2563/2 ศ23104 นาฏศิลป์ 4 ม.3/2


ผู้สอน
นาย วีรพงศ์ หนูชัยแก้ว
เข้าสู่ระบบเมื่อ เกือบ 2 ปี ที่แล้ว

ชื่อวิชา
2563/2 ศ23104 นาฏศิลป์ 4 ม.3/2

รหัสวิชา
55396

สถานศึกษา
โรงเรียนองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานี ๑ (ดอนสักผดุงวิทย์)

คำอธิบายวิชา
โรงเรียนองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานี ๑ (ดอนสักผดุงวิทย์)	

Suratthani Provincial Administration Organization School 1 

(DonSak Phadungwit)

โครงการสอน	
								
								
1.	ชื่อรายวิชา	ศ23104	นาฏศิลป์ 4
2.	สาระวิชา	พื้นฐาน
3.	ค่าหน่วยกิต	0.5	หน่วย
4.	เวลาเรียน	20	ชั่วโมง/ภาคเรียน	1	ชั่วโมง/สัปดาห์
5.	ระดับชั้น	มัธยมศึกษาปีที่  3
6.	ปีการศึกษา	2563
7.	ภาคเรียนที่	2
8.	กลุ่มสาระการเรียนรู้	ศิลปะ
9.	ครูผู้สอน	นายวีรพงศ์  หนูชัยแก้ว
10.	รหัสครูผู้สอน	
11.	เบอร์โทรศัพท์	090-8631757
								
								
			ลงชื่อ		ครูผู้สอน
	
     (นายวีรพงศ์  หนูชัยแก้ว)
	
								
			ลงชื่อ		หัวหน้ากลุ่มสาระ
			    (ว่าที่ ร.ต.หรินทร์รัตน์  มะลิทิพย์)		
								

							
			ลงชื่อ		รองผู้อำนวยการ

ฝ่ายวิชาการ (นางเยาวเรศ พิริยสถิต)

			ลงชื่อ		ผู้อำนวยการสถานศึกษา
			      (นายภานุ อ่ำใหญ่)		

หน้า 2

คำอธิบายรายวิชา
								

ศึกษาองค์ประกอบของนาฏศิลป์และการแสดง รำวงมาตรฐาน รูปแบบการแสดงละครประเภท    ต่าง ๆ และการละครสมัยต่าง ๆ 
สร้างสรรค์การแสดงอย่างง่าย เช่น การแสดงรำวงมาตรฐาน การแสดงละครสั้น  โดยใช้องค์ประกอบทางนาฏศิลป์และการละคร  เสนอข้อคิดเห็นในการปรับปรุงการแสดง  เชื่อมโยงการเรียนรู้ระหว่างนาฏศิลป์และการละครกับสาระการเรียนรู้อื่น ๆ 
ระบุหรือแสดงนาฏศิลป์ นาฏศิลป์พื้นบ้าน ละครไทย ละครพื้นบ้านหรือมหรสพอื่นที่เคยนิยมกันในอดีต 

รหัสตัวชี้วัด ศ 3.1 ม.3/1, ม.3/2, ม.3/3, ม.3/4, ม.3/5, ม.3/6, ม.3/7 ศ 3.2 ม.3/1, ม.3/2, ม.3/3 รวม 10 ตัวชี้วัด

หน้า 3

ผลการเรียนรู้

มาตรฐาน ศ3.1 เข้าใจและแสดงออกทางนาฏศิลป์อย่างสร้างสรรค์ วิเคราะห์ วิพากษ์วิจารณ์ คุณค่านาฏศิลป์ ถ่ายทอดความรู้สึก ความคิดอย่างอิสระ ชื่นชมและประยุกต์ใช้ในชีวิต ประจำวัน ศ3.1 ม.3/1 ระบุโครงสร้างของบทละครโดยใช้ศัพท์ทางการละคร ศ3.1 ม.3/2 ใช้นาฏยศัพท์หรือศัพท์ทางการละครที่เหมาะสมบรรยายเปรียบเทียบการแสดงอากัปกิริยาของ ผู้คนในชีวิตประจำวันและในการแสดง ศ3.1 ม.3/3 มีทักษะในการใช้ความคิดในการพัฒนารูปแบบการแสดง ศ3.1 ม.3/4 มีทักษะในการแปลความและการสื่อสารผ่านการแสดง ศ3.1 ม.3/5 วิจารณ์เปรียบเทียบงานนาฏศิลป์ที่มีความแตกต่างกันโดยใช้ความรู้เรื่ององค์ประกอบนาฏศิลป์ ศ3.1 ม.3/6 ร่วมจัดงานการแสดงในบทบาทหน้าที่ต่าง ๆ ศ3.1 ม.3/7 นำเสนอแนวคิดจากเนื้อเรื่องของการแสดงที่สามารถนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวัน

มาตรฐาน ศ3.2 เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างนาฏศิลป์ ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมเห็นคุณค่าของที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทยและสากล ศ3.2 ม.3/1 ออกแบบและสร้างสรรค์อุปกรณ์และเครื่องแต่งกาย เพื่อแสดงนาฏศิลป์และละครที่มาจาก วัฒนธรรมต่าง ๆ ศ3.2 ม.3/2 อธิบายความสำคัญและบทบาทของนาฏศิลป์และการละครในชีวิตประจำวัน ศ3.2 ม.3/3 แสดงความคิดเห็นในการอนุรักษ์

							หน้า 4
กำหนดการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ตามตัวชี้วัด

รายวิชา ศ23104 นาฏศิลป์ 4 น้ำหนัก 0.5 หน่วยกิต
เวลาเรียน 20 ชั่วโมง/ภาคเรียน คะแนนระหว่างเรียน/ปลายภาค : 80/20

หน่วย ผลการเรียนรู้ สาระสำคัญ การวัดผลการเรียนรู้ เวลาเรียน คะแนนรายหน่วย สัดส่วนคะแนน ระหว่างเรียน ปลายภาค 1.รังสรรค์งานแสดง 1 จัดการแสดงโดยใช้องค์ประกอบนาฏศิลป์และการละครโดยใช้หลักการเสนอข้อคิดเห็นในการปรับปรุงผลงานการแสดง แบบฝึกหัด/แบบสังเกต 8 40 30 6 2.องค์ประกอบนาฏศิลป์ 2 องค์ประกอบของนาฏศิลป์ไทย แบบฝึกหัด/แบบสังเกต 2 20 20 4 3.มหรสพ 3 นาฏศิลป์ไทยในอดีต

หน้า 5 หน้า 5 การวัดและประเมินผลการเรียนรู้รายวิชา

  1. การประเมินผลการเรียนรู้ 1.1 คะแนนเก็บระหว่างเรียน 80 คะแนน 1. แบบสังเกต 2. แบบทดสอบ/สอบกลางภาค 3. ใบงาน/แบบประเมินผลการเรียนรู้

  2. กิจกรรมการเรียนการสอนในห้องเรียน

  3. การเข้าห้องเรียน

  4. การประเมินผลคุณธรรม – จริยธรรม - ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 1.2 คะแนนสอบปลายภาค 20 คะแนน แบบทดสอบ/ชิ้นงาน การประเมินผล ประเมินตามเกณฑ์ดังต่อไปนี้ ได้คะแนน 80 -100 ได้เกรด 4.0 ได้คะแนน 75 -79 ได้เกรด 3.5 ได้คะแนน 70 -74 ได้เกรด 3.0 ได้คะแนน 65 -69 ได้เกรด 2.5 ได้คะแนน 60 -64 ได้เกรด 2.0 ได้คะแนน 55 -59 ได้เกรด 1.5 ได้คะแนน 50 -54 ได้เกรด 1.0 ได้คะแนน 0 -49 ได้เกรด 0

  5. การประเมินผลคุณลักษณ์อันพึ่งประสงค์ เกณฑ์และตัวชี้วัดการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ดังนี้

    ข้อ 1. รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ เกณฑ์ประเมิน 20 คะแนน ประกอบด้วยตัวชี้วัดข้อละ 5 คะแนน ดังนี้ 1.1 เป็นพลเมืองดีของชาติ 1.2 ธำรงไว้ซึ่งความเป็นชาติไทย 1.3 ศรัทธา ยึดมั่นแลปฏิบัติตนตามหลักศาสนา 1.4 เคารพเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ ข้อ 2. ซื่อสัตย์สุจริต เกณฑ์ประเมิน 10 คะแนน ประกอบด้วยตัวชี้วัดข้อละ 5 คะแนน ดังนี้ 2.1 ประพฤติตรงตามความเป็นจริงต่อตนเองทั้งทางกาย วาจา ใจ 2.2 ประพฤติตรงตามความเป็นจริงต่อผู้อื่นทั้งทางกาย วาจา ใจ ข้อ 3. มีวินัย เกณฑ์ประเมิน 10 คะแนน ประกอบด้วยตัวชี้วัดข้อละ 5 คะแนน ดังนี้ 3.1 ปฏิบัติตนตามข้อตกลง กฎเกณฑ์ ระเบียบ ข้อบังคับของโรงเรียนและสังคม ไม่ละเมิดสิทธิผู้อื่น 3.2 ตรงต่อเวลาในการปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวันและรับผิดชอบในการทำงาน ข้อ 4. ใฝ่เรียนรู้ เกณฑ์ประเมิน 15 คะแนน ประกอบด้วยตัวชี้วัดข้อละ 5 คะแนน ดังนี้ 4.1 ตั้งใจ เพียรพยายามในการเรียน และเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ต่างๆ 4.2 แสวงหาความรู้จากแหล่งเรียนรู้ต่างๆ สรุปองค์ความรู้ และสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ 4.3 ศึกษาค้นคว้าหาความรู้จากหนังสือ เอกสาร สื่อเทคโนโลยีต่างๆทั้งภายนอกและภายในโรงเรียน

หน้า 6 ข้อ 5. อยู่อย่างพอเพียง เกณฑ์ประเมิน 10 คะแนน ประกอบด้วยตัวชี้วัดข้อละ 5 คะแนน ดังนี้ 5.1 ดำเนินชีวิตอย่างพอประมาณ มีเหตุผล รอบคอบ และมีคุณธรรม 5.2 มีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี ปรับตัวเพื่ออยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข ข้อ 6. มุ่งมั่นในการทำงาน เกณฑ์ประเมิน 10 คะแนน ประกอบด้วยตัวชี้วัดข้อละ 5 คะแนน ดังนี้ 6.1 ตั้งใจและรับผิดชอบในหน้าที่การงาน เอาใจใส่ต่อการปฏิบัติหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย 6.2 ทำงานด้วยความเพียรพยายาม ทุ่มเท อดทน ไม่ย่อท้อต่อปัญหา เพื่อให้งานสำเร็จตามเป้าหมาย ข้อ 7. รักความเป็นไทย เกณฑ์ประเมิน 15 คะแนน ประกอบด้วยตัวชี้วัดข้อละ 5 คะแนน ดังนี้ 7.1 ภาคภูมิใจในความเป็นไทย ขนบธรรมเนียมประเพณี ศิลปะ วัฒนธรรม มีมารยาทงดงามอย่างไทย มีสัมมาคารวะ กตัญญูต่อผู้มีพระคุณ และร่วมกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับความเป็นไทย 7.2 เห็นคุณค่าและใช้ภาษาไทยในการสื่อสารได้ถูกต้องและเหมาะสม 7.3 อนุรักษ์สืบทอดภูมิปัญญาไทย แนะนำและร่วมกิจกรรมสืบทอดภูมิปัญญาไทย ข้อ 8. มีจิตสาธารณะ เกณฑ์ประเมิน 10 คะแนน ประกอบด้วยตัวชี้วัดข้อละ 5 คะแนน ดังนี้ 8.1 ช่วยเหลือผู้อื่น พ่อแม่ ผู้ปกครอง หรือครู ทำงานด้วยความเต็มใจและเต็มกำลังความสามารถ โดยไม่ หวังผลตอบแทน 8.2 เข้าร่วมกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อโรงเรียน ชุมชนและสังคม ดูแลรักษาสาธารณะสมบัติและสิ่งแวดล้อมด้วยความเต็มใจ และกระตือรือร้น

  1. การประเมินผลการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน เกณฑ์และตัวชี้วัดการประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียน ดังนี้

    ข้อ 1. แบบประเมินการอ่าน เกณฑ์ประเมิน 30 คะแนน ประกอบด้วยตัวชี้วัดข้อละ 5 คะแนน ดังนี้ 1.1 อ่านออกเสียงได้ชัดเจน 1.2 อ่านได้ถูกต้องตามอักขระ 1.3 อ่านได้ถูกต้องตามวรรคตอน 1.4 เห็นคุณค่าของการอ่าน 1.5 เข้าใจในเรื่องที่อ่าน 1.6 สรุปสาระสำคัญและข้อคิดจากเรื่องที่อ่าน ข้อ 2. แบบประเมินการคิดวิเคราะห์ เกณฑ์ประเมิน 40 คะแนน ประกอบด้วยตัวชี้วัดข้อละ 5 คะแนน ดังนี้ 2.1 รู้จักคิดด้วยตนเอง 2.2 คิดในสิ่งที่ถูกที่ควร 2.3 คิดในเชิงสร้างสรรค์ 2.4 เห็นคุณค่าและนำไปใช้ประโยชน์ 2.5 รู้จักการแยกข้อมูลและการเก็บข้อมูล 2.6 สามารถนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ได้ 2.7 สามารถแยกแยะผลดีผลเสียของข้อมูล

หน้า 7

ข้อ 3. แบบประเมินการเขียน เกณฑ์ประเมิน 30 คะแนน ประกอบด้วยตัวชี้วัดข้อละ 5 คะแนน ดังนี้ 3.1 เขียนได้ตรงประเด็น 3.2 เขียนแยกแยะประเด็นได้ชัดเจน 3.3 เขียนมีเหตุผลประกอบอย่างเหมาะสม 3.4 เขียนอย่างมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ 3.5 ใช้ภาษาในการเขียนได้เหมาะสม 3.6 เขียนลำดับความคิดเหตุการณ์ได้อย่างต่อเนื่อง


ClassStart ให้บริการฟรีโดย บริษัท ปิยะวัฒนา จำกัด
เราเป็นกิจการเพื่อสังคม (Social Enterprise)
สนับสนุนโดย
ผู้ไม่ประสงค์ออกนามท่านหนึ่ง (2563-2566)
มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์ (2561-2563)
กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (2557-2558)
กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (2557)
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (2554-2558)
GotoKnow
ClassStart Books