ทำไมคนถึงเชื่อว่า... การข้ามเพศเป็นเพียงกระแส โดย อ.ธนินท์ธร อมรวัฒนากรณ์


ผู้สอน
อาจารย์ ธนินท์ธร อมรวัฒนากรณ์
เข้าสู่ระบบเมื่อ 44 นาที ที่แล้ว

ชื่อวิชา
ทำไมคนถึงเชื่อว่า... การข้ามเพศเป็นเพียงกระแส โดย อ.ธนินท์ธร อมรวัฒนากรณ์

รหัสวิชา
74282

รหัสวิชาของสถานศึกษา
L005

สถานศึกษา
วิทยาลัยพยาบาลสภากาชาดไทย

คำอธิบายวิชา

เก่าที่ดูตลกขบขันหรือแม้แต่สื่อในปัจจุบันที่บางครั้งก็มีการนำเสนอในเชิงลบอยู่บ้างเพื่อเรียกกระแส แต่ปัจจัยที่สำคัญที่สุดคือระบบสองเพศที่ปลูกฝังในสังคมมายาวนานจนทำให้ผู้คนเคยชินกับความเป็นชายหญิงตรงเพศในฐานะของความจริงหรือความเป็นธรรมชาติ และผลักดันความหลากหลายอื่นๆ ให้ออกไปเป็นอื่น ซึ่งส่งผลให้การได้พื้นที่ความสนใจเพิ่มขึ้นของคนข้ามเพศนั้นดูเป็นเพียงเรื่องไร้สาระหรือกระแสของความพยายามที่จะฝืนธรรมชาติ บ่อยครั้งการได้พื้นที่ดังกล่าวสร้างเสียงพึมพำในสังคมอย่างเลี่ยงไม่ได้ หลายครั้งที่สังคมเกิดความไม่พอใจเมื่อมีการนำเสนอตัวละครที่เป็นคนข้ามเพศ หรือมีความเห็นในเชิงเบื่อหน่ายเมื่อมีการเรียกร้องหรืออธิบายความเข้าใจที่ถูกต้อง
ทำไมความเชื่อผิด ๆ นี้จึงกระทบต่อคนข้ามเพศ
ปัญหาหลักของการถูกด้อยคุณค่าลง นั่นคือ การที่ความเดือดร้อนของคนข้ามเพศนั้นถูกลดความสำคัญลงหรือถูกมองข้าม เนื่องจากการถูกมองว่าเป็นกระแสนั้นคือความนิยมชั่วคราว ปัญหาของคนข้ามเพศจึงถูกมองเป็นการ‘อิน’กับกระแสมากกว่า ตัวอย่างที่ชัดที่สุดคือ กรณีของคำนำหน้านามที่มีการเรียกร้องกันมาอย่างยาวนาน สิ่งที่มักจะตามมาคือเสียงของความไม่พอใจจากสังคมในเชิง‘ไม่จำเป็น’และไม่ต้องการให้คนข้ามเพศได้รับสิทธิ์นี้ ในเวทีเสวนา “การรับรองเพศสภาพของบุคคลในประเทศไทย : เราสามารถกำหนดเพศด้วยตนเองได้หรือไม่” ที่จัดโดยคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ส่วนของความคิดเห็นจากผู้ชมนั้นเป็นไปในทางเดียวกันคือการไม่เห็นด้วย มองว่าสิ่งที่คนข้ามเพศอยากได้นั้นเป็นเพียงการเอาแต่ใจ โดยยกเอาปัญหาของผู้หญิงตรงเพศหรือมาตรฐานของสังคมส่วนใหญ่ที่เชิดชูระบบสองเพศมาอ้างอิง
หรือหากมองย้อนกลับไปดูภาพลักษณ์ของคนข้ามเพศในสมัยก่อน ภาพลักษณ์ที่ดูง่าย ๆ ตลก ๆ เองก็เป็นทั้งเหตุและผลที่ทำให้คนมักจะคิดว่าการข้ามเพศนั้นคือการกระทำที่เอาฮา อยากฉีก อยากแตกต่าง อย่างเช่น ตัวละครที่เป็นคนข้ามเพศในภาพยนตร์ของพจน์ อานนท์แทบทุกเรื่องที่มักจะได้รับบทที่ชวนขบขันในระดับที่เกินจริงไปมาก ในขณะที่คนข้ามเพศที่มีชีวิตอยู่จริงนั้นต่างก็ใช้ชีวิตตามปกติ ซึ่งภาพจำนี้ก็ได้สร้างปัญหาอย่างที่กล่าวมาแล้ว
ความเป็นจริง
การข้ามเพศนั้นแท้จริงแล้วมีประวัติที่ยาวนาน เฉพาะแค่ในประเทศไทยนั้นสามารถย้อนความกลับไปได้ถึงตำนานของชาวล้านนา และมีปรากฎอยู่ในประวัติศาสตร์อยู่เรื่อยมา กระทั่งเกิดเป็นการเคลื่อนไหวเพื่อให้สังคมได้เห็นถึงความเป็นจริงและสิ่งที่คนข้ามเพศถูกกระทำมาตลอด (สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่ A brief history of Katoey and Gender diversity in Thailand) อีกทั้งความหลากหลายทางเพศนั้นถูกยกให้เป็นหนึ่งในวาระสำคัญในระดับนานาชาติที่ต้องขับเคลื่อนไปเพื่อให้เกิดการเคารพในสิทธิมนุษยชนอย่างแท้จริง เนื่องจากในปัจจุบัน แม้ว่าจะจะมีกฎหมายหรือข้อบัญญัติมากมายที่ออกมาสนับสนุนความเท่าเทียมทางเพศ แต่ในทางปฏิบัติแล้วคนเพศหลากหลายยังต้องเผชิญกับความยากลำบากจากอคติและการเลือกปฏิบัติจากสังคม อาทิ การถูกบังคับให้ออกจากงาน การถูกต่อต้านจากครอบครัว เป็นต้น ซึ่งจะนำมาสู่ปัญหาทางสังคมและเศรษฐกิจที่รุนแรงยิ่งขึ้น ดังนั้น ความหลากหลายทางเพศที่ถูกดึงขึ้นมาเป็นประเด็นนั้นจึงไม่ใช่เพียงกระแสที่เพิ่งได้รับความนิยมชั่วคราว แต่เป็นสัญญาณของความเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น
แน่นอนว่าความเท่าเทียมและสิทธิมนุษยชนนั้นเป็นประเด็นที่ได้รับความสนใจจากสังคมเป็นจำนวนมากในช่วงระยะเวลาเพียงไม่กี่ปีที่ผ่านมา แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า สิ่งที่ดูเหมือนกระแสนี้เป็นผลผลิตของความพยายามจากหลายฝ่าย ทั้งภาคประชาสังคม ภาครัฐบางหน่วยงาน ชุนชนคนข้ามเพศ และประชาชนที่เข้าใจในประเด็นนี้ ซึ่งแม้ว่าในตอนนี้จะยังมีเสียงอึงอลของความกังวลอยู่ไม่น้อย แต่การทำงานของทุกฝ่ายนั้นจะยังคงเดินหน้าเพื่อสิทธิของคนข้ามเพศต่อไป
โดย อ.ธนินท์ธร อมรวัฒนากรณ์


ClassStart ให้บริการฟรีโดย บริษัท ปิยะวัฒนา จำกัด
เราเป็นกิจการเพื่อสังคม (Social Enterprise)
สนับสนุนโดย
ผู้ไม่ประสงค์ออกนามท่านหนึ่ง (2563-2568)
มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์ (2561-2563)
กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (2557-2558)
กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (2557)
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (2554-2558)
ภาษาปิยะธอน (Piyathon)
เขียนโค้ดไพทอนได้ด้วยภาษาไทย