สมาคมรังสีรักษาและมะเร็งวิทยาแห่งประเทศไทย


สมาชิกทั้งหมด: 1 · วิชาทั้งหมด: 1


ศาสตราจารย์เกียรติคุณ แพทย์หญิง พวงทอง ไกรพิบูลย์



มะเร็งกระเพาะอาหารเกิดได้อย่างไร?

สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร ที่แน่นอนยังไม่ทราบ แต่จากการศึกษาเชื่อได้ว่า น่ามาจากหลายปัจจัยร่วมกัน  เช่น


โรคมะเร็งกระเพาะอาหาร ป้องกันได้หรือไม่?

ในปัจจุบัน ยังไม่มีวิธีป้องกันการเกิดโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร  แต่ที่พอจะทำได้ คือ การหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงการเกิดโรคดังกล่าวแล้วในสาเหตุการเกิดโรค ได้แก่ การรับประทานผัก/ผลไม้ให้มากขึ้น รับประทานแต่อาหารมีประโยชน์ ในปริมาณเหมาะสม หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ และเมื่อพบมีการติดเชื้อแบคทีเรียในกระเพาะอาหาร ควรรีบรักษาให้หาย


มีวิธีตรวจให้พบโรคมะเร็งกระเพาะอาหารตั้งแต่เริ่มเป็นไหม?

ใน ปัจจุบัน ยังไม่มีวิธีตรวจที่ทำให้พบโรคมะเร็งกระเพาะอาหารตั้งแต่เริ่มเป็นโรคก่อนมี อาการ (การตรวจคัดกรอง)  ดังนั้นวิธีที่ดีที่สุด คือ เมื่อมีอาการทางกระเพาะอาหาร และดูแลตนเองแล้วไม่ดีขึ้นภายใน ๒-๓ สัปดาห์  ควรรีบปรึกษาแพทย์


โรคมะเร็งกระเพาะอาหารมีอาการอย่างไร?

ไม่ มีอาการเฉพาะของโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร แต่อาการจะเช่นเดียวกับ อาการจากโรคกระเพาะอาหารทั่วไป  ซึ่งอาการที่พบบ่อย  เช่น ปวดท้องบริเวณลิ้นปี่ เป็นมากขึ้นเรื่อยๆ ท้องอืด ท้องเฟ้อ อาหารไม่ย่อย อาหารย้อนไหลกลับหลังกินอาหาร  อาเจียนเป็นเลือด  อาจผอมลง หรือ คลำก้อนตรงบริเวณใต้ลิ้นปี่ได้


รู้ได้อย่างไรว่าเป็นโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร?

การวินิจฉัยว่า เป็นโรคมะเร็งกระเพาะอาหารเป็นเรื่องยากมาก  เพราะดังกล่าวแล้วว่า  อาการของโรคมะเร็ง เหมือนกับอาการของโรคกระเพาะอาหารทั่วไป แพทย์มักไม่สามารถให้การวินิจฉัยโรคได้จากการพบแพทย์เพียง ๑-๒ ครั้ง  การวินิจฉัยให้ได้ผลแน่นอน คือ การส่องกล้องตรวจกระเพาะอาหาร และการตัดชิ้นเนื้อที่ผิดปรกติจากกระเพาะอาหาร ตรวจทางพยาธิวิทยา เพื่อตรวจหาเนื้อเยื่อมะเร็ง  โดยทั่วไป แพทย์จะใช้ส่องกล้องตรวจ ต่อเมื่อ มีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ที่ชัดเจน กล่าวคือ ผู้ป่วยยังคงมีอาการ และอาการเป็นมากขึ้น หลังจากให้การรักษาภาวะโรคกระเพาะอาหารได้ระยะหนึ่ง ทั้งนี้ เพราะการส่องกล้อง และการตัดชิ้นเนื้อ เป็นการตรวจที่ซับซ้อน และ อาจมีผลข้างเคียง เกิดกระเพาะอาหารทะลุได้


โรคมะเร็งกระเพาะอาหารมีการแบ่งระยะโรคไหม?

โรค มะเร็งกระเพาะอาหาร มีการแบ่งระยะโรค และ แบ่งเป็นระยะย่อยๆหลายระยะ เพื่อแพทย์ใช้เป็นตัวบ่งชี้ทางการรักษา แต่สำหรับบุคคลทั่วไปเพื่อให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น จึงแบ่ง โรคมะเร็งกระเพาะอาหาร เป็น  ๔ ระยะ เช่นเดียวกับในโรคมะเร็งทั่วไป ดังนี้

ระยะที่๑  ก้อนเนื้อมะเร็งลุกลามอยู่เฉพาะในชั้นของเยื่อบุกระเพาะอาหาร

ระยะที่๒  ก้อนเนื้อมะเร็งลุกลามลงลึก อาจลงลึกถึงเนื้อเยื่อชั้นเยื่อหุ้มผนังกระเพาะอาหาร

ระยะที่๓  โรคมะเร็งลุกลามเข้าต่อมน้ำเหลือง

ระยะที่๔  โรคมะเร็งแพร่กระจายเข้า เยื่อหุ้มช่องท้อง มีน้ำมะเร็งในช่องท้อง หรือ ลุกลามเข้าอวัยวะอื่นๆในช่องท้องที่อยู่ติดกับกระเพาะอาหาร  เช่น ลำไส้ หรือ กระจายเข้ากระแสเลือด/โลหิต ไปยัง ตับ ปอด หรือ อวัยวะอื่นๆ


โรคมะเร็งกระเพาะอาหารรักษาได้อย่างไร?

การ รักษาโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร มี ๓ วิธีหลัก คือ  ผ่าตัด ยาเคมีบำบัด และ การฉายรังสีรักษา  ส่วนการรักษาด้วยยารักษาตรงเป้า ยังอยู่ในขั้นตอนของการศึกษา

  วิธีรักษาโรคมะเร็งกระเพาะอาหารที่สำคัญ คือ การผ่าตัด และภายหลังการผ่าตัด แพทย์จะตรวจชิ้นเนื้อจากก้อนมะเร็ง  และ ต่อมน้ำเหลือง เพื่อให้ทราบระยะของโรค  โดยทั่วไป 

โรคในระยะที่๑  การรักษาคือ การผ่าตัดวิธีการเดียว 

โรคระยะที่๒  มีทั้งการผ่าตัดวิธีการเดียว  การผ่าตัดร่วมกับยาเคมีบำบัด หรือ การผ่าตัด ร่วมกับยาเคมีบำบัด และ ร่วมกับการฉายรังสีรักษา  ทั้งนี้ขึ้นกับข้อบ่งชี้ถึงความรุนแรงของโรคที่ได้จากการตรวจชิ้นเนื้อทาง พยาธิวิทยา 

โรคในระยะที่ ๓  มักให้การรักษาด้วยการผ่าตัด ร่วมกับยาเคมีบำบัด และ การฉายรังสีรักษา  และ

โรคในระยะที่ ๔ เป็นระยะที่ไม่มีโอกาสรักษาได้หาย ดังนั้น การรักษาโรคระยะนี้ จึงแตกต่างกันในผู้ป่วยแต่ละคน โดยขึ้นกับ อาการ และสุขภาพของผู้ป่วยเป็นสำคัญ


โรคมะเร็งกระเพาะอาหารรักษาหายไหม?

โรค มะเร็งกระเพาะอาหาร เป็นโรคมะเร็งที่มีธรรมชาติของโรคมีความรุนแรงสูง แต่อย่างไรก้ตาม การรักษาโรคได้ตั้งแต่ในระยะแรกเป็น ทำให้มีโอกาสรักษาหายได้สูงขึ้น  โอกาสการรักษาให้หายนอกจากขึ้นกับระยะโรคแล้ว  ยังขึ้นกับสุขภาพของผู้ป่วย  อายุผู้ป่วย  โรคร่วมอื่นๆของผู้ป่วย เช่น โรคเบาหวาน เป็นต้น  ตำแหน่งที่เกิดโรคในกระเพาะอาหาร (ในทางการแพทย์ แบ่งกระเพาะอาหารเป็นหลายส่วน ซึ่งแต่ละส่วนของกระเพาะอาหาร จะมีลักษณะการลุกลามของโรคได้ต่างๆกัน)  การผ่าตัดว่าเอาก้อนมะเร็งออกได้หมดหรือไม่  และลักษณะทางพยาธิวิทยาของเนื้อมะเร็งว่า เป็นชนิดมีความรุนแรงสูงหรือไม่

  ถ้าเป็นโรคมะเร็งกระเพาะอาหารในระยะที่๑  เป็นเซลล์มะเร็งแบ่งตัวช้า ลักษณะทางพยาธิวิทยาไม่มีความรุนแรง แพทย์สามารถผ่าตัดก้อนเนื้อมะเร็งออกได้หมด และผู้ป่วยมีสุขภาพดี โอกาสหายขาดมีสูงถึง ร้อยละ ๘๐ แต่ถ้ามีโรคลุกลามเข้าต่อมน้ำเหลืองแล้ว โอกาสหายขาดประมาณร้อยละ  ๑๐-๓๐


ผลข้างเคียงจากการรักษาโรคมะเร็งกระเพาะอาหารมีอะไรบ้าง?

ผล ข้างเคียงจากการผ่าตัด ที่สำคัญ คือ เมื่อตัดกระเพาะอาหารบางส่วนออกไป หรือ บ่อยครั้งอาจต้องตัดกระเพาะอาหารออกทั้งหมด  ผู้ป่วยจึงไม่สามารถกลับมารับประทานอาหารได้เหมือนปรกติ ทั้งปริมาณและชนิดอาหาร เพราะไม่มีกระเพาะไว้ย่อยอาหารแล้ว อาหารจึงต้องเป็นอาหารอ่อน  ย่อยงาย รสจืด รับประทานครั้งละน้อยๆ แต่เพิ่มจำนวนมื้ออาหารขึ้นให้มากกว่าเดิม ซึ่งเหล่านี้ มักเป็นสาเหตุให้ผู้ป่วย มีอาการประจำตัว คือ แน่นท้อง ท้องอืด ท้องเฟ้อ และท้องผูก ได้ง่าย

  ผลข้างเคียงในระหว่างให้ยาเคมีบำบัด คือ อาการคลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร ท้องผูก หรือท้องเสียได้ง่าย  เจ็บเวลากลืน หรือ ปวดท้อง ซึ่งมีสาเหตุจากการอักเสบของเยื่อบุผนังกระเพาะอาหารที่เหลืออยู่  จากหลอดอาหาร และจากลำไส้เล็ก อันเป็นผลจากตัวยาเคมีบำบัด   อาการอ่อนเพลีย และติดเชื้อโรคได้ง่ายจากการมีเม็ดเลือดขาว ต่ำ  อาการซีดจากการมีเม็ดเลือดแดงต่ำ และ เลือดออกได้ง่ายจากการมีเกร็ดเลือดต่ำ

  ผลข้างเคียงจากการฉายรังสี คือ การเบื่ออาหาร ปวดท้อง หรือ กลืนแล้วเจ็บ ในตำแหน่งของการฉายรังสี จากการอักเสบอันเกิดจากการฉายรังสีของเยื่อบุภายในกระเพาะอาหารที่เหลืออยู่ หรือ ของหลอดอาหาร หรือของลำไส้เล็ก  มีโอกาสท้องเสียได้ง่าย  มีการอ่อนเพลีย และติดเชื้อได้ง่ายจากการมีเม็ดเลือดขาวต่ำ 


โรคมะเร็งกระเพาะอาหารติดต่อได้ไหม?

โรค มะเร็งกระเพาะอาหาร ไม่ใช่โรคติดต่อ ไม่สามารถติดต่อได้ทางการสัมผัส หรือการคลุกคลีกัน  ผู้ป่วยและครอบครัวสามารถใช้ชีวิตร่วมกันได้ตามปกติ  



ClassStart ให้บริการฟรีโดย บริษัท ปิยะวัฒนา จำกัด
เราเป็นกิจการเพื่อสังคม (Social Enterprise)
สนับสนุนโดย
ผู้ไม่ประสงค์ออกนามท่านหนึ่ง (2563-2566)
มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์ (2561-2563)
กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (2557-2558)
กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (2557)
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (2554-2558)
GotoKnow
ClassStart Books