พระพุทธศาสนา


ผู้สอน
พระมหาไกรสร โคตรหานาม
เข้าสู่ระบบเมื่อ มากกว่า 6 ปี ที่แล้ว

ชื่อวิชา
พระพุทธศาสนา

รหัสวิชา
26711

สถานศึกษา

คำอธิบายวิชา

คำนำ

  กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 และได้กำหนดมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่างๆ เพื่อให้สถานศึกษานำไปใช้เป็นกรอบทิศทางในการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา วางแผนจัดการเรียนการสอนและจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้ความสามารถ และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดที่กำหนดให้ พร้อมทั้งดำเนินการวัดประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนให้มีคุณภาพตามหลักการของหลักสูตร เพื่อให้เกิดผลสำเร็จตามเจตนารมณ์ของการปฏิรูปการศึกษาไทย ดังนั้นขั้นตอนการนำหลักสูตรสถานศึกษาไปปฏิบัติจริงในชั้นเรียนของครูผู้สอน จึงจัดเป็นหัวใจสำคัญของการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนให้บรรลุตามเป้าหมายของหลักสูตร

          บริษัท อักษรเจริญทัศน์ อจท. จำกัด จึงจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ รายวิชาพระพุทธศาสนา                 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 (ฉบับอนุญาต) เพื่อให้ครูผู้สอนใช้เป็นแนวทางวางแผนจัดการเรียนรู้แก่ผู้เรียน โดยจัดทำเป็นหน่วยการเรียนรู้อิงมาตรฐานและออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดการออกแบบย้อนกลับ (Backward Design) ที่มุ่งเน้นกระบวนการคิดและการประกันคุณภาพผู้เรียน ช่วยให้ผู้ปกครองและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการประเมินคุณภาพการศึกษา สามารถมั่นใจในผลการเรียนรู้และคุณภาพของผู้เรียนที่มีหลักฐานตรวจสอบผลการเรียนรู้อย่างเป็นระบบ

          คณะผู้จัดทำหน่วยการเรียนรู้อิงมาตรฐาน ได้ดำเนินการออกแบบการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบที่สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา (สวก.) กำหนดขึ้น เพื่อเป็นเอกภาพเดียวกันตามองค์ประกอบต่อไปนี้

การคิดและกระบวนการคิด

       การคิดเป็นพฤติกรรมการทำงานทางสมองของมนุษย์ ในการเรียบเรียงข้อมูลความรู้และความรู้สึกนึกคิดที่เกิดจากกระบวนการเรียนรู้ผ่านการดู การอ่าน การฟัง การสังเกต การสัมผัส และการดึงข้อมูลความรู้ที่บรรจุอยู่ในสมองเดิม  ตามประสบการณ์การเรียนรู้ที่ถูกสั่งสมมา

       ทักษะการคิดจึงเป็นพฤติกรรมที่มนุษย์แสดงการกระทำออกมาได้อย่างชัดเจนมองเห็นเป็นรูปธรรม เช่น พฤติกรรมการสังเกต แสดงออกด้วยการเพ่งดูอย่างพินิจพิเคราะห์ หรือพฤติกรรมการเปรียบเทียบ เป็นการนำลักษณะของสิ่งของตั้งแต่สองอย่างขึ้นไปมาเปรียบเทียบกัน เพื่อแสดงให้เห็นถึงสิ่งเหมือนหรือสิ่งต่าง เป็นต้น

         ดังนั้น การคิดจึงเป็นพฤติกรรมซับซ้อนที่มีลักษณะแยกย่อยแตกต่างกันไป เช่น การคิดวิเคราะห์ การคิดสร้างสรรค์ การคิดไตร่ตรองโดยใช้วิจารณญาณ ซึ่งล้วนเกี่ยวข้องกับกระบวนการทำงานของร่างกาย ประสาทสัมผัสทั้ง 5 และการเชื่อมโยงระหว่างข้อมูลที่รับรู้เข้ามาใหม่กับข้อมูลเก่าที่ถูกบรรจุอยู่ในคลังสมองของคนเราตลอดเวลา

       หากเปรียบเทียบการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์กับสมองมนุษย์หรืออาจเปรียบได้กับสมองคนกับสมองกล     จะพบว่า การทำงานของสมองคน ประกอบด้วยความชาญฉลาด 3 ลักษณะ คือ

การฝึกฝนกระบวนการเรียนรู้แก่ผู้เรียนจึงต้องกระตุ้นการทำงานและเสริมสร้างความสามารถของสมองทั้ง 3 ด้าน ที่กล่าวมา จึงจะบังเกิดผลการเรียนรู้ที่สมบูรณ์ คือ บังเกิดความรู้ความเข้าใจที่มีความชัดเจนยิ่งขึ้น บังเกิดความชำนาญในทักษะและการปฏิบัติได้คล่องแคล่วขึ้น และที่สำคัญบังเกิดค่านิยมคุณธรรมที่งอกงามขึ้นในจิตใจของผู้เรียน


ClassStart ให้บริการฟรีโดย บริษัท ปิยะวัฒนา จำกัด
เราเป็นกิจการเพื่อสังคม (Social Enterprise)
สนับสนุนโดย
ผู้ไม่ประสงค์ออกนามท่านหนึ่ง (2563-2566)
มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์ (2561-2563)
กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (2557-2558)
กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (2557)
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (2554-2558)
GotoKnow
ClassStart Books