นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4


ผู้สอน
sasi siri
เข้าสู่ระบบเมื่อ เกือบ 4 ปี ที่แล้ว

ชื่อวิชา
นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4

รหัสวิชา
29505

สถานศึกษา
โรงเรียนสันป่าตอง (สุวรรณราษฎร์วิทยาคาร)

คำอธิบายวิชา

แผนการจัดการเรียนรู้    "เรียนรู้ท้องถิ่นด้วยเครื่องมือทางภูมิศาสตร์" 

                                                                                                             เวลา  5    ชั่วโมง   


1.   เป้าหมายการเรียนรู้

         1)   รู้และเข้าใจเกี่ยวกับแผนที่และภาพถ่ายต่างๆ ที่ใช้ศึกษาลักษณะทางกายภาพในจังหวัด

         2)   รู้และเข้าใจเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆ  ที่เป็นผลมาจากสภาพแวดล้อมทางกายภาพที่อยู่ในจังหวัด     


                1.2   จุดประสงค์การเรียนรู้

                           1)   อธิบายเกี่ยวกับแผนที่และภาพถ่ายต่างๆ ที่ใช้ศึกษาลักษณะทางกายภาพในจังหวัด 

                           2)   อธิบายความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆ  ที่เป็นผลมาจากสภาพแวดล้อมทางกายภาพที่อยู่ในจังหวัดได้

2.  สาระสำคัญ

                2.1   สาระการเรียนรู้

                         การใช้เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ในการศึกษาลักษณะทางกายภาพของจังหวัด

                2.2     ทักษะกระบวนการ

                           1)    ทักษะกระบวนการตามธรรมชาติวิชา 

                                     -   การศึกษา  การปฏิบัติ

                           2)    ทักษะกระบวนการทั่วไป

                                   -  กระบวนการทำงานกลุ่ม  กระบวนการสังเกต  กระบวนการปฏิบัติ

                           3)    ทักษะการคิด

                                   -  ทักษะการรวบรวมข้อมูล ทักษะการคิดตอบคำถาม ทักษะการคิดสังเกต ทักษะการคิดแสดงความคิดเห็น ทักษะการคิดนำเสนอ และทักษะการคิดสรุปความรู้

3.   ร่องรอยการเรียนรู้

                3.1    ผลงานหรือชิ้นงาน  ได้แก่

                         -    ผลงานกลุ่มของนักเรียนเรื่องการใช้เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ในการศึกษาลักษณะทางกายภาพของจังหวัด

                3.2     กระบวนการขั้นตอนการปฏิบัติงาน  ได้แก่

                       1)   พฤติกรรมการทำงานกลุ่มจากการศึกษาเรื่องการใช้เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ในการศึกษาลักษณะทางกายภาพของจังหวัด

                           2)   พฤติกรรมการอภิปรายจากประเด็นคำถาม

                           3)   พฤติกรรมจากการตอบคำถามเรื่องการใช้เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ในการศึกษาลักษณะทางกายภาพของจังหวัด           

                3.3     คุณลักษณะอันพึงประสงค์

                          -   มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ มุ่งมั่นในการทำงาน

                3.4    ความรู้ความเข้าใจ

         1)   ผลสัมฤทธิ์จากการเรียนรู้ด้านความเข้าใจของนักเรียนเรื่อง การใช้เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ในการศึกษาลักษณะทางกายภาพของจังหวัด   จากการตอบคำถาม

         2)   ความรู้ความเข้าใจของนักเรียนจากการทำงานกลุ่มเรื่องการใช้เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ในการศึกษาลักษณะทางกายภาพของจังหวัด  

4.    แนวทางการวัดผลประเมินผล

วิธีการประเมิน

เครื่องมือวัดผล

เกณฑ์ผ่านขั้นต่ำและ

การสรุปผลการประเมิน

1.  ประเมินผลการปฏิบัติกิจกรรม

1.  แบบประเมินการปฏิบัติกิจกรรม

 

เกณฑ์ผ่านขั้นต่ำ

1.  ได้ระดับ “พอใช้” ขึ้นไป

2.  สังเกตพฤติกรรมการเรียน

2.  แบบสังเกตพฤติกรรมการเรียน

2.  ได้ระดับ “พอใช้” ขึ้นไป

3. สังเกตพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม

3. แบบสังเกตพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม

3.  ได้ระดับ “ดี” ขึ้นไป

4. ทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน

4.  แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนประจำหน่วยการเรียนรู้

4.  ได้คะแนนรวมร้อยละ 50 ขึ้นไป

 

การสรุปผลการประเมิน

ต้องผ่านเกณฑ์ขั้นต่ำทั้ง 4 รายการ

 

การปรับปรุง

รายการประเมินใดไม่ผ่านเกณฑ์

ขั้นต่ำ ครูต้องอาจให้ความรู้เพิ่มเติมแล้วให้กลับไปทำใหม่หรือเปลี่ยนแปลงงานชิ้นใหม่เลย

 5.   กิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อการเรียนรู้                                                                                                

                           5.1   ขั้นนำ  

                         ครูนำตัวอย่างแผนที่   ภาพถ่ายทางอากาศ  และภาพจากดาวเทียมมาให้นักเรียนร่วมกันศึกษาทำความรู้จักก่อนนำเข้าสู่บทเรียน

กิจกรรมการเรียนการสอน


                         5.2   ขั้นสอน

ฝึกทักษะการคิด

1.  ครูให้นักเรียนร่วมกันศึกษาแผนที่  ภาพถ่ายทางอากาศ  และภาพถ่ายดาวจากเทียมมาให้นักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็น  โดยครูตั้งคำถามกับนักเรียน ดังนี้

        -  แผนที่คืออะไร ใช้ประโยชน์ทางด้านใด

        -  ภาพถ่ายทางอากาศคืออะไร ใช้ประโยชน์ทางด้านใด

        -  ภาพถ่ายจากดาวเทียมคืออะไร ใช้ประโยชน์ทางด้านใด

โดยครูอธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับเครื่องมือทางภูมิศาสตร์ทั้ง  3  ประเภทว่าเป็นเครื่องมือทางภูมิศาสตร์ที่เราสามารถนำมาใช้ในการศึกษาเกี่ยวกับจังหวัดของเราทางด้านภูมิศาสตร์ ทำให้ความสะดวกและเกิดความเข้าใจมากขึ้น

-  ทักษะการรวบรวมข้อมูล

- ทักษะการคิดตอบคำถาม

2. ครูนำแผนที่ของจังหวัดที่ตนเองอาศัยอยู่มาให้นักเรียนดู  แล้วสังเกตว่า มีอะไรอยู่ในแผนที่บ้างให้นักเรียนช่วยกันตอบ  จากนั้นครูสรุปว่าองค์ประกอบของแผนที่มีอะไรบ้าง  ให้นักเรียนจดบันทึกลงในสมุด

- ทักษะการคิดสังเกต

3.  ครูซักถามนักเรียนว่า ลักษณะทางกายภาพของจังหวัดมีลักษณะอย่างไร ให้นักเรียนช่วยกันแสดงความคิดเห็น

- ทักษะการแสดงความคิดเห็น

 

4.  แบ่งกลุ่มนักเรียนกลุ่มละ 3-5  คน ให้ร่วมกันจัดทำแผนที่แสดงลักษณะสำคัญทางกายภาพของจังหวัดตนเอง จากนั้นส่งตัวแทนผลัดกันนำเสนอผลงานหน้าชั้นเรียน  ครูและนักเรียนร่วมสนทนาซักถาม

- ทักษะการคิดนำเสนอ

5.  ครูให้นำภาพถ่ายทางอากาศและภาพถ่ายจากดาวเทียมมาให้นักเรียนดู ให้นักเรียนร่วมแสดงความคิดเห็นว่า ภาพถ่ายทางอากาศและภาพถ่ายจากดาวเทียมให้ข้อมูลเกี่ยวกับจังหวัดอย่างไรบ้าง  โดยครูอธิบายเพิ่มว่าในการศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับจังหวัดเราหากเราใช้เครื่องมือทางภูมิศาสตร์โดยเฉพาะแผนที่หรือภาพถ่ายต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นภาพถ่าย ภาพถ่ายทางอากาศ และภาพถ่ายจากดาวเทียมเข้ามาช่วย ยิ่งทำให้เราได้รับข้อมูลต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ ทำให้เราเข้าใจสภาพแวดล้อมทางกายภาทพและความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆ ที่ลักษณะทางกายภาพของจังหวัดหรือท้องถิ่นได้ 

- ทักษะการแสดงความคิดเห็น

 

6.  ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปเรื่องการใช้เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ในการศึกษาลักษณะทางกายภาพของจังหวัด

- ทักษะการคิดสรุปความรู้

7.  นักเรียนทำแบบฝึกทักษะในใบงาน

 

                5.3   ขั้นสรุป   

                       ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปเรื่องการใช้เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ในการศึกษาลักษณะทางกายภาพของจังหวัด  โดยการสนทนาซักถาม      

6.   สื่อการเรียนรู้ / แหล่งเรียนรู้

                6.1     สื่อการเรียนรู้

                           1)   หนังสือเรียนสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม  ชั้นประถมศึกษาปีที่  4

                           2)   เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ เช่น แผนที่    ภาพถ่ายทางอากาศ   ภาพถ่ายจากดาวเทียม

                           3)   ใบงาน

                           4)    แบบทดสอบ

                6.2     แหล่งเรียนรู้

                           1)    ห้องสมุดโรงเรียน

                           2)    ห้องสมุดกลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม

                           3)    แหล่งเรียนรู้ทางอินเทอร์เน็ต      

7.   กิจกรรมเสนอแนะ

                7.1     กิจกรรมฝึกการคิดวิเคราะห์

                           นักเรียนร่วมกันสรุปข้อมูลในเรื่อง  “หากไม่มีเครื่องมือทางภูมิศาสตร์อะไรจะเกิดขึ้น”  ประกอบด้วย  4  ขั้นตอน ดังนี้

                          1.  ขั้นรวบรวมข้อมูล

                                 -  ศึกษาผลที่เกิดจากการมี / ไม่มีเครื่องมือทางภูมิศาสตร์

                          2.  ขั้นวิเคราะห์

                                - หากไม่มีผลที่เกิดขึ้นเป็นอย่างไร

3.  ขั้นสรุป

                                 -  บันทึกผลการวิเคราะห์ในกระดาษ

4.  ขั้นประยุกต์ใช้

      -  นำผลการศึกษาจัดป้ายนิเทศ

 

 


ClassStart ให้บริการฟรีโดย บริษัท ปิยะวัฒนา จำกัด
เราเป็นกิจการเพื่อสังคม (Social Enterprise)
สนับสนุนโดย
ผู้ไม่ประสงค์ออกนามท่านหนึ่ง (2563-2566)
มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์ (2561-2563)
กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (2557-2558)
กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (2557)
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (2554-2558)
GotoKnow
ClassStart Books