วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย


ผู้สอน
ดร. สุธากร วสุโภคิน
เข้าสู่ระบบเมื่อ ประมาณ 6 ปี ที่แล้ว

ชื่อวิชา
วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

รหัสวิชา
1221

สถานศึกษา

คำอธิบายวิชา

 

รายละเอียดของรายวิชา

ชื่อสถาบันอุดมศึกษา  มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

วิทยาเขต/คณะ/ภาควิชา  แขนงวิชาการศึกษาปฐมวัย คณะครุศาสตร์

 

หมวดที่ 1 ข้อมูลทั่วไป

1. รหัสและชื่อชุดวิชา   ECE3401  วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

2. จำนวนหน่วยกิต     5 ( 2 – 6 – 7 )

3. หลักสูตรและประเภทของชุดวิชา

            ครุศาสตรบัณฑิต  แขนงวิชาการศึกษาปฐมวัย เป็นวิชาบังคับ

4. อาจารย์ผู้สอนชุดวิชา

            อาจารย์สุธากร วสุโภคิน

5. ภาคการศึกษา / ชั้นปีที่เรียน    ภาคการศึกษาที่ 2 / ชั้นปีที่ 2

6. รายวิชาที่ต้องเรียนมาก่อน  (Pre-requisite)  (ถ้ามี)  ไม่มี

7. รายวิชาที่ต้องเรียนพร้อมกัน  (Co-requisites)  (ถ้ามี)  ไม่มี

8. สถานที่เรียน คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา

                         โรงเรียนที่มีการจัดการเรียนการสอนระดับอนุบาลศึกษา

                         แหล่งเรียนรู้ในโรงเรียน  เช่น  ห้องกิจกรรมวิทยาศาสตร์  สวนพฤกษศาสตร์

 แหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น  เช่น  อุทยานแห่งชาติ  สวนพฤกษศาสตร์  สวนสัตว์ พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์  ภูมิปัญญาท้องถิ่น

9. วันที่จัดทำหรือปรับปรุงรายละเอียดของรายวิชาครั้งล่าสุด  15 ตุลาคม  2553

 

หมวดที่ 2 จุดมุ่งหมายและวัตถุประสงค์

1.  จุดมุ่งหมายของชุดวิชา

·     เพื่อให้นักศึกษามีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในการแสวงหาความรู้ได้อย่างเหมาะสม

·     เพื่อให้นักศึกษามีความรู้และเข้าใจเกี่ยวกับ  พื้นฐานความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ กายภาพและสิ่งแวดล้อม

·     เพื่อให้นักศึกษาคิดวิเคราะห์และออกแบบกิจกรรมการทางวิทยาศาสตร์แบบต่าง ๆ เพื่อนำมาพัฒนาเป็นรูปแบบที่เหมาะสมกับเด็กปฐมวัย

·     เพื่อให้นักศึกษามีประสบการณ์ตรงในการทำโครงงานทางวิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัยและนำไปทดลองใช้กับเด็กปฐมวัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ

·     เพื่อให้นักศึกษาได้ฝึกปฏิบัติการวิเคราะห์ สังเคราะห์ สืบเสาะหาความรู้ด้วยตนเอง การทำโครงงาน  การทดลอง จัดประสบการณ์ เป็นต้น

·     เพื่อให้นักศึกษามีความซื่อสัตย์ต่อตนเองและมีความซื่อสัตย์ทางวิชาการ

·     เพื่อให้นักศึกษาเป็นครูดี ครูเก่ง ในการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

 

2. วัตถุประสงค์ในการพัฒนา/ปรับปรุงชุดวิชา

เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจและเห็นความสำคัญในการพัฒนาวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยตามแนวทางการจัดกิจกรรมที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ (student- centered) โดยให้ผู้เรียนได้ฝึกปฏิบัติการวิเคราะห์ สังเคราะห์ สืบเสาะหาความรู้ด้วยตนเอง การทำโครงงาน การทดลองจัดประสบการณ์ ออกแบบกิจกรรมด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เป็นต้น   ซึ่งประสบการณ์ต่าง ๆ เหล่านี้จะทำให้ผู้เรียนเกิดทักษะในการคิดวิเคราะห์ การแก้ปัญหาและสามารถนำไปประยุกต์สร้างองค์ความรู้ใหม่ในการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์อย่างสร้างสรรค์

 

หมวดที่ 3 ส่วนประกอบของชุดวิชา

 

1 คำอธิบายชุดวิชา

ความหมาย ความสำคัญและประโยชน์ของวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ทฤษฎีและแนวคิดที่เกี่ยวข้องกับพัฒนาการทางสติปัญญาของเด็กปฐมวัย ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ขอบข่ายสาระและการจัดประสบการณ์เพื่อการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย บทบาทครูในการฝึกทักษะกระบวนการคิดด้วยการใช้คำถาม สื่อและการผลิตสื่อเพื่อการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ การปลูกฝังจิตวิทยาศาสตร์ การจัดโครงงานวิทยาศาสตร์ การวัดและประเมินทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ระดับปฐมวัย 

2 จำนวนชั่วโมงที่ใช้ต่อภาคการศึกษา

 

บรรยาย

 

สอนเสริม

 

การปฏิบัติงาน

ภาคสนาม

การศึกษาด้วยตนเอง

6 ชั่วโมง/สัปดาห์

สอนเสริมตามความต้องการของนักศึกษาเป็นกลุ่มและเฉพาะราย

30 ชั่วโมง

4 ชั่วโมง/สัปดาห์

 

3 จำนวนชั่วโมงต่อสัปดาห์ที่อาจารย์ให้คำปรึกษาและแนะนำทางวิชาการแก่นักศึกษาเป็นรายบุคคล

อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือ รายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ (เฉพาะรายที่ต้องการ)

                                                                         

หมวดที่ 4 การพัฒนาผลการเรียนรู้ของนักศึกษา

มาตรฐานผลการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผลการเรียนรู้ตามทักษะที่ต้องการพัฒนา  5 ด้าน      ดังนี้

1. คุณธรรม จริยธรรม

            1.1 คุณธรรม จริยธรรมที่ต้องพัฒนา

ปลูกฝังความมีวินัย ใฝ่รู้ ความซื่อสัตย์ ความรับผิดชอบ การทำงานร่วมกับผู้อื่นและความมีน้ำใจ

1.2 วิธีการสอน

* สอดแทรกคุณธรรม จริยธรรมที่ต้องพัฒนาระหว่างการเรียนการสอนทุกครั้ง

* การแสดงความคิดเห็นและการแสดงออกในเรื่องความมีวินัย ใฝ่รู้ ความซื่อสัตย์ ความรับผิดชอบและความน้ำใจ

* การปฏิบัติตนอันเป็นแบบอย่างที่ดีของอาจารย์ผู้สอน

1.3 วิธีการประเมิน

ประเมินจากพฤติกรรมในชั้นเรียนและนอกชั้นเรียน

2. ความรู้

2.1 ความรู้ที่ได้รับ

ความรู้พื้นฐานทางด้านวิทยาศาสตร์ กายภาพและสิ่งแวดล้อม  พัฒนาการทางสติปัญญา หลักการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย การสอนคิดสำหรับเด็กปฐมวัยความรู้เรื่องหลักการ แนวคิด ทฤษฎีทางสติปัญญา  พฤติกรรมการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย  ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ขอบข่ายสาระและการจัดประสบการณ์เพื่อการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย บทบาทครูในการฝึกทักษะกระบวนการคิด การใช้คำถาม รูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย  สื่อและการผลิตสื่อ การจัดสิ่งแวดล้อมและมุมประสบการณ์เพื่อการพัฒนาเด็กปฐมวัยเพื่อการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์ การออกแบบการวัดและประเมินผลทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ระดับปฐมวัย คุณธรรมจริยธรรมในการพัฒนาจิตวิทยาศาสตร์

2.2 วิธีการสอน

วิธีสอนใช้รูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสานระหว่างการสอนแบบอุปนัย การสอนแบบสืบสวน การเรียนรู้แบบร่วมมือ และการสอนคิดอย่างมีวิจารณญาณ(Robert H. Ennis) โดยใช้เทคนิคการสอนด้วยวิธีการศึกษาเอกสารประกอบการสอน การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง   การจัดทำโครงงาน  การจัดทำรายงานกลุ่มและรายงานเดี่ยว  การปฏิบัติการภาคสนาม การศึกษาดูงาน   การสังเกต    การทดลอง    การวิเคราะห์  การเลียนแบบจากต้นแบบ  การบรรยาย การอภิปรายกลุ่มและเดี่ยว การนำเสนอผลงานกลุ่มและเดี่ยว การสร้างแผนผังทางความคิด (Mind Mapping) การสะท้อนคิดและการประเมินตนเอง รวมทั้งเชิญวิทยากรมาบรรยาย

2.3 วิธีการประเมิน

การประเมินผลใช้วิธีการประเมินผลที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง โดยครอบคลุมการประเมินดังนี้

2.3.1 ประเมินสาระการเรียนรู้ ได้แก่ ความรู้ที่จำเป็นพื้นฐานของชุดวิชา  ทักษะการปฏิบัติที่สำคัญของชุดวิชา  และ ทักษะการคิดและกระบวนการแสวงหาความรู้ของชุดวิชา

2.3.2 ประเมินความก้าวหน้าของความรู้และทักษะ โดยประเมินเป็นพัฒนาการของการเรียนรู้จากสาระการเรียนรู้ข้อ 2.3.1

2.3.3 ประเมินจิตพิสัยความเป็นครูระดับปฐมวัย โดยประเมินจากสภาพจริง

วิธีการประเมินผลของชุดวิชา ได้แก่ การประเมินจากการเข้าชั้นเรียน ความสนใจ ความตั้งใจ ความเอาใจใส่และรับผิดชอบ ความซื่อสัตย์ต่อตนเองและความซื่อสัตย์ทางวิชาการ การอภิปราย การทำรายงาน การค้นคว้า การจัดแสดงผลงาน การค้นคว้าด้วยตนเอง การแสดงความคิดเห็นและสะท้อนการคิดจากการอภิปราย การทำแผนฝังทางความคิด การศึกษาดูงาน การบรรยาย บุคลิกภาพ ความร่วมมือ รายงานกลุ่มและรายงานเดี่ยว ผลการนำเสนอผลงานโครงงานจากการค้นคว้าด้วยตนเอง การทดสอบสาระการเรียนรู้กลางภาคและปลายภาคเรียน และแฟ้มสะสมผลงาน

3. ทักษะทางปัญญา

            3.1 ทักษะทางปัญญาที่ต้องพัฒนา

การสังเกต การคิดวิเคราะห์ การสังเคราะห์ และบูรณาการองค์ความรู้จากการบรรยาย การวิพากษ์ การอภิปรายรายงาน  การศึกษาเอกสารข้อมูลเพิ่มเติม การศึกษาวิธีการทำโครงงานทางวิทยาศาสตร์ ข้อมูลแก้ไขประเด็นปัญหาต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาความสามารถทางสติปัญญาและทักษะทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย

            3.2 วิธีการสอน

ใช้การบรรยาย การวิเคราะห์โครงงาน กระบวนการกลุ่มในการอภิปราย การทำแผนผังทางความคิด สะท้อนคิด การคิดเชิงตรรกะ การหาเหตุผล การคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ การซักค้าน การทำแฟ้มผลงาน การศึกษาพัฒนาการทางความคิดและพฤติกรรมของเด็กปฐมวัย การสัมภาษณ์ผู้ปกครอง

3.3 วิธีการประเมิน

ประเมินผลจากการเข้าชั้นเรียน การอภิปราย การทำรายงาน การค้นคว้า การนำเสนอรายงานในชั้นเรียน การค้นคว้าด้วยตนเอง รวมทั้งเชิญวิทยากรมาบรรยาย แสดงความคิดเห็นและสะท้อนการคิดจากการอภิปราย การศึกษาดูงาน การบรรยาย การรายงานกลุ่มและรายงานเดี่ยว และผลการนำเสนอรายงานในชั้นเรียนจากการค้นคว้าด้วยตนเอง

4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ

4.1 ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบที่ต้องพัฒนา

มีความรับผิดชอบต่อการเรียนรู้และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง สร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้เรียน มีความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีความรับผิดชอบ ความร่วมมืออย่างสร้างสรรค์

            4.2 วิธีการสอน

การเรียนแบบร่วมมือ โดยเปิดโอกาสให้ทำกิจกรรมกลุ่มในลักษณะต่างๆ เช่น การรายงาน การอภิปรายร่วม การประชุมกลุ่มสัมมนา

4.3 วิธีการประเมิน

ประเมินผลจากการความรับผิดชอบในการปฏิบัติกิจกรรมในชั้นเรียน ทักษะการเป็นผู้นำผู้ตาม การยอมรับความคิดเห็น ให้ความร่วมมือ และประเมินจากผลการทำกิจกรรมกลุ่มและการทำรายงาน

5. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

5.1 ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่ต้องพัฒนา

สามารถใช้ภาษาพูด ภาษาเขียน ในการสื่อสาร ใช้คอมพิวเตอร์/อินเตอร์เนตในการสืบค้นข้อมูลและจัดการข้อมูลอย่างเป็นระบบและถ่ายทอดสารสนเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ

            5.2 วิธีการสอน

สอนโดยการใช้ power point กรณีศึกษา วีดิทัศน์ การทำกิจกรรมกลุ่มในลักษณะต่างๆ เช่น การรายงาน การอภิปรายร่วม การประชุมกลุ่มสัมมนา การสืบค้นข้อมูลจาก Internet และ Website ฐานข้อมูลต่างๆ

5.3 วิธีการประเมิน

ประเมินผลจากการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารในการนำเสนอรายงานหน้าชั้นเรียนและรายงาน

 

 

 

 

 

 

หมวดที่ 5 แผนการสอน และ การประเมินผล

 

1. แผนการสอน 

สัปดาห์ที่

 

หัวข้อ/รายละเอียด

จำนวนชั่วโมง

กิจกรรมการเรียน

การสอน/สื่อที่ใช้

1-2

 

1. แนะนำรายวิชา กิจกรรมการเรียนการสอน และวิธีการวัดและประเมินผล

2. ความรู้พื้นฐานทางด้านวิทยาศาสตร์ ได้แก่ ความหมาย ความสำคัญ ประโยชน์ของวิทยาศาสตร์ แนวคิดพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ ทั้งด้านวิทยาศาสตร์กายภาพและสิ่งแวดล้อม

3. วิธีการทางวิทยาศาสตร์ ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เจตคติทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

12

1.  สอนแบบอุปนัย

2.  เรียนแบบร่วมมือ โดยแบ่งกลุ่มนักศึกษาคละกลุ่มผู้เรียน 3 ระดับผลการเรียน

3.  การบรรยาย ซักถาม

4.  อภิปรายกลุ่มย่อยทำแผนผังความคิดสรุปพัฒนาการของเด็กปฐมวัยด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์

5.  ทดสอบหลังเรียน

สื่อที่ใช้

1. Power Point

2. เอกสารประกอบการสอน

3-4

 

1. ความหมาย  หลักการทั่วไปของพัฒนาการ องค์ประกอบที่เกี่ยวข้องกับพัฒนาการและคุณลักษณะตามวัย

2. หลักการ แนวคิด และทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับพัฒนาการทางสติปัญญา

- ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจต์

- ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของ บรูเนอร์

- ทฤษฎีพหุปัญญาของการ์ดเนอร์

- ทฤษฎีConstructivisism

- แนวคิดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน (BBL)

3. หลักการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย

4. สมองกับการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย

5. หลักการส่งเสริมพัฒนาการทางสติปัญญาของเด็กปฐมวัย

12

1.  ฝึกคิดวิเคราะห์ และปฏิบัติการทดลองจากกิจกรรม ”กระดาษกับความคิด” และ “ลมและแรง”

2.  การบรรยาย วิเคราะห์ซักถามเปรียบเทียบแนวคิดและทฤษฎีต่างๆ

3.  นำเสนอแนวคิด  และทฤษฎีประยุกต์ใช้กับสภาพจริง

4.  สอนแบบอุปนัย

5.  เรียนแบบร่วมมือ โดยแบ่งกลุ่มนักศึกษาคละกลุ่มผู้เรียน 3 ระดับผลการเรียน ทำแผนผังความคิดสรุปพัฒนาการของเด็กปฐมวัยด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์อภิปรายกลุ่มย่อย

6.  มอบหมายให้นักศึกษาสืบค้นและศึกษาจากตำรา เอกสาร สิ่งพิมพ์ และสื่ออิเล็คทรอนิกส์เกี่ยวกับการจัดสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมพัฒนาการทาง

สัปดาห์ที่

 

หัวข้อ/รายละเอียด

จำนวนชั่วโมง

กิจกรรมการเรียน

การสอน/สื่อที่ใช้

3-4

 

 

7.  สติปัญญาของเด็กปฐมวัย

8.  ทดสอบหลังเรียน

9.  อภิปรายประสบการณ์จากการศึกษาดูงานเกี่ยวกับเด็กปฐมวัยในสภาพจริงของชุมชน

สื่อที่ใช้

1. Power Point

2. VCD

3. เอกสารประกอบการสอน

5-6

 

1. ความหมาย ความสำคัญ ประโยชน์ของทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

2. ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับเด็กปฐมวัย ได้แก่ ทักษะการสังเกต  ทักษะการจำแนกประเภท  ทักษะการวัด  ทักษะการสื่อความหมาย  ทักษะการลงความเห็น  ทักษะการหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับเวลา และทักษะการใช้ตัวเลข

3. บทบาทครูกับการส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

 

12

1.  บรรยาย

2.  มอบหมายให้นักศึกษาสืบค้นและศึกษาจากงานวิจัย ตำรา เอกสาร สิ่งพิมพ์ และสื่ออิเล็คทรอนิกส์เกี่ยวกับการส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

3.  อภิปราย สะท้อนคิดและประเมินตนเอง

4.  ทดสอบหลังเรียน

5.  นำเสนอผลงานลง E-Learning

สื่อที่ใช้

1. Power Point

2. เอกสารประกอบการสอน

7-8

1.ความหมาย ความสำคัญ ประโยชน์จุดมุ่งหมาย หลักการของการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

2.ขอบข่ายเนื้อหาทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

3.ประเภทของการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

12

1.  บรรยาย

2.  มอบหมายให้นักศึกษาสืบค้นและศึกษาจากงานวิจัย ตำรา เอกสาร สิ่งพิมพ์ และสื่ออิเล็คทรอนิกส์เกี่ยวกับการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

3.  นำเสนอแผนการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

สัปดาห์ที่

 

หัวข้อ/รายละเอียด

จำนวนชั่วโมง

กิจกรรมการเรียน

การสอน/สื่อที่ใช้

7-8

4. รูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ได้แก่ โครงงานวิทยาศาสตร์ การสอนแบบ Project Approach การสอนแบบ High Scope

5. แผนการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยแบบบูรณาการ

 

4.  นำเสนอการจัดมุมประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

5.  อภิปราย สะท้อนคิดและประเมินตนเอง

6.  ทดสอบหลังเรียน

สื่อที่ใช้

1. Power Point

2. เอกสารประกอบการสอน

9

ประเมินผลการเรียนรู้กลางภาค

3

 

10

1. ความแตกต่างระหว่างบุคคลกับผู้เรียน 4 แบบ (4 MAT)

2. การคิดสำหรับเด็กปฐมวัย

3. การสอนให้เด็กปฐมวัยคิด

4. การใช้คำถามกระตุ้นการคิดสำหรับเด็กปฐมวัย

6

1. วิเคราะห์ อภิปรายกรณีศึกษา

2. บรรยาย อภิปราย ยกตัวอย่าง ซักถาม

3. มอบหมายให้นักศึกษาลงภาคสนามแสวงหาคำตอบจากการตั้งคำถาม 5 คำถาม เพื่อการคิดแบบต่างๆ กับเด็กปฐมวัยในระดับอายุที่แตกต่าง

4.. ทดสอบหลังเรียน

สื่อที่ใช้

1. Power Point

11

1. ความหมาย ความสำคัญ ประเภทสื่อการเรียนการสอนทางวิทยาศาสตร์

2. หลักการของการผลิต เลือก และใช้สื่อทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

3. สื่อทางวิทยาศาสตร์กับแนวทางพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง

4. การผลิตสื่ออิเล็คโทรนิคส์สำหรับการเรียนการสอนทางวิทยาศาสตร์อย่างเหมาะสม

5. การเก็บรักษาและซ่อมแซมสื่อการเรียนการสอน

6

1. การสอนแบบบรรยาย

2. การสอนคิดอย่างมีวิจารณญาณ

3. การทำแผนผังทางความคิด

4.การจัดทำกิจกรรมกลุ่มทดลองภาคสนามจากอุปกรณ์ธรรมชาติและเศษวัสดุ

5. ศึกษาดูงานจากแหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น  เช่น  อุทยานแห่งชาติ  สวนพฤกษศาสตร์  สวนสัตว์ พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ 

สื่อที่ใช้

1. Power Point

2. สื่อและอุปกรณ์ของจริง

3. สื่ออิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา

4. ซีดีเพลงทางการศึกษา

 

 

 

สัปดาห์ที่

 

หัวข้อ/รายละเอียด

จำนวนชั่วโมง

กิจกรรมการเรียน

การสอน/สื่อที่ใช้

12

1. ความหมาย ความสำคัญและขอบข่ายการประเมินพัฒนาการเด็กปฐมวัย

2. วัตถุประสงค์และหลักการประเมินทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

3. การวัดและประเมินทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

4. การออกแบบวัดและประเมินทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

5. การประเมินแฟ้มสะสมผลงานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย

6

1.     การสอนคิดอย่างมีวิจารณญาณ

2.     การสอนแบบบรรยาย

3.     การตั้งคำถามเพื่อการอภิปราย

4.     วิเคราะห์กรณีศึกษา

5.     ปฏิบัติการออกแบบเครื่องมือการวัดและประเมินทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

สื่อที่ใช้

1. Power Point

2. ตัวอย่างแบบประเมินพัฒนาการเด็กปฐมวัย

 

13-14

1. ฝึกปฏิบัติการ

2. นำเสนอผลการปฏิบัติ

12

1.     ฝึกปฏิบัติการจัดทำโครงงานเกี่ยวกับการพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

2.     ปฏิบัติการผลิตสื่อทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

3.     ทดลองฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยในสภาพจริง

15

1. สอบถามความคิดเห็น

2. ทดสอบปลายภาค

 

6

 

 

 

 

 

 

 

2. แผนการประเมินผลการเรียนรู้

กิจกรรมที่

ผลการเรียนรู้*

กิจกรรมการประเมิน

กำหนดการประเมิน (สัปดาห์ที่)

สัดส่วนของการประเมินผล

1

ความรู้และทักษะการ

นำเสนอรายงาน

7/15

30

 

วิเคราะห์ การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

 

 

 

2

ความรู้

การสอบกลางภาค    

8

20

3

ความรู้

การสอบปลายภาค

16

30

4

ความรับผิดชอบ

การเข้าชั้นเรียน

ทุกสัปดาห์

10

5

ทักษะความสัมพันธ์ระหว่าง

การสังเกต/การทำรายงานกลุ่ม

ทุกสัปดาห์

10

 

บุคคลและความรับผิดชอบ

 

 

 

·   ระบุผลการเรียนรู้หัวข้อย่อยตามที่ปรากฏในแผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบของรายวิชาของรายละเอียดของหลักสูตร     (แบบ มคอ. 2)

      

หมวดที่ 6  ทรัพยากรประกอบการเรียน

1.     

2.     

3.     

4.     

5.     

6.     

6.1    ตำราหลัก

6.1.1        เอกสารประกอบการสอนชุดวิชา   ทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

6.1.2        เอกสารประกอบการสอนชุดวิชา   โครงงานวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

6.1.3        เอกสารประกอบการสอนชุดวิชา   การสอนคิดและการใช้คำถามสำหรับเด็กปฐมวัย

6.2    ตำรา/เอกสารประกอบ

6.2.1        สมองอนุบาล  เรียบเรียงโดย พรพิไล  เลิศวิชา และ นพ.อัครภูมิ  จารุภากร

6.2.2        จิตวิทยาพัฒนาการ  เรียบเรียงโดย ศ.ดร.ศรีเรือน  แก้วกังวาล

6.2.3        สุดยอดการทดลองวิทยาศาสตร์  แปลโดย ดร.จารนัย พณิชยกุล

6.2.4        วิทยาศาสตร์ง่ายๆ : มหัศจรรย์การทดลองวิทยาศาสตร์                                          แปลโดย ผศ.ดร.จันทร์เพ็ญ จันทร์เจ้า

6.2.5        การทดลองสนุกๆ  : แรงและการเคลื่อนที่ แปลโดย สุวรรณ และ โกศัลย์  คูสำราญ

6.2.6        การทดลองสนุกๆ  : ฟ้าและแม่เหล็ก แปลโดย กิ่งแก้ว และ ปิตินันท์  คูอมรพัฒนะ

6.2.7        การทดลองสนุกๆ  : แสงและเสียง แปลโดย กิ่งแก้ว และ ภมร  คูอมรพัฒนะ

6.3    หนังสือนอกเวลา

6.3.1        วารสารการศึกษาปฐมวัย

6.3.2        นิตยสารวิทยาศาสต์น่ารู้

6.3.3        หลักการสอน

6.3.4        นวัตกรรมการสอนปฐมวัย

6.4    เวปไซด์ชุดวิชา

Ajarnwow Gotoknows

Ajarnwow Learners

6.5    สื่อการเรียนอื่น ๆ

6.5.1        เอกสารสิ่งพิมพ์เกี่ยวกับพัฒนาการเด็ก 

6.5.2        เอกสารสิ่งพิมพ์เกี่ยวกับการประเมินผลพัฒนาการเด็กปฐมวัย

6.6    E-mall  ผู้สอน [email protected]

                         

หมวดที่ 7  การประเมินและปรับปรุงการดำเนินการของรายวิชา

1.  กลยุทธ์การประเมินประสิทธิผลของรายวิชาโดยนักศึกษา

            1.1 ประเมินผลการสอนโดยใช้ระบบออนไลน์

            1.2 สอบถามความคิดเห็นจากนักศึกษาในสัปดาห์สุดท้าย

1.3 ให้นักศึกษาเขียนแสดงความคิดเห็นการสอนในสัปดาห์สุดท้าย

2.  กลยุทธ์การประเมินการสอน

ศึกษาจากผลลัพธ์การเรียนรู้และความก้าวหน้าทางการเรียนรู้ของนักศึกษาจากมาตรฐานผลการเรียนรู้ตามทักษะที่ต้องการพัฒนา  5 ด้าน ได้แก่  ด้านคุณธรรม จริยธรรม  ด้านความรู้  ด้าน&l


ClassStart ให้บริการฟรีโดย บริษัท ปิยะวัฒนา จำกัด
เราเป็นกิจการเพื่อสังคม (Social Enterprise)
สนับสนุนโดย
ผู้ไม่ประสงค์ออกนามท่านหนึ่ง (2563-2566)
มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์ (2561-2563)
กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (2557-2558)
กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (2557)
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (2554-2558)
GotoKnow
ClassStart Books