สังคมศึกษา 1


ผู้สอน
นางสาว เกศรานันท์ บุระชัด
เข้าสู่ระบบเมื่อ เกือบ 2 ปี ที่แล้ว

ชื่อวิชา
สังคมศึกษา 1

รหัสวิชา
46555

สถานศึกษา
โรงเรียนองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานี ๑ (ดอนสักผดุงวิทย์)

คำอธิบายวิชา

ศึกษาประวัติและความสำคัญของพระพุทธศาสนา เรื่องการสังคายนา การเผยแผ่พระพุทธศาสนาเข้าสู่ประเทศไทย ความสำคัญของพระพุทธศาสนาในฐานะสถาบันหลักของสังคมไทย วิเคราะห์พุทธประวัติตั้งแต่ประสูติจนถึงการทำทุกรกิริยา คุณธรรมและแบบอย่างของพุทธสาวก พุทธสาวิกาและชาวพุทธตัวอย่าง อธิบายหลักธรรม พระพุทธคุณ 9 หลักอริยสัจ 4 เรื่องทุกข์ หัวข้อ ขันธ์ 5 และธาตุ 4 สมุทัย หัวข้อ หลักกรรม อบายมุข 6 นิโรธ หัวข้อสุข 2 และคิหิสุข มรรค หัวข้อไตรสิกขา กรรมฐาน 2 ปธาน 4 โกศล 3 มงคล 38 และพุทธศาสนาสุภาษิต ศึกษาศาสนาอื่น ๆ ที่ตนนับถือ ฝึกปฏิบัติสวดมนต์ แผ่เมตตา บริหารจิตและการเจริญปัญญาตามหลักอานาปานสติ ปฏิบัติตนตามหลักธรรมพระพุทธศาสนา ฝึกปฏิบัติพิธีกรรม จัดโต๊ะหมู่ 4 หมู่ 5 หมู่ 7 และหมู่ 9 การจุดธูปเทียน การจัดเครื่องประกอบโต๊ะหมู่บูชา และคำอาราธนาต่าง ๆ ได้ถูกต้อง และอภิปรายผลของการมีกฎหมายเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญา
ศึกษา วิเคราะห์ ความหมายและความสำคัญของเศรษฐศาสตร์ ค่านิยมและพฤติกรรมการบริโภคของคนใน สังคม ซึ่งส่งผลต่อเศรษฐกิจของชุมชนและประเทศ ความเป็นมา หลักการและความสำคัญของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงต่อสังคมไทย บทบาทหน้าที่และความแตกต่างของสถาบันการเงินแต่ละประเภทและธนาคารกลาง การพึ่งพาอาศัยกัน และการแข่งขันกันทางเศรษฐกิจในประเทศ ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการกำหนดอุปสงค์และอุปทาน และกฎหมายเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญา โดยใช้กระบวนการสร้างความคิดรวบยอด กระบวนการทำงาน กระบวนการคิดวิเคราะห์ กระบวนการสืบค้น กระบวนการปฏิบัติ กระบวนการทางสังคม กระบวนการเผชิญสถานการณ์และแก้ปัญหา กระบวนการกลุ่มและกระบวนการแก้ปัญหา เพื่อให้เห็นคุณค่าของหลักธรรมและสามารถนำไปพัฒนาแก้ปัญหาตนเองและครอบครัว รวมทั้งนำวิธีการบริหารจิตและการเจริญปัญญาไปใช้ในชีวิตประจำวันด้วยวิธีการคิดแบบโยนิโสมนสิการ คือวิธีคิดแบบคุณค่าแท้ - คุณค่าเทียม วิธีคิดแบบคุณ - โทษและทางออก การบำเพ็ญประโยชน์ต่อศาสนสถานของศาสนาที่ตนนับถือ ตระหนักและมีวิจารณญาณเกี่ยวกับการบริโภค นำแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน และเพื่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ ระบบ และสถาบันทางเศรษฐกิจต่าง ๆ ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ และความจำเป็นของการร่วมมือทางเศรษฐกิจในสังคมโลก สามารถบริหารจัดการทรัพยากรในการผลิตและการบริโภค การใช้ทรัพยากรที่มีอยู่จำกัดได้อย่างมีประสิทธิภาพและคุ้มค่า รวมทั้งเข้าใจหลักการของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อการดำรงชีวิตอย่างมีดุลยภาพ


ClassStart ให้บริการฟรีโดย บริษัท ปิยะวัฒนา จำกัด
เราเป็นกิจการเพื่อสังคม (Social Enterprise)
สนับสนุนโดย
ผู้ไม่ประสงค์ออกนามท่านหนึ่ง (2563-2566)
มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์ (2561-2563)
กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (2557-2558)
กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (2557)
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (2554-2558)
GotoKnow
ClassStart Books