กศน.ตำบลทุ่งทราย


ผู้สอน
นาง ยุพิน โตโทน
เข้าสู่ระบบเมื่อ เกือบ 12 ปี ที่แล้ว

ชื่อวิชา
กศน.ตำบลทุ่งทราย

รหัสวิชา
1590

สถานศึกษา
ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย

คำอธิบายวิชา

 

ฝึกทักษะการคิดและลักษณะการคิดต่าง ๆ

ทักษะการคิด คือ ความสามารถในการคิดที่เป็นพื้นฐานของการคิดระดับสูง ทักษะของการคิดมีหลายทักษะ เช่น การจำแนก การแยกแยะ การขยายความ การสรุป การคิดริเริ่ม เป็นต้น ลักษณะการคิดคือ รูปแบบของการคิดที่ประกอบด้วยทักษะการคิดหลาย ๆ ทักษะที่แตกต่างกัน ซึ่งการแก้ปัญหาหนึ่งๆได้นั้น อาจต้องใช้ทักษะการคิดหลายแบบประกอบกัน ทักษะการคิดและลักษณะการคิดที่สำคัญ ที่มักใช้เป็นประจำในชีวิตประจำวัน มีแบบต่าง ๆ ดังจะได้กล่าวต่อไปนี้

ฝึกทักษะการคิดและลักษณะการคิดต่าง ๆ

ทักษะการคิด คือ ความสามารถในการคิดที่เป็นพื้นฐานของการคิดระดับสูง ทักษะของการคิดมีหลายทักษะ เช่น การจำแนก การแยกแยะ การขยายความ การสรุป การคิดริเริ่ม เป็นต้น ลักษณะการคิดคือ รูปแบบของการคิดที่ประกอบด้วยทักษะการคิดหลาย ๆ ทักษะที่แตกต่างกัน ซึ่งการแก้ปัญหาหนึ่งๆได้นั้น อาจต้องใช้ทักษะการคิดหลายแบบประกอบกัน ทักษะการคิดและลักษณะการคิดที่สำคัญ ที่มักใช้เป็นประจำในชีวิตประจำวัน มีแบบต่าง ๆ ดังจะได้กล่าวต่อไปนี้

ฝึกทักษะการคิดและลักษณะการคิดต่าง ๆ

ทักษะการคิด คือ ความสามารถในการคิดที่เป็นพื้นฐานของการคิดระดับสูง ทักษะของการคิดมีหลายทักษะ เช่น การจำแนก การแยกแยะ การขยายความ การสรุป การคิดริเริ่ม เป็นต้น ลักษณะการคิดคือ รูปแบบของการคิดที่ประกอบด้วยทักษะการคิดหลาย ๆ ทักษะที่แตกต่างกัน ซึ่งการแก้ปัญหาหนึ่งๆได้นั้น อาจต้องใช้ทักษะการคิดหลายแบบประกอบกัน ทักษะการคิดและลักษณะการคิดที่สำคัญ ที่มักใช้เป็นประจำในชีวิตประจำวัน มีแบบต่าง ๆ ดังจะได้กล่าวต่อไปนี้

 

การคิดวิเคราะห์และคิดผสมผสาน

การคิดวิเคราะห์เป็นการแบ่งหรือแยกแยะสิ่งที่สนใจ หรือสิ่งที่เราต้องการศึกษาออกเป็นส่วนย่อย ๆ หรือออกเป็นแง่มุมต่าง ๆ แล้วทำการศึกษาส่วนย่อย ๆ นั้นอย่างละเอียด ซึ่งจะทำให้เกิดความเข้าใจหรือมีความรู้เกี่ยวกับสิ่งที่สนใจหรือสิ่งที่ต้องการศึกษาได้มากขึ้น การคิดผสมผสาน เป็นการรวมความรู้ย่อย หรือผลจากการวิเคราะห์ให้เป็นข้อมูลใหม่ ข้อสรุปใหม่ กระบวนการใหม่ หรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในรูปแบบใหม่ได้มากยิ่งขึ้น

การฝึกการคิดวิเคราะห์มี 2 ขั้นตอนคือ

ขั้นที่ 1. ฝึกหัดแบ่งหรือแยกแยะสิ่งที่สนใจ หรือสิ่งที่ต้องการศึกษา

ขั้นที่ 2. ทำการศึกษาส่วนย่อยที่แบ่งหรือแยกแยะออกมาอย่างลึกซึ้ง

 

การคิดริเริ่ม

การคิดริเริ่ม เป็นการคิดที่ให้ผลของการคิดที่มีความแปลกใหม่แตกต่างไปจากความคิด ของคนทั่ว ๆ ไป มีลักษณะหรือมุมมองไม่เหมือนผู้อื่น เป็นการนำความรู้เดิมมาดัดแปลงให้เป็นความคิดใหม่ซึ่งไม่ซ้ำกับใคร

การเปิดใจให้กว้างเพื่อหาวิธีใหม่ ๆ

การค้นพบสิ่งใหม่ๆ คือ การมองสิ่งของเดียวกับที่ทุกคนมองอยู่ แต่คิดต่างจากพวกเขา” อัลเบิร์ต เซนต์ จอร์จี นักฟิสิกส์ชื่อดัง ที่เคยพิชิตรางวัลโนเบล

 ตัวอย่าง 2.4 ความคิดเห็นที่สร้างสรรค์ ( จากหนังสือศิลปะการเสริมสร้างพลังความคิดสร้างสรรค์ ดร . โรเบิร์ต ดับบลิว ออลสันเขียน มนูญ ตนะวัฒนา แปลและเรียบเรียง 2537 : 19) ลูกจ้างคนหนึ่งของรัฐแคลิฟอร์เนีย ได้รับรางวัลด้านคุณงามความดี เป็นเงินจำนวน 5,500 ดอลลาร์ จากความคิดเห็น ด้านสร้างสรรค์ของเขา ที่ได้ช่วยประหยัดเงินของรัฐถึง 110,000 ดอลลาร์ด้วยการใช้วิธีการเปลี่ยนเครื่องหมายจราจรที่สะท้อนแสง ซึ่งใช้สำหรับเขต การก่อสร้างทางหลวงที่มีข้อความว่า “ คนกำลังทำงาน” และ “ ทางอ้อมข้างหน้า” จากสีเหลืองให้เป็นสีส้ม เพื่อให้เป็นไปตามกฎใหม่ของรัฐ รัฐได้สรุปว่า เราจะต้องโยนเครื่องหมายสีเหลืองอันเดิมทิ้งไป และซื้ออันใหม่มาแทน เพราะพื้นผิวด้านหน้าของอลูมิเนียมที่ทาด้วยสีสะท้อนแสงนั้น ไม่สามารถนำมาทาสีทับใหม่ได้ ลูกจ้างคนนี้ได้ช่วยเหลือโดยการใช้ความคิดสร้างสรรค์ ค้นหา และพัฒนาวิธีทาสีทับเครื่องหมายสีเหลืองอันเดิม ด้วยการใช้กาวสีแดงเข้มทาทับ ทำให้ได้แผ่นป้าย จราจรกลายเป็นสีส้มตามที่ปรารถนา

 

การคิดละเอียด ชัดเจน

การคิดละเอียดชัดเจน หมายถึงการคิดที่ให้ผลของการคิดที่มีรายละเอียดทั้งส่วนที่เป็นหลัก ของเรื่องที่คิด และส่วนที่เป็นองค์ประกอบย่อยของหลักที่คิด รวมถึงการคิดที่ชัดเจนโดยสามารถอธิบายเรื่องที่คิดหรือยกตัวอย่างที่สอดคล้องกับเรื่องที่คิดได้ และในกรณีที่เป็นความคิดเกี่ยวกับการปฏิบัติ จะต้องสามารถ บอกขั้นตอนการปฏิบัติได้ การฝึกการคิดละเอียด ชัดเจน สามารถทำได้โดยฝึกให้ขยายความโดยการอธิบายเพิ่มเติม การยกตัวอย่าง คำอุปมาอุปไมย คำพังเพย ประกอบการอธิบาย และฝึกให้คิดถึงขั้นตอนในการดำเนินการต่างๆ ซึ่งอาจใช้การเขียนแผนผังช่วย ซึ่งแผนผังที่ใช้มีหลายแบบเช่น แผนผังก้างปลา แผนที่ความคิด(Mind mapping) แผนภูมิ ในที่นี้จะยกตัวอย่างวิธีการฝึกการคิดละเอียด ชัดเจน โดยการเขียนแผนผังความคิดซึ่งมีประโยชน์มาก ในการวางแผนการปฏิบัติงานต่างๆ  

 

เทคนิคการเขียนแผนผังความคิด (Mind Mapping)

การเขียนแผนผังความคิด ช่วยให้เกิดอิสระทางความคิด สามารถระดมความคิดจัด หมวดหมู่ความคิด และใช้สรุปย่อเรื่องที่สนใจซึ่งอาจเป็นเรื่องที่ได้จากการฟัง การอ่าน ซึ่งมีผลช่วยในการจำได้อย่างดี นอกจากนี้ยังฝึกการใช้สมองทั้ง 2 ซีกด้วย การเขียนแผนผังความคิดมีวิธีการสั้น ๆ ดังนี้

1) เขียนหัวข้อหรือวาดภาพเรื่องที่ต้องการคิดไว้กลางหน้ากระดาษ

2) ลากเส้นออกมาจากหัวข้อหรือภาพในข้อ 1) โดยจะเป็นเส้นตรงหรือเส้นโค้งก็ได้ อาจเรียกว่ากิ่ง และเขียนปัจจัยหลักหรือ หัวข้อสำคัญ ไว้เหนือเส้นที่เป็นกิ่ง ซึ่งการนึกถึงปัจจัยหลักนี้อาจคิดประกอบเป็นภาพจำลองของเหตุการณ์ที่สนใจก็ได้ ดูภาพที่ 2.8 (1)

 

ภาพที่ 2.8 (1)

ภาพที่ 2.8 (2)

3)เขียนปัจจัยรองหัวข้อรองซึ่งเป็นรายละเอียดหรือเนื้อหาที่สำคัญของแต่ละหัวข้อหลัก บนเส้นแขนงที่ต่อออกไปจากแต่ละกิ่ง ที่ทำไว้ในภาพที่ 2.8(1) เป็นภาพที่ 2.8 (2)

4) พยายามคิดถึงรายละเอียดเพิ่มเติม ขยายต่อไปในแต่ละแขนงของภาพที่ 2.8 (2) และเขียนเป็นข้อความไว้บนเส้น ที่แตกย่อยออกไปจากแขนงนั้น ๆ

การเขียนแผนผังความคิดนี้สามารถเพิ่มเติมเส้นกิ่ง แขนง หรือแขนงย่อยได้เสมอเมื่อพบหัวข้อหลัก หัวข้อรองที่เกี่ยวข้อง หรือน่าสนใจในภายหลัง นอกจากนี้แผนผังความคิดสามารถทำให้น่าสนใจ เห็นหัวข้อที่สำคัญและสวยงามเพิ่มขึ้นได้อีก เช่น ทำให้ขนาดของเส้นมีความหนามากหรือน้อยแตกต่างกันตามลำดับขั้นของการเขียนจากศูนย์กลางของภาพ ซึ่งขนาดของเส้นจากศูนย์กลางของภาพจะมีความหนามากที่สุดและค่อย ๆ มีความหนาลดลง หรือให้ความหนาของตัวอักษรที่เขียนแตกต่างกันโดยหัวข้อสำคัญมีอักษรตัวใหญ่และหนา หัวข้อรองเป็นอักษรตัวเล็กกว่า และอาจใช้สีหรือภาพวาดประกอบให้สวยงามก็ได้

ตัวอย่าง 2.15 ถ้าต้องการเขียนแผนผังความคิดในหัวข้อการจัดอบรมอาจารย์วิชาการคิดและการตัดสินใจนอกสถานที่สามารถเขียนแผนผังความคิดอย่างง่าย ๆ ได้ดังภาพที่ 2.9

ภาพที่ 2.9 แผนผังความคิดเกี่ยวกับการเตรียมอบรมวิชาการคิดและการตัดสินใจ 

 

การคิดอย่างมีเหตุผล

การคิดอย่างมีเหตุผล เป็นการคิดที่อ้างอิงหลักฐานมาสนับสนุนเพื่อให้ได้ข้อสรุปที่ถูกต้อง โดยสามารถอธิบายหรือบอกความสัมพันธ์ระหว่างที่อ้าง กับข้อสรุปได้ ซึ่งส่งผลให้ผู้ที่มีความคิดอย่างมีเหตุผล สามารถชักชวนหรืออธิบายให้ผู้อื่นยอมรับ หรือเชื่อถือได้ และยังส่งผลให้เป็นคนที่ได้มี การพิจารณารอบคอบมากขึ้น ก่อนการตัดสินใจในเรื่องต่าง ๆ หลักฐานที่นำมาอ้างอิงได้แก่ ข้อมูล ข้อเท็จจริง หลักการ หรือกฎเกณฑ์ต่าง ๆข้อสรุป ที่ได้ ได้แก่ กฎเกณฑ์ใหม่ การตัดสินใจ ผลสรุป ข้ออ้างอิง ความสัมพันธ์ การตัดสินประเมินค่า สมมติฐาน หลักการใหม่ ข้อสรุปที่ได้นั้นอาจ เป็น การอ้างอิงจากข้อเท็จจริงหลาย ๆ ข้อมาสรุป หรืออาจต้องใช้ความสามารถในการเปรียบเทียบ วิเคราะห์ ค้นหา ฯลฯ ช่วยให้ได้ข้อสรุปนั้น ๆ และถ้าข้อมูลมีไม่เพียงพออาจทำให้การสรุปนั้นผิดพลาดได้

การฝึกการคิดอย่างมีเหตุผล สามารถทำได้ เช่น

  • ให้ทำการสรุป จากข้อมูล ความรู้ ทฤษฎีที่กำหนดให้ ซึ่งข้อมูลนั้นอาจเป็นข้อความ ตัวเลข หรือรูปภาพ
  • กำหนดข้อมูล เหตุการณ์ หรือสถานการณ์ขึ้น แล้วให้บอกเหตุผลเพื่อสนับสนุนหรือคัดค้าน
  • ฝึกการตั้งสมมติฐาน ซึ่งเป็นการคาดคะเนคำตอบที่เป็นไปได้ จากข้อมูล หรือความรู้ย่อยที่ยังไม่สมบูรณ์
  • การคิดไกล

    การคิดไกล หมายถึงการคิดถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ทั้งต่อตนเองและส่วนรวม ซึ่งอาจเป็นผลที่เกิดขึ้นจากการกระทำในปัจจุบัน หรือเป็นจุดประสงค์หรือจุดมุ่งหมายที่ต้องการให้เกิดขึ้นในอนาคต การฝึกการคิดไกลจะส่งผลให้คิดในเรื่องเกี่ยวกับผลที่จะเกิดขึ้นในอนาคต รู้จักวางแผน เตรียมการสำหรับอนาคตที่ดี ป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาในอนาคต หรือป้องกันให้เกิดปัญหาน้อยที่สุด

    การฝึกการคิดไกล สามารถทำได้ดังต่อไปนี้

    1) กำหนดการกระทำ หรือสภาพการณ์ในปัจจุบัน แล้วฝึกให้คิดถึงผลที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เช่นนักศึกษาที่สนใจ มีความรับผิดชอบในการงาน การเรียน จะส่งผลอย่างไรในอนาคต ซึ่งในบางครั้งอาจเป็นการพยากรณ์ก็ได้

    2) กำหนดหลักการ จุดมุ่งหมายบางอย่าง แล้วให้ฝึกกำหนดขั้นตอนการปฏิบัติเพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมาย เช่น ได้รับมอบหมายให้ไปอบรมต่างจังหวัด 5 วัน โดยทราบสถานที่พักเรียบร้อยแล้ว ควรต้องเตรียมตัวอย่างไรก่อนวันเดินทาง


ClassStart ให้บริการฟรีโดย บริษัท ปิยะวัฒนา จำกัด
เราเป็นกิจการเพื่อสังคม (Social Enterprise)
สนับสนุนโดย
ผู้ไม่ประสงค์ออกนามท่านหนึ่ง (2563-2566)
มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์ (2561-2563)
กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (2557-2558)
กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (2557)
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (2554-2558)
GotoKnow
ClassStart Books