเมืองการปกครอง

สถาบันการเมืองการปกครอง เป็นสถาบันที่กำหนดบทบาทในการจัดการทางสังคม

หน้าที่ของสถาบันการเมืองการปกครอง

1)ให้หลักประกันในเรื่องสิทธิและเสรีภาพแก่สมาชิกของสังคม

2)ป้องกันและระงับข้อพิพาท สร้างความยุติธรรมระหว่างสมาชิก

3)รักษาความมั่นคงและความสงบเรียบร้อยของสังคม

4)ป้องกันสมาชิกไม่ให้ถูกรุกรานจากภายนอก

สถาบันเศรษฐกิจ

สถาบันเศรษฐกิจเป็นสถาบันเศรษฐกิจสถาบันที่สนองความต้องการของสมาชิกในด้านปัจจัยสี่สถาบันเศรษฐกิจ

หน้าที่ของสถาบันเศรษฐกิจ

1)จัดสรรและกระจายทรัพยากรทางเศรษฐกิจ เพื่อสนองความต้องการของสมาชิก

2)พัฒนาและสร้างความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจให้มีประสิทธิภาพ

3)ช่วยเหลือในการบริโภคให้เป็นไปได้อย่างพอเพียงและทั่วถึง

4)ให้ความเป็นธรรมแก่ผู้ผลิตและผู้บริโภค

5)เป็นองค์ประกอบที่สำคัญเป็นรากฐานของบ้านเมือง


การขัดเกลาทางสังคม

การขัดเกลาทางสังคม เป็นกระบวนการทางสังคมที่เกิดขึ้นพร้อมกับกระบวนการทางจิตวิทยาที่จะทำให้สมาชิกในสังคมได้เรียนรู้ ยอมรับค่านิยม กฎเกณฑ์ วัฒนธรรม ระเบียบแบบแผนที่สังคมได้กำหนดไว้เพื่อให้บุคคลสามารถพัฒนาบุคลิกภาพและปรับตัวให้เป็นสมาชิกในสังคม

จุดมุ่งหมาย

1)เพื่อให้รู้จักบทบาทต่างๆ ในสังคม

2)เพื่อปลูกฝังระเบียบวินัย

3)เพื่อปลูกฝังความมุ่งมั่นตั้งใจ

4)เพื่อให้สมาชิกในสังคมเกิดความชำนาญและเพิ่มทักษะในการทำกิจกรรมร่วมกับผู้อื่นในสังคม

วิธีการขัดเกลาทางสังคม

1)การขัดเกลาทางตรง เป็นการชี้แนะแนวทางให้บุคคลประพฤติปฏิบัติตามกฎระเบียบที่กลุ่มสังคมกำหนดไว้ให้ถูกต้องเหมาะสม

2)การขัดเกลาทางอ้อม เป็นการขัดเกลาซึ่งบุคคลจะประพฤติตามจากการสังเกตหรือเรียนรู้จากการกระทำ

ตัวแทนของการขัดเกลาสังคม

1)ครอบครัว ครอบครัวมีบทบาทในการอบรมสั่งสอนเด็กมากที่สุด

2)ครูอาจารย์ เป็นบุคคลที่มีความใกล้ชิดกับเด็กและมีหน้าที่โดยตรงในการอบรมสั่งสอนสมาชิกในสังคมให้มีความรู้และรู้จักกฎเกณฑ์ วัฒนธรรมต่างๆ ของสังคม

3)กลุ่มเพื่อน กลุ่มเพื่อนจะมีอิทธิพลต่อการขัดเกลาทางสังคมในวัยรุ่นเป็นอย่างมาก เนื่องจากวัยรุ่นมักเชื่อเพื่อน และนิยมทำสิ่งต่างๆ ตามกัน

4)กลุ่มเพื่อนร่วมร่วมอาชีพ เมื่อบุคคลประกอบอาชีพก็จะต้องพบปะผู้คนและมีเพื่อนประกอบอาชีพเดียวกันหรือเพื่อนร่วมงาน

5)สื่อมวลชน ปัจจุบันสื่อมวลชนมีอิทธิพลต่อบุคคลทุกเพศทุกวัย เนื่องจากสื่อมวลชนสามารถเข้าถึงบุคคลได้โดยผ่านจากสื่อทางวิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์

6)กลุ่มทางศาสนา พระสงฆ์ นักบวช ผู้เผยแผ่หลักธรรมศาสนามีส่วนสำคัญในการขัดเกลาทางสังคม


การเปลี่ยนแปลงทางสังคม

การเปลี่ยนแปลงทางสังคมหมายถึง การเปลี่ยนแปลงทางสังคม ระบบสังคม กระบวนการ ได้เปลี่ยนแปลงไป

ไม่ว่าจะเป็นด้านใดก็ตาม การเปลี่ยนแปลงทางสังคมนี้อาจจะเป็นไปในทางก้าวหน้าหรือถดถอย

ปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคม

1.ปัจจัยภายใน

1.1สิ่งแวดล้อมทางกายภาพ

สภาพทางภูมิศาสตร์ เป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยกำหนดการจัดระเบียบและสภาพต่างๆ ในสังคม

1.2การเปลี่ยนแปลงด้านประชากร

2.ปัจจัยภายนอก

2.1 สังคมที่อยู่โดดเดี่ยวและสังคมที่มีการติดต่อสมาคม

2.2 โครงสร้างของสังคมและวัฒนธรรม

2.3 ทัศนคติและค่านิยมเฉพาะของสังคม

2.4 ความต้องการรับรู้สิ่งใหม่ๆ

2.5 พื้นฐานทางวัฒนธรรม

รูปแบบการเปลี่ยนแปลงทางสังคม

1.การเปลี่ยนแปลงแบบเส้นตรง โดยเปลี่ยนแปลงจากสังคมที่มีความเจริญของอารยธรรมขั้นต่ำไปสุ่สังคมที่มีความเจริญของอารยธรรมระดับสูงขั้นต่อไป

2.การเปลี่ยนแปลงแบบวัฏจักรเป็นการเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่ไม่มีความสม่ำเสมอ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงลักษณะนี้เมื่อสังคมมีความเจริญถึงจุดสูงสุดแล้ว ก็จะค่อยๆ เสื่อมสลายลง โดยไม่ได้สูญหายไป

อุปสรรคในการเปลี่ยนแปลงทางสังคม

1.การเห็นประโยชน์ของการเปลี่ยนแปลง

2.ความสอดคล้องกับวัฒนธรรมเดิม

3.กลุ่มรักษาผลประโยชน์

4.ตัวแทนการเปลี่ยนแปลง

ค่านิยมของสังคมไทย

ค่านิยมของสังคมไทย คือ สิ่งที่มีคนสนใจ ปรารถนาที่จะเป็นเหมือนผู้อื่น เป็นสิ่งที่ทุกคนถือปฏิบัติ ค่านิยมบางอย่างขึ้นอยู่กับลักษณะของสังคม สภาพแวดล้อมของสังคม

การแก้ไขปัญหาและแนวทางการพัฒนาสังคม

ปัญหาสังคมไทย

ปัญหาสังคม หมายถึง สภาวการณ์ทางสังคมที่คนส่วนใหญ่ในสังคมเห็นว่าเป็นสิ่งที่ไม่ดี ไม่เป็นที่พึงปรารถนาของคนโดยส่วนรวมมากขึ้น จำเป็นต้องมีนโยบายหรือโครงการแก้ไขและเป็นปัญหาที่สามารถแก้ไขหรือขจัดให้หมดไปได้

แนวทางการพัฒนาสังคมที่เริ่มจาก “ตัวเอง” ที่มี “จิตสาธารณะ”

“จิตสาธารณะ” คือ จิตที่คำนึงถึงผู้อื่น โดยแสดงออกมาผ่านการกระทำ ดังนั้น จิตสาธารณะ จึง

มีลักษณะเป็นจิตสำนึกหรือเป็นค่านิยมที่ดีควรปลูกฝังให้มีในตัวมนุษย์ทุกคนบุคคลที่มีจิตสาธารณะคือบุคคลดังนี้

-เป็นบุคคลที่มี “จิตอาสา”

การรู้จักช่วยเหลือผู้อื่นในยามทุกข์ยาก หรือขาดโอกาส

-เป็นบุคคลที่มี “จิตเอื้ออาทร”

การเป็นผู้มีน้ำใจแก่ผู้อื่น รู้จักแบ่งปัน

-เป็นบุคคลที่ละ คำว่า “ ธุระไม่ใช่”

เรื่องบางเรื่องแม้ดูเป็นเรื่องส่วนตัว แต่ได้ส่งผลกระทบต่อส่วนรวม

แนวทางการพัฒนาสังคมจากการมีจิตสาธารณะ

การพัฒนาสังคมจากการมีจิตสาธารณะ คือ การเป็นผู้ให้ด้วยจิตใจที่เต็มเปี่ยมแห่งการเป็นผู้ให้ นั่นคือ ให้ด้วยความจริงใจ มีความบริสุทธิ์ใจ และปรารถนาให้ผู้รับมีความสุข การให้มีหลายลักษณะดังนี้

-ให้ “แรงกาย” ช่วยเหลือพ่อแม่ทำงานบ้าน หรืองานต่างๆ ที่เป็นภาระของพ่อแม่

ช่วยเหลือแบ่งเบาภาระของครู ใช้แรงกายในการออกค่ายสาธารณะประโยชน์ ไปช่วยสร้างโรงเรียน ห้องสมุด

-ให้ “ใจ”อย่างเต็มที่กับการเรียนหนังสือ เรียนด้วยใจ แม้ต้องทำเพราะหน้าที่แต่ควรสร้างทัศนคติที่ดีต่อการเรียน

-ให้ “เกียรติ” การที่เราอยู่ร่วมกับผู้อื่น เราควรให้เกียรติแก่กัน รู้มารยาทและวิธีปฏิบัติต่อกัน

-ให้ “ธรรมชาติ”ดีกับเราไปตลอด

-ให้ ”ความเข้าใจ” แก่ผู้อื่น ความเข้าใจถือว่าเป็นเรื่องสำคัญมาก เป็นพื้นฐานของการอยู่ร่วมกัน

-ให้ “ความเคารพ” ต่อกฎ กติกา มารยาทของสังคม

-ให้ “ความเคารพ”ต่อความคิดเห็นและจิตใจผู้อื่น

คุณค่าของการพัฒนาสังคมจากแนวคิดจิตสาธารณะ

เยาวชนไทยในปัจจุบันขาดจิตสาธารณะมาก สนใจแต่เรื่องของตนเองว่าตนเองจะสอบผ่านหรือสอบตก ไปเที่ยวไหน แต่งกายอย่างไร ทำอะไรให้คลายเหงา คุยโทรศัพท์กับเพื่อน เล่นเกม เล่นแชท ต่างๆ

สนใจในเรื่องของผู้อื่นมักเป็นการสนใจในเชิงลบ การซุบซิบนินทาในวงเพื่อน อันที่จริงแล้วสาเหตุของปัญหาดังกล่าว มิได้เกิดจากตัวเยาวชนทั้งหมด แต่เกิดจากบริบททางสังคม ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีมากขึ้น

เยาวชนอย่างนักเรียนจึงต้องมี “สติ” รู้เท่าทันสภาพสังคมที่เป็นอยู่ในขณะนี้ ด้วยการไม่ลุ่มหลงอยู่กับ “กับดัก”

ที่ผู้ใหญ่บางกลุ่มวางเอาไว้ เพื่อหวังกอบโกยผลประโยชน์เข้าตนเอง

ที่มา ขอบคุณเนื้อหาความรู้ จาก https://sites.google.com/site/sangkhmsuksam/bth-thi-2-sangkhm-khxng-rea


ClassStart ให้บริการฟรีโดย บริษัท ปิยะวัฒนา จำกัด
เราเป็นกิจการเพื่อสังคม (Social Enterprise)
สนับสนุนโดย
ผู้ไม่ประสงค์ออกนามท่านหนึ่ง (2563-2566)
มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์ (2561-2563)
กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (2557-2558)
กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (2557)
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (2554-2558)
GotoKnow
ClassStart Books