วิชาเพิ่มเติมระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย


ผู้สอน
นางสาว จรรยา ธนะนิมิตร
เข้าสู่ระบบเมื่อ เกือบ 11 ปี ที่แล้ว

ชื่อวิชา
วิชาเพิ่มเติมระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย

รหัสวิชา
6765

สถานศึกษา
โรงเรียนสันติราษฎร์วิทยาลัย

คำอธิบายวิชา



กิจกรรม  ห้องเรียนคุณภาพวิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี(เกษตร)

ขั้นตอน/วิธีการพัฒนา

  1. นำการเปลี่ยนแปลงสู่ห้องเรียนคุณภาพวิชาการงานอาชีพ(เกษตร)  

1.นำผลการทดสอบระดับชาติ และข้อมูลสารสนเทศประเมินภายนอก ประเมินภายในมาใช้ในการวางแผนออกแบบพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้วิชาการงานอาชีพ(เกษตร) ในช่วงชั้นที่ 3 และ  ช่วงชั้นที่ 4   

2.จัดกิจกรรมการเรียนรู้และดำเนินการสอนแบบโครงงานเทคโนโลยีเกษตรและอื่นๆ  ให้สอดคล้องกับสภาพปัญหา

3.จัดกิจกรรมส่งเสริม ป้องกัน และแก้ปัญหาให้กับนักเรียนแต่ละกลุ่ม  โดยการป้องกันแก้ปัญหานักเรียนที่มีผลการเรียนต้ำกว่าเกณฑ์ด้วยวิธีการที่สัมพันธ์สอดคล้องกับการป้องกันแก้ปัญหานักเรียนตามงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน

4.ปรับเปลี่ยนการเรียนการสอนให้ผู้เรียนสนุกและมีความสุขในการเรียน  เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้สร้างองค์ความรู้ได้ด้วยตนเอง  และนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและภูมิปัญญาไทยเข้ามาสู่กระบวนการจัดการเรียนรู้  5.ศึกษาค้นคว้าเพื่อพัฒนาตนเอง จากสื่อเอกสารในรายวิชาเกษตรและบทความรู้ที่ใช้พัฒนางานอื่นๆที่รับผิดชอบและสื่อทางอินเตอร์เนต แล้วนำเทคโนโลยีที่เหมาะสมมาใช้ประกอบการเรียนการสอนและออกแบบการเรียนรู้ ผลิตใบงาน ใบความรู้ เอกสารประกอบการเรียนการสอนที่น่าสนใจ และทันสมัย  ออกแบบสร้างสื่อแผ่นภาพไวนิวในรายวิชาการงานอาชีพ(เกษตร) 

5.วัดผลประเมินผลตามสภาพจริง ให้คำแนะนำทั้งรายบุคคลและกลุ่ม และเปิดโอกาสให้พัฒนาผลงานอย่างต่อเนื่อง 

6.จัดทำแผนพัฒนาตนเอง (ID Plan) 

7.
จัดมุมหรือป้ายนิเทศ/ สื่อการสอน ที่ส่งเสริมการเรียนรู้/แสวงหาผลงานผู้เรียนที่มีคุณภาพแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเพื่อนครูเพื่อนำข้อบกพร่องมาแก้ไขและพัฒนาตนเอง 

8.มีหนังสือเพียงพอในการจัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้อย่างหลากหลาย และต่อเนื่อง 

9. จัดหาสื่ออุปกรณ์ที่ทันสมัยน่าสนใจ และสื่อเทคโนโลยีที่เอื้อต่อการเรียนรู้และพัฒนาศักยภาพนักเรียน  เช่น VCD รายการกบนอกกะลา,วารสารเกษตรธรรมชาติรายเดือน,วารสารเผยแพร่ความรู้ทางการเกษตรจากองค์กรต่างๆ

2.ออกแบบการจัดการเรียนรู้อิงมาตรฐาน

1.ใช้รูปแบบ Backward  Design  ในการออกแบบหน่วยการเรียนรู้วิชาการงานอาชีพ(เกษตร) โดยอิงกับมาตรฐานการเรียนรู้ และเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ  2.กำหนดหน่วยการเรียนรู้ รายวิชาการงานอาชีพ(เกษตร) อย่างมีประสิทธิภาพ  3.จัดทำหน่วยการเรียนรู้โดยระบุเป้าหมายการเรียนรู้ หลักฐานการเรียนรู้ของผู้เรียนและกิจกรรมการเรียนรู้ สอดคล้องสัมพันธ์กันและตอบสนองมาตรฐานการเรียนรู้ในหลักสูตรครบถ้วน กิจกรรมการเรียนรู้พัฒนาทักษะการคิด เลือกวิธีการวัดและประเมินผลได้ตรงกับเป้าหมายการเรียนรู้และตอบสนองมาตรฐานการเรียนรู้ในหลักสูตรและมีการนำไปใช้ในการจัดการเรียนรู้รายวิชาการงานอาชีพ(เกษตร) 4.จัดการเรียนรู้ ที่มีขั้นตอนกิจกรรมนำเข้าสู่การเรียน กิจกรรมพัฒนานักเรียนทั้งด้านผลการเรียนและการพัฒนาพฤติกรรมอันพึงประสงค์  กิจกรรมรวบยอดครบถ้วน ตามการออกแบบหน่วยการเรียนรู้ กิจกรรมส่วนใหญ่จะเน้นบทบาทของนักเรียนมากกว่าครู เช่น นักเรียนมีส่วนร่วมในการจัดการเรียนรู้ การเผยแพร่องค์ความรู้สู่ชุมชนและสาธารณะ 

5.ส่งเสริมให้นักเรียนใช้กระบวนการคิด ค้นคว้าสร้างความรู้ได้ด้วยตนเอง สามารถเชื่อมโยงไปสู่การเรียนรู้และการนำไปใช้ในชีวิตจริงได้  เช่น การปลูกพืช การเลี้ยงสัตว์ การแปรรูปผลผลิตเกษตร การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและภูมิปัญญาไทย  6.วัดและประเมินผลตามสภาพจริงด้วยวิธีการและเครื่องมือที่หลากหลาย มีเกณฑ์การประเมินผลงาน/ชิ้นงานครอบคลุมมาตรฐานและเป้าหมายการเรียนรู้  เช่น เกมส์การทอยลูกเต๋าตอบปัญหาเป็นกลุ่มและรายบุคคล  การประเมินผลจากชิ้นงาน  การสะท้อนผลที่เกิดจากกระบวนการเรียนรู้และอาสาเผยแพร่องค์ความรู้สู่ชุมชนและสาธารณะด้วยกระบวนการ(AAR)  7.นำผลการประเมินมาวิเคราะห์จุดเด่น จุดด้อยของผู้เรียนและสะท้อนผลสู่ผู้เรียนเพื่อการพัฒนา และรายงานผลการเรียนรู้ของผู้เรียนแก่ผู้ปกครอง เพื่อการมีส่วนร่วมในการพัฒนาผู้เรียนทุกด้าน  8.นำผลการประเมินมาจัดกลุ่มผู้เรียนและออกแบบการเรียนรู้หรือพัฒนาผู้เรียนอย่างเหมาะสมและต่อเนื่องและมีการรายงานผลผู้เกี่ยวข้องเพื่อใช้ผลการพัฒนาผู้เรียนร่วมกัน  ทั้งการพัฒนาด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน  9.จัดทำร่องรอยการประเมินและนำเสนอผลการพัฒนาผู้เรียนด้วยระดับคุณภาพ มีการรายงานผลการพัฒนาผู้เรียนแก่ผู้เกี่ยวข้อง และนำผลการประเมินชิ้นงานมาพัฒนาผู้เรียนให้มีระดับคุณภาพที่สูงขึ้น

3.การวิจัยในชั้นเรียน (CAR)

1.วิเคราะห์นักเรียนเป็นรายบุคคล 

2.จัดทำและรายงานการวิจัยชั้นเรียนเพื่อเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาการงานอาชีพ(เกษตร)และการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์

3.ใช้กระบวนการจิตอาสาสร้างสำนึกจิตสาธารณะในการป้องกันและแก้ปัญหาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำ ในกรณีผู้เรียนขาดเรียน ขาดความกระตือรือร้นในการเรียน และใช้กระบวนการจิตอาสาสร้างสำนึกจิตสาธารณะในการอาสาแบ่งปันความรู้สู่ชุมชนและสาธารณะ 

4.จัดทำรายงานตนเอง(Self Study Report : SSR) เกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้หรือการแก้ปัญหาเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ของตนเอง 

5.จัดทำและรายงานวิจัยชั้นเรียนเกี่ยวกับการใช้และการพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับนักเรียนปกติและนักเรียนพิเศษ

6.บันทึกผลการประเมินและพัฒนาผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง  และนำข้อมูลไปใช้ในการวางแผนพัฒนาผู้เรียนต่อไป

4.การใช้ ICT เพื่อการสอนและสนับสนุนการสอนวิชาการงานอาชีพ(เกษตร)

1.นักเรียนทุกคน ใช้สื่อ ICT เพื่อฝึกปฏิบัติตามกิจกรรมการเรียนรู้และตามความต้องการ เช่น การสืบค้นข้อมูลในรายวิชาการงานอาชีพ(เกษตร)  การจัดทำข้อมูลเอกสารเผยแพร่ความรู้สู่ชุมชน การเผยแพร่ผลการเรียนรู้และองค์ความรู้ทางเวปไซต่างๆ  การส่งและนำเสนอรายงานทางสื่ออินเตอร์เนต การวัดและประเมินผล  การสร้างBlogเผยแพร่ความรู้

2.จัดทำโปรแกรมบทเรียนสำเร็จรูปรายวิชาการงานอาชีพ(เกษตร) เพื่อพัฒนาการเรียนการสอนและการแก้ปัญหานักเรียนที่มีผลการเรียนต้ำหรือไม่ผ่านรายบุคคล 

3.จัดห้องปฏิบัติการที่เอื้อต่อการเรียนรู้ที่มีคุณภาพที่มีสภาพพร้อมใช้ ครบทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน มีอุปกรณ์เพียงพอและมีความปลอดภัย 

4.ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ขั้นพื้นฐาน ในกระบวนการจัดการเรียนรู้  เช่น Power point  , CAI,  CoPs ออนไลน์ 

5.ใช้สื่อ ICT  ในการจัดการเรียนการสอนเพื่อให้กระบวนการจัดการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น

5.1 ทำให้นักเรียนสามารถค้นคว้าหาความรู้จากแหล่งความรู้ที่หลากหลายมากยิ่งขึ้น

5.2 เป็นเครื่องมือสำหรับการสอนเนื้อหาที่จะบรรยายที่ยังไม่ลึกซึ้ง

5.3 ใช้ ICT เพื่อประเมินผลของนักเรียนและการทำงาน หรือจะใช้เป็นเครื่องมือวัดผลตอบสนอง

5.4 เป็นการเปลี่ยนบรรยากาศจากการใช้กระดานดำ หรือใช้สรุปการเรียนการสอน 

6.ครูออกแบบและจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยเปิดโอกาสให้นักเรียนใช้สื่อ ICT เพื่อการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง

7.จัดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาการงานอาชีพ(เกษตร)  โดยใช้สื่อ ICT และแหล่งเรียนรู้ในระบบเครือข่ายจัดกิจกรรมการเรียนรู้

5.การพัฒนางานโดยการสร้างวินัยเชิงบวก (Positive Discipline)

1.ทำความรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล มีการคัดกรองนักเรียนตามระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนและ นำผลการคัดกรองมาพัฒนา/ปรับปรุงพฤติกรรม โดยจัดกิจกรรมส่งเสริมและพัฒนานักเรียน ตามความแตกต่างระหว่างบุคคลและพัฒนาตามศักยภาพ มีการเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน/ป้องกันช่วยเหลือ/และแก้ไขปัญหาราย บุคคล มีระบบการส่งต่อนักเรียนตามสภาพปัญหาทั้งภายในและภายนอก

2.สื่อสารกับผู้เรียนด้วยท่าทีที่เป็นมิตร เปิดโอกาสให้ผู้เรียนแสดงความรู้สึกนึกคิด รับฟังอย่างเข้าใจและให้เกียรติเคารพศักดิ์ศรีของผู้เรียน  พัฒนาพฤติกรรมที่พึงประสงค์ การมีวินัยในตนเองและบุคลิกลักษณะที่ดี  ใช้คำถามให้ผู้เรียน สะท้อนความรู้สึก หาสาเหตุ และผลการกระทำบนพื้นฐาน การยอมรับของผู้เรียน  ใช้คำถามให้ผู้เรียนประเมินและเลือกทางเลือกกำหนดแนวปฏิบัติที่เกิดผลดีกับตนเองโดยสร้างข้อตกลงร่วมกัน  ครูเสริมแรงให้เกิดการปฏิบัติอย่างต่อเนื่องจนเกิดผลดีต่อตนเองและสังคมมีความภาคภูมิใจและยึดถือปฏิบัติอย่างยั่งยืนพยายามให้เด็กมีส่วนร่วมมากที่สุด  คำนึงถึงความต้องการทางพัฒนาการและคุณภาพชีวิตของผู้เรียน 

3.ชื่นชมผลงานร่วมกันระหว่างครู และนักเรียน  ด้วยการจัดกิจกรรม “ตลาดนัดองค์ความรู้สู่ชุมชน”  “ตลาดนัดเกษตรปลอดสาร อาหารปลอดโรค พลโลกปลอดภัย” “กินดี อยู่ดี มีพอเพียง”  เพื่อนำเสนอผลงานการเรียนการสอน และแลกเปลี่ยนเรียนรู้  คำนึงถึงแรงจูงใจและโลกทัศน์ของเด็ก  พยายามให้เกิดความยุติธรรม เท่าเทียมกันและไม่เลือกปฏิบัติเสริมสร้างความสามัคคีกลมเกลียวในกลุ่ม

4.จัดทำฐานข้อมูล Best Practice ในเรื่อง การสร้างวินัย หรือคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ที่เป็นรูปธรรม ด้วยกิจกรรมเครือข่ายจิตอาสาชาวเลือดหมู-ดำ บูรณาการสู่กระบวนการจัดการเรียนการสอนวิชาการงานอาชีพ(เกษตร) เพื่อการดูแลช่วยเหลือนักเรียน  ปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมแก่ผู้เรียนและสามารถวิเคราะห์คุณธรรม  จริยธรรมที่เกิดขึ้นจริงแก่ผู้เรียนได้อย่างชัดเจน  คือ การให้ การเสียสละ การมีน้ำใจ  มีความประพฤติที่ดีงาม ทั้ง กาย วาจา ใจ เสียสละความสุขส่วนตน เพื่อความสุขส่วนรวม  มีความซื่อสัตย์สุจริตมีอัธยาศัยอ่อนโยน เคารพในเหตุผล มีสัมมาคารวะต่อผู้อาวุโส  มีความอุตสาหะในการปฏิบัติงาน โดยปราศจากความเกียจคร้าน  ไม่มุ่งร้ายผู้อื่น ไม่ก่อทุกข์หรือเบียดเบียนผู้อื่น  รักษาอาการ กาย วาจา ใจให้เรียบร้อย การอดทนต่อสิ่งทั้งปวง  มีความยุติธรรม หนักแน่น ถือความถูกต้อง เที่ยงธรรมเป็นหลัก  โดยนำผลการคัดกรองมาจัดกิจกรรมพัฒนา/ปรับปรุงพฤติกรรม และจัดกิจกรรมส่งเสริมและพัฒนานักเรียน ตามความแตกต่างระหว่างบุคคลและพัฒนาตามศักยภาพ เป็นการเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน/ป้องกันช่วยเหลือ/และแก้ไขปัญหาราย บุคคล  ซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งที่สำคัญในการพัฒนาผู้เรียนให้มีระดับคุณภาพที่สูงขึ้น


ClassStart ให้บริการฟรีโดย บริษัท ปิยะวัฒนา จำกัด
เราเป็นกิจการเพื่อสังคม (Social Enterprise)
สนับสนุนโดย
ผู้ไม่ประสงค์ออกนามท่านหนึ่ง (2563-2566)
มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์ (2561-2563)
กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (2557-2558)
กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (2557)
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (2554-2558)
GotoKnow
ClassStart Books