มัธยมศึกษาปีที่3


ผู้สอน
นาง เพ็ญศรี ใจกล้า
เข้าสู่ระบบเมื่อ ประมาณ 12 ปี ที่แล้ว

ชื่อวิชา
มัธยมศึกษาปีที่3

รหัสวิชา
1623

สถานศึกษา
โรงเรียนเชียงยืนพิทยาคม

คำอธิบายวิชา

 

สาระที่ ๓ เศรษฐศาสตร์

เรื่อง บทบาทหน้าที่ทางเศรษฐกิจที่แตกต่างกันของหน่วยธุรกิจและหน่วยรัฐบาล

 

เศรษฐศาสตร์ (Economics) มาจากภาษากรีก แปลว่า การบริหารจัดการครัวเรือน เศรษฐศาสตร์ หมายถึง วิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับการจัดสรรทรัพยากรที่มีอยู่จำกัด เพื่อผลิตสินค้าและบริการตอบสนองความต้องการ ของมนุษย์ที่มีอยู่อย่างไม่จำกัดให้เกิดประสิทธิภาพและประโยชน์สูงสุด

 

การแบ่งประเภทของวิชาเศรษฐศาสตร์    แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ

1. เศรษฐศาสตร์จุลภาค (Microeconomics) หมายถึง การศึกษาเศรษฐศาสตร์เฉพาะในส่วนย่อย ๆ ซึ่งเกี่ยวกับพฤติกรรมของบุคคล มักเกี่ยวข้องกับเป้าหมายทางด้านประสิทธิภาพในการ จัดสรรทรัพยากร เช่น การกำหนดราคา

2. เศรษฐศาตร์มหภาค (Macroeconomics) หมายถึง การศึกษาเศรษฐศาสตร์ในส่วนรวมทั้งระบบ เช่น รายได้ประชาชาติ การจ้างงานของประเทศ

ความสัมพันธ์ระหว่างวิชาเศรษฐศาตร์ กับศาสตร์อื่น ๆ

เศรษฐศาสตร์เป็นสาขาวิชาแขนงหนึ่งของวิชาสังคมศาสตร์ ที่ว่าด้วยการอยู่ร่วมกันของมนุษย์ในสังคม เนื่องจากสังคมศาสตร์เป็นวิชาที่กว้างและลึกซึ้งยากที่จะศึกษาได้ทุกแง่ทุกมุม จึงต้องแยกออกเป็นสาขาวิชาต่าง ๆ เช่น ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ รัฐศาสตร์

เศรษฐศาสตร์กับรัฐศาสตร์หมายถึง การปกครองประเทศให้มั่นคงต้องอาศัยความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจเป็นรากฐานเพื่อความเป็นเสถียรภาพทั้งการเมืองและเศรษฐกิจควบคู่กัน ประวัติศาสตร์เศรษฐกิจ การศึกษาเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจในเชิงประวัติศาสตร์

ประโยชน์ของการศึกษาวิชาเศรษฐศาสตร์

ประโยชน์ต่อตัวผู้เรียน

1. ช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจปัญหาเศรษฐกิจมากขึ้น

2. เป็นประโยชน์ต่อการประกอบอาชีพของผู้เรียนเอง

3. ช่วยให้ผู้เรียนมีความรู้และความเข้าใจในบทบาทและหน้าที่ของรัฐบาลในการพัฒนาประเทศมากขึ้น เช่น การเก็บภาษี การใช้จ่ายงบประมาณแผ่นดิน

4. สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน

5. รู้จักการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดได้อย่างคุ้มค่า

ประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศ

ใช้เป็นข้อมูลในการตัดสินใจเลือกใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด ผลิตสันค้าและบริการให้มีประสิทธิภาพและสนองความต้องการของประชาชนได้อย่างเพียงพอ

กระบวนการทางเศรษฐกิจประกอบด้วย การผลิต การบริโภค การแลกเปลี่ยน และการกระจายรายได้

การผลิต (Production)

การผลิตหมายถึง การนำปัจจัยการผลิตมาใช้เพื่อให้เกิดอรรถประโยชน์ในรูปของสินค้าและบริการเพื่อสนองความต้องการของมนุษย์

ปัจจัยการผลิต(Factor of production)

ปัจจัยการผลิต หมายถึง ทรัพยากรที่นำมาใช้ในการผลิตสินค้าและบริการ ประกอบด้วย

1. ที่ดิน หมายถึง พื้นที่ดินอันเป็นที่ตั้งของกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ผลตอบแทน คือ ค่าเช่า

2. ทุน หมายถึง สิ่งที่มนุษย์สร้างเพื่อใช้ในการผลิตเช่นเครื่องจักร  อุปกรณ์การผลิต ผลตอบแทน คือ ดอกเบี้ย

3. แรงงาน หมายถึง ความพยายามของมนุษย์เพื่อแสวงหารายได้มาดำรงชีพ ผลตอบแทน คือ ค่าจ้าง

4. ผู้ประกอบการหมายถึง การจัดตั้งองค์กรการผลิตขึ้นเพื่อใช้ในการผลิต ผลตอบแทน คือ ผลกำไร

ลำดับขั้นของการผลิต

1. การผลิตขั้นปฐมภูมิ เป็นการผลิตที่ได้จากการใช้ประโยชน์จากธรรมชาติโดยตรง เช่น การเพาะปลูก เลี้ยงสัตว์ ป่าไม้

2. การผลิตขั้นทุติยภูมิ เป็นการผลิตที่ได้จากการนำผลผลิตขั้นต้นหรือขั้นปฐมภูมิมาแปรรูปให้เป็นสินค้าและบริการใหม่ เช่น การหัตถกรรม การอุตสาหกรรม

3. การผลิตขั้นตติยภูมิ เป็นการผลิตในลักษณะของการให้บริการ เช่น การขนส่ง การบริการ

หน่วยธุรกิจและการบริหารจัดการ

หน่วยเศรษฐกิจที่สำคัญ ได้แก่ หน่วยครัวเรือน (Household) หน่วยธุรกิจ (Firm or Enterprise) และหน่วยรัฐบาล (Government Agency) แต่ละหน่วยเศรษฐกิจมีหน้าที่และวัตถุประสงค์แตกต่างกันไป ดังนี้

หน่วยครัวเรือน คือ หน่วยเศรษฐกิจที่ประกอบด้วยบุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไปที่อาศัยอยู่ด้วยกัน  มีการตัดสินใจร่วมกันในการใช้ทรัพยากรเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด  โดยสมาชิกของครัวเรือนอาจเป็นทั้งผู้ผลิต  ผู้บริโภค  และเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตไปพร้อมกันได้  หรือทำหน้าที่เพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง

หน่วยธุรกิจคือ บุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่ทำหน้าที่ผลิตและให้บริการโดยการรวบรวมปัจจัยการผลิตและการจัดการบริหารให้ปัจจัยการผลิตแปรไปเป็นสินค้าและบริการ  โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ได้รับกำไรสูงสุด ได้แก่

1. กิจการเจ้าของคนเดียว เป็นการประกอบการขนาดเล็กมีเจ้าของคนเดียว

2. ห้างหุ้นส่วน คือ หน่วยธุรกิจที่มีบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปรวมกันในการดำเนินกิจการ แบ่งเป็น 2 แบบ คือ

2.1ห้างหุ้นส่วนจำกัด คือ มีบุคคลร่วมกันรับผิดชอบตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปถือหุ้นจำกัดความรับผิดชอบในกรณีขาดทุนหรือมีหนี้สิน

2.2ห้างหุ้นส่วนสามัญ คือ มีบุคคลร่วมกันตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปถือหุ้นแบบไม่จำกัดความรับผิดชอบในกรณีขาดทุนหรือมีหนี้สิน

3. บริษัทจำกัด คือ บุคคลตั้งแต่ 7 คนขึ้นไปร่วมกันก่อตั้งและต้องจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลโดยผู้ถือหุ้นจะต้องรับผิดชอบในหนี้สินจำกัดไม่เกินมูลค่าหุ้นที่ตนถืออยู่ แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ

3.1บริษัทเอกชน มีการจำกัดจำนวนผู้ถือหุ้น ในการโอนกรรมสิทธิ์ ในการถือหุ้นต้องได้รับการยินยอมจากบริษัท และการเสนอขายหุ้นต้องกระทำเป็นการภายใน

3.2 บริษัทมหาชน เปิดโอกาสให้บุคคลภายนอกเข้าไปซื้อหุ้นของบริษัทได้ การเสนอขายหุ้นต้องเป็นไปอย่างเปิดเผย โดยผ่านตลาดหลักทรัพย์

4. สหกรณ์ คือ การจัดตั้งขึ้นโดยบุคคลตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป ซึ่งมีวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ มีสมาชิกเป็นผู้ถือหุ้นและจดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมาย

5. รัฐวิสาหกิจ คือ กิจการที่เป็นสินค้าและบริการสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานที่รัฐบาลเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ไม่น้อยกว่า 50%

                หน่วยรัฐบาล คือ หน่วยเศรษฐกิจที่ทำหน้าที่จัดสรรทรัพยากรของประเทศให้มีประสิทธิภาพ  โดยใช้นโยบายของรัฐบาลเป็นเครื่องมือในการจัดสรรทรัพยากร  เพื่อใช้ในหน่วยธุรกิจและหน่วยรัฐบาล  ทั้งนี้หน่วยรัฐบาลทำหน้าที่ผลิตสินค้าและบริการสาธารณะ  โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้สังคมได้รับประโยชน์มากที่สุด

บทบาททางเศรษฐกิจของหน่วยธุรกิจและวิธีการจัดสรรทรัพยากร

                สิ่งที่ใช้ในการผลิตเรียกว่า ปัจจัยการผลิตได้แก่ ที่ดิน  แรงงาน  ทุน  และการประการ  ในกระบวนการผลิต  ผู้ผลิตจะใช้ปัจจัยการผลิตชนิดต่าง ๆร่วมกัน  และเนื่องจากปัจจัยการผลิตบางชนิดสามารถใช้ทดแทนปัจจัยการผลิตชนิดอื่นได้  ดังนั้นผู้ผลิตจึงต้องเลือกใช้ปัจจัยการผลิตที่มีราคาถูกกว่า  เพื่อทดแทนปัจจัยการผลิตที่มีราคาแพง  เพื่อให้ได้ผลผลิตจำนวนเท่าๆ กัน  ซึ่งจะช่วยให้สามารถผลิตสินค้าและบริการโดยมีต้นทุนต่ำลง  อนึ่งการจะเลือกใช้ปัจจัยการผลิตต่างๆ อย่างไรนั้น  ขึ้นอยู่กับราคาของปัจจัยการผลิตแต่ละชนิด  และขึ้นอยู่กับงบประมาณที่ผู้ผลิตมีอยู่ว่ามีมากน้อยเพียงใด  ในหน่วยธุรกิจ  เป้าหมายของการผลิตสินค้าและบริการคือ ต้องการกำไรสูงสุด  ดังนั้น  ผู้ผลิตหรือหน่วยธุรกิจจึงต้องพยายามจัดสรรปัจจัยการผลิตชนิดต่างๆ และใช้เทคนิคการผลิตที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดเพื่อให้ได้ผลผลิตมากที่สุด  โดยใช้ต้นทุนในการผลิตต่ำที่สุด  ภายในงบประมาณที่ตนมีอยู่อย่างจำกัด

บทบาททางเศรษฐกิจของหน่วยรัฐบาล

                หน้าที่ทางเศรษฐกิจที่สำคัญ 4 ประการที่รัฐบาลต้องดำเนินการคือ

                1.รัฐบาลมีหน้าที่ดำเนินงานให้เป็นไปตามขอบเขตของกฎหมาย  เพื่อช่วยให้กลไกตลาดของภาคเอกชนทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น ในการซื้อรถยนต์ด้วยระบบผ่อนชำระ รัฐบาลจึงต้องเข้ามาช่วยดูแลเรื่องสัญญาการผ่อนชำระ  และอัตราดอกเบี้ยไม่ให้สูงเกินกว่าอัตราที่กำหนดไว้  การควบคุมให้มีการปฏิบัติตามสัญญา  รวมทั้งการกำหนดมาตรฐานชั่ง  ตวง  วัด

                2.รัฐบาลมีหน้าที่สร้างความเป็นธรรมในการกระจายรายได้ของสังคม  ให้ประชาชนได้รับประโยชน์อย่างทั่วถึงและเป็นธรรม    เช่น มีมาตรการในการดำเนินโครงการให้ความช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อย  หรือผู้ด้อยโอกาส  การให้การสงเคราะห์ผู้ที่มีรายได้น้อยในการรักษาพยาบาล   และการให้ความช่วยเหลือผู้ว่างงาน เป็นต้น

                3.รัฐบาลอาจเข้าแทรกแซงภาคธุรกิจเพื่อให้เศรษฐกิจไผ่ผันผวนมากเกินไป เช่น รัฐบาลกำหนดราคาน้ำมันเชื้อเพลิงประเภทเบนซินและดีเซล  เพื่อป้องกันไม่ให้สินค้าอื่นๆ ขึ้นราคา  เนื่องจากน้ำมันเชื้อเพลิงเป็นวัตถุดิบที่สำคัญในการผลิตสินค้าและการขนส่ง 

                4.รัฐบาลมีหน้าที่วางแผนการใช้ทรัพยากรให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น  เนื่อง กลไกตลาดล้มเหลว คือ เมื่อหน่วยธุรกิจไม่สามารถผลิตสินค้าและบริการบางชนิดที่สังคมต้องการได้อย่างเพียงพอ เช่น การป้องกันประเทศ   การให้บริการรักษาพยาบาล  การสร้างถนน  ประปา ฯลฯ  รัฐบาลจึงควรมีมาตรการส่งเสริมให้มีการผลิตสินค้าและบริการเหล่านี้ให้มากขึ้น 

ความจำเป็นของรัฐบาลในการเข้ามามีบทบาทในการจัดสรรการใช้ทรัพยากร

                เมื่อกลไกตลาดล้มเหลว  รัฐบาลจึงมีความจำเป็นต้องช่วยแก้ไขให้การจัดสรรทรัพยากรมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น  ซึ่งจะช่วยให้ประชากรบางส่วนได้ประโยชน์สูงขึ้น  โดยไม่ทำให้ประชากรส่วนอื่นๆ เสียประโยชน์  ปัญหาหลายประการทำให้กลไกตลาดล้มเหลว  ทำให้การจัดสรรปัจจัยการผลิตไม่ถูกต้อง  ไม่เหมาะสมและไม่เกิดประโยชน์สูงสุด  รัฐบาลจึงเข้ามาเกี่ยวข้องในกรณีที่กลไกตลาดล้มเหลว

1.สินค้าสาธารณะ (Public goods)

                  สินค้าสาธารณะ หมายถึง สินค้าที่ทุกคนสามารถบริโภคได้พร้อมกัน  โดยไม่สามารถกีดกันการบริโภคของบุคคลใดบุคคลหนึ่งออกไปได้ เช่น การป้องกันประเทศ  ไฟฟ้าตามท้องถนน  ถนนหลวง  สะพาน  ซึ่งประชาชนทุกคนจะได้รับความคุ้มครอง จึงเป็นหน้าที่ของรัฐในการผลิตสินค้าและบริการสาธารณะและสินค้ากึ่งสาธารณะเอง

                  สินค้าเอกชน (Private goods) หมายถึงสินค้าที่เฉพาะผู้ซื้อหรือผู้ครอบครองสินค้าเท่านั้นที่จะได้รัยประโยชน์  โดยสามารถกีดกันการบริโภคของบุคคลอื่นได้  รวมทั้งการบริโภคสินค้าของบุคคลหนึ่งจะส่งผลให้มีสินค้าเหลือให้บุคคลอื่นบริโภคน้อยลง

                2.ภาษีอากรและการกระจายทรัพยากร (Tax and resource distribution

ClassStart ให้บริการฟรีโดย บริษัท ปิยะวัฒนา จำกัด
เราเป็นกิจการเพื่อสังคม (Social Enterprise)
สนับสนุนโดย
ผู้ไม่ประสงค์ออกนามท่านหนึ่ง (2563-2566)
มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์ (2561-2563)
กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (2557-2558)
กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (2557)
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (2554-2558)
GotoKnow
ClassStart Books