60++ B.P.H (Community Health) (6042002 A+B ภาคปกติ)


ผู้สอน
อาจารย์ ดร. วรพล หนูนุ่น
เข้าสู่ระบบเมื่อ 7 วัน ที่แล้ว

ชื่อวิชา
60++ B.P.H (Community Health) (6042002 A+B ภาคปกติ)

รหัสวิชา
24866

สถานศึกษา
มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

คำอธิบายวิชา

หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุขชุมชน

(Bachelor of Public Health Program in Community Health)

หลักสูตรปรับปรุง พุทธศักราช 2559

โปรแกรมวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

หลักสูตรระดับปริญญาตรี หลักสูตร 4 ปี

ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

ชื่อเต็ม (ภาษาไทย) : สาธารณสุขศาสตรบัณฑิต (สาธารณสุขชุมชน)

ชื่อย่อ (ภาษาไทย) : ส.บ. (สาธารณสุขชุมชน)

ชื่อเต็ม (ภาษาอังกฤษ) : Bachelor of Public Health (Community Health)

ชื่อย่อ (ภาษาอังกฤษ) : B.P.H. (Community Health)

จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 136 หน่วยกิต

อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร

ลำดับ

ชื่อ-สกุล

ตำแหน่งทางวิชาการ

คุณวุฒิ

วิชาเอก/สาขาวิชา

1

ดร.วรพล หนูนุ่น

อาจารย์

ปร.ด.

วท.ม.

ส.บ.

การพัฒนาสุขภาพชุมชน

การวิจัยและพัฒนาระบบาธารณสุข

บริหารงานสาธารณสุข

2

นางสาวสุรัตน์สวดี แซ่แต้

อาจารย์

วท.ม.

วท.บ.

การวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ

สาธารณสุขชุมชน

3

นางสาวภัชชนก รัตนกรปรีดา

อาจารย์

ส.ม.

วท.บ.

สาธารณสุขชุมชน

สาธารณสุขชุมชน

4

นางฤดีดาว ช่างสาน

อาจารย์

พย.ม.

วท.บ.

การพยาบาลอนามัยชุมชน

การพยาบาลและผดุงครรภ์

5

ดร.จิตรวี เชยชม

อาจารย์

วท.ด.

วท.ม.

วท.บ.

วิทยาศาสตร์สาธารณสุข

จุลชีววิทยา

อุตสาหกรรมประมง

ปรัชญา ความสำคัญ และวัตถุประสงค์ของหลักสูตร

ปรัชญาของหลักสูตร

“ผลิตนักสาธารณสุขมืออาชีพที่มีคุณธรรม นำวิทยาศาสตร์ก้าวหน้า เพื่อพัฒนาสุขภาพชุมชน”

วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

เพื่อผลิตบัณฑิตให้มีความสามารถ ดังต่อไปนี้

1. มีคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณในการประกอบอาชีพ เป็นผู้นำด้านสุขภาพของท้องถิ่น และมีวิถีชีวิตเป็นแบบอย่างที่ดีแก่สังคม เป็นพลเมืองดีของชาติ

2. จัดระบบการรวบรวมข้อมูลเพื่อการเฝ้าระวังและรายงานความเคลื่อนไหว ด้านสถานการณ์สุขภาพชุมชน และปัจจัยกำหนด

3. วิเคราะห์สถานการณ์ด้านสุขภาพในชุมชนได้อย่างเป็นองค์รวม และใช้ข้อมูลเชิงประจักษ์ ผลการวิจัย และผลการจัดการความรู้ เพื่อการส่งเสริมสุขภาพ การป้องกัน และแก้ไขปัญหาได้อย่างเหมาะสมกับบริบทของท้องถิ่น

4. วางแผนและปฏิบัติงานสาธารณสุขทั่วไปและเฉพาะทาง ควบคุมกำกับ และประเมินผลแผนงานโครงการสาธารณสุขชุมชน ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเน้นการประสานการมีส่วนร่วมของชุมชนและเครือข่ายความร่วมมือระดับท้องถิ่นและระดับอื่น ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน ในแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง

5. ใช้กระบวนการแก้ปัญหาสุขภาพแบบมีส่วนร่วมตั้งแต่การประเมินสถานการณ์สุขภาพชุมชนการวิเคราะห์และสังเคราะห์ปัญหาและเหตุปัจจัยปัญหาสุขภาพ

6. มีทักษะในกระบวนการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนด้านสุขภาพ เป็นที่ปรึกษาแนะนำฝึกอบรมในกระบวนการแก้ปัญหาสุขภาพชุมชนการดำเนินงานการเฝ้าระวังร่วมกับสมาชิกทีมสหวิชาชีพ

7. ใช้กระบวนการวิจัยและเลือกใช้ผลการวิจัยในการพัฒนางานสาธารณสุขชุมชน

8. พัฒนาตนเองด้านวิชาการอย่างต่อเนื่องและศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้นได้


ClassStart ให้บริการฟรีโดย บริษัท ปิยะวัฒนา จำกัด
เราเป็นกิจการเพื่อสังคม (Social Enterprise)
สนับสนุนโดย
ผู้ไม่ประสงค์ออกนามท่านหนึ่ง (2563-2566)
มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์ (2561-2563)
กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (2557-2558)
กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (2557)
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (2554-2558)
GotoKnow
ClassStart Books