CM 7012 Innovative Public Relations Planning and Campaign


ผู้สอน
อาจารย์ ดร. จอย ทองกล่อมสี
เข้าสู่ระบบเมื่อ เกือบ 7 ปี ที่แล้ว

ชื่อวิชา
CM 7012 Innovative Public Relations Planning and Campaign

รหัสวิชา
9653

สถานศึกษา
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) NIDA

คำอธิบายวิชา

รายละเอียดของรายวิชา

ชื่อสถาบันอุดมศึกษา

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

คณะ/สาขาวิชา

คณะนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการ  สาขาวิชานิเทศศาสตร์และนวัตกรรม

หมวดที่ 1 ข้อมูลทั่วไป

1. รหัสและชื่อรายวิชา 

นน 7012 การวางแผนนวัตกรรมการรณรงค์ทางการประชาสัมพันธ์

CM 7012 Innovative Public Relations Planning and Campaign

2. จำนวนหน่วยกิต

3 หน่วยกิต 

3. หลักสูตรและประเภทของรายวิชา

หลักสูตร

ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานิเทศศาสตร์และนวัตกรรม

วิชา

หมวดวิชาหลัก

4.อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชาและอาจารย์ผู้สอน

    อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชา 

อาจารย์ ดร. พรพรรณ ประจักษ์เนตร 

อาจารย์ผู้สอน

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พนม คลี่ฉายา

  อาจารย์ ดร.จอย ทองกล่อมสี

5. ภาคการศึกษาและชั้นปีที่เรียน 

ภาคการศึกษาที่ 1  ชั้นปีที่ 2ปีการศึกษา 2556

6. รายวิชาที่ต้องเรียนมาก่อน (ถ้ามี)

ไม่มี

7. รายวิชาที่ต้องเรียนพร้อมกัน (ถ้ามี)

ไม่มี

8. สถานที่เรียน

คณะนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

9. วันที่จัดทำหรือปรับปรุงรายละเอียดของรายวิชา (นน. มคอ. 3) ครั้งล่าสุด

วันที่ 1 กรกฎาคม 2556

หมวดที่ 2 จุดมุ่งหมายและวัตถุประสงค์

1.จุดมุ่งหมายของรายวิชา

  1. เพื่อให้ผู้เรียนสามารถ ประยุกต์ใช้นวัตกรรมบูรณาการ เพื่อการวางแผนการรณรงค์ทางการ

  ประชาสัมพันธ์ได้

  2. เพื่อให้ผู้เรียน เกิดทักษะในการนำความรู้ด้านระเบียบวิธีวิจัยมาใช้เพื่อพัฒนาแผนการรณรงค์ทางการ

  ประชาสัมพันธ์ได้อย่างเหมาะสม

  3. เพื่อให้ผู้เรียน สามารถคิด วิเคราะห์ และจัดทำแผนการรณรงค์ทางการประชาสัมพันธ์ ให้กับองค์กร

  ภาครัฐและภาคเอกชน ได้อย่างเหมาะสม

  4.เพื่อให้ผู้เรียนสามารถวิเคราะห์ วิจารณ์ แผนงานการประชาสัมพันธ์ ขององค์กรภาครัฐ และภาคเอกชน

  ได้อย่างเหมาะสม

2. วัตถุประสงค์ในการพัฒนา/ปรับปรุงรายวิชา

เพื่อให้นักศึกษาได้ศึกษาในรายวิชาที่สอดคล้องกับหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานิเทศศาสตร์และนวัตกรรม ซึ่งเป็นหลักสูตรที่มุ่งการบูรณาการและประยุกต์ นวัตกรรม แนวคิด เทคโนโลยีสมัยใหม่ทางด้านการสื่อสารกับงานด้านอื่นๆทั้งการตลาด สารสนเทศ การประชาสัมพันธ์ การโฆษณาและการพัฒนา ทั้งในภาครัฐและเอกชน ภายใต้กรอบจริยธรรม และความรับผิดชอบต่อสังคม

หมวดที่ 3 ลักษณะรายวิชาและการดำเนินการ

1.คำอธิบายรายวิชา

นวัตกรรมของขั้นตอน และองค์ประกอบของการพัฒนาแผนประชาสัมพันธ์เชิงกลยุทธ์ และการรณรงค์ทางการประชาสัมพันธ์ ตลอดจนการเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน เรียนรู้นวัตกรรมของกลยุทธ์การวางแผนประชาสัมพันธ์ประเภทต่างๆ เช่น การบริหารประเด็น และการจัดการภาวะวิกฤติ การประชาสัมพันธ์การตลาด การเสริมสร้างภาพลักษณ์ เทคนิคการวิเคราะห์สถานการณ์ การกำหนดพันธกิจ ค่านิยม และกลยุทธ์ตลอดจนการประยุกต์ปฏิบัติ วิธีการวิจัยเพื่อวิเคราะห์กลุ่มเป้าหมาย กำหนดกลุ่มเป้าหมาย การกำหนดวัตถุประสงค์การสื่อสาร การพัฒนาข่าวสารหลัก คำขวัญ ตัวนำโชค (Mascot) การกำหนดกลยุทธ์และกลวิธี การวางแผนสื่อ กิจกรรมเพื่อการประชาสัมพันธ์และการประเมินผล

2. จำนวนชั่วโมงที่ใช้ต่อภาคการศึกษา

บรรยาย

สอนเสริม

การฝึกปฏิบัติ/งานภาคสนาม/การฝึกงาน

การศึกษาด้วยตนเอง

45 ชั่วโมง

(3 ชั่วโมง x 15 สัปดาห์)

-

-

-

3. จำนวนชั่วโมงต่อสัปดาห์ที่อาจารย์ผู้สอนจะให้คำปรึกษาและแนะนำทางวิชาการแก่นักศึกษาเป็นรายบุคคล

-  อาจารย์ผู้สอนจัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่มตามความต้องการ 3 ชั่วโมง ต่อสัปดาห์

-  อาจารย์ผู้สอนประกาศวันและเวลาให้คำปรึกษาให้นักศึกษาทราบโดยการประกาศในบอร์ดประชาสัมพันธ์

หมวดที่ 4 การพัฒนาผลการเรียนรู้ของนักศึกษา

1. คุณธรรม จริยธรรม

1.1

คุณธรรม จริยธรรมที่ต้องพัฒนา

(1)

ตระหนักถึงคุณธรรม จริยธรรมในวิชาชีพนักประชาสัมพันธ์ มีความซื่อสัตย์ ยุติธรรม ชัดเจน และสอดคล้องกับค่านิยมอันดีงามของสังคม

(2)

มีจิตสำนึกรับผิดชอบต่อสังคมและตระหนักในการปฏิบัติตามจรรยาบรรณในการประกอบอาชีพที่เกี่ยวข้องกับงานด้านประชาสัมพันธ์

(3)

มีวินัย ตรงเวลา มีความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม และมีจิตสาธารณะ

1.2

วิธีการสอน

1.  สอดแทรกประสบการณ์และเหตุการณ์จริงที่เกิดขึ้นที่เกี่ยวกับคุณธรรม จริยธรรมในวิชาชีพนักประชาสัมพันธ์ ระหว่างการเรียนการสอน

2.  อภิปรายกรณีศึกษา และแสดงความคิดเห็นร่วมกันในชั้นเรียน

1.3

วิธีการประเมินผล

1.  ประเมินจากการตรงเวลาของนักศึกษาในการเข้าชั้นเรียน การส่งงานตามกำหนดระยะเวลาที่มอบหมาย

2.  ประเมินจากความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย

3.  ประเมินจากทัศนคติ ในการแสดงความคิดเห็นต่อบริบท ด้านคุณธรรม จริยธรรม ในวิชาชีพ

2.  ด้านความรู้

2.1

ความรู้ที่ต้องได้รับ

(1)

มีความรู้ความเข้าใจอย่างถ่องแท้ในหลักการ ทฤษฎี แนวคิด และเนื้อหาสาระหลัก ของการวางแผนนวัตกรรมการรณรงค์ทางการประชาสัมพันธ์

(2)

สามารถบูรณาการความรู้ เกี่ยวกับการวางแผนนวัตกรรมการรณรงค์ทางการประชาสัมพันธ์ มาบูรณาการประยุกต์ในการศึกษาค้นคว้าทางวิชาการ หรือการปฏิบัติในวิชาชีพทางด้านนิเทศศาสตร์

(3)

สามารถติดตามความก้าวหน้าเกี่ยวกับ แผนนวัตกรรมการรณรงค์ทางการประชาสัมพันธ์ขององค์กร และวิเคราะห์เชื่อมโยงกับทฤษฎีทางด้านนิเทศศาสตร์ และนวัตกรรมการสื่อสารได้อย่างเหมาะสม

(4)

มีความรู้ สามารถวิเคราะห์ เหตุผล ประเด็นปัญหา ผลกระทบ หรือความเปลี่ยนแปลงใดใด ในแผนนวัตกรรมการรณรงค์ทางการประชาสัมพันธ์ ที่มีผลกระทบต่อกี่ประกอบวิชาชีพ และตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลง นั้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ

2.2

วิธีการสอน

1.  บรรยายและให้ทำแบบฝึกหัด หรือให้อภิปราย วิเคราะห์กรณีศึกษาร่วมกัน

2.  ให้ผู้เรียนค้นคว้าด้วยตัวเอง ทำรายงาน

3.  นำเสนอรายงานและวิเคราะห์วิจารณ์ร่วมกัน

2.3

วิธีการประเมินผล

1.  การสอบกลางภาคเรียนและปลายภาคเรียน

2.  ประเมินจากรายงานที่นักศึกษาจัดทำ

3.  ประเมินจากการแสดงความคิดเห็น ที่มีต่อกรณีศึกษา

4.  ประเมินจากการนำเสนอรายงาน หรือโครงงานในชั้นเรียน

3.ด้านทักษะทางปัญญา

3.1

ทักษะทางปัญญาที่ต้องพัฒนา

(1)

สามารถแสดงออกถึงการมีความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์ ในการพัฒนา นวัตกรรมการรณรงค์ทางการประชาสัมพันธ์ มีความคิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ และมีเหตุผลในทางวิชาการ และวิชาชีพด้านนิเทศศาสตร์

(2)

สามารถสังเคราะห์ และประยุกต์ใช้ความรู้จากแหล่งต่างๆ ที่หลากหลายในการบริหารงานอย่างมีประสิทธิภาพ และเหมาะสม

(3)

สามารถวางแผนและพัฒนาโครงการวิจัย โดยการบูรณาการจากความรู้ด้านนิเทศศาสตร์และ นวัตกรรมการสื่อสาร ทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ เพื่อการนำไปสู่การขยายองค์ความรู้สร้างสรรค์นวัตกรรมและการประยุกต์ปฏิบัติ

3.2

วิธีการสอน

1.  บรรยาย อภิปรายเกี่ยวกับ หลักการและแนวทางที่จะได้มาซึ่งการวางแผนนวัตกรรมการรณรงค์ทางการประชาสัมพันธ์

2.  การสัมมนาและการอภิปรายแสดงความคิดเห็น รายบุคคล

3.  การวิเคราะห์ การสังเคราะห์

4.  การทำรายงานเกี่ยวกับนวัตกรรมการรณรงค์ทางการประชาสัมพันธ์

3.3

วิธีการประเมินผล

การประเมินผลงาน การวิเคราะห์กรณีปัญหา และการมีส่วนร่วมในการอภิปรายรายกลุ่ม และรายบุคคล การทำงานกลุ่มนักศึกษา การแสดงความคิดเห็นในชั้นเรียน การนำเสนอรายงาน การนำเสนอรายงาน หรือการนำเสนอผลงาน ในรูปแบบต่างๆ ที่แสดงถึงการสร้างนวัตกรรมเพื่อการพัฒนางานประชาสัมพันธ์

4.  ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ

4.1

ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบที่ต้องพัฒนา

(1)

มีภาวะผู้นำ มนุษยสัมพันธ์ สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นในฐานะผู้นำ และสมาชิกที่ดีของกลุ่ม

(2)

มีความรับผิดชอบในงานที่ได้รับมอบหมาย ทั้งงานที่เป็นทีม และงานรายบุคคล

(3)

สามารถวางแผนและรับผิดชอบในการพัฒนาสมรรถนะในการปฏิบัติงานของตนให้มีประสิทธิภาพสูง รวมทั้งพัฒนาการเรียนรู้ของตนเอง และทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง

(4)

สามารถปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ และวัฒนธรรมองค์กร

4.2

วิธีการสอน

1.  สอดแทรกประสบการณ์และเหตุการณ์จริงที่เกิดขึ้นที่เกี่ยวกับการสื่อสารเพื่อสร้างสัมพันธภาพระหว่างบุคคลในสังคม ที่แตกต่าง

2.  อภิปรายกรณีศึกษาร่วมกันในชั้นเรียน

3.  ให้ผู้เรียนมีการทำงานกลุ่ม

4.3

วิธีการประเมินผล

ประเมินด้วยการสังเกตพฤติกรรม และประเมินจากความรับผิดชอบในการทำงานที่ได้รับมอบหมาย การทำงานเป็นทีมร่วมกับผู้อื่นในการอภิปราย นำเสนอรายงานกลุ่มในชั้นเรียน สังเกตุพฤติกรรมสัมพันธภาพระหว่างบุคคลของนักศึกษาแต่ละคน

5.  ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

5.1

ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่ต้องพัฒนา

(1)

มีความสามารถในการสื่อสารภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ทั้งการพูดและเขียน และสามารถเลือกรูปแบบการสื่อสารได้อย่างเหมาะสม

(2)

มีทักษะและความสามารถในการเขียนเชิงวิชาการ

(3)

สามารถประยุกต์ความรู้ทางการวิเคราะห์เชิงปริมาณและสถิติเพื่อนำมาใช้ในการวิจัย ค้นคว้า วิเคราะห์ สรุป และอภิปรายผล ตลอดจนการนำเสนอได้อย่างเหมาะสม

(4)

มีทักษะในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ในการสื่อสาร สืบค้น และนำเสนอข้อมูลหรือผลงานทางวิชาการและวิชาชีพอย่างเหมาะสม และเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ

5.2

วิธีการสอน

1.  บรรยายแนะนำ การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ที่เหมาะสม หรือให้อภิปรายกรณีศึกษาร่วมกัน

2.  ให้ผู้เรียนค้นคว้าด้วยตัวเอง และทำรายงาน

3.  นำเสนอรายงาน

5.3

วิธีการประเมินผล

ประเมินจากความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการอภิปราย การแสดงความคิดเห็น การเขียนรายงาน บทความวิชาการ การอ้างอิงเอกสาร ฐานข้อมูล บทความทางวิชาการ รวมทั้งการนำเสนอผลงานวิชาการในชั้นเรียน และในการประชุมวิชาการต่างๆ 

หมวดที่ 5 แผนการสอนและการประเมินผล

1. แผนการสอน

สัปดาห์ที

หัวข้อ/รายละเอียด

จำนวนชั่วโมง

กิจกรรมการเรียนการสอนสื่อที่ใช้(ถ้ามี)

ผู้สอน

1

- แนะนำรายวิชา

- แนวคิด ความหมาย ความสำคัญ ลักษณะเฉพาะของนวัตกรรมการรณรงค์ทางการประชาสัมพันธ์

- บทบาทหน้าที่ของนักประชาสัมพันธ์ในการรณรงค์ทางการประชาสัมพันธ์

3

- การบรรยาย ร่วมกับการแสดงความคิดเห็น

- การมอบหมายงานวิเคราะห์โครงการรณรงค์ด้านการประชาสัมพันธ์

ผศ.ดร.พนม  คลี่ฉายา

2

- ประเภทการดำเนินงานและปัจจัยสนับสนุนความสำเร็จของการรณรงค์ทางการประชาสัมพันธ์

3

- การบรรยาย

- การนำเสนองาน และร่วมกันแสดงความรู้ แสดงความคิดเห็นเชิงวิเคราะห์

ผศ.ดร.พนม  คลี่ฉายา

3

- แนวคิดและหลักการวางแผนเชิงกลยุทธ์ ระบบสารสนเทศเพื่อการวางแผน ที่มาของการวางแผนองค์ประกอบของแผน เชื่อมโยงเข้าสู่การวางแผนประชาสัมพันธ์เชิงกลยุทธ์

3

บรรยาย

ผศ.ดร.พนม  คลี่ฉายา

4

-กระบวนการและขั้นตอนการวางวางแผนการรณรงค์ทางการประชาสัมพันธ์

3

บรรยาย

ผศ.ดร.พนม  คลี่ฉายา

5

- นวัตกรรมสื่อและกลวิธีการณรงค์ทางการประชาสัมพันธ์

3

บรรยายและอภิปรายกรณีศึกษา

ผศ.ดร.พนม  คลี่ฉายา

6

- การพัฒนาข่าวสาร คำขวัญ ตัวนำโชค (Mascot) สำหรับโครงการรณรงค์ทางการประชาสัมพันธ์

3

บรรยาย กรณีศึกษา

ผศ.ดร.พนม  คลี่ฉายา

7

- การจัดทำตารางการดำเนินงาน งบประมาณ และการประเมินผลโครงการรณรงค์ทางด้านการประชาสัมพันธ์

3

บรรยาย  กรณีศึกษา

ผศ.ดร.พนม  คลี่ฉายา

8

- หลักการรณรงค์ทางการประชาสัมพันธ์ ตามแนวคิดการมีส่วนร่วม

3

บรรยาย  กรณีศึกษา

อ.ดร.จอย ทองกล่อมสี

9

-กระบวนการดำเนินงานวิจัยทางนิเทศศาสตร์ เพื่อการพัฒนาสังคม(แนวทาง,ปัญหา,ตลอดจนการจัดการงานวิจัยอย่างมีประสิทธิภาพ)

3

บรรยาย กรณีศึกษา

อ.ดร.จอย  ทองกล่อมสี

10

- การบริหารโครงการสถานการณ์

บรรยาย  กรณีศึกษา

อ.ดร.จอย  ทองกล่อมสี

11

- การบูรณการการวิจัยเพื่อการรณรงค์ทางการประชาสัมพันธ์ การวิเคราะห์สถานการณ์ วิเคราะห์กลุ่มเป้าหมาย และการกำหนดกลุ่มเป้าหมาย

3

การนำเสนอกรณีศึกษาและการอภิปราย

อ.ดร.จอย  ทองกล่อมสี

12

กรณีศึกษา : โครงการรณรงค์ทางการประชาสัมพันธ์เพื่อสนับสนุนการตลาด

3

การนำเสนอกรณีศึกษาและการอภิปราย

อ.ดร.จอย ทองกล่อมสี

13

กรณีศึกษา : โครงการรณรงค์ทางการประชาสัมพันธ์เพื่อสนับสนุนการสื่อสารกับสาธารณชน

3

การนำเสนอกรณีศึกษาและการอภิปราย

อ.ดร.จอย  ทองกล่อมสี

14

นำเสนอรายงาน / ผลงาน

3

นำเสนอและวิเคราะห์

วิจารณ์

อ.ดร.จอย  ทองกล่อมสี

15

นำเสนอรายงาน / ผลงาน

3

นำเสนอและวิเคราะห์

วิจารณ์

ผศ.ดร.พนม  คลี่ฉายา

2. แผนการประเมินผลการเรียนรู้

ผลการเรียนรู้

วิธีการประเมิน

สัปดาห์ที่ประเมิน

สัดส่วนของการประเมิน (%)

1.1(1) (2)(3)

2.1(1)(2)(3)(4)

3.1(1)(2)

1.การตรงต่อเวลา การมีวินัย และการมีจิตสำนึก ในการอยู่ร่วมกันในชั้นเรียน

2.ความคิดเห็นในการวิเคราะห์กรณีศึกษา

1,2,3,4,5,6,7,8,10,

11,12,13,14,15

20%

2.1(1)(2)(3)(4)

3.1(1)(2)(3)

4.1(1)(2)(3)(4)

3.นำเสนอรายงานกรณีศึกษา

4.นำเสนอรายงานโครงการรณรงค์

11,12,13

14,15

20%

30 %

2.1(1) (2) (3)(4)

6.สอบปลายภาค

16

30%

หมวดที่ 6 ทรัพยากรประกอบการเรียนการสอน

1.  ตำราและเอกสารหลัก

  1.1 เอกสารประกอบการสอน รวบรวมโดย ผศ.ดร.พนม  คลี่ฉายา และ อ.ดร.จอย  ทองกล่อมสี

  1.2  จิตราภรณ์ สุทธิวรเศรษฐ์. ยุทธวิธีการประชาสัมพันธ์. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์

  มหาวิทยาลัย, 2544.

  1.3 Gregory, Anne. Planning and Managing Public Relations Campaign. 2nd edition. UK: Kogan Page,

  2006.

  1.4 Kendall, Robert. Public Relations Campaign Strategies: Planning forImplementation. 2nd edition.

  USA: HarperCollins, 1996.

  1.5 Matera, Fran and Artigue, Ray. Public Relations Campaigns and Techniques:Building Bridges

  into the 21st Century. USA: Allyn and Bacon, 2000.

  1.6 Newsom, Doug, Turk, Judy and Kruckeberg, Dean. This is PR: The Reality of Public Relations. 8th

  edition. Canada: Wadsworth, 2004.

2. เอกสารและข้อมูลสำคัญ(หนังสือ  วารสาร เว็บไซต์ และเอกสารอื่นๆที่นักศึกษาจำเป็นต้องอ่านเพิ่มเติม)

  2.1 กรรณิการ์ อัศวดรเดชา. สื่อและเครื่องมือเพื่อการประชาสัมพันธ์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่ง

  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544.

  2.2  วิรัช ลภิรัตนกุล. การประชาสัมพันธ์ พิมพ์ครั้งที่ 12. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2553

3. เอกสารและข้อมูลแนะนำ (หนังสือ  วารสาร เว็บไซต์ และเอกสารอื่นๆที่นักศึกษาควรอ่านเพิ่มเติม)

  3.1 พรทิพย์ พิมลสินธุ์. การวิจัยเพื่อการประชาสัมพันธ์. กรุงเทพฯ :มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. 2551

  3.2 เสรี วงษ์มณฑา. สื่อประชาสัมพันธ์. กรุงเทพฯ: ธนธัชการพิมพ์, 2546.

  3.3 เสกสรร สายสีสด. หลักการโฆษณาและการประชาสัมพันธ์ กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช. 2542.

  3.4  อนันต์  เกตุวงศ์.  หลักและเทคนิคการวางแผน.  พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ  : สำนักพิมพ์

  มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2539.

  3.5 http://www.nia.or.th/

หมวดที่ 7 การประเมินและปรับปรุงการดำเนินการของรายวิชา

1. กลยุทธ์การประเมินประสิทธิผลของรายวิชาโดยนักศึกษา

1.  นักศึกษาประเมินการประสิทธิผลของรายวิชา โดยระบบการประเมินออนไลน์ของสถาบัน

2. กลยุทธ์การประเมินการสอน

1.  นักศึกษาประเมินการสอน โดยระบบการประเมินออนไลน์ของสถาบัน

2.  การรับฟังความคิดเห็นหรือข้อเสนอแนะของนักศึกษา

3. การปรับปรุงการสอน

1.  การจัดหาตัวอย่าง กรณีศึกษาที่เกิดขึ้นจริงในสังคมในขณะนั้นมาประกอบการสอน

2.  ใช้ตัวอย่างผลงานนักศึกษา เป็นตัวอย่างให้ นักศึกษารุ่นต่อไปดู

4. การทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาในรายวิชา

1.  นักศึกษาประเมินการเรียนการสอนในระดับรายวิชา

2.  คณะกรรมการบริหารหลักสูตรพิจารณาผลการสอน และให้ข้อเสนอแนะ

3.  รายงานผู้บริหารเพื่อนำผลการประเมินมาปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่องต่างๆ

5. การดำเนินการทบทวนและการวางแผนปรับปรุงประสิทธิผลของรายวิชา

1.  อาจารย์ผู้สอนและผู้ประสานงานรายวิชา จัดประชุมเพื่อพิจารณาประสิทธิผลของรายวิชา

2.  นำเสนอผลการพิจารณา และรับฟังความเห็น ในที่ประชุมคณะกรรมการบริหารหลักสูตร และคณบดี



ClassStart ให้บริการฟรีโดย บริษัท ปิยะวัฒนา จำกัด
เราเป็นกิจการเพื่อสังคม (Social Enterprise)
สนับสนุนโดย
ผู้ไม่ประสงค์ออกนามท่านหนึ่ง (2563-2566)
มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์ (2561-2563)
กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (2557-2558)
กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (2557)
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (2554-2558)
GotoKnow
ClassStart Books