- หน้าแรก
- ชั้นเรียนทั้งหมด
- การสอนแบบพุทธวิธี
การสอนแบบพุทธวิธี
-
โยนิโสมนสิการ
การให้คนรู้จักคิด หรือคิดเองเป็นอันจุดเริ่มของการศึกษา และจำเป็นสำหรับการที่จะมีการศึ กษา จึงจะเสนอวิธีคิดที่เรียกว่าโยน ิโสมนสิการ
อนึ่ง พึงทราบว่าวิธีโยนิโสมนสิการแบบต่างๆถึงจะมีมากอย่าง ก็สรุปลงได้เป็น 2 ประเภทเท่านั้น คือ
1. โยนิโสมนสิการประเภทพัฒนาปัญญาโดยตรง
มุ่งให้เกิดความรู้เข้าใจตามเป็นจริงตรงตามสภาวะแท้ๆ เน้นที่การ ขจัดอวิชชา เป็นเครื่องนำไปสู่ โลกุตระสัมมาทิฐิ อาจเรียกว่า โยนิโสมนสิการระดับสัจธรรม
2. โยนิโสมนสิการประเภทสร้างเสริมคุณภาพจิต
มุ่งปลุกเร้าให้เกิดคุณธรรมหรือกุศลธรรมต่างๆ เน้นที่การสกัดหรือข่มตัณหา เป็นเครื่องนำไปสู่โลกีย์สัมมาท ิฐิ อาจเรียกว่า โยนิโสมนสิการระดับจริยธรรม
ตามที่พระพุทธเจ้าได้ทรงแนะนำไว้สัก 10 วิธี
1. วิธีคิดแบบสืบสาวเหตุปัจจัย คือ พิจารณาปรากฏการณ์ต่างๆ ให้รู้จักสภาวะตามที่มันเป็นจริง หรือพิจารณาปัญหา ค้นหาหนทางแก้ไข
2. วิธีคิดแบบแยกแยะองค์ประกอบ หรือกระจายเนื้อหา เป็นวิธีคิดสำคัญอีกแบบหนึ่งที่มุ่งเพื่อเข้าใจสิ่งต่างๆตามสภา วะของมัน ตามธรรมดา
3. 3. วิธีคิดแบบรู้เท่าทันธรรมดา คือ มองเหตุการณ์ สถานการณ์ ความเป็นไปของสิ่งทั้งหลายอย่างรู้เข้าใจธรรมดาธรรมชาติของมัน
4. 4. วิธีคิดแบบแก้ปัญหา หรือวิธีคิดแบบอริยสัจสี่ เป็นวิธีคิดที่ต่อเนื่องจากวิธีคิดแบบรู้เท่าทันธรรมดาธรรมดา ( แบบที่ 3 ) นั่นเอง คือ เมื่อเข้าใจคติธรรมดาของสิ่งทั้ งหลายวางใจได้และตกลงใจว่าจะแก้ ปัญหาที่ตัวเหตุตัวปัจจัย จากนั้นก็ดำเนินความคิดต่อไปตาม วิธีคิดแบบอริยสัจสี่นี้ วิธีคิดแบบนี้มีหลักการสำคัญคือ การเริ่มต้นจากปัญหาหรือทุกข์โด ยกำหนดรู้ ทำความเข้าใจปัญหาหรือความทุกข์ ให้ชัดเจน แล้วสืบค้นหาสาเหตุเพื่อเตรียมแ ก้ปัญหา
5. วิธีคิดแบบอรรถธรรมสัมพันธ์ หรือคิดตามหลักการและความมุ่งหมาย เป็นวิธีคิดในระดับปฏิบัติการหร ือลงมือทำ คือ การที่จะกระทำการต่างๆโดยรู้และ เข้าใจถึงหลักการและความมุ่งหมา ยของเรื่องนั้นๆจะดำเนินไปเพื่อ จุดหมายอะไร เพื่อให้เป็นการปฏิบัติที่ได้ผล ตามความมุ่งหมายนั้น ไม่กลายเป็นการปฏิบัติที่คลาดเค ลื่อนเลื่อนลอยงมงาย
6. วิธีคิดแบบคุณโทษและทางออก คือ มองให้ครบทั้งข้อดี ข้อเสีย และทางแก้ไขหาทางออกให้หลุดรอดปลอดพ้นจากข้อบกพร่องต่างๆ เป็นวิธีมองสิ่งทั้งหลายตามความ เป็นจริงอีกแบบหนึ่ง เน้นการศึกษาและยอมรับความจริงต ามที่สิ่งนั้นๆเป็นอยู่ทุกแง่ทุ กมุมเพื่อให้รู้และเข้าใจถูกต้อ งตามความเป็นจริงทั้งด้านดี ด้านเสีย จุดอ่อน จุดแข็ง
7. วิธีคิดแบบรู้คุณค่าแท้ – คุณค่าเทียม หรือการพิจารณาเกี่ยวกับปฏิเสวนา คือ การใช้สอยหรือบริโภค เป็นวิธีคิดแบบสกัดหรือบรรเทาตั ณหา ตัดทางไม่ให้กิเลสเข้ามาครอบงำจ ิตใจแล้วชักจูงพฤติกรรมต่อไป วิธีคิดแบบนี้ใช้มากในชีวิตประจ ำวัน เพราะเกี่ยวข้องกับการบริโภคใช้ สอยปัจจัยสี่ และวัสดุอุปกรณ์อำนวยความสะดวกต ่างๆ ทางเทคโนโลยี
8. วิธีคิดแบบอุบายปลุกเร้าคุณธรรมเรียกง่ายๆว่า วิธีคิดแบบเร้ากุศล หรือคิดแบบกุศลภาวนา เป็นวิธีคิดในแนวสกัดกั้นหรือบร รเทาและขัดเกลาตัณหา ส่งเสริมความเจริญงอกงามแห่งกุศ ลธรรมและสร้างเสริมสัมมาทิฐิที่ เป็นโลกียะ
9. วิธีคิดแบบเป็นอยู่ในขณะปัจจุบัน คือ วิธีคิดแบบมีปัจจุบันธรรมดาเป็น อารมณ์ความจริงข้อนี้แกออกมาจาก ข้อที่ 8 มีแง่ที่ควรทำความเข้าใจเป็นพิเ ศษ และเป็นวิธีคิดที่มีความสำคัญโด ยลำพังตัวของมันเอง
ข้อที่จะต้องทำความเข้าใจเป็นพิเศษนั้นคือ การที่ผู้เข้าใจผิดเกี่ยวกับควา มหมายของการเป็นอยู่ในปัจจุบัน โดยเข้าใจไปว่า พุทธศาสนาสอนให้คิดถึงสิ่งที่อย ู่เฉพาะหน้ากำลังเป็นไปในปัจจุบ ันเท่านั้น ไม่คิดพิจารณาเกี่ยวกับอดีต หรืออนาคต ตลอดจนไม่คิดเตรียมการวางแผนเพื ่อกาลภายหน้า ลักษณะความคิดชนิดที่เป็นอยู่ใน ปัจจุบัน เป็นการคิดที่อยู่ในแนวทางของคว ามรู้หรือคิดด้วยอำนาจปัญญา เป็นการคิดที่สามารถรวมเอาเรื่อ งที่เป็นอยู่ในขณะนี้ เรื่องที่ล่วงผ่านมาแล้ว และเรื่องของกาลภายหน้าเข้าในกา รเป็นอยู่ในปัจจุบัน เช่น การคิดพิจารณาเกี่ยวกับเรื่องใน อดีต ถือเป็นการคิดที่นำมาใช้เป็นบทเ รียน ก่อให้เกิดความไม่ประมาทระมัดระ วังป้องกันภัยในอนาคต
10. 10. วิธีคิดแบบวิภัชชวาท คำว่าวิภัชชวาท แปลว่า การพูดแยกแยะ จำเเนก เเจกเเจง แถลงความแบบวิเคราะห์ เป็นการมองและแสดงความจริง โดยเเยกเเยะออกให้เห็นเเต่ละเเง่ เเต่ละด้านให้ครบทุกด้าน ไม่ใช่จับเอาบางเเง่ขึ้นมาวินิจ ฉัยตีคลุมลงไปอย่างนั้นทั้งหมด
ความจริงวิภัชชวาทเป็นชื่อเรียกระบบความคิดของพระพุทธศาสนาทั้ง หมด มีความหมายครอบคลุมวิธีคิดที่ได ้กล่าวมาเเล้วข้างต้นหลายๆอย่าง วิธีคิดแบบนี้ทำให้ความคิดและกา รวินิจฉัยเรื่องราวต่างๆ ชัดเจนตรงไปตรงมาตามความเป็นจริ ง เท่าความจริง พอดีกับความจริง