มัธยมศึกษาปีที่ 6


ผู้สอน
jitladda pibanchomme
เข้าสู่ระบบเมื่อ มากกว่า 9 ปี ที่แล้ว

ชื่อวิชา
มัธยมศึกษาปีที่ 6

รหัสวิชา
13139

สถานศึกษา
โรงเรียนงัวบาวิทยาคม

คำอธิบายวิชา

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับแผนที่

ความหมายของแผนที่

แผนที่ คือ สิ่งที่แสดงลักษณะของพื้นผิวโลกทั้งที่มีอยู่ตามธรรมชาติและปรับปรุงแต่งขึ้น โดยแสดงลงในพื้นแบนราบ ด้วยการย่อให้เล็กลงตามขนาดที่ต้องการ และอาศัยเครื่องหมายกับสัญลักษณ์ที่กำหนดขึ้น

ความสำคัญและประโยชน์ของแผนที่

1. ด้านการทหาร แผนที่มีความจำเป้นอย่างมากในการวางแผนยุทธศาสตร์ ยุทธวิธีถ้าขาดแผนที่หรือแผนที่ล้าสมัย ข้อมูลไม่ถูกต้อง การวางแผนอาจผิดพลาดได้

2. ด้านการเมืองการปกครอง จำเป็นต้องอาศัยแผนที่ในการวางแผนดำเนินการ เตรียมรับหรือแก้ไขสถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้นอย่างถูกต้อง

3. ด้านเศรษฐกิจและสังคม ในการวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติก็ต้องอาศัยแผนที่เป็นข้อมูลพื้นฐานเพื่อให้ทราบทำเลที่ตั้ง สถานภาพทางกายภาพแหล่งทรัพยากร

4. ด้านสังคม สภาพแวดล้อมทางสังคมมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ที่เห็นได้ชัดคือสภาพแวดล้องทางภูมิศาสตร์ ซึ่งทำให้สภาพแวดล้อมทางสังคมเปลี่ยนไป

5. ด้านส่งเสริมการท่องเที่ยว แผนที่มีความจำเป็นต่อนักท่องเที่ยวในอันที่จะทำให้รู้จักสถานที่ท่องเที่ยวได้ง่ายสะดวกในการเดินทาง

6. ด้านการเรียนการสอน แผนที่เป็นตัวส่งเสริมกระตุ้นความสนใจ และก่อให้เกิดความเข้าใจในบทเรียนดีขึ้น

7. ใช้เป็นแหล่งข้อมูลทั้งทางด้านกายภาพ ภูมิภาพ วัฒนธรรม เศรษฐกิจ สถิติ และการกระจายของสิ่งต่าง ๆ รวมทั้งปรากฎการณ์ทางธรรมชาติ และปรากฎการณ์ต่าง ๆ

ส่วนประกอบของแผนที่

1. ชื่อชุดแผนที่และมาตราส่วน (Series Name and Map Scale) คือ THAILAND ประเทศไทย 1:5,000 จะปรากฏอยู่มุมซ้ายด้านบนของแผนที่

2.หมายเลขประจำชุด (Series Number) เป็นหมายเลขอ้างอิงที่แสดงถึงการจัดทำแผนที่ว่าเป็นชุดใด จำปรากฏอยู่มุมบนขวาและล่างซ้ายของแผนที่ ซึ่งประกอบด้วยตัวอักษรและตัวเลข L 7017 มีความหมายดังนี้

L แทนRegional Area หรือ Sub-Regional Area จะใช้ตัวอักษรภาษาอังกฤษ L เป็นภูมิภาคที่ครอบคลุมประเทศไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม มาเลเซีย จีน ไต้หวัน เกาหลี และญี่ปุ่น

7 แทนมาตราส่วน (ระหว่าง 1:70,000 ถึง 1:35,000)

0 แทนบริเวณที่แบ่ง L เป็นภูมิภาคย่อย (Sub-Regional Area) คือบริเวณ ประเทศไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม มาเลเซีย และจีน

17 แทนเลขลำดับที่การทำชุดแผนที่ที่มีมาตราส่วนเดียวกัน และอยู่ในพื้นที่ภูมิภาค L เดียวกัน ประเทศไทย ตรงกับลำดับที่ 17

3. ชื่อแผนระวาง (Sheet Name) แผนที่แต่ละฉบับจะมีชื่อระวาง ซึ่งได้มาจากรายละเอียดที่เด่นหรือที่สำคัญทางภูมิศาสตร์ หรือสิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เช่น ชื่อของจังหวัด อำเภอ หมู่บ้านที่สำคัญ ชื่อระวางจะปรากฏอยู่สองแห่ง กึ่งกลางระหว่างตอนบน และทางด้านซ้ายของขอบระหว่างตอนล่าง

4. หมายเลขแผ่นระวาง (Sheet Number) แผนที่ที่แต่ละระวางจะมีหมายเลขซึ่งกำหนดขึ้นตามระบบที่วางไว้เพื่อความสะดวกในการ อ้างอิงหรือค้นหา ตามปกติจะมีสารบัญแผนที่ (Map Index) เพื่อการค้นหาหมายเลข แผ่นระวางนี้จะแสดงไว้ที่ขอบระวางมุมขวาตอนบนและมุมซ้ายตอนล่าง

5. มาตราส่วนแผนที่ (Map Scale) แสดงไว้ที่กึ่งกลางระวางตอนล่าง และมุมซ้ายตอนบน มาตราส่วนแสดงไว้เพื่อให้ทราบอัตราส่วน ระหว่างระยะในแผนที่ กับ ระยะในภูมิประเทศที่ตรงกัน จะมีหน่วยวัดที่ต่าง ๆ กัน เช่น ไมล์ เมตร หลา ไมล์ทะเล

การคำนวณระยะทางบนแผนที่

1. คำนวณได้จากสูตร : มาตราส่วนของแผนที่ = ระยะบนแผนที่ ระยะในภูมิประเทศ

2. การหาระยะโดยอาศัยมาตราส่วนแบบบรรทัด

2.1. ให้กระทำโดยนำขอบบรรทัดหรือขอบกระดาษเรียบ ๆ วางทาบให้ผ่านจุดสองจุดที่ต้องการหาระยะทางบนแผนที่แล้วทำเครื่องหมายไว้ที่ขอบกระดาษแสดงตำแหน่งของจุดทั้ง 2

2.2. นำขอบกระดาษไปวางทาบที่มาตราส่วนเส้นบรรทัด อันมีหน่วยวัดระยะตามต้องการแล้วอ่านระยะบนมาตราส่วนเส้นบรรทัด ระยะที่ได้จะเป็นระยะราบใน ภูมิประเทศจริง

การเปรียบเทียบขนาดของมาตราส่วนแผนที่

ในการเปรียบเทียบขนาดของมาตราส่วนของแผนที่ว่า แผนที่ฉบับใดมีมาตราส่วนใหญ่หรือเล็กกว่ากันให้สังเกตจากตัวเลขมาตราส่วนง่าย ๆ เช่น ระหว่าง1/2กับ 1/10 นั้น 1/2 มีขนาดใหญ่กว่า 1/10 ข้อสังเกตุคือมาตรส่วนที่ใหญ่กว่าตัวเลขที่ส่วนจะมีค่าน้อยกว่ามาตราส่วนที่เล็กกว่า เช่น แผนที่มาตราส่วน 1:50,000 จะมีขนาดใหญ่กว่าแผนที่มาตราส่วน 1:2,000,000

6. คำอธิบายสัญลักษณ์(Legend)เป็นรายละเอียดที่อธิบายความหมายของสัญลักษณ์ (Symbol) ที่ใช้แสดงในแผนที่ เช่น ประเภทของเส้นถนนซึ่งจะปรากฏที่มุมล่างด้านซ้ายของแผนที่

ลักษณะของสัญลักษณ์ที่ดี

1. ต้องมีลักษณะอันเป็นสากล คือบุคคลจากต่างถิ่น ต่างประเพณี ต่างพื้นที่กันสามารถตีความได้ตรงกัน

2. รูปแบบของสัญลักษณ์ต้องเป็นแบบเรียบ ๆ ชัดเจน เขียนง่าย ขนาดเหมาะสมกับมาตราส่วนของแผนที่

3. สัญลักษณ์ที่ใช้แทนสิ่งต่าง ๆ กันควรมีลักษณะต่างกันโดยสิ้นเชิง เพื่อไม่ให้มีการตีความผิด

4. เป็นสัญลักษณ์ที่ผู้อ่านสามารถตีความได้ทันทีโดยไม่ต้องอ่านคำอธิบายสัญลักษณ์

5. ถ้าสัญลักษณ์มีรูปแบบเหมือนกันแต่ใช้แทนสิ่งที่แตกต่างกันควรกำหนดให้สีต่างกันสีของสัญลักษณ์

1. สีดำ แทนรายละเอียดที่สำคัญทางวัฒนธรรมหรือสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น เช่น หมู่บ้าน ทางรถไฟ

2. สีน้ำเงิน แทนรายละเอียดที่เป็นน้ำ เช่น แม่น้ำ ทะเลสาบ หนอง บึง

3. สีน้ำตาล แทนรายละเอียดที่มีความสูงต่ำของผิวพิภพ เช่น เส้นชั้นความสูง

4. สีเขียว แทนบริเวณที่เป็นป่าหรือพืชพรรณไม้ต่าง ๆ

5. สีแดง แทนถนนสายหลัก


ClassStart ให้บริการฟรีโดย บริษัท ปิยะวัฒนา จำกัด
เราเป็นกิจการเพื่อสังคม (Social Enterprise)
สนับสนุนโดย
ผู้ไม่ประสงค์ออกนามท่านหนึ่ง (2563-2566)
มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์ (2561-2563)
กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (2557-2558)
กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (2557)
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (2554-2558)
GotoKnow
ClassStart Books