ศิลปะ 1(ทัศนศิลป์ ) ม.1


ผู้สอน
พระอาจารย์ นิรันดร์ วงค์ตัน
เข้าสู่ระบบเมื่อ ประมาณ 3 ปี ที่แล้ว

ชื่อวิชา
ศิลปะ 1(ทัศนศิลป์ ) ม.1

รหัสวิชา
44486

สถานศึกษา
โรงเรียนเมธีวุฒิกร "วัดพระธาตุหริภุญชัย"

คำอธิบายวิชา

คำอธิบายรายวิชา กลุ่มสาระ ศิลปะ วิชาพื้นฐาน รายวิชา ศิลปะ 1 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 รหัสวิชา ศ 21101 เวลา 40 ชั่วโมง / ภาคเรียนที่ 1 คำอธิบายรายวิชา

ศึกษาเพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจถึงความแตกต่างและความคล้ายคลึงกันของทัศนธาตุในงานทัศนศิลป์ การสร้างสรรค์งานศิลปะโดยเน้นหลักการจัดองค์ประกอบศิลป์ ปฏิบัติงานวาดภาพทัศนียภาพให้เห็นระยะไกล –ใกล้ เพื่อสื่อความคิด และจินตนาการ ความรู้สึกประทับใจต่องานทัศนศิลป์ของท้องถิ่นตนเองจากอดีตจนถึงปัจจุบันเปรียบเทียบความแตกต่างของจุดประสงค์ในการสร้างสรรค์งานทัศนศิลป์ของวัฒนธรรมไทยและสากลโดยเน้นความเป็นเอกภาพ ความกลมกลืนทัศนศิลป์ของชาติและท้องถิ่น ศึกษาเพื่อให้มีความรู้เรื่องเครื่องหมายและสัญลักษณ์ทางดนตรี การร้อง และเครื่องดนตรีจากวัฒนธรรมต่างๆ ปฏิบัติการร้องเพลงที่หลากหลายรูปแบบ การจัดประเภทของวงดนตรีไทยและวงดนตรีที่มาจากวัฒนธรรมต่างๆ ศึกษาเพื่อให้มีความรู้เกี่ยวกับท่าทางเคลื่อนไหวที่แสดงสื่อทางอารมณ์ ระบำเบ็ดเตล็ด รำวงมาตรฐาน การปฏิบัติของผู้แสดงและผู้ชม ประวัตินักแสดงที่ชื่นชอบ อิทธิพลทางการแสดง นาฏยศัพท์ทางการแสดง เพื่อให้เกิดการตระหนักในคุณค่า รักและภาคภูมิใจ ประทับใจในศิลปวัฒนธรรมไทย ภูมิปัญญาไทย ภูมิปัญญาท้องถิ่น

รหัสตัวชี้วัด ศ 1.1 ม. 1/1, ม. 1/2, ม. 1/3 ศ 1.2 ม. 1/1 ศ 2.1 ม. 1/1, ม.1/2, ม.1/3, ม 1.4 ศ 2.2 ม. 1/1 ศ 3.1 ม.1/1, ม.1/2, ศ 3.2 ม.1/1 รวม 12 ตัวชี้วัด

กลุ่มสาระ ศิลปะ วิชาพื้นฐาน รายวิชา ศิลปะ 2 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 รหัสวิชา ศ 21102 เวลา 40 ชั่วโมง / ภาคเรียนที่ 2 คำอธิบายรายวิชา

ศึกษาเพื่อให้เข้าใจการจัดองค์ประกอบในงานประติมากรรม การสร้างสรรค์งานประติมากรรมแบบนูนต่ำ นูนสูง ลอยตัว และประติมากรรมสื่อผสม การเก็บรวบรวมผลงานประติมากรรม การออกแบบรูปภาพ สัญลักษณ์หรืองานกราฟิกแบบต่างๆ และสามารถประเมินรูปแบบงานทัศนศิลป์ของตนเองและผู้อื่นได้ มีความคิดสร้างสรรค์ในงานศิลปะ เพื่อให้มีความรู้ ความเข้าใจ เห็นคุณค่าระหว่างทัศนศิลป์ ประวัติศาสตร์วัฒนธรรม ที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรมภูมิปัญญาท้องถิ่นภูมิปัญญาไทยและสากล อย่างอิสระ และประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน ศึกษารูปแบบอารมณ์ของบทเพลง จังหวะ ความดัง-เบา ความแตกต่างของอารมณ์เพลง สามารถนำเสนอบทเพลงที่ตนชื่นชอบได้ ประเมินคุณภาพของบทเพลงด้านเนื้อหา ด้านเสียง ด้านองค์ประกอบของดนตรีอย่างเข้าใจ รู้จักการบำรุงรักษา การใช้เครื่องดนตรีแต่ละประเภท มีความรับผิดชอบต่อตนเองและผู้อื่น ศึกษาเพื่อให้เข้าใจรูปแบบการแสดงนาฏศิลป์พื้นเมือง นาฏศิลป์นานาชาติ เข้าใจทักษะการทำงานเป็นกลุ่มในกระบวนการผลิตการแสดง เกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ของฝ่ายต่างๆ ในการจัดการแสดง ประเภทของละครไทยในแต่ละยุคสมัย ความสามัคคีกันในหมู่คณะ

รหัสตัวชี้วัด ศ 1.1 ม. 1/4, ม. 1/5, ม. 1/6 ศ 1.2 ม. 1/2, ม. 1.3 ศ 2.1 ม. 1/5, ม.1/6, ม.1/7, ม 1.8 , ม 1.9 ศ 2.2 ม. 1/2 ศ 3.1 ม.1/3, ม.1/4,ม.1/5 ศ 3.2 ม.1/2 รวม 15 ตัวชี้วัด


ClassStart ให้บริการฟรีโดย บริษัท ปิยะวัฒนา จำกัด
เราเป็นกิจการเพื่อสังคม (Social Enterprise)
สนับสนุนโดย
ผู้ไม่ประสงค์ออกนามท่านหนึ่ง (2563-2566)
มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์ (2561-2563)
กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (2557-2558)
กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (2557)
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (2554-2558)
GotoKnow
ClassStart Books