วิจัยทางการศึกษาปฐมวัย


ผู้สอน
ดร. สุธากร วสุโภคิน
เข้าสู่ระบบเมื่อ ประมาณ 6 ปี ที่แล้ว

ชื่อวิชา
วิจัยทางการศึกษาปฐมวัย

รหัสวิชา
1346

สถานศึกษา
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

คำอธิบายวิชา

 

รายละเอียดของรายวิชา

ชื่อสถาบันอุดมศึกษา  มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

วิทยาเขต/คณะ/ภาควิชา  แขนงวิชาการศึกษาปฐมวัย คณะครุศาสตร์

 

หมวดที่ 1 ข้อมูลทั่วไป

1. รหัสและชื่อชุดวิชา   ECE4801 การวิจัยการศึกษาด้านปฐมวัย

2. จำนวนหน่วยกิต     5 ( 2 – 6 – 7 )

3. หลักสูตรและประเภทของชุดวิชา

            ครุศาสตรบัณฑิต  แขนงวิชาการศึกษาปฐมวัย เป็นวิชาบังคับ

4. อาจารย์ผู้สอนชุดวิชา

            รองศาสตรจารย์ ดร. ฤาเดช  เกิดวิชัย

            อาจารย์ ดร. สุธากร  วสุโภคิน

5. ภาคการศึกษา / ชั้นปีที่เรียน    ภาคการศึกษาที่ 2 / ชั้นปีที่ 4

6. ชุดวิชาที่ต้องเรียนมาก่อน  (Pre-requisite)  ชุดวิชาการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ และชุดวิชาพื้นฐานด้านการศึกษาปฐมวัยทุกชุดวิชา

7. ชุดวิชาที่ต้องเรียนพร้อมกัน  (Co-requisites)  ไม่มี

8. สถานที่เรียน คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา

                         โรงเรียนที่มีการจัดการเรียนการสอนระดับอนุบาลศึกษา

                         แหล่งเรียนรู้นอกห้องเรียน  เช่น  ห้องคอมพิวเตอร์  หอสมุดแห่งชาติ  ศูนย์วิทยบริการ ห้องสมุดในมหาวิทยาลัย

9. วันที่จัดทำหรือปรับปรุงรายละเอียดของรายวิชาครั้งล่าสุด  14 กันยายน  2554

 

หมวดที่ 2 จุดมุ่งหมายและวัตถุประสงค์

1.  จุดมุ่งหมายของชุดวิชา

2. วัตถุประสงค์ในการพัฒนา/ปรับปรุงชุดวิชา

เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจและเห็นความสำคัญในการพัฒนาเด็กปฐมวัยตามแนวทางการวิจัยทางการศึกษาปฐมวัย   มีทักษะกระบวนการวิจัยและสามารถนำองค์ความรู้ด้านการศึกษาปฐมวัยไปใช้ในการแสวงหาความรู้และแก้ปัญหาในชั้นเรียนในลักษณะของการวิจัยอย่างมีจรรยาบรรณและนำองค์ความรู้จากการวิจัยไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาเด็กปฐมวัยอย่างสร้างสรรค์

 

 

หมวดที่ 3 ส่วนประกอบของชุดวิชา

 

 

1.  คำอธิบายชุดวิชา

ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพื้นฐานทางการวิจัยและกระบวนการวิจัย  ความรู้ความเข้าใจถึงลักษณะของการวิจัยด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาและพัฒนาเด็กปฐมวัย  ศึกษาความสัมพันธ์ของขั้นตอนต่าง ๆ ของกระบวนการวิจัย  สรุปข้อมูลต่างๆ จากทฤษฏีและตัวอย่างงานวิจัยจัดให้เป็นหมวดหมู่ประเภทของข้อมูลอย่างเป็นระบบโดยมีเหตุผลและข้อเท็จจริงเป็นเกณฑ์ พัฒนาทักษะในการแสวงหาความรู้โดยใช้วิธีการที่หลากหลายและนำข้อมูลความจริงที่น่าเชื่อถือและมีเหตุผลมาสู่การคิดวิเคราะห์  ความรู้ความเข้าใจด้านพื้นฐานการวิจัยและสภาพการณ์ของการศึกษาปฐมวัย  การวิจัยทางการศึกษาปฐมวัยที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาการพัฒนาเด็กและองค์ประกอบที่เกี่ยวข้องกับงานพัฒนาเด็ก  โครงการวิจัยทางการศึกษา  ระเบียบวิธีและกระบวนการวิจัยในชั้นเรียน ทดลองปฏิบัติการวิจัยทางการศึกษาปฐมวัย ปฏิบัติการวิจัยในชั้นเรียน 

2.  จำนวนชั่วโมงที่ใช้ต่อภาคการศึกษา

 

 

บรรยาย

 

สอนเสริม

 

การปฏิบัติงาน

ภาคสนาม

การศึกษาด้วยตนเอง

6 ชั่วโมง/สัปดาห์

สอนเสริมตามความต้องการของนักศึกษาเฉพาะราย

40 ชั่วโมง

6 ชั่วโมง/สัปดาห์

 

 

3. จำนวนชั่วโมงต่อสัปดาห์ที่อาจารย์ให้คำปรึกษาและแนะนำทางวิชาการแก่นักศึกษาเป็นรายบุคคล

คณะอาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษา  แนะนำแก้ปัญหาทางวิชาการและกำกับติดตามความก้าวหน้าทางการเรียนรู้และทักษะปฏิบัติ แก่นักศึกษาเป็นรายบุคคลเป็นรายบุคคล  3 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ต่ออาจารย์ 1 ท่าน

 

                                                                         

 

หมวดที่ 4 การพัฒนาผลการเรียนรู้ของนักศึกษา

มาตรฐานผลการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผลการเรียนรู้ตามทักษะที่ต้องการพัฒนา  5 ด้าน      ดังนี้

1. คุณธรรม จริยธรรม

            1.1  คุณธรรม จริยธรรมที่ต้องพัฒนา

ปลูกฝังความรักการเรียนรู้  ความมีวินัย การแสวงหาความรู้อย่างต่อเนื่อง ความซื่อสัตย์ต่อตนเอง ความซื่อสัตย์เชิงวิชาการ ความรับผิดชอบ การทำงานร่วมกับผู้อื่นความมีน้ำใจและจรรยาบรรณนักวิจัย

1.2  วิธีการสอน

* สอดแทรกคุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณที่ต้องพัฒนาระหว่างการเรียนการสอนทุกครั้ง

* การแสดงความคิดเห็นและการแสดงออกในเรื่องความมีวินัย การแสวงหาความรู้ ความซื่อสัตย์ ความรับผิดชอบและความน้ำใจ

* การปฏิบัติตนอันเป็นแบบอย่างที่ดีของอาจารย์ผู้สอน

1.3  วิธีการประเมิน

ประเมินจากพฤติกรรมทั้งในชั้นเรียนนอกชั้นเรียน และผลงานเชิงประจักษ์

2. ความรู้

2.1 ความรู้ที่ได้รับ

ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพื้นฐานทางการวิจัยและกระบวนการวิจัย  ความรู้ความเข้าใจลักษณะของการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาและพัฒนาเด็กปฐมวัย  ศึกษาความสัมพันธ์ของขั้นตอนในกระบวนการวิจัย  หมวดหมู่ประเภทของข้อมูลงานวิจัย พัฒนาทักษะในการแสวงหาความรู้โดยใช้วิธีการที่หลากหลายและนำข้อมูลความจริงที่น่าเชื่อถือและมีเหตุผลมาสู่การคิดวิเคราะห์  ความรู้ความเข้าใจด้านพื้นฐานการวิจัยและสภาพการณ์ของการศึกษาปฐมวัย  การวิจัยทางการศึกษาปฐมวัยที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาการพัฒนาเด็กและองค์ประกอบที่เกี่ยวข้องกับงานพัฒนาเด็ก  โครงการวิจัยทางการศึกษา  ระเบียบวิธีและกระบวนการวิจัยทางการศึกษา  ระเบียบวิธีและกระบวนการวิจัยในชั้นเรียน  ทดลองปฏิบัติการวิจัยทางการศึกษาปฐมวัยและปฏิบัติการวิจัยในชั้นเรียน

2.2 วิธีการสอน

วิธีสอนใช้รูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสานระหว่างการสอนแบบสร้างองค์ความรู้ การสอนแบบประสบการณ์ที่เน้นการปฏิบัติ การเรียนรู้แบบร่วมมือ และการสอนคิดวิเคราะห์ โดยใช้เทคนิคการสอนด้วยวิธีการศึกษาเอกสารประกอบการสอน การศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมด้วยตนเอง   การจัดทำโครงงานวิจัย  การดำเนินงานวิจัยทางการศึกษาเป็นกลุ่มและปฏิบัติการวิจัยในชั้นเรียนเป็นรายบุคคล  การปฏิบัติการภาคสนาม การศึกษาจากแหล่งเรียนรู้นอกห้องเรียน   การรวบรวมข้อมูล การแสวงหาข้อมูล การวิเคราะห์  การบรรยาย การยกตัวอย่าง  การเชิญวิทยากรมาบรรยาย  การแสดงความคิดเห็นเชิงหลักการและร่วมกันอภิปราย  การนำเสนอผลงานกลุ่มและเดี่ยว การสะท้อนคิดและการประเมินตนเอง

2.3 วิธีการประเมิน

การประเมินผลใช้วิธีการประเมินผลที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง โดยครอบคลุมการประเมินดังนี้

2.3.1 ประเมินสาระการเรียนรู้ ได้แก่ ความรู้ที่จำเป็นพื้นฐานของชุดวิชา  ทักษะการปฏิบัติที่สำคัญของชุดวิชา  และ ทักษะการคิดและกระบวนการแสวงหาความรู้ของชุดวิชา

2.3.2 ประเมินความก้าวหน้าของความรู้และทักษะ โดยประเมินเป็นพัฒนาการของการเรียนรู้จากสาระการเรียนรู้ข้อ 2.3.1

2.3.3 ประเมินจิตพิสัยความเป็นครูระดับปฐมวัย โดยประเมินจากสภาพจริง

วิธีการประเมินผลของชุดวิชา ได้แก่ การประเมินจากการเข้าชั้นเรียน ความสนใจ ความตั้งใจ ความเอาใจใส่และรับผิดชอบ ความซื่อสัตย์ต่อตนเองและความซื่อสัตย์ทางวิชาการ จรรยาบรรณนักวิจัย  การอภิปราย การดำเนินงานวิจัยทางการศึกษาเป็นกลุ่มและปฏิบัติการวิจัยในชั้นเรียนเป็นรายบุคคล  การค้นคว้า การจัดแสดงผลงาน การค้นคว้าด้วยตนเอง การแสดงความคิดเห็นและสะท้อนการคิดจากการอภิปราย การบรรยาย การสะท้อนคิด การถอดประสบการณ์  บุคลิกภาพ ความร่วมมือ รายงานวิจัยกลุ่มและรายงานวิจัยเดี่ยว ผลการนำเสนอผลการปฏิบัติงานวิจัย รายงานการวิจัยในชั้นเรียน การทดสอบสาระการเรียนรู้กลางภาคและปลายภาคเรียน

3. ทักษะทางปัญญา

            3.1 ทักษะทางปัญญาที่ต้องพัฒนา

การคิดวิเคราะห์ การคิดสังเคราะห์ การคิดเชิงวิทยาศาสตร์  การคิดอย่างมีวิจารณญาณ การสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง การสืบค้นองค์ความรู้ การขยายองค์ความรู้และบูรณาการองค์ความรู้จากการบรรยาย การวิพากษ์ การอภิปราย  การสะท้อนคิด การถอดประสบการณ์ การศึกษาเอกสารงานวิจัยเพิ่มเติมมาประยุกต์ใช้ในการวิจัย  การศึกษาวิธีการทำโครงงานวิจัย การพัฒนา การแก้ไขประเด็นปัญหาต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาปฐมวัย

            3.2 วิธีการสอน

ใช้การบรรยาย การวิพากษ์ การอภิปราย  การสะท้อนคิด การถอดประสบการณ์ การวิเคราะห์เอกสารและงานวิจัย กระบวนการกลุ่มในการอภิปราย การสะท้อนคิด การแสวงหาหลักการและเหตุผล การคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ การซักค้าน การปฎิบัติการทำโครงงานวิจัย การศึกษาระเบียบวิธีและกระบวนการวิจัยจากการดำเนินงานวิจัยทางการศึกษาเป็นกลุ่มและปฏิบัติการวิจัยในชั้นเรียนเป็นรายบุคคล

3.3 วิธีการประเมิน

ประเมินผลจากการเข้าชั้นเรียน การอภิปราย การทำรายงาน การค้นคว้า การนำเสนอรายงานในชั้นเรียน การค้นคว้าด้วยตนเอง แสดงความคิดเห็นเชิงหลักการเหตุผล การถอดประสบการณ์และสะท้อนการคิดจากการอภิปราย การบรรยาย การรายงานวิจัยกลุ่มและรายงานวิจัยเดี่ยว และผลการนำเสนอรายงานวิจัยทางการศึกษาและรายงานวิจัยในชั้นเรียนจากการค้นคว้าทดลองด้วยตนเอง

4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ

4.1 ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบที่ต้องพัฒนา

มีความรับผิดชอบต่อการเรียนรู้และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง สร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้เรียน มีความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีความรับผิดชอบ ความร่วมมืออย่างสร้างสรรค์

            4.2 วิธีการสอน

การเรียนแบบร่วมมือ โดยเปิดโอกาสให้ทำกิจกรรมกลุ่มในลักษณะต่างๆ เช่น การรายงาน การอภิปรายร่วม การประชุมกลุ่มสัมมนา

4.3 วิธีการประเมิน

ประเมินผลจากการความรับผิดชอบในการปฏิบัติกิจกรรมในชั้นเรียน ทักษะการเป็นผู้นำผู้ตาม การยอมรับความคิดเห็น ให้ความร่วมมือ และประเมินจากผลการทำกิจกรรมกลุ่มและการทำรายงาน

5. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

5.1 ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่ต้องพัฒนา

สามารถใช้ภาษาพูด ภาษาเขียน ในการสื่อสาร ใช้คอมพิวเตอร์/อินเตอร์เนตในการสืบค้นข้อมูลและจัดการข้อมูลอย่างเป็นระบบและถ่ายทอดสารสนเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ

            5.2 วิธีการสอน

สอนโดยการใช้ power point กรณีศึกษา วีดิทัศน์ การยกตัวอย่าง การทำกิจกรรมกลุ่มในลักษณะต่างๆ เช่น การรายงาน การอภิปรายร่วม การประชุมกลุ่มสัมมนา การสืบค้นข้อมูลจาก Internet และ Website ฐานข้อมูลต่างๆ

5.3 วิธีการประเมิน

ประเมินผลจากการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร  การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่จำเป็นในการแสดงข้อมูลเอกสารประกอบเพื่อการนำเสนอรายงานวิจัยหน้าชั้นเรียน  และการเขียนเรียบเรียงรายงานวิจัยอย่างถูกต้องตามระเบียบวิธีการวิจัย

 

หมวดที่ 5 แผนการสอน และ การประเมินผล

 

1. แผนการสอน 

 

สัปดาห์ที่

 

หัวข้อ/รายละเอียด

จำนวนชั่วโมง

กิจกรรมการเรียน

การสอน/สื่อที่ใช้

1-2

 

1. แนะนำรายวิชา กิจกรรมการเรียนการสอน และวิธีการวัดและประเมินผล

2. ความหมายและความสำคัญของการวิจัย

3. ประเภทของงานวิจัยทางสังคมศาสตร์และพฤติกรรมศาสตร์

   3.1 การวิจัยเชิงปริมาณ

   3.2 การวิจัยเชิงคุณภาพ

 

12

1. ร่วมกันอภิปรายและสรุปเกี่ยวกับวิธีการแสวงหาความจริงที่เชื่อถือได้

2. นักศึกษาศึกษา  ค้นคว้า สืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับประเภทการวิจัยและแสดงความเห็นร่วมกัน

3. ทำเอกสารสรุปถึงความหมายและความสำคัญของการวิจัย

4. . ทำเอกสารสรุปถึงประเภทงานวิจัยและลักษณะงานวิจัยแต่ละประเภท

สื่อที่ใช้

1. Power Point

2. ตัวอย่างงานวิจัยแบบต่าง ๆ

3. แผนภูมิสรุปประเภทงานวิจัยและลักษณะงานวิจัยแต่ละประเภท

3-4

 

1. กระบวนการวิจัยทางการศึกษา

1) ปัญหาการวิจัย

2) การศึกษาวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง

3) การออกแบบการวิจัย

4) การรวบรวมข้อมูล

5) การวิเคราะห์ข้อมูล

12

1. ศึกษาเอกสารงานวิจัยและร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับกระบวนการวิจัย ร่วมกันสรุปเป็นแผนภูมิ แสดงกระบวนการวิจัย

2. สนทนาอภิปรายเกี่ยวกับลักษณะของปัญหาการวิจัย โดยอภิปรายถึงที่มาและความสำคัญของปัญหาซึ่งนำมาสู่การวิจัย

3. ให้ศึกษาหาความสัมพันธ์ระหว่างปัญหาการวิจัยและวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง พร้อมทั้งนำเสนอความคิดเห็น

4. ให้ศึกษาเอกสารงานวิจัยเพื่อให้เข้าใจถึงความสัมพันธ์

สัปดาห์ที่

 

หัวข้อ/รายละเอียด

จำนวนชั่วโมง

กิจกรรมการเรียน

การสอน/สื่อที่ใช้

3-5

6) การสรุปอภิปรายผล และเสนอแนะ

7) การเขียนรายงานผลการวิจัย

2. การเขียนโครงการวิจัย

3. งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาปฐมวัยในประเด็นต่าง ๆ ได้แก่

  - การจัดการศึกษา

  - การพัฒนาเด็ก

  - พัฒนาการเด็ก

  - สภาพแวดล้อมและสื่อ

  - การประเมินผลพัฒนาการ

  - การจัดกิจกรรมและประสบการณ์

  - นวัตกรรมทางการศึกษาปฐมวัย

  - การให้การศึกษาแก่ผู้ปกครองและชุมชน

 

18

ระหว่างปัญหาการวิจัย  วรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง  การออกแบบการวิจัย  การรวบรวมข้อมูล  การวิเคราะห์ข้อมูลการสรุป  อภิปรายผลและเสนอแนะ

5. นักศึกษาแต่ละคนศึกษาตัวอย่างงานวิจัยและสรุปกระบวนการ วิจัยในแต่ละขั้นตอน  พร้อมทั้งแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของแต่ละส่วนของกระบวนการวิจัยของตัวอย่าง

6. ศึกษาผลงานวิจัยและวิธีการเขียนรายงานผล

7. ร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับกระบวนการวิจัย ผลการวิจัย และการนำกระบวนการวิจัยไปใช้ในการศึกษาเกี่ยวกับเด็กปฐมวัย

8. แสดงความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับกระบวนการวิจัยที่นำไปใช้ในการศึกษาเกี่ยวกับการศึกษาปฐมวัย และประโยชน์ที่จะได้รับจากการศึกษาวิจัยนั้น ๆ

9. ให้แบ่งกลุ่มละ 10-12 คน ร่วมกันศึกษาและปฏิบัติการทำวิจัยทางการศึกษาปฐมวัยตามประเด็นที่กลุ่มสนใจ

สื่อที่ใช้

1. Power Point

2. ตัวอย่างงานวิจัยและรายงานผลการวิจัยทางการศึกษาปฐมวัยแบบต่าง ๆ

6-8

การวิจัยทางการศึกษาปฐมวัย

36

การเรียนรู้ภาคสนาม ปฏิบัติการวิจัยทางการศึกษาปฐมวัย

9

ประเมินกลางภาค

6

1. รายงานผลการปฏิบัติการวิจัยทางการศึกษาปฐมวัย

2. ทดสอบกลางภาค

10-11

 

1. การวิจัยใน

ชั้นเรียน

1) ความหมายและความสำคัญของการวิจัยในชั้นเรียน

2) ระเบียบวิธีและ

12

1. ศึกษาตัวอย่างผลงานวิจัยในชั้นเรียน

2. ร่วมกันสรุปลักษณะของการวิจัยในชั้นเรียน

3. เปรียบเทียบและแสดงความคิดเห็นระหว่างวิจัยทางการศึกษาและวิจัยในชั้นเรียน

4. สรุปถึงลักษณะของวิจัยในชั้นเรียน

5. ร่วมกันแสดงความความคิดเห็นถึงความสำคัญและ

สัปดาห์ที่

 

หัวข้อ/รายละเอียด

จำนวนชั่วโมง

กิจกรรมการเรียน

การสอน/สื่อที่ใช้

10-11

กระบวนการวิจัยในชั้นเรียน

2. การเขียนรายงานการวิจัย

1) ส่วนประกอบของรายงานการวิจัย

2) หลักการเขียนรายงานการวิจัย

3. การนำเสนอผลการวิจัย

1) การเสนอข้อค้นพบจาก การวิจัย

2) การประยุกต์ ใช้ผลการวิจัยเพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัย

12

ความจำเป็นของการวิจัยในชั้นเรียนกับการจัดการศึกษาปฐมวัย

6. ร่วมกันแลกเปลี่ยนเรียนปัญหาในชั้นเรียนจากประสบการณ์ที่พบในการฝึกปฏิบัติการวิชาชีพครู 3

7. ฝึกปฏิบัติเขียนโครงร่างการวิจัยในชั้นเรียนจากสถานการณ์จริงที่พบในการฝึกปฏิบัติการวิชาชีพครู 3

สื่อที่ใช้

1.เอกสารที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยในชั้นเรียน

2. ตัวอย่างงานวิจัยในชั้นเรียน

3. ตัวอย่างสถานการณ์ที่เป็นปัญหาต่อการพัฒนาเด็กในชั้นเรียนปฐมวัย

12-14

การวิจัยในชั้นเรียน

36

การเรียนรู้ภาคสนาม ปฏิบัติการวิจัยในชั้นเรียนรายบุคคล

15

รายงานผลการปฏิบัติการวิจัยในชั้นเรียน

6

1. บรรยาย อภิปราย สะท้อนคิด แลกเปลี่ยนเรียนรู้จากปฏิบัติการวิจัยในชั้นเรียน

2. ศึกษาวิธีการนำเสนอข้อมูลการวิจัย

3.. ร่วมกันจัดแสดงผลงานวิจัยและนำเสนอผลงานวิจัยให้ผู้อื่นรับทราบทั้งในรูปเอกสารและการนำเสนอด้วยวาจา

4. ร่วมกันสรุปถึงผลการวิจัยที่ค้นพบโดยจัดทำเป็นเอกสารรวมผลงานวิจัย

16

1. ทดสอบปลายภาค

2. สอบถามความคิดเห็นการจัดการเรียนการสอน

6

 

 

 

 

 

 

 

 

 

2. แผนการประเมินผลการเรียนรู้

 

กิจกรรมที่

ผลการเรียนรู้*

กิจกรรมการประเมิน

กำหนดการประเมิน (สัปดาห์ที่)

สัดส่วนของการประเมินผล

1

ความรู้และทักษะการ

นำเสนอรายงานการวิจัยกลุ่ม

8/16

50

 

วิเคราะห์ การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

และเดี่ยว

และ

15/16

 

2

การนำความรู้ไปใช้

การสอบกลางภาค    

9

15

3

การนำความรู้ไปใช้

การสอบปลายภาค

16

15

4

จรรยาบรรณ ความรับผิดชอบ

การเข้าชั้นเรียน

ทุกสัปดาห์

10

5

ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ

การสังเกต/การปฏิบัติงานกลุ่มการอภิปราย การควบคุมการใช้ภาษาและอารมณ์

ทุกสัปดาห์

10

  •  ระบุผลการเรียนรู้หัวข้อย่อยตามที่ปรากฏในแผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบของรายวิชาของรายละเอียดของหลักสูตร        (แบบ มคอ. 2)

หมวดที่ 6  ทรัพยากรประกอบการเรียน

  1. ตำราหลัก       เอกสารประกอบการสอนชุดวิชา  
  2. ตำรา/เอกสารประกอบ   

6.3.1    รายงานการวิจัยทางการศึกษาปฐมวัย

6.3.2    รายงานการวิจัยในชั้นเรียนด้านการศึกษาปฐมวัย 

  1. หนังสือนอกเวลา
    1. วารสารการศึกษาปฐมวัย
    2. นวัตกรรมการสอนปฐมวัย
  2. เวปไซด์ชุดวิชา

Ajarnwow Gotoknows

Ajarnwow Learners

  1. สื่อการเรียนอื่น ๆ
    1. เอกสารสิ่งพิมพ์เกี่ยวกับพัฒนาการเด็ก 
    2. เอกสารสิ่งพิมพ์เกี่ยวกับการประเมินผลพัฒนาการเด็กปฐมวัย
  2. E-mall  ผู้สอน [email protected]

E-mall  ผู้สอน [email protected]

                         

หมวดที่ 7  การประเมินและปรับปรุงการดำเนินการของรายวิชา

1.  กลยุทธ์การประเมินประสิทธิผลของรายวิชาโดยนักศึกษา

            1.1 ประเมินผลการสอนโดยใช้ระบบออนไลน์

            1.2 สอบถามความคิดเห็นจากนักศึกษาในสัปดาห์สุดท้าย

1.3 ให้นักศึกษาเขียนแสดงความคิดเห็นการสอนในสัปดาห์สุดท้าย

2.  กลยุทธ์การประเมินการสอน

ศึกษาจากผลลัพธ์การเรียนรู้และความก้าวหน้าทางการเรียนรู้ของนักศึกษาจากมาตรฐานผลการเรียนรู้ตามทักษะที่ต้องการพัฒนา  5 ด้าน ได้แก่  ด้านคุณธรรม จริยธรรม  ด้านความรู้  ด้านทักษะทางปัญญา  ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ  ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

3.  การปรับปรุงการสอน

            3.1 นำผลการประเมินมาใช้ในการปรับปรุงการสอน

3.2 ค้นคว้าข้อมูลความรู้ใหม่ๆ นำมาใช้ในการสอน

3.3 พัฒนาชุดวิชาให้มีสาระวิชาและการสอนให้เหมาะสม ทันสมัยเป็นปัจจุบัน และน่าสนใจ

3.4 นำปัญหาที่พบเกี่ยวกับการเรียนการสอนมาปรับปรุงพัฒนาวิธีการสอนหรือสร้างรูปแบบการสอนที่เหมาะสมกับธรรมชาติของชุดวิชาด้วยการวิจัยเชิงปฏิบัติการ

4. การทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์รายวิชาของนักศึกษา

          4.1 ประชุมคณาจารย์ผู้สอนทุกกลุ่มเพื่อทวนสอบคะแนนและเกรดของนักศึกษา

            4.2 ให้นักศึกษาได้มีโอกาสตรวจสอบคะแนนและเกรดก่อนส่งเกรดให้สำนักทะเบียนและประมวลผล

4.3 ก่อนการสอบกลางภาคและปลายภาค จัดประชุมคณาจารย์เพื่อออกข้อสอบร่วมกับการพัฒนาข้อสอบเพื่อให้ได้มาตรฐาน

5.  การดำเนินการทบทวนและการวางแผนปรับปรุงประสิทธิผลของรายวิชา

นำผลที่ได้จากการสอบถามความคิดเห็น คะแนนสอบของนักศึกษา ความก้าวหน้าทางการเรียนรุ้ของนักศึกษา การประชุมสัมมนา นำมาสรุปผลและพัฒนาชุดวิชาก่อนการสอนในปีการศึกษาต่อไป


ClassStart ให้บริการฟรีโดย บริษัท ปิยะวัฒนา จำกัด
เราเป็นกิจการเพื่อสังคม (Social Enterprise)
สนับสนุนโดย
ผู้ไม่ประสงค์ออกนามท่านหนึ่ง (2563-2566)
มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์ (2561-2563)
กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (2557-2558)
กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (2557)
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (2554-2558)
GotoKnow
ClassStart Books