ครุศาสตร์ชั้นปีที่ 4 สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน เอกสังคมศึกษา


ผู้สอน
พระใบฎีกา สุพจน์ ตปสีโล
เข้าสู่ระบบเมื่อ เกือบ 12 ปี ที่แล้ว

ชื่อวิชา
ครุศาสตร์ชั้นปีที่ 4 สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน เอกสังคมศึกษา

รหัสวิชา
2447

สถานศึกษา
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำอธิบายวิชา

 

 


รายละเอียดวิชาพุทธธรรมาภิบาล

๑.  ชื่อรายวิชา                               :  พุทธธรรมาภิบาล

      ชื่อภาษาอังกฤษ                        :   Buddhist Good Governance

๒.  รหัสวิชา                                  :  ๒๐๓ ๔๑๗   จำนวนหน่วยกิต                     :  ๓ (๓-๐-๖)

     ระดับการศึกษา                          :  ปริญญาตรี    สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน    :  ครุศาสตร์

๓.   อาจารย์ประจำวิชา/ผู้บรรยาย         :  พระใบฏีกาสุพจน์    ตปสีโล

 

๔.   แนวสังเขปรายวิชา

     ศึกษาหลักธรรมาภิบาลในพระไตรปิฎก หลักธรรมาภิบาลสากล วิเคราะห์เปรียบเทียบหลักธรรมาภิบาลตามแนวตะวันออกกับหลักธรรมาภิบาลตามแนวตะวันตก การบริหารตามหลักพุทธธรรมาภิบาลการศึกษานอกสถานที่ กรณีศึกษาองค์กรที่บริหารจัดการโดยหลัก พุทธธรรมาภิบาลและธรรมาภิบาลสากล

๕.   จุดประสงค์การเรียน

        ๕.๑  เพื่อให้นิสิตเข้าใจความหมายและวิเคราะห์หลักธรรมาภิบาลกับสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคมไทย

     ๕.๒  เพื่อให้นิสิตได้ศึกษาวิเคราะห์ตีแผ่หลักธรรมคำสอนในพระไตรปิฎก

     ๕.๓   เพื่อให้นิสิตสามารถแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน และสามารถประยุกต์ใช้หลักธรรมแก้ไข

            ปัญหาในชีวิตประจำวัน

     ๕.๔   เพื่อให้นิสิตทำความเข้าใจผลกระทบเชื่อมโยงระหว่างหลักธรรมในทางพระพุทธศาสนาและปัญหาความขัดแย้งในโลกสมัยใหม่

     ๕.๕  เพื่อให้นิสิตสามารถทำงานวิจัยในชั้นเรียนที่เกี่ยวข้องกับหลักธรรมที่สามารถสร้างความสัมพันธ์ที่ดีทางสังคม

     ๕.๖  เพื่อให้นิสิตมีความรู้ ความเข้าใจในการเขียนบทความทางวิชาการทางศาสนากับสถานการณ์ปัจจุบัน

๖.   จุดประสงค์เชิงคุณธรรม

     ๖.๑  ทำให้มองเห็นคุณค่าของการศึกษาตามหลักธรรมาภิบาล และหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา

     ๖.๒  มีความรู้ ความเข้าใจระบบฐานความคิดและมีเหตุมีผล รู้จักการใช้หลักธรรมในการดำเนินชีวิตโดยมีการเชื่อมเหตุผลกับหลักพุทธรรมเข้าด้วยกัน

     ๖.๓  สร้างความเชื่อมั่นในการพัฒนาคุณภาพชีวิต โดยอาศัยหลักนิติธรรม หลักคุณธรรม หลักความโปร่งใสหลักความมีส่วนร่วม หลักความรับผิดชอบ และหลักความคุ้มค่า โดยรู้จักพื้นฐานความซื่อสัตย์สุจริต ความเท่าเทียมกันในสังคม

     ๖.๔  มีความเป็นอารยชนในสังคมไทย คือมีความสุภาพเรียบร้อย มีความเมตตากรุณา

 

 

 

๗.   รายละเอียดของวิชา

      ๗.๑  ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับหลักพุทธธรรมาภิบาล

      ๗.๒  ความเป็นมาของหลักธรรมาภิบาล

      ๗.๓  ฆราวาสธรรม

      ๗.๔  ไตรลักษณ์

         ๗.๕  ทศพิธราชธรรม

      ๗.๖  อิทธิบาท ๔  สังคหวัตถุ ๔

      ๗.๗  มรรคมีองค์ ๘ หรือหลักปฏิบัติสายกลาง

      ๗.๘  จุดมุ่งหมายสังคมกับความคาดหวังในพระพุทธศาสนา

      ๗.๙  สรุปเนื้อหา

๘.   กิจกรรมการเรียนการสอน

      ๘.๑  แนะนำเค้าโครงการบรรยายและขอบข่ายเนื้อหารายวิชา

      ๘.๒  ฟังบรรยายและร่วมสัมมนาในชั้นเรียน สัปดาห์ละ ๓ คาบ (๑๐๐ นาที)

      ๘.๓  อภิปราย-ซักถาม แลกเปลี่ยนเรียนรู้ในชั้นเรียน

      ๘.๔  มอบหมายให้นิสิตศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมจากตำรา หนังสือที่เกี่ยวข้องหรือจากแหล่งข้อมูลอื่น ๆ

   สัปดาห์ละไม่น้อยกว่า ๔ ชั่วโมง แล้วสรุปเสนอในชั้นเรียนหรือรายงานเป็นเอกสารเพิ่มเติม

      ๘.๕  จัดให้มีการวัดและประเมินผลตามที่กำหนด

๙.    สื่อการเรียนรู้

      ๙.๑  เอกสารประกอบการสอน  Presentation / VCD / DVD / Internet / กรณีศึกษา

      ๙.๒  นำเสนอ PowerPoint

      ๙.๓  ข้อสอบวัดผลประเมินผล

๑๐.   การประเมินผล

          ๑๐.๑  การฟังบรรยายและร่วมกิจกรรม              ๑๐    คะแนน

          ๑๐.๒  งานมอบหมายและรายงาน                    ๒๐    คะแนน

       ๑๐.๓  การทดสอบแบบสัมภาษณ์ระหว่างภาค ๒๐    คะแนน

       ๑๐.๔  สอบปลายภาค                                    ๕๐    คะแนน

                                                รวม            ๑๐๐    คะแนน

 

 

 

 

 

๑๑. เกณฑ์การประเมินผล

ผลการศึกษา

ระดับ

ค่าระดับ

ดีเยี่ยม                (Excellent)

A

๔.๐๐

ดีมาก            (Very Good)

  B+

๓.๕๐

ดี                (Good)

B

๓.๐๐

ค่อนข้างดี       (Very Fair)

 C+

๒.๕๐

พอใช้            (Fair)

C

๒.๐๐

ค่อนข้างพอใช้   (Quite Fair)

 D+

๑.๕๐

อ่อน                     (Poor)

D

๑.๐๐

ตก               (Failed)

F

 

๑๒.   หนังสื่ออ่านประกอบรายวิชา

          กุหลาบ รัตนสัจธรรม และคณะ.(๒๕๔๖). การศึกษา วิเคราะห์สังเคราะห์ภาพรวมจรรยาบรรณ

วิชาชีพในประเทศไทย.กรุงเทพฯ : ภาพพิมพ์.

จรัส สุวรรณเวลา. (2๒๕๔๖). จุดบอดบนทางธรรมาภิบาล : บทบาทของบอร์ดขององค์การหาชน

กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ไชยวัฒน์ ค้ำชูและคณะ.(๒๕๔๕). ผู้แปล. ธรรมาภิบาล : การบริหารการปกครองที่โปร่งใสด้วย

จริยธรรม. กรุงเทพฯ : น้ำฝน

ชัยวัฒน์ สุรวิชัย . (๒๕๔๖). ธรรมาภิบาลกับคอรัปชั่นในสังคมไทย. กรุงเทพฯ : สถาบันวิถีทรรศน์.

ติน ปรัชญพฤทธ.ิ์ (๒๕๔๓). ข้อมูลเกี่ยวกับพันธทางสังคม ความรับผิดชอบต่อสังคม วิชาชีพนิยม

และจรรยาบรรณในการปฏิบัติงาน. กรุงเทพฯ : สำนักงานก.พ.

          กรมการพัฒนาชุมชน.(๒๕๔๙) ความเป็นมาของหลักธรรมาภิบาล.

 

          เว็บไซด์

          [Online].Available.URL :   http://www.kmutt.ac.th/sd/html/pdf/tam.pdf.

 


ClassStart ให้บริการฟรีโดย บริษัท ปิยะวัฒนา จำกัด
เราเป็นกิจการเพื่อสังคม (Social Enterprise)
สนับสนุนโดย
ผู้ไม่ประสงค์ออกนามท่านหนึ่ง (2563-2566)
มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์ (2561-2563)
กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (2557-2558)
กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (2557)
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (2554-2558)
GotoKnow
ClassStart Books