ภาษาไทยชั้นประถมศึกษาปีที่ 6


ผู้สอน
มณีนุช ปริยะมิตรานนท์
เข้าสู่ระบบเมื่อ มากกว่า 2 ปี ที่แล้ว

ชื่อวิชา
ภาษาไทยชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

รหัสวิชา
18353

สถานศึกษา
โรงเรียนจิ้นฮั้ว

คำอธิบายวิชา

กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยประกอบด้วยสาระการเรียนรู้ 5 สาระ คือ การอ่าน การเขียน การฟัง การดู และการพูด หลักการใช้ภาษา วรรณคดีและวรรณกรรม ในด้านสาระต่างๆ นำมาบูรณาการและจัดหน่วยการเรียนรู้ให้สอดคล้องสัมพันธ์กันภายในกลุ่มสาระ กับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่นๆ โดยแต่ละสาระได้จัดให้มีความรู้ ดังนี้

การอ่านออกเสียงและการบอกความหมายของบทร้อยแก้วและบทร้อยกรองซึ่งประกอบด้วย คำที่มีพยัญชนะควบกล้ำ คำที่มีอักษรนำ คำที่มีตัวการันต์ คำที่มาจากภาษาต่างประเทศ อักษรย่อและเครื่องหมายวรรคตอน วัน เดือน ปีแบบไทย ข้อความที่เป็นโวหารต่างๆ สำนวนเปรียบเทียบ และการอ่านบทร้อยกรองเป็นทำนองเสนาะ การอ่านจับใจความจากสื่อต่างๆ อย่างหลากหลายโดยจับเวลาแล้วถามเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน แยกข้อเท็จจริงและข้อคิดเห็นจากเรื่องที่อ่าน อธิบายการนำความรู้และความคิดจากเรื่องที่อ่านไปตัดสินใจแก้ปัญหาในการ ดำเนินชีวิต เช่น เรื่องสั้นๆ นิทานและเพลงพื้นบ้าน บทความ พระบรมราโชวาท สารคดี เรื่องสั้น งานเขียนประเภทโน้มน้าวใจ บทโฆษณา ข่าวและเหตุการณ์สำคัญ การอ่านเร็ว การอ่านงานเขียนเชิงอธิบาย คำสั่ง คำแนะนำ และปฏิบัติตาม เช่นการใช้พจนานุกรม การปฏิบัติตนในการอยู่ร่วมกันในสังคม ข้อตกลงในการอยู่ร่วมกันในโรงเรียนและการใช้สถานที่สาธารณะในชุมชนและท้อง ถิ่น การอธิบายความหมายของข้อมูลจากการอ่านแผนผัง แผนที่ แผนภูมิ และกราฟ การอ่านหนังสือตามความสนใจและอธิบายคุณค่าที่ได้รับ และมีมารยาทในการอ่าน

การเขียนคัดลายมือตัวบรรจงเต็มบรรทัดและครึ่งบรรทัดตามรูปแบบการเขียนตัว อักษรไทย การเขียนสื่อสารโดยใช้คำได้ถูกต้อง ชัดเจน และเหมาะสม เช่น คำขวัญ คำอวยพร ประกาศต่างๆ การเขียนแผนภาพโครงเรื่องและแผนภาพความคิด การเขียนเรียงความ การเขียนย่อความจากสื่อต่างๆ เช่น นิทาน ความเรียงประเภทต่างๆ ประกาศ แจ้งความ แถลงการณ์ จดหมาย คำสอน โอวาท คำปราศรัย สุนทรพจน์ รายงาน ระเบียบ คำสั่ง การเขียนจดหมายส่วนตัว เช่น จดหมายขอโทษ จดหมายแสดงความขอบคุณ จดหมายแสดงความเห็นใจ จดหมายแสดงความยินดี การกรอกแบบรายการต่างๆ เช่น แบบคำร้องต่างๆ ใบสมัครศึกษาต่อ แบบฝากส่งพัสดุและไปรษณียภัณฑ์ การเขียนเรื่องตามจินตนาการอย่างสร้างสรรค์ และมีมารยาทในการเขียน

การพูดแสดงความรู้ ความเข้าใจ ในจุดประสงค์ของเรื่องที่ฟังและดูจากสื่อต่างๆ ตั้งคำถามและตอบคำถามเชิงเหตุผลจากเรื่องที่ฟังและดู ได้แก่ สื่อสิ่งพิมพ์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ การวิเคราะห์ความน่าเชื่อถือจากการฟังและดูสื่อโฆษณาอย่างมีเหตุผล การพูดรายงานเรื่องหรือประเด็นที่ศึกษาค้นคว้าจากการฟัง การดู และการสนทนา เช่น การพูดลำดับขั้นตอนการปฏิบัติงาน การพูดลำดับเหตุการณ์ การพูดโน้มน้าวในสถานการณ์ต่างๆ อย่างมีเหตุผลและน่าเชื่อถือ เช่น การเลือกตั้งกรรมการนักเรียน การณรงค์ด้านต่างๆ การโต้วาที และมีมารยาทในการฟัง การดู และการพูด

การวิเคราะห์ชนิดและหน้าที่ของคำในประโยค ได้แก่ คำนาม คำสรรพนาม คำกริยา คำวิเศษณ์ คำบุพบท คำเชื่อม คำอุทาน การใช้คำได้เหมาะสมกับกาลเทศะและบุคคล ได้แก่ คำราชาศัพท์ ระดับภาษา ภาษาถิ่น การรวบรวมและบอกความหมายของคำภาษาต่างประเทศที่ใช้ในภาษาไทย การระบุลักษณะของประโยค ได้แก่ กลุ่มคำหรือวลี ประโยคสามัญ ประโยครวม ประโยคซ้อน แต่งบทร้อยกรองประเภทกลอนสุภาพ การวิเคราะห์และเปรียบเทียบสำนวนที่เป็นคำพังเพยและสุภาษิต

การแสดงความคิดเห็นจากวรรณคดีหรือวรรณกรรมที่อ่าน เล่านิทานพื้นบ้านท้องถิ่นตนเอง และนิทานพื้นบ้านของท้องถิ่นอื่น อธิบายคุณค่าของวรรณคดีและวรรณกรรมที่อ่านและนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตจริง วรรณคดีและวรรณกรรม เช่น นิทานพื้นบ้านท้องถิ่นตนเองและท้องถิ่นอื่น นิทานคติธรรม เพลงพื้นบ้าน วรรณคดีและวรรณกรรมในบทเรียนและตามความสนใจ ท่องจำอาขยานตามที่กำหนดและบทร้อยกรองที่มีคุณค่าตามความสนใจ

การพัฒนาทักษะการฟัง การดู การพูด การอ่าน และการเขียน ผ่านการฝึกทักษะการวิเคราะห์ การคิด การสังเกต แยกแยะข้อเท็จจริง ข้อคิดเห็น และข้อมูลที่ได้รับ โดยใช้กระบวนการกลุ่ม กระบวนการในการสืบค้น กระบวนการเขียน กระบวนการดู การสอนแบบโครงงาน และการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งสามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาตน มีความคิดสร้างสรรค์รวมทั้งมีคุณธรรม จริยธรรม และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ที่สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างมีความ สุข


ClassStart ให้บริการฟรีโดย บริษัท ปิยะวัฒนา จำกัด
เราเป็นกิจการเพื่อสังคม (Social Enterprise)
สนับสนุนโดย
ผู้ไม่ประสงค์ออกนามท่านหนึ่ง (2563-2566)
มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์ (2561-2563)
กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (2557-2558)
กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (2557)
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (2554-2558)
GotoKnow
ClassStart Books