จิตวิทยาในลีลาชีวิตยุคใหม่ กลุ่ม 3 วันศุกร์ (10:00-11:45)


ผู้สอน
ดร. วิเชียร สิทธิประภาพร
เข้าสู่ระบบเมื่อ ประมาณ 10 ปี ที่แล้ว

ชื่อวิชา
จิตวิทยาในลีลาชีวิตยุคใหม่ กลุ่ม 3 วันศุกร์ (10:00-11:45)

รหัสวิชา
3576

สถานศึกษา
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

คำอธิบายวิชา

คำอธิบายรายวิชา

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับจิตวิทยาเพื่อการดำรงชีวิต แรงจูงใจในการเรียนรู้ การฝึกสมอง การเข้าใจและเห็นคุณค่าในตัวเอง การเสริมสร้างคุณค่าให้กับตนเอง การควบคุมอารมณ์ การปรับตัวสู่สังคมสมัยใหม่ การเป็นพลเมืองที่มีคุณภาพ มีจิตสาธารณะ สามารถใช้ชีวิตในสังคมยุคใหม่ได้อย่างมีความสุข

จุดมุ่งหมายของรายวิชา

1. ผู้เรียนสามารถอธิบายความหมาย ความสำคัญ และทฤษฎีที่สำคัญทางจิตวิทยาที่เกี่ยวข้องกับการดำรงชีวิต การสร้างแรงจูงใจ การเห็นคุณค่าในตนเอง และการปรับตัว

2. ผู้เรียนสามารถอธิบายแนวทางในการฝึกสมองเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการทำงานสมองได้

3. ผู้เรียนสามารถประยุกต์ใช้ความรู้ทางจิตวิทยาเพื่อเสริมสร้างความเข้าใจและการเห็นคุณค่าในตนเองและผู้อื่น

4. ผู้เรียนสามารถประยุกต์ใช้ความรู้เกี่ยวกับทฤษฎีทางจิตวิทยา แรงจูงใจ และการปรับตัวเพื่อพัฒนาแนวทางในการดำรงชีวิตในสังคมยุคใหม่ได้

5. ผู้เรียนสามารถสร้างแนวทางในการพัฒนาตนเองเพื่อการเป็นพลเมืองที่มีคุณภาพ

6. ผู้เรียนมีความรับผิดชอบ ซื่อสัตย์ และจิตสาธารณะ

กิจกรรมการเรียนการสอน

1.  บรรยายโดยอาจารย์ผู้สอน

2.  อภิปรายกลุ่มเพื่อระดมความคิดเห็นเชิงวิชาการ

3.  กิจกรรมในชั้นเรียน

4.  งานมอบหมาย

5.  สอบ

เกณฑ์การประเมิน

1.  สอบกลางภาค                                       25%   

2.  สอบปลายภาค                                       30%

3.  งานที่ได้รับมอบหมาย 

     - รายงาน (รายบุคคล)                              10%

     - รายงานกลุ่ม                                           15%

     - กิจกรรมในชั้นเรียน (ตามใบกิจกรรม)      10%

4.  การเข้าเรียน                                              10%

กติกาการเรียนการสอน

1. การขอลา: หากนิสิตเขียนใบลาโดยไม่มีใบรับรองแพทย์ในกรณี ลาป่วย หรือ ไม่มีเอกสารราชการในกรณี ลากิจ การลา 2 ครั้ง เท่ากับขาด 1 ครั้ง

2. การเข้าเรียนสาย: หากนิสิตเข้าเรียนสายเกิน 15 นาที จะถูกหัก 0.5 คะแนน เข้าเรียนสายเกิน 15 นาที 2 ครั้ง ถือว่าขาดเรียน 1 ครั้ง

3.  ขาดเรียนโดยไม่ส่งใบลา หรือส่งใบลาโดยไม่มีใบรับรองแพทย์ หรือไม่มีเอกสารราชการ ขาดเรียน 1 ครั้งจะถูกหัก 1 คะแนน และหากขาดเรียนเกิน 3 ครั้ง จะไม่มีสิทธิ์สอบ

4. การติดต่อ และส่งงานอาจารย์ที่ - Email: [email protected]

เอกสารประกอบการสอน

กุลยา พิสิษฐ์สังฆการ และ สมบุญ จารุเกษมทวี. (2550). เจาะจิตวิทยา. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิเด็ก, แปลจาก Nigel C. Benson. (1998). Introducing Psychology. Duxford, Cambridge: Icon Books.

จิราภา เต็งไตรรัตน์ และคณะ. (2547). จิตวิทยาทั่วไป (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ปรีดา ยังสุขสถาพร. (2552). จำแม่น ไม่มีลืม. กรุงเทพมหานคร: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

รังสรรค์ โฉมยา. (2554). จิตวิทยา: พื้นฐานในการทำความเข้าใจพฤติกรรมมนุษย์ (พิมพ์ครั้งที่ 2). มหาสารคาม: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

อมราลักษณ์ คลธา. (2552). อัจฉริยะฉลาดคิด. กรุงเทพมหานคร: เอ็กซเปอร์เน็ท, แปลจาก Tom Wujec. (1995). Five Star Mind. Canada: Doubleday.

Atkinson, R.L., Atkinson, R.C., Smith, E.E., & Bem, D.J. (1993). Introduction to Psychology (11th ed.). Orlando, FL: Harcourt Brace College.

Banyard, P., Davies, M.N.O., Norman, C. & Winder, B. (Eds.). (2010). Essential Psychology: A Concise Introduction. London: SAGE.

Baron, R. A. (1999). Essentials of Psychology (2nd ed.). Boston, MA: Allyn and Bacon.

Benson, N.C. (1998). Introducing Psychology (2nd ed.). Duxford, Cambridge: Icon Books.

Kalat J.W. (2008). Introduction to Psychology (8th ed.). Belmont, CA: Thomson Higher Education.

Lilienfeld, S.O., Lynn, S.J., Ruscio, J. & Beyerstein, B.L. (2010). 50 Great Myths of Popular Psychology: Shattering Widespread Misconceptions about Human Behavior. Chichester, West Sussex: Blackwell.

Santrock, J. W. (2005). Psychology (7th  ed.). New York, NY: McGraw-Hill.

Willis, J. (2008). How Your Child Learns Best: Brain-Friendly Strategies You Can Use to Ignite Your Child’s Learning and Increase School Success. Naperville, Illinois: Sourcebooks.

งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อในประมวลรายวิชา เช่น การเห็นคุณค่าในตนเอง (Self-Esteem) สุขภาพจิต (Mental Health) การปรับตัว (Adjustment) แรงจูงใจ (Motivation) จิตสาธารณะ (Public Mind) เป็นต้น

Website แนะนำ

“10 การทดลองทางจิตวิทยาที่ไร้จริยธรรม(http://listverse.com/2008/09/07/top-10-unethical-psychological-experiments/)

 

 

 

 


ClassStart ให้บริการฟรีโดย บริษัท ปิยะวัฒนา จำกัด
เราเป็นกิจการเพื่อสังคม (Social Enterprise)
สนับสนุนโดย
ผู้ไม่ประสงค์ออกนามท่านหนึ่ง (2563-2566)
มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์ (2561-2563)
กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (2557-2558)
กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (2557)
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (2554-2558)
GotoKnow
ClassStart Books