ศิลปะ 5 (ทัศนศิลป์ ) ม.3


ผู้สอน
พระอาจารย์ นิรันดร์ วงค์ตัน
เข้าสู่ระบบเมื่อ มากกว่า 3 ปี ที่แล้ว

ชื่อวิชา
ศิลปะ 5 (ทัศนศิลป์ ) ม.3

รหัสวิชา
44487

สถานศึกษา
โรงเรียนเมธีวุฒิกร "วัดพระธาตุหริภุญชัย"

คำอธิบายวิชา

คำอธิบายรายวิชา กลุ่มสาระ ศิลปะ วิชาพื้นฐาน รายวิชา ศิลปะ 5 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 รหัสวิชา ศ 23101 เวลา 40 ชั่วโมง / ภาคเรียนที่ 1 คำอธิบายรายวิชา ศึกษาเพื่อให้เข้าใจเรื่องทัศนธาตุในการนำมาสร้างงานศิลปะ เทคนิคต่างๆในการสร้างสรรค์งานศิลปะในรูปแบบทั้งไทยและสากล การสร้างสรรค์งานศิลปะสื่อผสม การสร้างงานทัศนศิลป์ทั้ง 2 มิติและ 3 มิติ การสร้างสรรค์ผลงานทัศนศิลป์ที่สะท้อนคุณค่าทางวัฒนธรรม มีจินตนาการ ความคิดสร้างสรรค์มีจิตใจรักในงานศิลปะ ศึกษาเพื่อให้เข้าใจองค์ประกอบในการสร้างสรรค์งานดนตรีและศิลปะแขนงอื่น เทคนิคการขับร้องและบรรเลงดนตรีเดี่ยวและรวมวง เข้าใจอัตราจังหวะทางดนตรี การเลือกใช้องค์ประกอบในการสร้างสรรค์บทเพลง ปัจจัยต่างๆที่ทำให้งานดนตรีเป็นที่ยอมรับ ศึกษาเพื่อให้เข้าใจองค์ประกอบของบทแพลง นาฏยศัพท์ทางการละคร รูปแบบการแสดงเช่น การแสดงหมู่ การแสดงเดี่ยว การแสดงละคร การแสดงเป็นชุดเป็นตอน การประดิษฐ์ท่ารำ องค์ประกอบของนาฏศิลป์ สามารถสร้างสรรค์อุปกรณ์และเครื่องแต่งกายเพื่อการแสดงแบบง่ายๆได้

รหัสตัวชี้วัด ศ 1.1 ม. 3.1, ม. 3.2, ม. 3.3, ม. 3.4, ม. 3.5, ม.3.6 ศ 1.2 ม. 3.1 ศ 2.1 ม. 3.1, ม.3.2, ม.3.3, ม.3.4 ศ 2.2 ม.3.1 ศ 3.1 ม. 3.1, ม.3.2, ม.3.3, ม 3.4, ม 3 .5 ศ 3.2 ม.3.1 รวม 18 ตัวชี้วัด

กลุ่มสาระ ศิลปะ วิชาพื้นฐาน รายวิชา ศิลปะ 6 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 รหัสวิชา ศ 23102 เวลา 40 ชั่วโมง / ภาคเรียนที่ 2 คำอธิบายรายวิชา

ศึกษาเพื่อการนำผลงานทัศนศิลป์มาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน วิเคราะห์รูปแบบ เนื้อหา และคุณค่าของงานทัศนศิลป์ เพื่อสื่อความหมายให้เป็นที่รับรู้และเข้าใจต่อตนเองและผู้อื่น การนำความรู้ทางด้านศิลปะไปใช้ในการประกอบอาชีพหรือการนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน การนำเสนอผลงานเพื่อถ่ายทอดงานศิลปะสู่สังคม เป็นการสะท้อนคุณค่าทางวัฒนธรรม อนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมผ่านผลงานศิลปะ เพื่อให้เกิดความรักและภูมิใจในศิลปวัฒนธรรมไทย ประเพณีไทย ภูมิปัญญาไทยและภูมิปัญญาท้องถิ่น ศึกษาเพื่อให้เกิดการเปรียบเทียบถึงความแตกต่างของบทเพลง อิทธิพลของดนตรีที่มีต่อบุคคลและสังคม เข้าใจถึงประวัติดนตรีไทยยุคสมัยต่างๆ ปัจจัยที่ทำให้งานดนตรีได้รับการยอมรับ การจัดการแสดงในวาระต่างๆเพื่อให้เกิดการกล้าแสดงออก รักและชื่นชอบ การใช้ว่างให้เป็นประโยชน์ ศึกษาเพื่อให้เข้าใจวิธีเลือกการแสดง การนำเสนอละครให้สอดคล้องกับชีวิตประจำวัน การออกแบบและสร้างอุปกรณ์เครื่องแต่งกายเพื่อการแสดงนาฏศิลป์ ให้เข้าใจความสำคัญและบทบาทของนาฏศิลป์และการละครในชีวิตประจำวัน การอนุรักษ์นาฏศิลป์ไทย ศิลปวัฒนธรรมไทย ภาคภูมิใจในความเป็นไทย ถ่ายทอดนาฏศิลป์ไทยสู่สังคม

รหัสตัวชี้วัด ศ 1.1 ม.3.7 ,ม. 3.8, ม. 3.9, ม. 3.10, ม.3.11 ศ 1.2 ม. 3.2 ศ 2.1 ม.3.5, ม.3.6, ม.3.7 ศ 2.2 ม.3.2 ศ 3.1 ม3.6, ม 3 .7 ศ 3.2 ม 3.2 , ม 3.3 รวม 14 ตัวชี้วัด


ClassStart ให้บริการฟรีโดย บริษัท ปิยะวัฒนา จำกัด
เราเป็นกิจการเพื่อสังคม (Social Enterprise)
สนับสนุนโดย
ผู้ไม่ประสงค์ออกนามท่านหนึ่ง (2563-2566)
มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์ (2561-2563)
กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (2557-2558)
กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (2557)
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (2554-2558)
GotoKnow
ClassStart Books