ชั้นมัธยมศึกษาปีที่3


ผู้สอน
นาง เพ็ญศรี ใจกล้า
เข้าสู่ระบบเมื่อ ประมาณ 12 ปี ที่แล้ว

ชื่อวิชา
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่3

รหัสวิชา
1622

สถานศึกษา
โรงเรียนเชียงยืนพิทยาคม

คำอธิบายวิชา

 

หน่วยที่  ปากท้องของเรา

เรื่อง  สถาบันการเงิน การมีส่วนร่วมในกิจกรรมสหกรณ์ของโรงเรียนและเศรษฐกิจพอเพียง

 

สถาบันการเงิน

ความหมายของสถาบันการเงิน

                สถาบันการเงินเป็นองค์กรการเงินที่จัดตั้งขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชนในการจัดสรรเงินหรือเป็นองค์กรที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับธุรกิจการเงินในการให้กู้ยืมเพื่อการลงทุนหรือการบริโภคในด้านการประกอบอาชีพ  ตลอดจนการกู้ยืมเงินเพื่อการเอนกประสงค์ เช่น  กู้ยืมเงินเพื่อการศึกษา  เครดิตจ่ายล่วงหน้า(ทำหน้าที่เป็นแหล่งระดมเงินทุนจากประชาชนแล้วนำมาให้กู้ยืมเพื่อการธุรกิจหรือเพื่อการบริโภค)  ดังนั้นสถาบันการเงินจึงมีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจในประเทศอันก่อให้เกิดภาวะเศรษฐกิจคล่องตัว  ความสำคัญของสถาบันการเงินวัดได้จาก

 1.ความสามารถในการกู้เงิน 

2.ความสามารถในการระดมเงินออม

3.ยอดรวมของทรัพย์สิน

ลักษณะทางสถาบันการเงิน

1.เป็นศูนย์กลางการระดมเงิน  โดยระดมเงินจากผู้ที่มีกำลังทรัพย์ในการออม  แล้วทางสถาบันนำไปจัดการบริหารเงินโดยการให้สินเชื่อแก่ผู้ต้องการสินเชื่อ

2.เป็นสถาบันที่ทำหน้าที่ลดความเสี่ยง  โดยทำหน้าที่เสี่ยงแทนผู้ออมและผู้กู้  กล่าวคือ  จะรับภาระในการเสี่ยงแทน  เมื่อมีเหตุสุดวิสัยตามสัญญา

3.เป็นสถาบันที่สร้างสภาพคล่องทางการเงิน  โดยการให้บริการค้ำประกันตั๋วสัญญาใช้เงินหุ้นหรือหลักทรัพย์ทางการเงินบางประเภท  ทำให้สินทรัพย์มีความน่าเชื่อถือ

ประเภทของสถาบันการเงิน

สถาบันการเงินในระบบเศรษฐกิจไทย  แบ่งตามบทบาทหน้าที่เป็น  2  รูปแบบใหญ่  ๆคือธนาคารและสถาบันการเงินที่ไม่ธนาคาร

สถาบันการเงินประเภทธนาคาร

มีความสำคัญในระบบเศรษฐกิจของประเทศในด้านการระดมเงินออม  และการปล่อยสินเชื่อให้กับประชาชนภายในประเทศ  เพื่อการหมุนเวียนของเงินตราในการบริโภคและการผลิตอันสำคัญ  สถาบันการเงินประเภทธนาคารมี 2 ประเภทคือ 

      ธนาคารกลางหรือธนาคารแห่งประเทศไทย  มีหน้าที่ในการควบคุมดูแลระบบการเงินธนาคารแห่งประเทศ ไม่แสวงหากำไร  และไม่แข่งขันกับสถาบันการเงินเอกชน  มีหน้าที่ดังนี้  รักษาเสถียรภาพทางการเงินของประเทศ 

เป็นนายธนาคาร  เป็นตัวแทนและเป็นที่ปรึกษาของรัฐบาล     การออกพิมพ์และออกใช้ธนบัตร  รวมทั้งการรักษาทุนสำรองระหว่างประเทศ  เป็นตัวแทนของรัฐบาลในด้านการติดต่อกับองค์การทางการเงินระหว่างประเทศ 

ธนาคารพาณิชย์  หมายถึงธนาคารที่ประกอบธุรกิจระดมเงินออมในรูปเงินฝากต่างๆและการปล่อยสินเชื่อแก่บุคคลหรือธุรกิจต่างๆรวมทั้งการซื้อขายตั๋วแลกเงินหรือตราสารเปลี่ยนมืออื่นใดและการซื้อขายเงินตราต่างประเทศ

สถาบันการเงินประเภทไม่ใช่ธนาคาร

                สถาบันการเงินที่ไม่ใช่ธนาคาร  หมายถึง  สถาบันการเงินที่จัดตั้งขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ในการบริการด้านการเงิน  ด้านการให้กู้ยืมเพื่อนำไปลงทุนต่างๆของภาคเอกชนและเป็นแหล่งระดมเงินฝากของประชาชนและเป็นนายหน้าด้านการซื้อขายหลักทรัพย์

1บริษัทเงินทุน  เป็นสถาบันการเงินของเอกชนมีจุดมุ่งหมายในการระดมเงินฝากจากประชาชน  โดยขายตั๋วสัญญาการใช้เงิน  ครั้งละไม่ต่ำกว่า 10,000บาทและนำเงินเหล่านนี้ไปให้เอกชนกู้เงิน  เพื่อใช้ลงทุนด้านกิจการต่างๆบริษัทเงินทุนด้านกิจการต่างๆบริษัทการเงิน  มีลักษณะคล้ายกับธนาคารพาณิชย์แต่กฎหมายห้ามมิให้ซื้อขายแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศและการเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศออกหนังสือค้ำประกันอย่างธนาคารพาณิชย์ไม่ได้

2บริษัทหลักทรัพย์  เป็นสถาบันการเงินของเอกชน  ทำหนน้าที่เป็นนายหนน้าหรือตัวแทน  เพื่อซื้อขายหรือแลกเปลี่ยนหลักทรัพย์ให้แก่บุคคลอื่นในการค้าปกติโดยกระทำนอกตลาดหลักทรัพย์หรือศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์และเป็นที่ให้คำปรึกษาการลงทุนให้กับประชาชน

3บริษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย  เป็นสถาบันการเงินของเอกชนมีฐานะเหมือนบริษัทจำกัดโดยมีธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินต่างๆร่วมถือหุ้นโดยมีวัตถุประสงค์  เพื่อส่งเสริมการลงทุนและพัฒนาอุตสาหกรรมของประเทศโดยให้เอกชนกู้ยืมเงินไปลงทุน

4บริษัทประกันภัย  มีบทบาทและหน้าที่ด้านการบริการในกิจการรับประกันภัยแก่บุคคลทั่วไป  โดยรับเฉลี่ยความเสียหายแกชีวิตและทรัพย์สินของผู้เอาประกันโดยจ่ายเงินที่เอาประกันให้ในขณะที่ผู้เอาประกันจะต้องจ่ายเบี้ยประกันเป็นการตอบแทน

5โรงรับจำนำ  มีบทบาทหน้าที่คอยช่วยเหลือผู้ขาดแคลนเงินทุนในระยะสั้น  ๆโดยต้องวางทรัพย์สินค้ำประกันเงินกู้  โรงรับจำนำมีสิทธิที่จะริบทรัพย์สินที่เป็นประกัน และสามารถจำหน่ายสิ่งของหลุดจำนำแก่ประชาชนทั่วๆไป

6บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม  มีบทบาทและหน้าที่ในการรวบรวมรวมเงินทุนจากผู้มีเงินออม  และผู้ลงทุนรายย่อย  โดยออกจำหนน่ายหน่วยลงทุนในกองทุนรวมจะได้รับเงินปันผลคืนในรูปดอกเบี้ยและกำไร

7สหกรณ์คือ  การร่วมกันทำงานโดยมีวัตถุประสงค์ร่วมกัน  ลงทุนร่วมกันแบ่งผลประโยชน์ให้แก่กันพอสมควรได้แก่

สหกรณ์ออมทรัพย์  มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการออมทรัพย์และให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่สมาชิกโดยไม่คำนึงถึงกำไร  เมื่อกำไรจากการดำเนินงานจะจัดสรรเงินกำไรคืนให้กับสมาชิก

สหกรณ์การเกษตร  มีวัตถุประสงค์เพื่อหาเงินทุนที่มีดอกเบี้ยต่ำให้แก่กลุ่มเกษตรกรผู้เป็นสมาชิกเพื่อนำไปลงทุนการเกษตรและส่งเสริมความร่วมมือในหมู่คณะสมาชิก

สหกรณ์โรงเรียนมีวัตถุประสงค์คือช่วยเหลือซึ่งกันและกันโดยอาศัยหลักการประหยัด  เพื่อสร้างผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจแก่สมาชิก  ปลูกฝั่งการออม ให้แก่นักเรียน มีสาระสำคัญดังนี้

1.ผู้ร่วมลงทุนอย่างน้อย  10  คน

2.  ทุนของสหกรณ์แบ่งเป็นหน่วยย่อย  มีมูลค่าเท่ากันเรียกว่าหุ้น

3.ไม่จำกัดจำนวนทุนเรือนหุ้น

4.  มีวัตถุประสงค์ไม่แสวงหากำไร                                     5.   เป็นนิติบุคคล

6.  สมาชิกออกเสียงได้ 1 เสียง

7.  เงินปันผลจะได้ไม่เกินอัตราดอกเบี้ย  และอีกส่วนจะแบ่งตามส่วนที่สมาชิกทำกิจกรรมกับสหกรณ์

 

 
   

 

เศรษฐกิจพอเพียง

                                                           เป็นหลักปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงชี้แนะแนว

                                                           ทางการดำเนินชีวิตและการปฏิบัติตนได้ในทุกระดับ โดยเน้นการ

                                                          ปฏิบัติบนทางสายกลาง โดยยึดหลักดังนี้

 

1     ความพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ  ความพอดี  พอมีพอใช้  ประหยัด  โดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น  เช่นการผลิตและการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ

2     ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้น จะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผลโดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้องตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้น ๆ อย่างรอบคอบ

3     การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นโดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ ต่าง ๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้และไกล

4     การมีความรู้ หมายถึง  ความรอบรู้ ความรอบคอบที่จะนำความรู้เกี่ยวกับวิชาการต่าง ๆมาใช้ในการวางแผน และความระมัดระวังทุกขั้นตอน

5     การมีคุณธรรม หมายถึงความตระหนักในคุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริต  ความอดทน และขยันหมั่นเพียร มีการช่วยเหลือซึ่งกันและกันและมีความสามัคคี

การประยุกต์ใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียงสำหรับนักเรียน

1     ความพอเพียง นักเรียนต้องมีความเป็นอยู่อย่างพอประมาณ  ให้มีความพอดี  ไม่ฟุ้งเฟ้อ  ไม่ใช้จ่ายอย่างฟุ่มเฟือย  รู้จักคุณค่าของเงินรู้จักประหยัด  และรู้จักออมทรัพย์เพื่อใช้ยามขาดแคลน  รู้จักใช้บริการของสถาบันการเงินเพื่อการออมทรัพย์

2     ความมีเหตุผล นักเรียนจะกระทำการใด  ๆให้เหมาะสมกับฐานะของนักเรียน  ยึดหลักสายกลางในการดำเนินชีวิต  เพื่อให้เกิดผลดีทั้งด้านการเรียนและด้านอื่น  ๆ  กระทำการใด  ๆอย่างมีเหตุผล  เหมาะสม  ไตร่ตรองอย่างมีสติรอบคอบ  ไม่กระทำการใด  ๆให้เป็นที่เดือดร้อนแก่ตนเอง  บิดามารดา  ครอบครัวหรือเป็นภาระแก่บุคคลอื่น

3      การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว นักเรียนต้องฝึกพึ่งพาตนเองเป็นหลักก่อน  โดยทำกิจการงานให้เต็มความสามารถด้วยความอดทน  ขยันหมั่นเพียร  สิ่งใดที่เกินกำลังความสามารถต้องขอคำปรึกษา  หรือความช่วยเหลือจากบุคคลที่เป็นที่พึ่ง  และนักเรียนไว้วางใจได้  ได้แก่บิดา  มารดา  ครู  และเพื่อนสนิท  เป็นต้น

4     การมีความรู้ นักเรียน ต้องศึกษาหาความรู้รอบตัวให้มีความก้าวหน้าทางวิชาการ  ติดตามข่าวสารต่าง  ๆ  ของโรงเรียน  ชุมชน  จังหวัด  ประเทศ  ตลอดจนต่างประเทศเพื่อให้รู้การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นและผลที่อาจเกิดขึ้นและต้องใช้ความรู้อย่างระมัดระวังในการกระทำใด  ๆเพื่อป้องกันมิให้ผิดพลาด

5     การมีคุณธรรม นักเรียนจะต้องเป็นผู้มีคุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริต ต่อตนเองและผู้อื่นไม่สนับสนุนหรือส่งเสริมผู้ที่ประพฤติมิชอบ  มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ มีความสามัคคี  ให้ความร่วมมือทำกิจกรรมของโรงเรียนและชุมชนและเข้าร่วมเป็นสมาชิกของกลุ่มต่าง  ๆที่ชุมชนจัดขึ้นเพื่อฝึก  เรียนรู้  การทำงาน   ความรับผิดชอบ  ความซื่อสัตย์  ความโปร่งใสและความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน 

 


ClassStart ให้บริการฟรีโดย บริษัท ปิยะวัฒนา จำกัด
เราเป็นกิจการเพื่อสังคม (Social Enterprise)
สนับสนุนโดย
ผู้ไม่ประสงค์ออกนามท่านหนึ่ง (2563-2566)
มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์ (2561-2563)
กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (2557-2558)
กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (2557)
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (2554-2558)
GotoKnow
ClassStart Books