บูรณาการ ป.6/1 ปีการศึกษา 2562


ผู้สอน
นาง อุไร ฉ้วนกลิ่น
เข้าสู่ระบบเมื่อ 6 เดือน ที่แล้ว

ชื่อวิชา
บูรณาการ ป.6/1 ปีการศึกษา 2562

รหัสวิชา
38772

สถานศึกษา
โรงเรียนอนุบาลสตูล

คำอธิบายวิชา

I 16201 การศึกษาเพื่อเรียนรู้ (Knowledge Inquiry)

รายวิชาเพิ่มเติม
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เวลา 520 ชั่วโมงต่อปี

ฝึกทักษะการสังเกต การรับรู้ การวิเคราะห์สถานการณ์ สภาพแวดล้อมในชุมชนและปัญหาเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงในชุมชนในประเด็น ทุนทรัพยากร ทุนมนุษย์ ทุนวัฒนธรรม ทุนภูมิปัญญาและทุนเงินตรา ตามที่กำหนดให้ (Knowledge Issue) การคิดวิเคราะห์ การคิดสังเคราะห์ การคิดอย่างสร้างสรรค์คิดอย่างมีวิจารณญาณ เปรียบเทียบ การค้นคว้าและแสวงหาความรู้ ตั้งประเด็นความรู้/คำถาม กำหนดขอบเขต ตั้งสมมติฐาน แสวงหาข้อมูล คำตอบ ตามจินตนาการ ตามความรู้และประสบการณ์ของตนหรือแหล่งศึกษาค้นคว้าใกล้ตัว ออกแบบ วางแผนรวบรวม วิเคราะห์ข้อมูลจากการสืบค้น จัดกระทำข้อมูลอย่างง่ายและสรุปประเด็นความรู้จากข้อคิดสำคัญ โดยใช้กระบวนการคิด การตั้งคำถาม/สอบถาม แสดงความคิดเห็น สืบค้นข้อมูลคำตอบ กระบวนการปฏิบัติ เพื่อให้เกิดทักษะในการค้นคว้า แสวงหาความรู้ มีทักษะในการคิด เขียนและสื่อสารข้อมูล มีความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต เป็นความสามารถในการนำกระบวนการต่าง ๆ ไปใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวัน การเรียนรู้ด้วยตนเอง การเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง มีความสามารถในการแก้ปัญหาและอุปสรรคต่าง ๆ ที่เผชิญได้อย่างถูกต้องเหมาะสมบนพื้นฐานของหลักเหตุผล คุณธรรม มีวัฒนธรรมในการใช้ภาษาถ่ายทอดความคิด ความรู้ความเข้าใจ ความรู้สึก และทัศนะของตนเองเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร มีมารยาทในการฟัง ดู และพูด มีลำดับขั้นตอนในการนำเสนอ เข้าใจง่าย โดยใช้สื่อเทคโนโลยีบูรณาการได้อย่างปลอดภัยและ มีทักษะกระบวนการทางเทคโนโลยี เพื่อการพัฒนาตนเองและสังคม ในด้านการเรียนรู้ การสื่อสาร การทำงาน อ้างอิงความรู้ที่ศึกษาค้นคว้าและแหล่งความรู้ที่เชื่อถือได้ สามารถเชื่อมโยงความรู้สู่การปฏิบัติในสถานการณ์ ที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมและชุมชน เห็นคุณค่าและประโยชน์ของการศึกษาเรียนรู้ด้วยตนเอง ทักษะการสื่อความและการนำเสนอ เห็นคุณค่าและประโยชน์ของการเรียนรู้ด้วยตนเองและทีความสามารถในการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการโครงงานฐานวิจัย และสร้างนวัตกรรมร่วมแก้ปัญหาสังคมอย่างสร้างสรรค์

ผลการเรียนรู้ 1.ตั้งประเด็นความรู้ คำถาม ข้อสงสัย (Knowledge Issue) ในสิ่งที่สนใจเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมหรือบุคคลใกล้ตัว 2. ตั้งสมมติฐานตามความรู้และประสบการณ์ของตนเอง 3. ศึกษาค้นคว้า แสวงหาข้อมูลคำตอบจากสมมติฐานที่ตั้งไว้ และวางแผน กำหนดขอบเขต ในการรวบรวมและลำดับขั้นตอนการเก็บข้อมูล ค้นคว้า แสวงหาข้อมูล คำตอบ จากแหล่งค้นคว้าใกล้ตัว 4. จัดกระทำข้อมูลอย่างง่าย สรุปประเด็นความรู้จากข้อคิดสำคัญ 5. อภิปรายและวิเคราะห์ข้อมูลการสืบค้น เขียนนำเสนอเป็นลำดับขั้นตอน ใช้สื่อในการนำเสนอที่เหมาะสมกับวัยแสวงหาข้อมูลและอ้างอิงแหล่งเรียนรู้ที่เชื่อถือได้ 6. พูด เขียน เพื่อสรุปประเด็นความรู้จากข้อคิดสำคัญที่ได้ศึกษาค้นคว้า 7. เชื่อมโยงความรู้สู่การปฏิบัติในสถานการณ์ง่ายๆ

รวมทั้งหมด 7 ผลการเรียนรู้

รหัสตัวชี้วัด ท 1.1 ป.6/1,ป.6/2,ป.6/3,ป.6/4,ป.6/5,ป.6/6,ป.6/7,ป.6/8,ป.6/9
ท 1.2 ป 6/1,ป.6/2, ป.6/3 ,ป.6/9
ท 1.3 ป.6/1,ป.6/2,ป.6/3,ป.6/4,ป.6/5,ป.6/6 ค 2.1 ป.6/1 ค 6.1 ป.6/1,ป.6/2,ป.6/3,ป.6/4,ป.6/5,ป.6/6 ว 1.1 ป.6/3 ว 2.2 ป.6/1,ป.6/2,ป.6/3,ป.6/4,ป.6/5 ต 1.2 ป.6/4 ต 1.3 ป.6/2 ต 4.1 ป.6/1 ต 4.2 ป.6/2 ศ 1.1 ป.6/7 ศ 2.1 ป.6/4 ศ 3.1 ป.6/1 พ 3.1 ป 6/5 พ 3.2 ป 6/2 ส 1.1 ป.6/1,ป.6/3,ป.6/4,ป.6/6,ป.6/7 ส 1.2 ป.6/2 ส 2.1 ป.6/1,ป.6/2,ป.6/3,ป.6/4,ป.6/5 ส 2.2 ป.6/1,ป.6/2,ป.6/3 ส 3.1 ป.6/1,ป.6/2,ป.6/3 ส 3.2 ป.6/1,ป.6/2 ส 5.1 ป.6/1,ป.6/2 ส 5.2 ป.6/1,ป.6/2,ป.6/3 ส 4.1 ป.6/1,ป.6/2 ส 4.2 ป.6/1,ป.6/2 ส 4.3 ป.6/1,ป.6/2,ป.6/3,ป.6/4 ง 1.1 ป.6/1,ป.6/2,ป.6/3
ง 2.1 ป.6/1,ป.6/2,ป.6/3
ง 3.1 ป.6/1,ป.6/2,ป.6/3,ป.6/4,ป.6/5 ง 4.1 ป.6/1,ป.6/2

รวมทั้งหมด 86 ตัวชี้วัด

                                                                                                          เค้าโครงงานวิจัย

1.ชื่อโครงการวิจัย ศึกษาการปลูกผักโดยวิธีธรรมชาติในจังหวัดสตูล 2.ความเป็นมาและความสำคัญ ในปัจจุบันปัญหาการปลูกผักในประเทศไทยเกษตรกรใช้สารเคมีเพิ่มมากขึ้นสารเคมีพิษที่การเกษตรใช้มากมี 3 ชนิด คือพาราควอต ไกลโฟเซต และคลอร์ไพริฟอส โดยใช้กําจัดศัตรูพืช และวัชพืช มีการยืนยันด้วยข้อมูลทางวิชาการแพทย์แล้วว่าสารเคมีดังกล่าวส่งผลกระทบทั้งทางตรง และทางอ้อมทำให้เกิดปัญหาต่อสุขภาพเกษตรกร และผู้บริโภค เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อม ซึ่งกลุ่มเกษตรกรมีโอกาสเจ็บป่วยจากสารเคมีกําจัดศัตรูพืชในจํานวนค่อนข้างมาก เนื่องจากได้รับสารเคมีโดยตรงผ่านทางผิวหนังและการหายใจ ซึ่งสารเคมีต่าง ๆ เหล่านี้ จะทําให้เกิดอาการแพ้หากมีการสะสมมากขึ้นในร่างกาย ก็จะทําให้เกิดโรคต่าง ๆ เช่น โรคมะเร็งและโรคปอด เป็นต้น จากสถานการณ์การใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชในภาคใต้ ซึ่งพบว่า 7 จังหวัดที่ใช้สารเคมีมากทีสุดได้แก่ จังหวัดสงขลา ตรัง สตูล พัทลุง ยะลา นราธิวาส ปัตตานี ซึ่งจังหวัดสตูลเป็น 1 ใน 7 จังหวัดภาคใต้ที่มีการใช้สารเคมีพิษทางการเกษตรมากสุด และส่งผลให้มีจำนวนผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆจากผลกระทบการใช้สารเคมีของเกษตรกรในการปลูกผักผลไม้ ขณะนี้จังหวัดสตูลได้มีการรณรงค์ ส่งเสริมให้เกษตรกรเปลี่ยนแนวคิดจากเกษตรเคมีมาเป็นการเกษตรอินทรีย์หรือการทำเกษตรโดยใช้วิธีธรรมชาติจากสถานการณ์การใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชในภาคใต้ ซึ่งพบว่า 7 จังหวัดที่ใช้สารเคมีมากทีสุดได้แก่ จังหวัดสงขลา ตรัง สตูล พัทลุง ยะลา นราธิวาส ปัตตานี ซึ่งจังหวัดสตูลเป็น 1 ใน 7 จังหวัดภาคใต้ที่มีการใช้สารเคมีพิษทางการเกษตรมากสุด และส่งผลให้มีจำนวนผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆจากผลกระทบการใช้สารเคมีของเกษตรกรในการปลูกผักผลไม้ ขณะนี้จังหวัดสตูลได้มีการรณรงค์ ส่งเสริมให้เกษตรกรเปลี่ยนแนวคิดจากเกษตรเคมีมาเป็นการเกษตรอินทรีย์หรือการทำเกษตรโดยใช้วิธีธรรมชาติ ดังนั้นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่6/1จึงสนใจที่จะลดสารเคมีในผักเพื่อสุขภาพที่ดีของผู้บริโภค และทำการวิจัยศึกษาการปลูกผักโดยวิธีธรรมชาติในการกำจัดศัตรูพืช 3.วัตถุประสงค์ 1.เพื่อศึกษาวิธีการลดสารเคมีในผักโดยวิธีธรรมชาติจากภูมิปัญญา
2.เพื่อส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกผักโดยวิธีธรรมชาติ 4.คำถามวิจัย คำถามหลัก 1.การลดสารเคมีในผักมีวิธีการอย่างไรบ้าง 2.ทำอย่างไรให้เกษตรกรใช้วิธีธรรมชาติในการปลูกผัก คำถามรอง 1.ขั้นตอนการเตรียมดินปลูกผักมีกี่ขั้นตอน 2.ต้องใช้ปุ๋ยชนิดใดในการปลูกผัก 3.การใส่ปุ๋ยในการปลูกผักต้องใส่ขั้นตอนไหนบ้าง 4.ปุ๋ยธรรมชาติทำมาจากอะไรบ้าง 5.เราควรรดน้ำผักเวลาใดบ้าง 6.ยาฆ่าแมลงที่เป็นสารเคมีใช้ในการปลูกผักมีกี่ชนิด 7.การใช้สารเคมีกำจัดแมลงในการปลูกผักส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมอย่างไร 8.วิธีกำจัดแมลงศัตรูพืชแบบธรรมชาติ มีอะไรบ้าง 9.การใช้ยาฆ่าแมลงแบบธรรมชาติส่งผลดีต่อการปลูกผักอย่างไร 10.สารเคมีมีกี่ประเภท 12.เกษตรกรนิยมใช้สารเคมีประเภทใดมากที่สุด 13. เกษตรกรใช้สารเคมีในการปลูกผักขั้นตอนใดบ้าง 14.การลดสารเคมีในผักมีวิธีการอย่างไรบ้าง 15.การลดสารเคมีในผักมีผลดีอย่างไร 16.สารเคมีส่งผลกระทบต่อสุขภาพอย่างไรบ้าง 17.ภูมิปัญญาการปลูกผักโดยใช้วิธีธรรมชาติในจังหวัดสตูลมีแหล่ง เรียนรู้ที่ไหนบ้าง 18.ในการไปส่งเสริมให้ปลูกผักโดยใช้วิธีธรรมชาติต้องใช้ความรู้อะไรบ้าง 19.เรามีวิธีอย่างไรที่จะส่งเสริมให้คนปลูกผักโดยใช้วิธีธรรมชาติ 20.หน่วยงานใดที่สามารถช่วยส่งเสริมการปลูกผักโดยใช้วิธีธรรมชาติได้บ้าง 5.วิธีการศึกษา 1.สืบค้นข้อมูลจากอินเตอร์เน็ต 2.สัมภาษณ์เกษตรกรปลูกผัก ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
1.ผู้ปลูกผักในจังหวัดสตูล 2.ผู้ปกครองนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่6/1 เครื่องมือในการวิจัย 1. แบบสัมภาษณ์ 2. แบบบันทึกข้อมูล 3. กล้องถ่ายภาพ เทปบันทึกเสียง โทรศัพท์ 6.ขอบเขตการศึกษา ด้านเนื้อหา
1.สารเคมีในผัก 2.วิธีการลดสารเคมีในผัก 3.การปลูกผักโดยวิธีธรรมชาติ ด้านพื้นที่ ผู้ปลูกผักในจังหวัดสตูล ด้านเวลา 16 พฤษภาคม 2562- 28 กุมภาพันธ์ 2563 7.ผลคาดว่าจะได้รับ 1. ผู้บริโภคมีสุขภาพที่ดี ลดการเป็นโรคมะเร็งและโรคปอด 2. ผู้ปลูกผักเห็นความสำคัญในการปลูกใช้วิธีแบบธรรมชาติ

8.แผนกิจกรรมแลงบประมาณ กิจกรรม วัตถุประสงค์ วิธีการดำเนินการ แหล่งข้อมูล/กลุ่มเป้าหมาย เครื่องมือ ผลคาดว่าจะได้รับ ระยะเวลา ผู้รับผิดชอบ 1.ท่องโลกกว้างจากอินเตอร์เน็ต 1.เพื่อสืบค้นข้อมูลประเภทของสารเคมี 2. เพื่อสืบค้นข้อมูลการใช้สารเคมี 3. เพื่อสืบค้นข้อมูลวิธีลดสารเคมีในผัก 4.เพื่อสืบค้นข้อมูลขั้นตอนการใช้สารเคมีในการปลูกผัก 5. เพื่อสืบค้นข้อมูลผล กระทบจากสารเคมี 6. เพื่อสืบค้นข้อมูลการปลูกผักโดยใช้วิธีธรรมชาติ ก่อนไป 1.แจ้งครูรับผิดชอบห้องคอมพิวเตอร์ 2. สร้างกฎกติกา 3.เตรียมอุปกรณ์ 4.สร้างกติกาการเรียน ระหว่างไป 4.เข้าแถว เดินไปคอมพิวเตอร์ 5.ไม่พูดคุยระหว่างค้นข้อมูล 5. ค้นคว้าหาข้อมูลจากอินเตอร์เน็ต 6.จดบันทึกข้อมูล กลับมาจากแหล่งเรียนรู้ 7.นำข้อมูลมาถอดบทเรียนเป็นกลุ่ม 8. นำเสนอข้อมูลจากหน้าชั้นเรียน 9.นำข้อมูลมาเขียนเป็นหนังสือเล่มเล็ก 1.คอมพิวเตอร์/ 2.ห้องสมุด 3.ที่บ้าน 1.คำถาม 2.ปากกา 3.สมุดจดบันทึก 4.แอนด์ดีไดร์ฟ 3.คอมพิวเตอร์ ด้านความรู้

  1. ได้รับความรู้เรื่องของสารเคมี
  2. วิธีการลดสารเคมี
  3. ขั้นตอนการใช้สารเคมี 4.ผลกระทบของสารเคมี ผลงาน
  4. การเขียนบันทึกข้อมูล 6.หนังสือเล่ม เล็ก ด้านทักษะพฤติกรรม 7.การรู้จักวางแผน แก้ปัญหา 8.ความรับผิดชอบ 9.ทักษะการค้นคว้า 10.ทักษะการตั้งคำถาม 13-17 มกราคม 2563 1.นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่6 2.ครูอุไร ฉ้วนกลิ่น 3.ครูบัชซูดิน มอลอ

กิจกรรม วัตถุประสงค์ วิธีการดำเนินการ แหล่งข้อมูล/กลุ่มเป้าหมาย เครื่องมือ ผลคาดว่า จะได้รับ ระยะเวลา ผู้รับผิดชอบ 2. ลงพื้นที่หาข้อมูลจากแหล่งเรียนรู้ 1.เพื่อหาข้อมูลวิธีการลดสารเคมีในผัก 2. เพื่อหาข้อมูลวิธีการกำจัดแมลงศัตรูผักโดยวิธีธรรมชาติ 3. เพื่อหาข้อมูลวิธีการส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกผักโดยวิธีธรรมชาติ ก่อนไป

  1. ขออนุญาตผู้อำนวยการโรงเรียน 2.ทำหนังสือแจ้งเจ้าของสถานที่ 3.ทำหนังสือขออนุญาตผู้ปกครอง
    4.ทำหนังสือขออนุญาตการใช้รถ 5. สร้างกฎกติกาการลงพื้นที่
  2. เตรียมคำถามไปสัมภาษณ์ 7.นัดแนะเวลาการลงพื้นที่ ระหว่างไป 1.แบ่งกลุ่มสัมภาษณ์ 2.มีความตั้งใจในการสัมภาษณ์ 3.ถ่ายวิดีโอและถ่ายรูป บันทึกข้อมูล 4.พูดจาไพเราะมีครับ/ค่ะ 5.ไม่พูดเสียงดัง 6.ไม่เล่นขณะสัมภาษณ์ กลับมาจากแหล่งเรียนรู้ 1.ถอดบทเรียนโดยการตัดต่อคลิป 2.นำเสนอหน้าชั้นเรียน
  3. หาวิธีการคืนข้อมูล 1.ผู้ปกครองนักเรียน 2.ตลาดเกษตรอินทรีย์ จังหวัดสตูล 1.คำถาม 2.สมุดบันทึก 3.ปากกา 4.โทรศัพท์5.กล้องถ่ายภาพ 5.ขาตั้งกล้อง ด้านความรู้ 1.ข้อมูลการกำจัดศัตรูพืชแบบธรรมชาติ 2.ข้อมูลวิธีการลดสารเคมีในผัก 3.ข้อมูลวิธีการส่งเสริมการปลูกผักโดยวิธีด้านทักษะพฤติกรรม 7.การรู้จักวางแผน แก้ปัญหา 8.ความรับผิดชอบ 9.ทักษะการค้นคว้า 10.ทักษะการพูด การเขียน 11.การทำงานเป็นกลุ่ม 12.การมีน้ำใจช่วยเหลือ แบ่งปัน 20-24 มกราคม 2563 1.นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่6 2.ครูอุไร ฉ้วนกลิ่น 3.ครูบัชซูดิน มอลอ

9.ประวัติแ


ClassStart ให้บริการฟรีโดย บริษัท ปิยะวัฒนา จำกัด
เราเป็นกิจการเพื่อสังคม (Social Enterprise)
สนับสนุนโดย
ผู้ไม่ประสงค์ออกนามท่านหนึ่ง (2563-2566)
มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์ (2561-2563)
กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (2557-2558)
กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (2557)
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (2554-2558)
GotoKnow
ClassStart Books