SWU 141(B15)2/56 ชื่อวิชา : INFORMATION LITERACY SKILLS


ผู้สอน
อาจารย์ วัชรพงศ์ แสงอ่อน
เข้าสู่ระบบเมื่อ 8 เดือน ที่แล้ว

ชื่อวิชา
SWU 141(B15)2/56 ชื่อวิชา : INFORMATION LITERACY SKILLS

รหัสวิชา
9160

สถานศึกษา
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

คำอธิบายวิชา

คำอธิบายรายวิชา
ศึกษาความสำคัญของระบบและกระบวนการสื่อสาร พัฒนาทักษะในการสืบค้นและอ้างอิงข้อมูล การใช้ซอฟท์แวร์ต่าง ๆ และการจัดการความรู้จากเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต ตลอดจนฝึกทักษะการนำเสนอข้อมูลสารสนเทศ โดยตระหนักในจรรยาบรรณ ผลกระทบที่มีต่อบุคคลและสังคม รวมทั้งกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
 

 
วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้นิสิตมีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เพื่อเป็นพื้นฐานการเรียนรู้ ในยุคสังคมสารสนเทศ
2. เพื่อให้นิสิตมีทักษะขั้นพื้นฐานในการใช้งานและรู้เท่าทันเทคโนโลยีสารสนเทศในชีวิตประจำวัน
3. เพื่อให้นิสิตรู้จักแหล่งข้อมูลและสารสนเทศ วิธีการค้นหา การประเมิน และนำสารสนเทศไปใช้ได้อย่างเหมาะสม และมีประสิทธิภาพ โดยเห็นคุณค่าของสารสนเทศที่มีต่อตนเองและสังคม
4. เพื่อให้สามารถนำเสนอสารสนเทศด้วยวิธีการและรูปแบบที่ถูกต้องได้อย่างเหมาะสม
5. เพื่อให้นิสิตตระหนักถึงจรรยาบรรณในการใช้สารสนเทศและเทคโนโลยีสารสนเทศ
 
การประเมินผลการเรียน
- การมีส่วนร่วม (คะแนนจิตพิสัย) 10 %
- แบบฝึกหัด 5 %
- งานมอบหมาย 15 %
- สอบกลางภาค 25 %
- โครงงาน 25 %
- สอบปลายภาค 20 %
 
เกณฑ์การพิจารณาตัดเกรด
A = มากกว่าหรือเท่ากับ 80 %
B+= มากกว่าหรือเท่ากับ 75 % และ น้อยกว่า 80 %
B = มากกว่าหรือเท่ากับ 70 % และ น้อยกว่า 75 %
C+ มากกว่าหรือเท่ากับ 65 % และ น้อยกว่า 70 %
C มากกว่าหรือเท่ากับ 60 % และ น้อยกว่า 65 %
D+ = มากกว่าหรือเท่ากับ 55 % และ น้อยกว่า 60 %
D = มากกว่าหรือเท่ากับ 50 % และ น้อยกว่า 55 %
E= น้อยกว่า 50 %
 
เอกสารและสื่อที่ใช้ประกอบการสอน
(1) คณาจารย์ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์. (2548). ทักษะการรู้สารสนเทศ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
(2) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์. (2552). การค้นคว้าและการเขียนรายงาน. กรุงเทพฯ: โครงการเผยแพร่ผลงานวิชาการ คณะอักษรศาสตร์.
ธาดาศักดิ์ วชิรปรีชาพงษ์. (2548). การเขียนรายงานและการใช้ห้องสมุด. กรุงเทพฯ: บิสซิเนสเวิลด์.
(3) พูลสุขเอก ไทยเจริญ. (2551). การเขียนรายงานการค้นคว้า: พร้อมตัวอย่างรายงานและภาคนิพนธ์. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
(4) มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. สำนักนวัตกรรมการเรียนรู้. (2554). SWU141 ทักษะการรู้สารสนเทศ: SWU Courseware. สืบค้นเมื่อ 4 พฤษภาคม 2554, จาก http://course.swu.ac.th/login.php
สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. (2552). แนวการสืบค้นฐานข้อมูลออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 4 พฤษภาคม 2554, จาก http://lib.swu.ac.th/data_thailis.php
(5) _______. (2552). บทเรียนการสืบค้น OPAC. สืบค้นเมื่อ 4 พฤษภาคม 2554, จาก http://lib.swu.ac.th/opac
(6) _______. (2552). โปรแกรม EndNote. สืบค้นเมื่อ 4 พฤษภาคม 2554, จาก http://lib.swu.ac.th/index.php?option= com_content&task=view&id=72&Itemid=0
อรทัย วารีสอาด. (2550). เทคนิคการสืบค้นทรัพยากรสารสนเทศห้องสมุดในยุคดิจิทัล. กรุงเทพฯ: ภาควิชา(7) บรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
(8) _______. (2551, มกราคม-มิถุนายน). โปรแกรมจัดการบรรณานุกรมกับการสืบค้นและถ่ายโอนข้อมูลจากฐานข้อมูลทรัพยากรสารสนเทศห้องสมุดในยุคดิจิทัล. วารสารห้องสมุด. 52(1): 45-58.
โอเลี่ยรี่, ทิโมที เจ; โอเลียรี่ ลินดา ไอ; และ ยาใจ โรจนวงศ์ชัย. (2552). คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศสมัยใหม่. กรุงเทพฯ: แมคกรอ-ฮิล.
(9) Smith, Alastair. (2005). Criteria for evaluation of Internet Information Resources. Retrieved May 4, 2011 from http://www.vuw.ac.nz/staff/alastair_smith/evaln
(10) University of Southern Maine. (2009). Checklist for Evaluating Web Resources. Retrieved May 4, 2011 from http://library.usm.maine.edu/research/researchguides/webeval.php?ID=0
 


ClassStart ให้บริการฟรีโดย บริษัท ปิยะวัฒนา จำกัด
เราเป็นกิจการเพื่อสังคม (Social Enterprise)
สนับสนุนโดย
ผู้ไม่ประสงค์ออกนามท่านหนึ่ง (2563-2566)
มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์ (2561-2563)
กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (2557-2558)
กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (2557)
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (2554-2558)
GotoKnow
ClassStart Books