ศึกษา การเผยแผ่พระพุทธศาสนาสู่ประเทศเพื่อนบ้าน วิเคราะห์ความสำคัญของพระพุทธศาสนา ที่ช่วยเสริมสร้างความเข้าใจอันดีกับประเทศเพื่อนบ้าน เป็นรากฐานของวัฒนธรรม เอกลักษณ์ และมรดกของชาติ พุทธประวัติหรือประวัติศาสดาของศาสนาที่ตนนับถือ วิเคราะห์และประพฤติตนตามแบบอย่างการดำเนินชีวิตจากประวัติสาวก ชาดก และศาสนิกชนตัวอย่างตามที่กำหนด อธิบายโครงสร้างและสาระโดยสังเขปของพระไตรปิฎก อธิบายข้อธรรมสำคัญอริสัจ 4 และนำไปพัฒนาแก้ปัญหาของชุมชนและสังคม พัฒนาจิต และดำเนินชีวิตด้วยวิธีคิดแบบโยนิโสมนสิการ และวิธีคิดแบบอรรถธรรมสัมพันธ์ สวดมนต์ แผ่เมตตา บริหารจิตและเจริญปัญญาด้วยอานาปานสติ วิเคราะห์การปฏิบัติตนตามหลักธรรมทางศาสนาเพื่อการดำรงตนอย่างเหมาะสมในกระแสความเปลี่ยนแปลงของโลก และการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข วิเคราะห์คุณค่าของศาสนพิธี อธิบายคำสอนที่เกี่ยวเนื่องกับวันสำคัญทางศาสนาและปฏิบัติตนได้ถูกต้อง อธิบายและปฏิบัติตนตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับตนเอง ครอบครัว ชุมชนและประเทศ เห็นคุณค่าในการปฏิบัติตนตามสถานภาพ บทบาท สิทธิ เสรีภาพ หน้าที่ในฐานะพลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย วิเคราะห์บทบาท ความสำคัญ และความสัมพันธ์ของสถาบันทางสังคม ความคล้ายคลึงและความแตกต่างของวัฒนธรรมไทย และวัฒนธรรมของประเทศในภูมิภาคเอเชีย เพื่อนำไปสู่ความเข้าใจอันดีระหว่างกัน อธิบายกระบวนการในการตรากฎหมาย วิเคราะห์ข้อมูล ข่าวสารทางการเมืองการปกครองที่มีผลกระทบต่อสังคมไทยสมัยปัจจุบัน โดยใช้ทักษะกระบวนการคิด กระบวนการปฏิบัติ กระบวนการสืบค้นข้อมูล กระบวนการกลุ่ม กระบวนการทางสังคม กระบวนการแก้ปัญหา เพื่อให้เกิดความสามารถในการคิด การแก้ปัญหา การใช้ทักษะชีวิต มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ในด้านใฝ่เรียนรู้ มีวินัย มุ่งมั่นในการทำงาน มีจิตสาธารณะ
ตัวชี้วัด ส 1.1 ม.2/1 ส 1.1 ม.2/2 ส 1.1 ม.2/3 ส 1.1 ม.2/4 ส 1.1 ม.2/5 ส 1.1 ม.2/6 ส 1.1 ม.2/7 ส 1.1 ม.2/8 ส 1.1 ม.2/9 ส 1.1 ม.2/10 ส 1.1 ม.2/11 ส 1.2 ม.2/1 ส 1.2 ม.2/2 ส 1.2 ม.2/3 ส 1.2 ม.2/4 ส 1.2 ม2/5 ส 2.1 ม.2/1 ส 2.1 ม.2/2 ส 2.1 ม.2/3 ส 2.1 ม.2/4 ส 2.2 ม.2/1 ส 2.2 ม.2/2
รวมทั้งหมด 22 ตัวชี้วัด