ENH-303 Community Health


ผู้สอน
ดร สุภาภรณ์ ยิ้มเที่ยง
เข้าสู่ระบบเมื่อ มากกว่า 8 ปี ที่แล้ว

ชื่อวิชา
ENH-303 Community Health

รหัสวิชา
1708

สถานศึกษา
มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

คำอธิบายวิชา

 

12. คำอธิบายรายวิชา / แนวสังเขปรายวิชา

คำอธิบายรายวิชา

ศึกษาวิธีการเข้าถึงชุมชน การศึกษาชุมชน การประเมินสภาวะสุขภาพของชุมชนการค้นหาความต้องการด้านสุขภาพของชุมชน โดยใช้แนวคิดแบบองค์รวม การจัดลำดับความสำคัญของประเด็น/ปัญหาสุขภาพ การเลือกวิธีการดำเนินกิจกรรมโครงการสุขภาพ การเขียนโครงการ การดำเนินโครงการสุขภาพ การประเมินผลโครงการ การนำเสนอโครงการ โดยศึกษาทั้งทฤษฎีและปฏิบัติการในชุมชน

 แนวสังเขปรายวิชา

 รายวิชาในกลุ่มวิทยาศาสตร์สุขภาพเชิงบูรณาการ แนวคิด ทฤษฎี และภาคปฏิบัติ ครอบคลุมวิธีการศึกษาข้อมูลทุติยภูมิและปฐมภูมิทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ เพื่อประเมินภาวะสุขภาพชุมชนใช้กระบวนการพัฒนาอนามัยชุมชนแบบมีส่วนร่วม การจัดทำโครงการสร้างเสริมสุขภาพร่วมกับประชาชน การนำเสนอ การบริหารโครงการ การปฏิบัติงานในชุมชน

 

วัตถุประสงค์

วัตถุประสงค์ทั่วไป

เพื่อให้นักศึกษาฝึกปฏิบัติการศึกษาสุขภาพชุมชน กำหนดปัญหา และสามารถดำเนินโครงการแก้ไขปัญหาสุขภาพของชุมชนได้

 วัตถุประสงค์เฉพาะ : เพื่อให้ผู้ศึกษา

(1)       สามารถอธิบาย แนวคิด ทฤษฎีเกี่ยวกับชุมชน โดยเน้นที่สุขภาวะของชุมชน

(2)       มีทักษะในการแสวงหาข้อมูล ทุติยภูมิและปฐมภูมิทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ

(3)       สามารถใช้กระบวนการพัฒนาอนามัยชุมชนแบบมีส่วนร่วมในการประเมินภาวะสุขภาพชุมชนได้อย่างเป็นระบบและบูรณาการ

(4)       สามารถใช้กระบวนการมีส่วนร่วม.เพื่อสร้างความร่วมมือระหว่างประชาชนกลุ่มเป้าหมายกับนักศึกษา ในการตัดสินใจเลือกและดำเนินโครงการพัฒนาอนามัยชุมชน

(5)       สามารถดำเนินโครงการพัฒนาอนามัยชุมชนได้

(6)       สามารถประเมินโครงการพัฒนาอนามัยชุมชนในขั้นต้นได้

(7)       สามารถจัดทำรายงานการปฏิบัติงานในชุมชนและนำเสนอผลการปฏิบัติงานในชุมชนได้

14. เนื้อหา

(1)       แนวคิด ทฤษฎีเกี่ยวกับชุมชน การศึกษาชุมชน

(2)       แนวคิดชุมชนเข้มแข็ง

(3)       สุขภาพชุมชนแบบองค์รวม

(4)       เทคนิคการเข้าชุมชน

(5)       หลักการ เทคนิคการเก็บ และการวิเคราะห์ข้อมูล

(6)       ความสัมพันธ์ของปัจจัยต่างๆที่มีผลต่อสุขภาพของบุคคล ครอบครัวและชุมชน

(7)       โครงสร้างและการกระจายตัวของประชากร

(8)       การประเมินความต้องการของชุมชนด้านสุขภาพแบบมีส่วนร่วม

(9)       การวินิจฉัยชุมชน

(10)การจัดทำโครงการสุขภาพในชุมชน

-การกำหนดปัญหาสุขภาพ

-การจัดลำดับความสำคัญของปัญหา

-การจัดลำดับความสำคัญของวิธีการแก้ปัญหา

-การจัดทำโครงการและดำเนินโครงการ

-การประเมินผลโครงการ

 

 

 วิธีการจัดการเรียนการสอน

(1)       ศึกษาและปฏิบัติการในชุมชน

(2)       จัดชั่วโมงให้นักศึกษาพบกับ Resource Person  (นักศึกษาสามารถนัดพบ Resource person

ในวัน-เวลาที่กำหนด)

(3)       จัดกิจกรรมเพื่อให้เกิดกระบวนการที่นักศึกษาได้มีส่วนร่วมในเหตุการณ์ และใช้เป็น  Scene เพื่อนำไปกำหนดวัตถุประสงค์ในการเรียนรู้

(4)       จัดชั่วโมงบรรยายและอภิปรายโดยผู้เชี่ยวชาญในสาขา

(5)       ศึกษาค้นคว้าจากตำราและเว็บไซต์ด้วยตนเอง

(6)       จัดให้นักศึกษาฝึกปฏิบัติการเขียนโครงการแก้ไขปัญหาสุขภาพของชุมชน โดยใช้ข้อมูลเป็นฐาน

(7)       จัดให้นักศึกษานำเสนอโครงการสุขภาพในชุมชน

จัดให้นักศึกษาเขียนรายงานการจัดทำโครงการสุขภาพในชุมชน


ClassStart ให้บริการฟรีโดย บริษัท ปิยะวัฒนา จำกัด
เราเป็นกิจการเพื่อสังคม (Social Enterprise)
สนับสนุนโดย
ผู้ไม่ประสงค์ออกนามท่านหนึ่ง (2563-2566)
มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์ (2561-2563)
กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (2557-2558)
กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (2557)
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (2554-2558)
GotoKnow
ClassStart Books