10:วิชาศิลปะ ม.1


ผู้สอน
ชัยบูรณ์ มะโหฬาร
เข้าสู่ระบบเมื่อ มากกว่า 6 ปี ที่แล้ว

ชื่อวิชา
10:วิชาศิลปะ ม.1

รหัสวิชา
26576

สถานศึกษา
โรงเรียนพิริยาลัยจังหวัดแพร่

คำอธิบายวิชา

มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด
           มาตรฐาน  ศ  1.1 :  
สร้างสรรค์งานทัศนศิลป์ตามจิตนาการ  และความคิดสร้างสรรค์
                                        วิเคราะห์  วิพากษ์วิจารณ์  คุณค่างานทัศนศิลป์  ถ่อยทอดความรู้สึก
                                        ความคิดต่องานศิลปะอย่างอิสระ  ชื่นชมและประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน        
           ตัวชี้วัด     ม.1/1 : บรรยายความแตกต่างและความคล้ายคลึงกันของงานทัศนศิลป์ และสิ่ง
                                        แวดล้อม  โดยใช้ความรู้เรื่อง ทัศนธาตุ

ทัศนธาตุ
                 ทัศนธาตุ  หมายถึง  ส่วนสำคัญที่รวมกันเป็นรูปร่างของสิ่งทั้งหลายตามที่มองเห็น  ได้แก่  จุด  เส้น  สี  แสงเงา  น้ำหนัก  บริเวณว่าง  และลักษณะผิวทัศนธาตุ  เป็นส่วนประกอบสำคัญของศิลปะที่สามารถนำมาจัดให้ประสานกลมกลืน  เกิดเป็นผลงานศิลปะที่มีคุณค่าทางความงาม  และสื่อความหมายตามความคิดของผู้สร้างสรรค์ได้  ทัศนธาตุเกิดขึ้นจากการนำเอาธาตุใดธาตุหนึ่งมาสร้างเป็นรูปขึ้น  จากนั้นก็จะเกิดธาตุอื่นๆ  ขึ้นตามมา  เช่น  การใช้เส้นสร้างรูปทรงขึ้นรูปหนึ่ง  ก็จะทำให้เกิดช่องว่างหรือรูกร่างของบริเวณว่างขึ้นเมื่อใช้สีระบายลงบนรูปทรง  ทัศนธาตุจะปรากฏขึ้นทั้งเส้น  สี  และลักษณะผิว

1.  จุด
                จุด  หมายถึง  รอบหรือแต้มที่มีลักษณะกลมๆ  ปรากฏที่ผิวพื้น  ไม่มีขนาด  ความกว้าง  ความยาว  ความหนา  แบ่งแยกไม่ได้  เป็นสิ่งที่เล็กที่สุด  สามารถเคลื่อนไหวไปในที่ว่างได้  จุดเป็นธาตุเริ่มแรกที่ทำให้เกิดธาตุอื่นๆ  ขึ้น  จุดเกิดขึ้นได้  2  ลักษณะ  ดังนี้
                1.1  จุดที่เกิดจากธรรมชาติ  จุดกระจัดกระจายอยู่ตามธรรมชาติมากมายในสิ่งต่างๆ  ที่
ธรรมชาติสร้างขึ้น  เช่น  จุดปรากฏที่ส่วนต่างๆ  ของพืชและสัตว์บางชนิด  จุดที่มองเห็นตามกลุ่มดาวบนท้องฟ้า  จุดบนวัตถุธาตุบางชนิด  เช่น  ดิน  หิน  แร่  เป็นต้น
                1.2   จุดที่เกิดจากฝีมือมนุษย์  มนุษย์ใช้สิ่งแหลมคมแต้ม  กด  จิ้ม  เป็นรอยกลมๆ  ลงบนผิว
พื้นที่ว่าง  ทำให้เกิดเป็นรอยแต้มเป็นจุดเดียวหรือหลายจุดไม่มีความหมายหรือเป็นลวดลายที่จงใจให้เป็น  เช่น  จุดที่ปรากฏบนกระดาษจุดเดียว  จุดต่อเนื่องลักษณะไข่ปลา  จุดที่รวมเป็นกลุ่มอย่างอิสระ  จุดที่รวมตัวเคลื่อนไหวกระจายเป็นระยะเท่าๆ   กันอย่างมีระเบียบ เป็นต้น
จุดเป็นองค์ประกอบแรกที่ทำให้เกิดธาตุต่างๆ  ที่นำมาประกอบสัมพันธ์กัน  รวมกลุ่มกันเป็น  องค์ประกอบศิลป์  จุดเมื่อปรากฏบนที่ว่างจะมีปฏิกิริยาโต้ตอบผลักดันกันหรือดึงดุดกัน  จุดที่รวมกันเป็นกลุ่มทำให้มองเห็นโครงสร้างจากจินตนาการเป็นรูปแบบคงที่และรูปแบบเปลี่ยนแปลงเคลื่อนไหวได้

   
       
           

2.  เส้น
               เส้น  หมายถึง  จุดหลายๆ  จุดต่อกันเป็นสาย  เป็นแถวแนวไปในทิศทางเดียวกันและเคลื่อนที่ไปในทิศทางเดียวกัน  ด้วยแรงผลักดันหรือรอยขูด  ขีด  เขียนของวัตถุเป็นรอยยาว  เส้นพื้นฐานแบ่งออกเป็น  2  ลักษณะ  คือ  เส้นตรง  และ  เส้นโค้ง
                 เส้น คือส่วนประกอบที่สำคัญของภาพ  เส้นแต่ละชนิดมีความหมายในตัวของมัน  ทำให้แต่ละบุคคลสามารถจินตนาการได้แตกต่างกันตามความคิดสร้างสรรค์ของแต่ละคน  เส้นแต่ละชนิดให้ความรู้สึกและความหมายต่างกัน ดังนี้

1.  เส้นตรงมีลักษณะดังนี้

                 1.                   เส้นดิ่ง  หรือ เส้นตั้ง  ให้ความรู้สึก    สงบ  มั่นคง   แข็งแรง แน่นนอน  เป็นระเบียบ 

                 
                 2.                        เส้นฟันปลาให้ความรู้สึก     รุ่นแรง  กระแทก  ตื่นเต้น 
  

                3.    - - - - - - - -       เส้นประ  ให้ความรู้สึกใจหาย  ไม่แน่นนอน 


                4.                            เส้นเฉียงให้ความรู้สึกไม่มั่นคง  โอนเอน


                5.                            เส้นนอนให้ความรู้สึกสงบ  ราบรื่น


2.  เส้นโค้ง  มีลักษณะดังนี้


               1.                            เส้นคด               ให้ความรู้สึก      เลื่อนไหล  ต่อเนื่อง  อ่อนช้อย 


               2.                            เส้นก้นหอย          ให้ความรู้สึก     อึดอัด


               3.                           เส้นอิสระ              ให้ความรู้สึก    วุ่นวาย     ไม่เป็นระเบียบ      

     
               4.                          เส้นโค้งขึ้น             ให้ความรู้สึก    แข็งแรง  เชื่อมั่น  


              5.                            เส้นโค้งลง            ให้ความรู้สึก     อ่อนโยน   อ่อนไหว  ไม่แข็งแรง




                     เส้นในงานศิลปะ    คือ  เส้น  ในจิตนาการมองไม่เห็นด้วยสายตา  เป็นเส้นในความรู้สึกนึกคิดคำนึงจากภาพที่มองเห็น  เป็นเส้นภายนอกของวัตถุลากจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง  เป็นเส้นโครงสร้างภายนอกของวัตถุสิ่งของต่างๆ  เช่น  เส้นภายนอก  เส้นภายใน  เส้นแกน  เป็นต้น  ตัวอย่าง  เช่น  เส้นรอบนอกของภูเขา  ต้นไม้  รูปทรงของคน  เส้นภายในที่ว่างของพุ่มไม้  คน  สัตว์  เส้นแกนของต้นไม้  เป็นต้น

                     นอกจากนี้ยังมีเส้นขีดเขียนลากตวัดของพู่กัน  ปากกา  ดินสอ  หรือวัตถุอื่นๆ  ไปตามอารมณ์ของผู้เขียน  เป็นสัญลักษณ์เฉพาะของแต่ละบุคคล  

                     เส้นเรขาคณิต  คือ  เส้นที่มนุษย์สร้างขึ้นเป็นรูปร่าง  รูปทรง  มีโครงสร้างที่แน่นอนมองเห็นด้วยสายตาตามความจริง  ได้แก่  รูปสามเหลี่ยม  วงกลม  สี่เหลี่ยม  และรูปหลายเหลี่ยม  อันเป็นพื้นฐานในการสร้างภาพองค์ประกอบศิลป์  นำไปสู่การสร้างสรรค์งานศิลปะ


ClassStart ให้บริการฟรีโดย บริษัท ปิยะวัฒนา จำกัด
เราเป็นกิจการเพื่อสังคม (Social Enterprise)
สนับสนุนโดย
ผู้ไม่ประสงค์ออกนามท่านหนึ่ง (2563-2566)
มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์ (2561-2563)
กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (2557-2558)
กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (2557)
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (2554-2558)
GotoKnow
ClassStart Books