BSF1


ผู้สอน
นาย ศิริวัฒน์ วาสิกศิริ
เข้าสู่ระบบเมื่อ เกือบ 11 ปี ที่แล้ว

ชื่อวิชา
BSF1

รหัสวิชา
6889

สถานศึกษา
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

คำอธิบายวิชา

มคอ.๓

รายละเอียดของรายวิชา

ชื่อสถาบันอุดมศึกษา    มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

วิทยาเขต/คณะ/ภาควิชา  วิทยาเขตหาดใหญ่/โครงการจัดตั้งคณะสัตวแพทยศาสตร์

หมวดที่ ๑ ข้อมูลโดยทั่วไป

๑. รหัสและชื่อรายวิชา

รหัส ๑๔๕-๒๑๐  โครงสร้างและการทำงานของร่างกายสัตว์ ๑: ระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อ(Structure and Functionof Animal Body I: MusculoskeletalSystem)

๒. จำนวนหน่วยกิต หรือจำนวนชั่วโมง

หน่วยกิต  ๕(๓-๖-๖)

. หลักสูตรและประเภทรายวิชา

หลักสูตรสัตวแพทยศาสตรบัณฑิต ประเภทวิชาพื้นฐานวิชาชีพ (บังคับ)

๔. อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชาและอาจารย์ผู้สอน

อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชา  อาจารย์โครงการจัดตั้งคณะสัตวแพทยศาสตร์  

อาจารย์ผู้สอน  คณาจารย์โครงการจัดตั้งคณะสัตวแพทยศาสตร์

๕. ภาคการศึกษา/ชั้นปีที่เรียน

ภาคการศึกษาที่ ๑ ชั้นปีที่ ๒

๖. รายวิชาที่เรียนมาก่อน (Pre-requisite)

  ไม่มี

๗. รายวิชาที่ต้องเรียนพร้อมกัน (Co-requisites)

  ชีวเคมีทางสัตวแพทย์ (๑๔๕-๒๑๔)

๘. สถานที่เรียน

  โครงการจัดตั้งคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

๙. วันที่จัดทำหรือปรับปรุงรายละเอียดของรายวิชาครั้งล่าสุด

  มกราคม ๒๕๕๕

หมวดที่ ๒ จุดมุ่งหมายและวัตถุประสงค์

. จุดมุ่งหมายของรายวิชา

๑.๑เพื่อให้นักศึกษาสามารถอธิบายโครงสร้างทางมหกายวิภาคศาสตร์ และจุลกายวิภาคศาสตร์ ของระบบกระดูก กล้ามเนื้อ ข้อต่อและระบบห่อหุ้มร่างกายในลักษณะเปรียบเทียบของสัตว์แต่ละชนิด

๑.๒ อธิบายความสัมพันธ์ระหว่างโครงสร้างและการทำงานของ ระบบที่ทำการศึกษาได้

๑.๓ นำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในกระบวนวิชาที่เกี่ยวข้องทางคลินิกได้

๒. วัตถุประสงค์ในการพัฒนา/ปรับปรุงรายวิชา

๒.๑ เพื่อเน้นการเรียนการสอนโดยมุ่งผู้เรียนเป็นสำคัญ

๒.๒ เพื่อให้นักศึกษามีโอกาสฝึกวิเคราะห์จากกรณีศึกษาเพิ่มมากขึ้นซึ่งจะนำมาสู่ความเข้าใจเนื้อหาดังกล่าว

 

หมวดที่ ๓ ลักษณะและการดำเนินการ

๑. คำอธิบายรายวิชา

  สรีรวิทยาของเซลล์ คัพภะวิทยา มหกายวิภาคศาสตร์ ภาพถ่ายรังสี จุลกายวิภาคศาสตร์ และสรรีวิทยาของระบบโครงสร้างและกล้ามเนื้อ กระดูก กล้ามเนื้อ ข้อและระบบปกคลุมร่างกาย ศึกษาในสุนัขเปรียบเทียบโครงสร้างและการทำงานของร่างกายกับสัตว์ชนิดต่างๆ

๒. จำนวนชั่วโมงที่ใช้ต่อภาคการศึกษา

บรรยาย

สอนเสริม

การฝึกปฏิบัติงานภาคสนาม/การฝึกงาน

การศึกษาด้วยตนเอง

บรรยาย ๔๕ ชั่วโมง

-

ปฏิบัติการ ๙๐ ชั่วโมง

-

๓. จำนวนชั่วโมงต่อสัปดาห์ที่อาจารย์ให้คำปรึกษาและแนะนำทางวิชาการแก่นักศึกษาเป็นรายบุคคล

  อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่ม ๑ ชั่วโมงต่อสัปดาห์

หมวดที่ ๔ การพัฒนาการเรียนรู้ของนักศึกษา

๑. คุณธรรม จริยธรรม

  ๑.๑ คุณธรรม จริยธรรมที่ต้องการพัฒนา

  ๑.๑.๑ มีระเบียบวินัย ความซื่อสัตย์ และความรับผิดชอบต่อการกระทำของตนเอง (รอง)

  ๑.๑.๒ มีความรู้ ความเข้าใจในหลักจริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพสัตวแพทย์ (รอง)

 

๑.๒ วิธีการสอน

๒.๑.๑ สอดแทรกการปลูกฝังให้นักศึกษาเห็นความสำคัญของความซื่อสัตย์ รับผิดชอบต่อการกระทำของตนเอง

๒.๑.๒ สอดแทรกเกี่ยวกับความรู้ ความเข้าใจในหลักจริยธรรม และจรรยาบรรณต่อการปฏิบัติต่อสัตว์ที่ใช้ในการเรียนการสอน

  ๑.๓ วิธีการประเมินผล

๑.๓.๑ ประเมินความมีระเบียบวินัย และความพร้อมเพรียงของนักศึกษาในการเข้าชั้นเรียน การร่วมกิจกรรมต่างๆ ความสุภาพ และการแต่งกายโดยการสังเกตพฤติกรรมในระหว่างเรียน

๑.๓.๒ ประเมินความรู้ ความเข้าใจในหลักจริยธรรม และจรรยาบรรณต่อการปฏิบัติต่อสัตว์ที่ใช้ในการเรียนการสอนโดยการสังเกตพฤติกรรมในระหว่างเรียน

๒. ความรู้

.๑ ความรู้ ที่ต้องได้รับ

๒.๑.๑ มีความรู้และความเข้าใจในศาสตร์ที่เป็นพื้นฐานทางวิชาการสัตวแพทย์ รวมถึงโครงสร้างและการทำงานปกติของร่างกายสัตว์ (หลัก)

.๒. วิธีการสอน

๒.๒.๑ ใช้รูปแบบการเรียนการสอนที่หลากหลายเช่น การบรรยาย การใช้สื่อการสอน การสัมมนา การอภิปรายกลุ่ม การมอบหมายงานรายบุคคล และรายกลุ่ม

.๓. วิธีการประเมินผล

  ๒.๓.๑ ประเมินผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ภาคทฤษฎี

- โดยการสอบวัดความรู้ การสอบย่อย การสอบกลางภาค และสอบปลายภาค โดยการสอบแบบปรนัยและอัตนัย

- โดยการประเมินผลจากงานที่ได้รับมอบหมายหรือจากกิจกรรมต่างๆที่สอดคล้องกับการจัดการเรียนการสอน

  ๒.๓.๒ ประเมินผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ภาคปฏิบัติ โดยการประเมินผลการฝึกปฏิบัติ ตามที่กำหนดในวิชา การทำรายงาน การสอบความรู้รวบยอดหลังการฝึกปฏิบัติ การสอบทักษะปฏิบัติการ

. ทักษะทางปัญญา

  ๓.๑ ทักษะทางปัญญาที่ต้องการพัฒนา

๓.๑.๑  สามารถสืบค้น ประมวลผล และวิเคราะห์ข้อมูลจากแหล่งข้อมูลต่างๆ และนำข้อมูลที่มีอยู่และสืบค้นได้ไปใช้ในการปฏิบัติงาน โดยใช้วิจารณญาณในการแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม (รอง)

  ๓.๒ วิธีการสอน

๓.๒.๑ การจัดการเรียนการสอนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยให้ผู้เรียนได้ลงมือทำ ค้นคว้า วิเคราะห์ข้อมูล ระดมสมอง แก้ปัญหา และนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ 

  ๓.๓ วิธีการประเมินผล

  ๓.๓.๑  ประเมินผลจากการทำรายงาน การสอบปรนัย อัตนัย และการสอบปฏิบัติ

๔. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ

  ๔.๑ ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบที่ต้องการพัฒนา

๔.๑.๑  สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ โดยเป็นสมาชิกที่ดีของกลุ่ม มีส่วนร่วมในกิจกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีปฏิสัมพันธ์อย่างสร้างสรรค์ (หลัก)

๔.๑.๒ สามารถแสดงออกซึ่งภาวะผู้นำ ในการผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ดีในกลุ่มปฏิบัติงานในสถานการณ์ที่หลากหลาย และสถานการณ์เฉพาะหน้า และปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีต่อผู้อื่น (รอง)

  ๔.๒ วิธีการสอน

๔.๒.๑ สอดแทรกเรื่องความรับผิดชอบ การมีมนุษยสัมพันธ์ การให้เกียรติผู้อื่น และการเข้าใจระเบียบปฏิบัติในชั้นเรียน

๔.๒.๒ จัดการเรียนการสอนให้นักศึกษามีบทบาทเป็นทั้งผู้นำและผู้ร่วมงาน ในการทำงานกลุ่ม และฝึกทักษะการปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นเช่น เพื่อน อาจารย์ บุคลลากร

  ๔.๓ วิธีการประเมินผล

๔.๓.๑ ประเมินผลระหว่างเรียนโดยการสังเกตพฤติกรรมของการเป็นผู้นำ การเป็นสมาชิก การมีส่วนร่วมในกระบวนการกลุ่ม การแสดงออก และการปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น รวมถึงประเมินผลงานและความรับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมาย

๕.๑ ทักษะการวิเคราะห์ตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่ต้องการพัฒนา

๕.๑.๑ สามารถศึกษาเพิ่มเติมหรือค้นคว้าข้อมูลจากวารสาร และตำราต่างประเทศได้อย่างถูกต้องและเข้าใจ (รอง)

  ๕.๒ วิธีการสอน

๕.๒.๑ ใช้ตำราหรือเอกสารประกอบการเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษ 

๕.๒.๒ มอบหมายงานที่ต้องใช้เอกสารภาษาอังกฤษในการจัดเตรียม

  ๕.๓ วิธีการประเมินผล

๕.๓.๑ ประเมินผลการเรียนรู้ผ่านรายวิชา โดยการประเมินผลงานที่ได้รับมอบหมาย และการนำเสนอ

หมวดที่ ๕ แผนการสอนและการประเมินผล

๑.  แผนการสอนภาคทฤษฏี

โครงสร้างและการทำงานของร่างกายสัตว์ ๑: ระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อ

สัปดาห์ที่

หัวข้อ/รายละเอียด

จำนวนชั่วโมง

กิจกรรมการเรียนการสอน/สื่อที่ใช้

ผู้สอน

๑-

บทนำ

-  โครงสร้างและการทำงานของร่างกาย

-  เซลล์และการทำงานของเซลล์ องค์ประกอบของเซลล์ ชนิดของเซลล์ สรีรวิทยาของเซลล์ คุณสมบัติทางไฟฟ้าของเยื่อหุ้มเซลล์

-  คัพภะวิทยาเบื้องต้น กระบวนการ fertilization,cleavage,blastulation,gasturation

บรรยาย การใช้สื่อการสอน การใช้หุ่นจำลอง

อาจารย์โครงการจัดตั้งคณะสัตวแพทยศาสตร์

๒-

เนื้อเยื่อ

-  ชนิดของเนื้อเยื่อ (เยื่อบุผิว เนื้อเยื่อเกี่ยวพัน กล้ามเนื้อ ระบบประสาท

-  คัพภะวิทยาในการกำเนิดของเนื้อเยื่อชนิดต่างๆ

บรรยาย การใช้สื่อการสอน การใช้หุ่นจำลอง

อาจารย์โครงการจัดตั้งคณะสัตวแพทยศาสตร์

สอบย่อยครั้งที่ ๑

๓-

ใบหน้าและผิวหนัง

-  คัพภะวิทยาในการกำเนิดของใบหน้าและผิวหนัง

-  กายวิภาคศาสตร์และจุลกายวิภาคศาสตร์ของผิวหนัง เล็บ เขา

บรรยาย การใช้สื่อการสอน การใช้หุ่นจำลอง

อาจารย์โครงการจัดตั้งคณะสัตวแพทยศาสตร์

๔-

กระดูกและข้อ

-  คัพภะวิทยาในการกำเนิดของกระดูกและข้อต่อ

-  กายวิภาคศาสตร์และจุลกายวิภาคศาสตร์ระบบกระดูกและข้อต่อ

บรรยาย การใช้สื่อการสอน การใช้หุ่นจำลอง

อาจารย์โครงการจัดตั้งคณะสัตวแพทยศาสตร์

สอบย่อยครั้งที่ ๒

๕-

กล้ามเนื้อ

-  คัพภะวิทยาในการกำเนิดของกล้ามเนื้อ

-  กายวิภาคศาสตร์และจุลกายวิภาคศาสตร์ระบบกล้ามเนื้อ

-  สรีรวิทยาระบบกล้ามเนื้อ กลศาสตร์การหดตัวของกล้ามเนื้อ คุณสมบัติทางไฟฟ้าของกล้ามเนื้อ

๑๒

บรรยาย การใช้สื่อการสอน การใช้หุ่นจำลอง

อาจารย์โครงการจัดตั้งคณะสัตวแพทยศาสตร์

สอบย่อยครั้งที่ ๓

๗-

-  กายวิภาคศาสตร์เปรียบเทียบระบบกระดูกและข้อ และระบบกล้ามเนื้อของสุนัข แมว โค แพะ สุกร ม้า และสัตว์ปีก 

-  ภาพถ่ายรังสีของระบบกระดูก ข้อ และกล้ามเนื้อ

บรรยาย การใช้สื่อการสอน การใช้หุ่นจำลอง

บรรยาย การใช้สื่อการสอน การใช้หุ่นจำลอง ฟิล์ม x-ray

อาจารย์โครงการจัดตั้งคณะสัตวแพทยศาสตร์

สอบกลางภาค

๒.  แผนการสอนภาคปฏิบัติ

โครงสร้างและการทำงานของร่างกายสัตว์ ๑: ระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อ

สัปดาห์ที่

หัวข้อ/รายละเอียด

จำนวนชั่วโมง

กิจกรรมการเรียนการสอน/สื่อที่ใช้

ผู้สอน

-  ปฏิบัติการจุลกายวิภาคศาสตร์เรื่อง ชนิด การใช้และการดูแลกล้องจุลทรรศน์

-  ปฏิบัติการกายวิภาคศาสตร์เรื่อง การเตรียมตัวอย่างสัตว์

-  ปฏิบัติการสรีรวิทยาเรื่อง ข้อตกลงเบื้องต้นในปฏิบัติการสรีรวิทยา การเตรียมอุปกรณ์

-  การบรรยาย

-  การสาธิต

อาจารย์โครงการจัดตั้งคณะสัตวแพทยศาสตร์

-  ปฏิบัติการคัพภะวิทยาเรื่อง พัฒนาการของเซลล์สืบพันธุ์

-  ปฏิบัติการจุลกายวิภาคศาสตร์เรื่อง เซลล์พื้นฐานชนิดต่างๆของสัตว์

-  ปฏิบัติการกายวิภาคศาสตร์เรื่อง ผิวหนัง เล็บ เขา

-  ปฏิบัติการสรีรวิทยาเรื่อง สมดุลความดันออสโมติกของเซลล์

-  การดูสไลด์

-  การศึกษาจากโครงกระดูก

-  การฝึกปฏิบัติในห้องปฏิบัติการ

อาจารย์โครงการจัดตั้งคณะสัตวแพทยศาสตร์

-  ปฏิบัติการคัพภะวิทยาเรื่อง fertilization,cleavage, blastulation, gasturation

-  ปฏิบัติการกายวิภาคศาสตร์เรื่อง โครงกระดูกสุนัข

-  การดูสไลด์

-  การศึกษาจากโครงกระดูก

อาจารย์โครงการจัดตั้งคณะสัตวแพทยศาสตร์

-  ปฏิบัติการคัพภะวิทยาเรื่อง การพัฒนาของตัวอ่อน

-  ปฏิบัติการจุลกายวิภาคศาสตร์เรื่อง เนื้อเยื่อพื้นฐานชนิดต่างๆของสัตว์ (ต่อ)

-  ปฏิบัติการกายวิภาคศาสตร์เรื่อง การศึกษาโครงกระดูกสุนัข เปรียบเทียบกับสัตว์ชนิดต่างๆ

-  การดูสไลด์

-  การศึกษาจากโครงกระดูก

อาจารย์โครงการจัดตั้งคณะสัตวแพทยศาสตร์

-  ปฏิบัติการกายวิภาคศาสตร์เรื่อง การศึกษาโครงกระดูกสุนัข เปรียบเทียบกับสัตว์ชนิดต่างๆ (ต่อ)

-  ปฏิบัติการกายวิภาคศาสตร์เรื่อง โครงสร้างส่วนหัวสุนัข

-  การดูสไลด์

-  การศึกษาจากตัวอย่างสัตว์

อาจารย์โครงการจัดตั้งคณะสัตวแพทยศาสตร์

-  ปฏิบัติการคัพภะวิทยาเรื่อง การพัฒนาระบบกล้ามเนื้อและกระดูก

-  ปฏิบัติการจุลกายวิภาคศาสตร์เรื่อง กระดูกและกระดูกอ่อน

-  ปฏิบัติการกายวิภาคศาสตร์เรื่อง โครงสร้างส่วนคอสุนัข

-  การดูสไลด์

-  การศึกษาจากตัวอย่างสัตว์

อาจารย์โครงการจัดตั้งคณะสัตวแพทยศาสตร์

-  ปฏิบัติการจุลกายวิภาคศาสตร์เรื่อง กล้ามเนื้อเรียบ กล้ามเนื้อลายและกล้ามเนื้อหัวใจ

-  ปฏิบัติการกายวิภาคศาสตร์เรื่อง โครงสร้างส่วนขาหน้าสุนัข

-  ปฏิบัติการสรีรวิทยาเรื่อง การทำงานของกล้ามเนื้อ

-  การดูสไลด์

-  การศึกษาจากตัวอย่างสัตว์

-  การฝึกปฏิบัติจากห้องปฏิบัติการ

อาจารย์โครงการจัดตั้งคณะสัตวแพทยศาสตร์

-  ปฏิบัติการกายวิภาคศาสตร์เรื่อง โครงสร้างส่วนหัว คอ และขาหน้าของสุนัข

๑๒

-  การดูสไลด์

-  การศึกษาจากตัวอย่างสัตว์

-  การฝึกปฏิบัติจากห้องปฏิบัติการ

อาจารย์โครงการจัดตั้งคณะสัตวแพทยศาสตร์

สอบกลางภาค

๓. แผนการประเมินผลการเรียนรู้

กิจกรรมที่

ผลการเรียนรู้

วิธีการประเมิน

สัปดาห์ประเมิน

สัดส่วนการประเมินผล

การสอบกลางภาค

ทดสอบ

๒๕

การสอบปลายภาค

ทดสอบ

๑๗

๒๕

การสอบปฏิบัติ

ทดสอบ

๙, ๑๗

๒๕

การนำเสนอบทความทางวิชาการ

การอภิปรายกลุ่ม

๑๖

๑๐

รายงานผลการทดลอง

ประเมินจากรายงาน

๑๖

๑๐

เวลาและการตรงต่อเวลาเข้าชั้นเรียน

ประเมินเวลาและความตรงต่อเวลาในการเข้าชั้นเรียน

๑-๑๖

หมวดที่ ๖ ทรัพยากรประกอบการเรียน

๑. ตำราและเอกสารหลัก

  ๑.๑ Banks, W.J., 1993. Applied veterinary histology. Mosby. 3rd ed.

๑.๒ Berman, I., 1998. Color atlas of basic histology. Appleton & Lange. 2nd ed.

๑.๓ Bone, J.F. 1982. Animal anatomy and physiology. A Prentice-Hall company.

2nd ed.

๑.๔ Cunningham, J.G., 1997. Textbook of veterinary physiology. Saunders. 2nd ed.

๑.๕ Dellmann, H.D., 1993. Textbook of veterinary histology. Lea & Febiger. 4th ed.

๑.๖ Dyce, K.M., Sack, W.O. and Wensing, C.J.G, 1996. Textbook of veterinary anatomy. Saunders.

๑.๗ Done, S.H., Goody, P.C., Evans, S.A. and Stickland, N.C. 2009. Color atlas of veterinary anatomy, Vol 3, The Dog and Cat. Mosby. 2nd ed.

๑.๘ Eroschenko VP, 1996. Di Fiore’s atlas of histology with functional correlation. Baltimore :waverly company. 8th ed.

๑.๙ Evan, H.E. and deLahunta, A. 1996. Miller’s guide to the dissection of the dog. .B. Saunders company. 4th ed.

๑.๑๐Ganong WF,1995. Review of medical physiology. Cliff,NJ. 17th ed.

๑.๑๑ Guyton AC, 1997. Textbook of medical physiology. Saunders. 8th ed.

๑.๑๒ Howard E. Evans and deLahunta, A. 2000. Guide to the dissection of the dog. Saunders. 5th ed.

๑.๑๓ Miller ME, 1993. Miller’s anatomy of the dog. Saunders. 3rd ed.

๑.๑๔ Reece WO,1993. Physiology of domestic animals. Philadelphia. 2nd ed.

๑.๑๕ กมล เสรีกุล. ๒๕๔๐. กายวิภาคศาสตร์ทางสัตวแพทย์ ๑: ระบบกล้ามเนื้อ .กรุงเทพฯ: คณะสัตวแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

๑.๑๖ กรกฎ งานวงศ์พาณิชย์. ๒๕๕๐. การตรวจระบบการเคลื่อนไหวของร่างกายในสุนัข. นันทพันธ์ พริ้นติ้ง. เชียงใหม่ ๑๓๓ หน้า

๑.๑๗ กรกฎ งานวงศ์พาณิชย์. ๒๕๕๑. โรคข้อเสื่อมในสุนัข. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรุงเทพ ๕๓๒ หน้า

๑.๑๘ นิตย์ คำอุไร .กายวิภาคศาสตร์ของสุนัข: ระบบโครงกระดูก. กรุงเทพฯ: ภาควิชากายวิภาคศาสตร์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๓๔

 

. เอกสารและข้อมูลสำคัญ

๒.๑ -

๓. เอกสารและข้อมูลแนะนำ

  ๓.๑  -

หมวดที่ ๗ การประเมินและปรับปรุงการดำเนินการของรายวิชา

๑. กลยุทธ์การประเมินประสิทธิผลของรายวิชาโดยนักศึกษา

  ๑.๑ แบบประเมินผู้สอนและแบบประเมินรายวิชา

๒. กลยุทธ์การประเมินการสอน

  ๒.๑ การสอบถามความเข้าใจในระหว่างการเรียนการสอน

  ๒.๒ ประเมินจากความสนใจและการเข้าชั้นเรียนของนักศึกษา

  ๒.๓ ประเมินจากผลการเรียนของนักศึกษา

๓. การปรับปรุงการสอน

  ๓.๑ สัมมนาการจัดการเรียนการสอน

  ๓.๒ ปรับปรุงเนื้อหาให้ทันสมัยและสอดคล้องกันเทคโนโลยีในปัจจุบัน

๔. การทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธ์ของนักศึกษาในรายวิชา

  ๔.๑ การทดสอบย่อยในชั้นเรียน

  ๔.๒ การทดสอบกลางภาคและปลายภาค

  ๔.๓ รายงานนำเสนอการวิเคราะห์ผลการทดลองในการฝึกปฏิบัติ

๕. การดำเนินการทบทวนและการวางแผนปรับปรุงประสิทธิผลของรายวิชา

  ๕.๑ ทบทวนและปรับปรุงเนื้อหาในภาพรวม 1 ครั้งก่อนการทำการเรียนการสอน

  ๕.๒ ทบทวนและปรับปรุงเนื้อหาการเรียนการสอนย่อย ก่อนการเรียนการสอนแต่ละครั้ง

 

 




ClassStart ให้บริการฟรีโดย บริษัท ปิยะวัฒนา จำกัด
เราเป็นกิจการเพื่อสังคม (Social Enterprise)
สนับสนุนโดย
ผู้ไม่ประสงค์ออกนามท่านหนึ่ง (2563-2566)
มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์ (2561-2563)
กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (2557-2558)
กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (2557)
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (2554-2558)
GotoKnow
ClassStart Books