ภาษาไทย ป.4


ผู้สอน
จันทรัตน์ ใจเร็ว
เข้าสู่ระบบเมื่อ มากกว่า 6 ปี ที่แล้ว

ชื่อวิชา
ภาษาไทย ป.4

รหัสวิชา
26852

สถานศึกษา
โรงเรียนเพ็ชรจินดาวิทยา

คำอธิบายวิชา

กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยประกอบด้วยสาระการเรียนรู้ 5 สาระ คือ การอ่าน การเขียน การฟัง การดู และการพูด หลักการใช้ภาษาไทย วรรณคดีและวรรณกรรม ในด้านสาระต่างๆ นำมาบูรณาการและจัดหน่วยการเรียนรู้ให้สอดคล้องสัมพันธ์กันภายในกลุ่มสาระ กับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่นๆ โดยแต่ละสาระได้จัดให้มีความรู้ ดังนี้

การอ่านออกเสียงและบอกความหมายของบทร้อยแก้วและบทร้อยกรองที่ประกอบด้วย คำที่มี ร ล เป็นพยัญชนะต้น คำที่มีพยัญชนะควบกล้ำ คำที่มีอักษรนำ คำประสม อักษรย่อและเครื่องหมายวรรคตอน ประโยคที่มีสำนวนเป็นคำพังเพย สุภาษิต ปริศนาคำทาย และเครื่องหมายวรรคตอน การอ่านบทร้อยกรองเป็นทำนองเสนาะ การอ่านจับใจความจากสื่อต่างๆ เช่น เรื่องสั้นๆ เรื่องเล่าจากประสบการณ์ นิทานชาดก บทความ บทโฆษณา งานเขียนประเภทโน้มน้าวใจ ข่าวและเหตุการณ์ประจำวัน สารคดีและบันเทิงคดี การอ่านหนังสือที่มีคุณค่าตามความสนใจ และมีมารยาทในการอ่าน

การคัดลายมือตัวบรรจงเต็มบรรทัดและครึ่งบรรทัดตามรูปแบบการเขียนตัวอักษรไทย การเขียนสื่อสาร เช่น คำขวัญ คำแนะนำ การนำแผนภาพโครงเรื่องและแผนภาพความคิดไปพัฒนางานเขียน การเขียนย่อความจากสื่อต่างๆ เช่น นิทาน ความเรียงประเภทต่างๆ ประกาศ จดหมาย คำสอน การเขียนจดหมายถึงเพื่อนและบิดามารดา การเขียนบันทึกและเขียนรายงานจากการศึกษาค้นคว้า การเขียนเรื่องตามจินตนาการและมีมารยาทในการเขียน

การจำแนกข้อเท็จจริงและข้อคิดเห็นจากเรื่องที่ฟังและดูในชีวิตประจำวัน การจับใจความและการพูดแสดงความรู้ ความคิดในเรื่องที่ฟังแลดูจากสื่อต่างๆ เช่น เรื่องเล่า บทความสั้นๆ ข่าวและเหตุการณ์ โฆษณา สื่ออิเล็กทรอนิกส์ เรื่องราวจากบทเรียนในกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยและกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น การรายงาน เช่น การพูดลำดับขั้นตอนการปฏิบัติงาน การพูดลำดับเหตุการณ์ และมีมารยาทในการฟัง การดู และการพูด

การสะกดคำและการบอกความหมายของคำในแม่ ก กา มาตราตัวสะกด การผันอักษร คำเป็นคำตาย คำพ้อง การระบุและหน้าที่ของคำในประโยค ชนิดของคำ ได้แก่ คำนาม คำสรรพนาม คำกริยา คำวิเศษณ์ การใช้พจนานุกรมค้นหาความหมายของคำ การแต่งประโยคถูกต้องตามหลักภาษา ประโยคสามัญ ได้แก่ ส่วนประกอบของประโยค ประโยค 2 ส่วน และประโยค 3 ส่วน การแต่งบทร้อยกรองประเภทกลอนสี่และคำขวัญ การบอกความหมายของสำนวนที่เป็นคำพังเพยและสุภาษิต การเปรียบเทียบภาษาไทยมาตรฐานกับภาษาถิ่น

การระบุและอธิบายข้อคิดจากการอ่านวรรณคดีและวรรณกรรมที่สามารถนำไปใช้ในชีวิตจริง เช่น นิทานพื้นบ้าน นิทานคติธรรม เพลงพื้นบ้าน วรรณคดีและวรรณกรรมในบทเรียนและตามความสนใจ การร้องเพลงพื้นบ้าน ท่องจำบทอาขยานตามที่กำหนด และบทร้อยกรองที่มีคุณค่าตามความสนใจ

การพัฒนาทักษะการฟัง การดู การพูด การอ่าน และการเขียน ผ่านการฝึกทักษะการวิเคราะห์ การคิด การสังเกต แยกแยะข้อเท็จจริง ข้อคิดเห็น และข้อมูลที่ได้รับ โดยใช้กระบวนการกลุ่ม กระบวนการในการสืบค้น กระบวนการเขียน กระบวนการดู และการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งสามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาตน มีความคิดสร้างสรรค์รวมทั้งมีคุณธรรม จริยธรรม และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ที่สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างมีความสุขผลการค้นหารูปภาพสำหรับ รายวิชาภาษาไทย

 


ClassStart ให้บริการฟรีโดย บริษัท ปิยะวัฒนา จำกัด
เราเป็นกิจการเพื่อสังคม (Social Enterprise)
สนับสนุนโดย
ผู้ไม่ประสงค์ออกนามท่านหนึ่ง (2563-2566)
มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์ (2561-2563)
กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (2557-2558)
กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (2557)
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (2554-2558)
GotoKnow
ClassStart Books