อาเซียนศึกษา ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น


ผู้สอน
สุทิศา บุญอ้น
เข้าสู่ระบบเมื่อ มากกว่า 8 ปี ที่แล้ว

ชื่อวิชา
อาเซียนศึกษา ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น

รหัสวิชา
17496

สถานศึกษา
ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย อำเภอโพธิ์ทอง

คำอธิบายวิชา

ความเป็นมา และวัตถุประสงค์ในการก่อตั้งอาเซียน

ความเป็นมาของอาเซียน
อาเซียน หรือ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of South East Asian Nations หรือ ASEAN) เป็นองค์กรระหว่างประเทศระดับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีจุดเริ่มต้นโดยประเทศไทย มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ได้ร่วมกันจัดตั้ง สมาคมอาสา (Association of South East Asia) ขึ้น เมื่อเดือนกรกฏาคม พ.. 2504 เพื่อการร่วมมือกันทาง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม แต่ดำเนินการได้เพียง 2 ปี ก็ต้องหยุดชะงักลง เนื่องจากความผกผันทางการเมืองระหว่าง ประเทศอินโดนีเซียและประเทศมาเลเซีย จนเมื่อมีการฟื้นฟูสัมพันธภาพระหว่างประเทศขึ้น จึงได้มีการแสวงหาลู่ทางจัดตั้งองค์การความร่วมมือทางเศรษฐกิจขึ้นในภูมิภาค
สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จึงก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2510 หลังจากการลงนามในปฎิญญาสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Declaration of ASEAN Concord) หรือเป็นที่รู้จักกันในอีกชื่อหนึ่งว่า ปฏิญญากรุงเทพ (The Bangkok Declaration) โดยสมาชิกผู้ก่อตั้งมี 5 ประเทศ ได้แก่ อินโดนิเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย ซึ่งผู้แทนทั้ง 5 ประเทศ ที่ร่วมลงนามในปฏิญญากรุงเทพ ประกอบด้วย
นายอาดัม มาลิก รัฐมนตรีต่างประเทศอินโดนีเซีย
ตุน อับดุล ราชัก บิน ฮุสเซน รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีกลาโหมและรัฐมนตรีกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติมาเลเซีย
นายนาซิโซ รามอส รัฐมนตรีต่างประเทศฟิลิปปินส์
นายเอส ราชารัตนัม รัฐมนตรีต่างประเทศสิงคโปร์
พันเอก (พิเศษ) ถนัด คอมันตร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ จากประเทศไทย
หลังจากจัดตั้งอาเซียนเมื่อ 8 สิงหาคม 2510 แล้ว อาเซียนได้เปิดรับสมาชิกใหม่จากประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เพิ่มเติมเป็นระยะ ตามลำดับได้แก่
บรูไนดารุสซาลาม เข้าเป็นสมาชิกเมื่อ 8 มกราคม 2527
สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม เข้าเป็นสมาชิกเมื่อ 28 กรกฏาคม 2538
สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เข้าเป็นสมาชิกเมื่อ 23 กรกฎาคม 2540
สหภาพพม่า เข้าเป็นสมาชิกเมื่อ 23 กรกฏาคม 2540
ราชอาณาจักรกัมพูชา เข้าเป็นสมาชิกเมื่อ 30 เมษายน 2542
การเข้าร่วมเป็นสมาชิกอาเซียนของประเทศสมาชิกใหม่เหล่านี้ ทำให้อาเซียนมีสมาชิกครบ 10 ประเทศในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ สอดคล้องกับปฎิญญาอาเชียน ซึ่งระบุว่า อาเซียน พร้อมรับทุกประเทศที่อยู่ในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ที่พร้อมที่จะรับเป้าหมาย หลักการและวัตถุประสงค์ขององค์กรเป็นสมาชิก
ภูมิภาคอาเซียนในปัจจุบัน (สถิติในปี 2550) นั้น ประกอบด้วยประชากรประมาณ 567 ล้านคน มีพื้นที่โดยรวม 4.5 ล้านตารางกิโลเมตร ผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติประมาณ 1,100 พันล้านดอลลาร์ และรายได้โดยรวมจากการค้าประมาณ 1.4 ล้านล้านดอลลาร์ และมีสำนักเลขาธิการอาเซียน (ASEAN Secretariat) เป็นหน่วยประสานงานและอำนวยความสะดวกในการดำเนินการตามนโยบายของผู้นำอาเซียนในด้านต่าง ๆ อำนวยความสะดวกในการประชุมของอาเซียนทุกระดับ เป็นฝ่ายเลขานุการในการประชุมอาเซียน และเสนอแนะโครงการและกิจกรรมต่าง ๆ ของอาเซียน มีที่ตั้งอยู่ที่กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย
ภาพแผนที่แสดงประเทศสมาชิกในภูมิภาคอาเชียน
สัญลักษณ์ของอาเซียน คือ รูปรวงข้าว สีเหลืองบนพื้นสีแดง ล้อมรอบด้วยวงกลมสีขาว สีน้ำเงิน โดยมีความหมายดังนี้
- ต้นข้าว 10 ต้น หมายถึง ประเทศสมาชิก 10 ประเทศ
- สีเหลือง หมายถึง ความเจริญรุ่งเรือง
- สีแดง หมายถึง ความกล้าหาญและการมีพลวัติ
- สีขาว หมายถึง ความบริสุทธิ์
- สีน้ำเงิน หมายถึง สันติภาพเเละความมั่นคง
วัตถุประสงค์ในการก่อตั้งอาเซียน
อาเซียน ก่อตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เริ่มแรกเพื่อสร้างสันติภาพในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อันนำมาซึ่งเสถียรภาพทางการเมือง และความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม และเมื่อการค้าระหว่างประเทศในโลกมีแนวโน้มกีดกันการค้ารุนแรงขึ้น ทำให้อาเซียนได้ หันมามุ่งเน้นกระชับและขยายความร่วมมือด้านเศรษฐกิจการค้าระหว่างกันมากขึ้น วัตถุประสงค์หลักที่กำหนดไว้ในปฏิญญาอาเซียน (The ASEAN Declaration) มี 7 ประการ ดังนี้
1. ส่งเสริมความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ความก้าวหน้าทางสังคมและวัฒนธรรม
2. ส่งเสริมการมีเสถียรภาพ สันติภาพและความมั่นคงของภูมิภาค
3. ส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม วิชาการ วิทยาศาสตร์ และด้านการบริหาร
4. ส่งเสริมความร่วมมือซึ่งกันและกันในการฝึกอบรมและการวิจัย
5. ส่งเสริมความร่วมมือในด้านเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม การค้า การคมนาคม การสื่อสาร และปรับปรุงมาตรฐานการดำรงชีวิต
6. ส่งเสริมการมีหลักสูตรการศึกษาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
7. ส่งเสริมความร่วมมือกับองค์กรระดับภูมิภาคและองค์กรระหว่างประเทศ


ClassStart ให้บริการฟรีโดย บริษัท ปิยะวัฒนา จำกัด
เราเป็นกิจการเพื่อสังคม (Social Enterprise)
สนับสนุนโดย
ผู้ไม่ประสงค์ออกนามท่านหนึ่ง (2563-2566)
มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์ (2561-2563)
กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (2557-2558)
กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (2557)
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (2554-2558)
GotoKnow
ClassStart Books