พัฒนาการเด็ก


ผู้สอน
นางสาว พาดีล๊ะ มะซู
เข้าสู่ระบบเมื่อ ประมาณ 11 ปี ที่แล้ว

ชื่อวิชา
พัฒนาการเด็ก

รหัสวิชา
6615

สถานศึกษา
โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช

คำอธิบายวิชา

พัฒนาการของเด็กแต่ละวัย

วัยทารก (Infancy) อายุแรกเกิดถึง 1 ปี

   วัยทารกเป็นวัยที่มีการพัฒนาในทุกๆด้านอย่างรวดเร็ว แต่จำเป็นต้องพุ่งพาการเลี้ยงดูจากผู้ใหญ่การเคลื่อนไหวของเด็กจะพัฒนาเร็วจากการคว่ำได้พัฒนาไปจนเดินได้

พัฒนาการด้านจิตใจและสังคมนั้นเริ่มต้นในวัยนี้

โดยอิริคสัน (Erikson) กำหนดไว้ว่า เป็นวัยที่มีพัฒนาการความไว้วางใจต่อต้านกับ

ความไม่ไว้วางใจ (Basic Trust Versus Mistrust) นอกจากนี้

ฟรอยด์ (Freud) ได้จัดวัยนี้ให้อยู่ในระยะที่ทารกมีความสุขความพอใจที่บริเวณปาก (Oral stage)

โดยพัฒนาการที่ดีจะเกิดขึ้นจากการได้รับการเลี้ยงดูที่อบอุ่น ทะนุถนอมได้รับนมและอาหารอย่าเพียงพอสม่ำเสมอแต่ถ้าเด็กถูกทอดทิ้งละเลยเด็กจะเกิดความไม่ไว้วางใจ (Mistrust) เด็กจะร้องกวน นั่งโยกตัวเติบโตเป็นคนขี้ระแวงไม่ไว้วางใจผู้อื่น ปรับตัวเข้ากับสังคมได้ยาก ส่วนเพียร์เจย์ (Piaget) เรียกระยะนี้ว่า

“Sensorimotor thongh” โดยเด็กเริ่มตระหนักถึงความสำพันธ์ของสิ่งต่างๆรอบๆตัวจากประสบกาณ์ซึ่งเกิดจากการเคลื่อนไหว การสัมผัสต่างๆและเมื่ออายุประมาณ 1 ปี เด็กจะสามารถพูดเป็นคำๆได้ 1-2 คำ เช่น หม่ำ หรือเรียกแม่

 

วัยเตาะแตะ (Toddlerhood) อายุ 1-3 ปี

   เมื่อเข้าปีที่ 2 เด็กจะเดินและสำรวจสิ่งแวดล้อมได้ อยากรู้อยากเห็นและแสดงความเป็นตัวของตัวเอง จึงเป็นวัยที่เสี่ยงต่ออุบัตเหตุสูงได้ ซึ่งเมื่อถูกควบคุมก็จะโกรธ ไม่พอใจ ร้องไห้และอาละวาดได้

ซึ่งอิริคสัน ได้กำหนดวัยนี้เป็นระยะของความเป็นตัวของตัวเองกับความละอายและความสงสัยไม่แน่ใจในตัวเอง (Autonomy Versus Shame and Doubt) เด็กจะพัฒนาความสามารถในการควบคุมตนเองในการแสดงพฤติกรรมต่างๆซึ่งถ้าทำได้เด็กจะพอใจและมั่นใจ แต่ถ้าทำไม่ได้หรือถูกห้ามเด็กจะเกิดความละอายและแสดงความสงสัยไม่แน่ใจตนเอง

ส่วนฟรอยด์ เรียกระยะนี้ว่า “Anal stage” ซึ่งเป็นระยะที่เด็กถูกฝึกหัดในการขับถ่ายปัสสาวะและอุจจาระ ซึ่งความเข้มงวดในการฝึกการขับถ่ายนี้จะเป็นส่วนหนึ่งที่หล่อหลอมบุคลิกภาพความเป็นคนเจ้าระเบียบเมื่อเติบโตขึ้นหรือขาดความมั่นใจในความสามารถของตนเอง

ส่วนพัฒนาการด้านสติปัญญา เพียร์เจย์ จัดวัยนี้อยู่ในระระ “Preoperational Thougt”

(อายุ 2-7 ปี) ซึ่งเด็กยังคงยึดตนเองเป็นศูนย์กลาง แต่จะมีความคิดว่าทุกสิ่งในโลกมีชีวิต (Animism) และมีพัฒนาการของการใช้สัญลักษณ์ (Symbolic Functinoning) ซึ่งเป็นความสามารถในการแยกแยะคำพูด ภาพ ความนึกคิด ซึ่งถ้าเอ่ยถึงของเช่น “ลูกบอล” เด็กจะคิดถึงภาพลูกบอลในความคิดแทนภาพที่เห็นจริง ส่วนภาษาเด็กจะพูดเป็นประโยคง่ายๆได้

วัยก่อนเรียน (Pre-school years) อายุ 3-6 ปี

   วัยนี้เป็นวัยที่มีความก้าวหน้าทางพัฒนาการค่อนข้างสูงสามารถใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ (Gross motor)และกล้ามเนื้อมัดเล็ก (Fine motor) ได้ดี

อิริคสัน กำหนดว่าเป็นระยะของความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ค์กับความรู้สึกผิด(Intiative versus Guilt) เด็กที่พัฒนาดีจะรู้สึกว่าตนเองมีความสามารถที่จะทำสิ่งต่างๆได้และรู้สึกตื่นเต้น ส่วนเด็กที่พัฒนาไม่ดีและกลัวที่จะมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ค์ ส่วนฟรอยด์ จัดวัยนี้อยู่ในช่วง Phalic stage ซึ่งเริ่มสนใจอวัยวะเพศรู้จักเพศของตนเอง เด็กชายจะรักและใกล้ชิดกับแม่ และตัวแข่งขันกับพ่อซ่างเรียกว่า “Oedipus complex” ส่วนเด็กหญิงจะเป็นไปในทำนองเดียวกันในลักษณะชื่นชมพ่อและเป็นปฏิปักษ์กับแม่ ซึ่งเรียกว่า “Electra complex”และวัยนี้เป็นวัยที่เริ่มก้าวเข้าสู่สังคมภายนอกเด็กต้องเรียนรู้ที่จะปรับตัวเพื่อให้สังคมยอมรับโดยทำตัวให้เข้ากับเพื่อน พัฒนาการทางอารมณ์จะสลับซับซ้อนมากขึ้นมีความอิจฉาริษยา เปลี่ยนแปลงง่ายส่วนพัฒนาการทางสติปัญญาเจริญอย่างรวดเร็ว ทั้งในด้านการรับรู้ การเรียนรู้ และการแก้ปัญหาแต่ยังไม่รู้จักการใช้เหตุผลที่สมบูรณ์ ระยะนี้ยังคงอยู่ในขั้น “preoperation” ของเพียร์เจย์ ความคิดและคำพูดยังเป็นลักษณะยึดตนเองเป็นศูนย์กลาง(Ecogentric)ซึ่งจะค่อยๆ ลดน้อยลงในปลายวัยนี้

วัยเรียน (School age) อายุ 6-12 ปี

  เด็กวัยนี้มีการเคลื่อนไหวออกกำลังกายมากขึ้น โดยเพิ่มการเล่นในกลุ่มเพื่อน วัยนี้กลุ่มเพื่อน (Peer group)จะมีอิทธิพลอย่างยิ่ง อิริคสัน (Erikson) กำหนดให้วัยนี้เป็นระยะขยันหมั่นเพียรกับความรู้สึกมีปมด้อย (Industry versus Inferiority) เด็กจะพอใจในความสามารถของตนเองเด็กที่ไม่มีความสามารถจะรู้สึกผิดหวัง ไม่พอใจในตัวเอง จะเกิดปมด้อย ส่วน ฟรอยด์ (Freud) จัดวัยนี้อยู่ในระยะ “Latency period” ซึ่งถือเป็นระยะสงบไม่มีพัฒนาการทางจิตใจเกี่ยวกับเพศที่สำคัญแต่เอกลักษณ์ทางเพศจะเริ่มมั่นคงขึ้น เข้าจบทบาทเพศในฐานะหญิงหรือชาย การเข้ากลุ่มจะแยกระหว่างเด็กชายกับเด็กหญิงบุคลิกภาพจะเริ่มก่อตัวในวัยนี้ส่วนพัฒนาการทางสติปัญญา เพียเจย์ (Piaget) จัดให้อยู่ในระยะ Concrete operation (7-11 ปี)เด็กสามารถวาดภาพความคิดและคุณสมบัติของสิ่งต่างๆในใจได้ เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งของมากกว่า 2 สิ่งขึ้นไป การยึดตนเองเป็นศูนย์กลาง (Egocentric) ลดน้อยลงเรียนรู้ว่า อะไรถูก อะไรผิด เข้าใจ Concept ต่างๆเช่น การเกิด การตาย และสามารถเล่นโดยประสานงานกับเพื่อนได้

วัยรุ่น (Adolescence) 12-18 ปี

   วัยรุ่นเป็นวัยที่ต่อจากปลายวัยเด็ก และการเริ่มต้นเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ การเปลี่ยนแปลงของร่างกาย

เพื่อเข้าสู่วัยรุ่นไม่เท่ากันในแต่ละคน เด็กที่เป็นหนุ่มสาวเร็วจะทำให้เกิดความกังวลสับสนต่อการปฏิบัติตนและการปรับตัวเข้าสู่วัยรุ่นเกิดความประหม่าอายได้ง่ายกว่าเด็กที่เข้าสู่วัยรุ่นช้าโดยเฉพาะเด็กหญิง แต่เด็กชายที่เข้าสู่วัยรุ่นเร็วจะมีความสามารถทางการทำงาน การพึ่งตนเอง และการกีฬา ดีกว่าเด็กชายที่ตัวเล็ก เข้าสู่วัยหนุ่มช้ากลับรู้สึกกังวล ขาดความมั่นใจ มีความภูมิใจต่ำ อาจมีปมด้อยในภายหลังได้ อิริคสัน (Erikson) ได้กำหนดลักษณะของวัยนี้ว่าเป็นระยะของการค้นหาเอกลักษณ์ของตนเองกับปัญหาในการค้นหา และรับรู้เอกลักษณ์ และบทบาทของตัวเองในสังคม (Identity versus role confusion) เอกลักษณ์ของตัวเองเป็นพื้นฐานสำคัญในการสร้างความสัมพันธ์กับคนอื่นๆ ส่วนฟรอยด์ (Freud) จัดวัยนี้อยู่ในระยะ “Genital stage” โดยความรู้สึกเกี่ยวกับเพศได้กลับมาใหม่เป็นความรู้สึกด้านกามารมณ์ ซึ่งระยะนี้เป็นระยะสุดท้ายต่อเนื่องจนถึงวัยผู้ใหญ่ของทฤษฎีจิตวิเคราะห์ นอกจากนี้วัยรุ่นยังมีพัฒนาการการตัดสินใจเชิงจริยธรรม (Moral judgment)และการให้คุณค่าของสิ่งต่างๆอย่างมีระบบ สิ่งเหล่านี้เป็นผลมาจากกรอบรม โดยครอบครัวโรงเรียน รวมทั้งประสบการณ์ภายในชุมชนจะยังมีอิทธิพลสูง โดยเฉพาะกลุ่มเพื่อน (Peer group) และยังมีแนวโน้มที่จะทำตามในกลุ่มเพื่อนในความนิยมเกี่ยวกับรูปแบบเสื้อผ้าทรงผม เพลงและเลือกกิจกรรมเกี่ยวกับความคิดสร้างสรรค์ส่วนวัยรุ่นที่ครอบครัวมีปัญหาและสร้างความเครียดให้กับเด็กเด็กอาจพาตนเองเข้าสู่กลุ่มเพื่อนที่มีพฤติกรรมเสี่ยงต่อปัญหาสังคมเช่น การใช้ยาเสพติด ดื่มสุรา การขับรถเร็วโดยไม่ยั้งคิด ซึ่งวัยรุ่นจำเป็นต้องได้รับการชี้แนะ ความเข้าใจ การประคับประคอง เพื่อช่วยเหลือกาต่อต้านอิทธิพลของเพื่อนกลุ่มนี้นอกจากนี้วัยรุ่นยังต้องการความเป็นอิสระ เริ่มแยกตัวไม่ชอบไปไหนกับพ่อแม่ ต้องการความเป็นส่วนตัว

ส่วนพัมนาการด้านสติปัญญา ตามทฤษฎีของเพียเจย์ วัยรุ่นเริ่มเข้าสู่ระยะที่มีความคิดแบบนามธรรม (Formal Operation) มีแนวคิดแบบสมเหตุสมผล รับรู้ความจริง ความสวยงาม และอำนาจต่างๆ วัยรุ่นจะใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับความคิด การอ่าน การพูด เกี่ยวกับ แนวคิดทางนามธรรมซึ่งความสามารถในการคิดนี้ และความต้องการอิสระอาจทำให้วัยรุ่นบางราย ต่อต้านการควบคุมของพ่อแม่ซึ่งพฤติกรรมต่างๆเหล่านี้วัยรุ่นกระทำเพื่อค้นหาเอกลักษณ์และคุณค่าแห่งตน

การประเมินพัฒนาการเด็ก (Development Assessment)

   เครื่องมือทดสอบพัฒนาการเด็กเพื่อการคัดกรองที่ใช้กันแพร่หลายทั่วโลก

ได้แก่ DDST (Denver Developmental Screening Test) ซึ่งเหมาะสำหรับเด็กวัย 1 เดือน ถึง 6 ปีซึ่ง Frankenburg และคณะ ได้เริ่มใช้ในปี 1975 และพัฒนาเป็น Denver II ในปี 1992 Denver Developmental Screening Test (DDST) เป็นแบบประมเนพัฒนาการใน 4 ด้าน คือ

1.  Gross motor

2.  Fine moto – adaptive

3.  langage

4.  Personal – Social

DDST ใช้เวลาในการตรวจประมาณ 20-30 นาที อุปกรณ์การตรวจไม่แพงแต่มีผู้นำไปใช้พบปัญหาว่าตรวจพบความ ผิดปกติทางภาษาได้ยาก จึงได้ปรับมาตรฐานของค่าปกติใหม่เป็น DDST II

ที่มา :: http://my.dek-d.com/KATAI-Zaa/blog/?blog_id=10123855


ClassStart ให้บริการฟรีโดย บริษัท ปิยะวัฒนา จำกัด
เราเป็นกิจการเพื่อสังคม (Social Enterprise)
สนับสนุนโดย
ผู้ไม่ประสงค์ออกนามท่านหนึ่ง (2563-2566)
มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์ (2561-2563)
กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (2557-2558)
กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (2557)
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (2554-2558)
GotoKnow
ClassStart Books