ว20214 เปิดโลกเคมี


ผู้สอน
นาย พนมไพร วงษ์คลองเขื่อน
เข้าสู่ระบบเมื่อ มากกว่า 11 ปี ที่แล้ว

ชื่อวิชา
ว20214 เปิดโลกเคมี

รหัสวิชา
2675

สถานศึกษา
โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย สตูล

คำอธิบายวิชา

พลังงานกับการเปลี่ยนแปลงของสาร
            การเปลี่ยนแปลงของสาร เช่น การเปลี่ยนสถานะ การละลาย และการเกิดปฏิกิริยาเคมี
สถานะของสาร จำแนกได้ 3 ประเภท คือ
            1.ของแข็งุภาค ของสารในสถานะของแข็งจะอยู่ชิดกันมากทำให้แรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาคมีค่า มาก จึงมีรูปร่างแน่นอน และมีปริมาตรคงที่ เช่น กำมะถัน ตะปู
            2.ของเหลว อนุภาคของสารในสถานะของเหลวจะอยู่ใกล้กัน จึงมีแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาคค่อนข้างมาก อนุภาคเคลื่อนที่ได้บ้าง จึงทำให้ของเหลวไหลได้ มีรูปร่างไม่แน่นอนขึ้นกับภาชนะที่บรรจุ

แต่มีปริมาตรคงที่ เช่น น้ำ ปรอท
            3.แก๊ส อนุภาคของสารในสถานะแก๊สอยู่ห่างกัน แรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาคน้อยมาก ดังนั้นแก๊สจึงมีรูปร่างและปริมาตรไม่คงที่ เมื่ออยู่ในภาชนะจะฟุ้งกระจายเต็มภาชนะ เช่น ไอน้ำ

 
 

water_states_s
              

การเปลี่ยนแปลงของสาร
 

            การเปลี่ยนแปลงของสาร
            หมายถึง ผลต่างระหว่างสมบัติของสารหลังการเปลี่ยนแปลงกับสมบัติของสารก่อนการเปลี่ยนแปลง แบ่งออกเป็นประเภทใหญ่ๆ ได้ 3 ประเภท คือ
            1. การเปลี่ยนสถานะ (s, l, g)
            2. การละลาย (Solute + Solvent  → Solution)
            3. การเกิดปฏิกิริยาเคมี (สารตั้งต้น          สารใหม่)
การเปลี่ยนแปลงใดๆ ก็ตามจะมีพลังงานเกี่ยวข้องควบคู่ไปด้วยเสมอ ซึ่งอาจจะดูดหรือคายพลังงานก็ได้  ต้องกำหนดขอบเขตของสิ่งที่เรากำ ลังศึกษาทดลองอยู่
            . ระบบ (System) หมายถึง สิ่งที่กำ ลังศึกษาหรือทดลองอยู่
            . สิ่งแวดล้อม (Surrounding) หมาย ถึง สิ่งต่างๆ ที่อยู่นอกระบบเมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงสมบัติของระบบก่อนการเปลี่ยนแปลงและ หลังการเปลี่ยนแปลงจะต่างกัน ถ้าสมบัติข้อหนึ่งข้อใดเปลี่ยนแปลง ถือว่ามีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นในระบบ

 
ชนิดของระบบ
 

ชนิดของระบบ ระบบแบ่งออกเป็น 3 ชนิด คือ
            1. ระบบเปิด (Open System) หมายถึง ระบบที่มีการถ่ายเทมวลสารและพลังงานแก่สิ่งแวดล้อม เช่น
นำ CaCO3(s) ทำ ปฏิกิริยากับกรด HCl เกิด CaCl2 นํ้าและก๊าซ CO2 ดังสมการ
CaCO3 + 2HCl(aq)                   CaCl2(aq) + H2O(1) + CO2(q)
พบว่ามีก๊าซ CO2 หนีออกไปนํ้าหนักลดลง และอุณหภูมิเปลี่ยนแปลงด้วย แสดงว่ามีการถ่ายเทมวลสารและพลังงานระหว่างระบบและสิ่งแวดล้อม
            2. ระบบปิด (Closed System) หมายถึง ระบบที่มีการถ่ายเทพลังงานอย่างเดียว แต่มวลสารไม่ถ่ายเท
(มวลสารคงที่) เช่น นำ สารละลาย KI + สารละลาย Pb(NO3)2 ในบีกเกอร์จะพบว่าบีกเกอร์เย็นลงแต่มวลสารเท่าเดิม
            3. ระบบแยกตัว หรือระบบอิสระ (Isolated System) หมายถึง ระบบที่ไม่มีการถ่ายเทมวลสารและ
พลังงานระหว่างระบบ และสิ่งแวดล้อม เช่น คาร์ลอริมิเตอร์ กระติกนํ้า ซึ่งถือว่ามวลสารและพลังงานคงที่เนื่องจากมีฉนวนกันความร้อนอย่างดี
หมายเหตุ 1. ทั้งระบบเปิดและปิดจะมีพลังงานถ่ายเทระหว่างระบบและสิ่งแวดล้อม
                 2. ระบบเปิดและปิดไม่เกี่ยวกับการปิดหรือเปิดภาชนะแต่ขึ้นกับมวลสาร

 
การเปลี่ยนแปลงพลังงานของระบบ
 

การเปลี่ยนแปลงพลังงานของระบบ
            
เรา ทราบมาแล้วว่าทั้งระบบเปิดและระบบปิดมีการถ่ายเทพลังงานระหว่างระบบและสิ่ง แวดล้อมเสมอ และพลังงานส่วนใหญ่เป็นพลังงานความร้อนด้วย แบ่งออกเป็น 2ประเภท คือ
            1. การเปลี่ยนแปลงประเภทคายความร้อน (Exothermic System) หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่ระบบถ่ายเทพลังงานให้แก่สิ่งแวดล้อม (ความร้อนไหลออกจากระบบหรืออุณหภูมิของระบบต้องสูงกว่าสิ่งแวดล้อม)
            2. การเปลี่ยนแปลงประเภทดูดความร้อน (Endothermic System) หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่ระบบดูดพลังงานจากสิ่งแวดล้อม (ความร้อนจากสิ่งแวดล้อมไหลเข้าระบบหรืออุณหภูมิของระบบตํ่ากว่าสิ่งแวดล้อม)

ที่มา : http://www.lks.ac.th/student/kroo_su/chem11/sub16.html

เล่นเกมตารางธาตุ ที่นี่ครับ

http://game.hunsa.com/flashgame.php?gid=2376

http://www.atom.rmutphysics.com/charud/oldnews/145/Game/game7.htm

 


ClassStart ให้บริการฟรีโดย บริษัท ปิยะวัฒนา จำกัด
เราเป็นกิจการเพื่อสังคม (Social Enterprise)
สนับสนุนโดย
ผู้ไม่ประสงค์ออกนามท่านหนึ่ง (2563-2566)
มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์ (2561-2563)
กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (2557-2558)
กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (2557)
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (2554-2558)
GotoKnow
ClassStart Books