นวัตกรรมทางการศึกษาปฐมวัย 1


ผู้สอน
ดร. สุธากร วสุโภคิน
เข้าสู่ระบบเมื่อ ประมาณ 6 ปี ที่แล้ว

ชื่อวิชา
นวัตกรรมทางการศึกษาปฐมวัย 1

รหัสวิชา
1931

สถานศึกษา
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

คำอธิบายวิชา

รายละเอียดของรายวิชา

ชื่อสถาบันอุดมศึกษา            มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

วิทยาลัย/คณะ/ภาควิชา         คณะครุศาสตร์    แขนงวิชา       การศึกษาปฐมวัย

 หมวดที่ 1  ข้อมูลทั่วไป

 1.   รหัสและชื่อรายวิชา

     ECE3301               นวัตกรรมการศึกษาปฐมวัย

                              Innovation for Early Childhood Education                      

2.  จำนวนหน่วยกิต  5(3-4-8)

3.   หลักสูตรและประเภทของรายวิชา  หลักสูตร ครุศาสตร์บัณฑิต    ประเภท  วิชาเฉพาะด้าน

4.  อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชาและอาจารย์ผู้สอน

อาจารย์ ดร.สุธากร  วสุโภคิน             

5.   ภาคการศึกษา / ชั้นปีที่เรียน   ภาคการศึกษาที่        3/2554       ชั้นปีที่  3

6.   รายวิชาที่ต้องเรียนมาก่อน (Pre-requisite)  ไม่มี

7.   รายวิชาที่ต้องเรียนพร้อมกัน (Co-requisites)  ไม่มี

8.   สถานที่เรียน

คณะครุศาสตร์      มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

โรงเรียนร่วมพัฒนาที่มีการจัดการเรียนการสอนระดับอนุบาลศึกษา

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

9.   วันที่จัดทำหรือปรับปรุงรายละเอียดของรายวิชาครั้งล่าสุด

          วันที่  27  พฤษภาคม  พ.ศ.  2554

 หมวดที่ 2 จุดมุ่งหมายและวัตถุประสงค์

 1.   จุดมุ่งหมายของรายวิชา

เพื่อพัฒนานักศึกษาให้มีวิธีการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษาปฐมวัยมาใช้ แนวคิดใหม่ทางการศึกษาปฐมวัยและเทคโนโลยีที่ส่งเสริมการเรียนรู้

การเลือกใช้และสร้างสรรค์นวัตกรรมเทคโนโลยีและแหล่งการเรียนรู้เพื่อการพัฒนาเด็กปฐมวัย

1.       มีความรู้  ความเข้าใจเกี่ยวกับความหมาย  ความสำคัญ  แนวคิด  หลักการ  และทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรมทางการศึกษา   

2.       มีความรู้  ความเข้าใจเกี่ยวกับประโยชน์  ประเภท  และรูปแบบของนวัตกรรมทางการศึกษาปฐมวัย

3.       มีความรู้  และทักษะในการวิเคราะห์นวัตกรรมการศึกษาปฐมวัยของไทยและต่างประเทศ

4.       มีความรู้และทักษะในการนำนวัตกรรมทางการศึกษาปฐมวัยมาปรับใช้ในการจัดประสบการณ์และประเมินผลการใช้นวัตกรรม

 2.   วัตถุประสงค์ในการพัฒนา/ปรับปรุงรายวิชา

  หมวดที่ 3 ส่วนประกอบของรายวิชา

 1.   คำอธิบายรายวิชา

            ในชุดวิชานี้นักศึกษาจะได้ศึกษาเกี่ยวกับ แนวคิดใหม่ทางการศึกษาปฐมวัยและเทคโนโลยีที่ส่งเสริมการเรียนรู้ เพื่อให้นักศึกษาได้รู้และเข้าใจแนวคิดใหม่ทางการศึกษาปฐมวัยและเทคโนโลยีที่ส่งเสริมการเรียนรู้เพื่อการพัฒนาเด็กปฐมวัย สามารถเลือกใช้นวัตกรรม  เทคโนโลยี  และแหล่งเรียนรู้อื่น ๆ เพื่อการพัฒนาเด็กปฐมวัยได้อย่างเหมาะสมกับประสบการณ์การเรียนรู้ของเด็ก และได้ฝึกวิเคราะห์บริบทและจุดเน้นของแนวคิดใหม่ทางการศึกษาปฐมวัย เพื่อนำมาปรับใช้กับสภาพสังคมไทยได้อย่างเหมาะสม พร้อมทั้งได้ทดลองออกแบบ  สร้าง  ใช้ประเมินและปรับปรุง    แก้ไขนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษาปฐมวัย  นักศึกษาจะได้รับการฝึกค้นคว้าหาความรู้  การออกฝึกปฏิบัติงานภาคสนามทั้งที่เป็นงานรายบุคคลและงานกลุ่มซึ่งจะช่วยให้นักศึกษาได้เรียนรู้ถึงการยอมรับและเห็นคุณค่าของผู้อื่น  สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้

 2.   จำนวนชั่วโมงที่ใช้ต่อภาคการศึกษา     

 

บรรยาย

(ชั่วโมง)

สอนเสริม

(ชั่วโมง)

การฝึกปฏิบัติงานภาคสนาม/การฝึกงาน

(ชั่วโมง)

การศึกษาด้วยตนเอง

(ชั่วโมงต่อสัปดาห์)

30

ไม่มี

30

90

 3.   จำนวนชั่วโมงต่อสัปดาห์ที่อาจารย์ให้คำปรึกษาและแนะนำทางวิชาการแก่นักศึกษาเป็นรายบุคคล

    หมวดที่ 4  การพัฒนาผลการเรียนรู้ของนักศึกษา

การพัฒนาผลการเรียนรู้ในมาตรฐานผลการเรียนรู้แต่ละด้านที่มุ่งหวัง   มีดังต่อไปนี้

1.   คุณธรรม จริยธรรม

      1.1 คุณธรรม  จริยธรรมที่ต้องพัฒนา

       1.2 วิธีการสอน

              จะมีการสอดแทรกหรือยกตัวอย่างประกอบในขณะที่สอนเนื้อหา โดยสอดแทรกเรื่องคุณธรรม จริยธรรม  กำหนดหลักเกณฑ์ต่างๆ เช่น ให้เข้าห้องเรียนตรงเวลาและเข้าเรียนอย่างสม่ำเสมอ ให้มีความรับผิดชอบในงานที่มอบหมาย และมีความซื่อสัตย์ในการสอบ

      1.3 วิธีการประเมินผล

2.   ความรู้

      2.1 ความรู้ที่ต้องได้รับ

     2.2  วิธีการสอน

 บรรยาย  อภิปรายกลุ่ม ศึกษา ดูงานในแหล่งเรียนรู้และแหล่งข้อมูลทาง Website ต่างๆ พร้อมทั้งทำงานรายบุคคลและเป็นกลุ่ม ศึกษาตำรา  เอกสาร  สิ่งพิมพ์ด้วยตนเอง

     2.3 วิธีการประเมินผล

3.   ทักษะทางปัญญา

      3.1 ทักษะทางปัญญาที่ต้องพัฒนา

      3.2 วิธีการสอน

      3.3 วิธีการประเมินผล

 4.   ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ

      4.1 ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบที่ต้องพัฒนา

      4.2  วิธีการสอน

      4.3  วิธีการประเมินผล

 5.   ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข  การสื่อสาร  และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

      5.1 ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข  การสื่อสาร  และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่ต้องพัฒนา

     5.2 วิธีการสอน

     5.3 วิธีการประเมินผล

หมวดที่ 5  แผนการสอนและการประเมินผล

 1.   แผนการสอน

 

สัปดาห์ที่

หัวข้อ/รายละเอียด

จำนวนชั่วโมง

กิจกรรมการเรียนการสอนและสื่อที่ใช้

ผู้สอน

1-3

  1. แนวคิดใหม่ทางการศึกษาปฐมวัย
  • แนวคิดและทฤษฎีในการพัฒนาเด็กปฐมวัย
  • รูปแบบการสอนเด็กปฐมวัยตามแนวคิดของนักจิตวิทยาและนักการศึกษาปฐมวัย
  • แนวทางในการนำแนวคิดใหม่ทางการศึกษาปฐมวัยไปจัดการศึกษา

2.  เทคโนโลยีที่ส่งเสริมการเรียนรู้การพัฒนาเด็กปฐมวัย

  2.1   ศูนย์การเรียน

  2.2  คอมพิวเตอร์ช่วยสอน

  2.3  บทเรียนสำเร็จรูป

 

 

 

ทฤษฏีและปฏิบัติรวม 12 ช.ม.

  1. ด้านทฤษฎี
  • ศึกษาแนวคิดใหม่ทางการศึกษาปฐมวัย
  • ศึกษาเทคโนโลยีที่ส่งเสริมการเรียนรู้เพื่อการพัฒนาเด็กปฐมวัย

  1.3แลกเปลี่ยนความรู้ที่ได้ศึกษาระหว่างผู้เรียนเกี่ยวกับแนวคิดใหม่ทางการศึกษาปฐมวัยที่ส่งเสริมการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย

  1. ด้านการปฏิบัติ
    1. วิเคราะห์แนวคิดใหม่ทางการศึกษาปฐมวัยใหม่ทางการศึกษาปฐมวัย

  2.2  วิเคราะห์ข้อดีข้อเสียของเทคโนโลยีที่ส่งเสริมการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย

   2.3  ศึกษาแนวคิดและเทคโนโลยีที่ส่งเสริมการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยในรูปแบบต่าง ๆ

  1. การศึกษาด้วยตนเอง
    1. สืบค้นข้อมูลทางเว็บไซต์ทางการศึกษาเกี่ยวกับแนวคิดใหม่และเทคโนโลยีของปฐมวัย   เช่น www.yahoo.com

   3.2   ศึกษาเอกสาร ตำรา  บทความ  เกี่ยวกับแนวคิดใหม่ทางการศึกษาปฐมวัยและเทคโนโลยีที่ส่งเสริมการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย

  1. ศึกษาจากสื่ออิเล็กทรอนิกส์

 

อ.สุธากร  

วสุโภคิน

 

4-6

1.สภาพแวดล้อมและบริบทของสังคมไทยที่เกี่ยวข้องกับเด็กปฐมวัย

  1.1   แนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการสำรวจและวิเคราะห์สภาพแวดล้อมและบริบทเด็กปฐมวัยของสังคมไทย

 1.2  แนวทางการประยุกต์ใช้แนวคิดใหม่ทางการศึกษาปฐมวัยในบริบทของสังคมไทย

1.3  จุดเน้นของแนวคิดใหม่ทางการศึกษาปฐมวัย

ทฤษฏีและปฏิบัติรวม 12 ช.ม.

1.  ด้านทฤษฏี

ศึกษาสภาพแวดล้อมและบริบทของสังคมไทยที่เกี่ยวข้องกับเด็กปฐมวัย

  1.2   แลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างผู้เรียนเกี่ยวกับการนำเสนอแนวคิดใหม่ทางการศึกษาปฐมวัยมาใช้อย่างเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมและบริบทของสังคมไทย

2. ด้านการปฏิบัติ

  1. ตรวจสอบความ

ถูกต้องที่เป็นข้อเท็จจริง

ของจุดแข็งจุดอ่อนของสภาพแวดล้อมและบริบทเด็กปฐมวัยของสังคมไทย

  1. ศึกษาลักษณะ

สภาพแวดล้อมและบริบทของสังคมไทยที่เกี่ยวข้องกับเด็กปฐมวัยตามสภาพจริงของแต่ละท้องถิ่น

  1. วิเคราะห์ความเป็นไป

ได้ของการนำแนวคิดใหม่ทางการศึกษาปฐมวัยมาใช้กับสภาพแวดล้อมกับบริบทของสังคม

 2.4  ทำแผนที่ความคิดจุดเน้นของแนวคิดใหม่ทางการศึกษาของปฐมวัย

3.  การศึกษาด้วยตนเอง

  3.1  ศึกษาเอกสารสิ่งพิมพ์ตำรา  บทความ  ที่เกี่ยวข้องกับสภาพแวดล้อมและบริบทของสังคมไทย

  3.2  ศึกษาสืบค้นข้อมูลทางเว็บไซต์และสื่ออิเล็กทรอนิกส์

 

 

7-9

  1. แนวคิดและทฤษฎีการพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษาปฐมวัย

1.1  แนวคิดและทฤษฎี

1.2 รูปแบบของการพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษาปฐมวัย

  1. หลักการออกแบบ

และสร้างนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษาปฐมวัย

ทฤษฏีและปฏิบัติรวม 12 ช.ม.

1. ด้านทฤษฎี

1.1   ศึกษาแนวคิดและทฤษฎีการพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษาปฐมวัย

1.2   แลกเปลี่ยนความรู้ที่ได้ศึกษาระหว่างผู้เรียนเกี่ยวกับการพัฒนา ปรับปรุงแก้ไข เพื่อพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษาปฐมวัย

2. ด้านการปฏิบัติ

  2.1  ตรวจสอบประเด็นของความคิดทฤษฏีการพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษาปฐมวัย

2.2  วิเคราะห์จุดเด่นจุดด้อยในการพัฒนาและปรับปรุงแก้ไข

2.3  ออกแบบสร้างและใช้นวัตกรรมใหม่เพื่อนำมาปรับปรุงแก้ไขการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย

2.4  พัฒนานวัตกรรมใหม่ เพื่อนำมาปรับปรุงแก้ไขการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย

 2.5  ประเมินและปรับปรุงนวัตกรรมใหม่เพื่อนำมาปรับปรุงแก้ไขการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย

3.การศึกษาด้วยตนเอง

 3.1  ศึกษาเอกสารสิ่งพิมพ์ตำรา  บทความที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษาปฐมวัย

  3.2   ศึกษาสืบค้นข้อมูลทางเว็บไซต์และสื่ออิเลคทรอนิกส์

 

 

10-12

1.  หลักการเลือกใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษาปฐมวัย

2. แนวคิดการเลือกใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษาปฐมวัยไปใช้

3. แหล่งการเรียนรู้กับการพัฒนาการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย

3.1  ชุมชน+ท้องถิ่น

3.2  ผู้นำในชุมชน

3.3  สถานที่สำคัญ

ทฤษฏีและปฏิบัติรวม 12 ช.ม.

1.  ด้านทฤษฎี

1.1 ศึกษาหลักการเลือกใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษาปฐมวัย

1.2  ศึกษากรอบประสบการณ์ข้อดีของแหล่งการเรียนรู้เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย

แลกเปลี่ยนความรู้ที่ได้ศึกษาระหว่างผู้เรียนเกี่ยวกับการเลือกใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษาปฐมวัยกับแหล่งการเรียนรู้

2.  ด้านการปฏิบัติ

2.1  ฝึกใช้เทคโนโลยีทางการศึกษาปฐมวัยอย่างง่ายในรูปแบบการนำเสนอผลงาน  เช่นการใช้เครื่องเสียง  การใช้วีดีทัศน์ ,การใช้เครื่องเล่นซีดี เป็นต้น

2.2  สำรวจแหล่งการเรียนรู้ในชุมชนเพื่อใช้พัฒนาการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย

2.3  สรุปข้อดีและข้อด้อยของแหล่งเรียนรู้ในชุมชน

3.  การศึกษาด้วยตนเอง

3.1 ศึกษาเอกสารตำรา สิ่งพิมพ์ บทความที่เกี่ยวข้องกับการเลือกใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษาปฐมวัย

3.2 ศึกษาเอกสารที่เกี่ยวกับแหล่งการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย

3.3 ศึกษาจากสื่ออิเล็กทรอนิกส์

 

 

 

13-15

 

1.  การพัฒนาทีมงาน

2.  มนุษย์สัมพันธ์ใน

3.   การพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษาปฐมวัย

ทฤษฏีและปฏิบัติรวม 12 ช.ม.

1.  ด้านทฤษฏี

     1.1  ศึกษาการพัฒนาทีมงานในการพัฒนานวัตกรรมทางการศึกษา

     1.2  ศึกษามนุษย์สัมพันธ์ในการทำงานเพื่อพัฒนานวัตกรรมทางการศึกษา

     1.3  แลกเปลี่ยนความรู้และความคิดเห็นระหว่างผู้เรียนเกี่ยวกับการทำงานเป็นทีมในการพัฒนานวัตกรรมทางการศึกษา

2.  ด้านการปฏิบัติ

คิดด้านการยอมรับคุณค่ากับผู้อื่น  การทำงานและการมีมนุษย์สัมพันธ์ในการทำงาน

     2.2 วิเคราะห์และยอมรับความสำคัญของความคิดเห็นของผู้อื่นที่จะประสานความร่วมมือในการทำงานดำเนินไปสู่เป้าหมายที่วางเอาไว้

     2.3   แบ่งกลุ่มให้มีการศึกษาข้อมูลร่วมกัน โดยมีการประชุมปรึกษาหารือเพื่อหาข้อสรุปตามงานที่กลุ่มรับผิดชอบ

3. ศึกษาด้วยตนเอง

     3.1  ศึกษาข้อมูลจากเว็บไซต์ทางการศึกษาปฐมวัย

     3.2  ศึกษาจากสื่ออิเล็กทรอนิกส์

 

 

2.   แผนการประเมินผลการเรียนรู้

 

ผลการเรียนรู้

วิธีการประเมินผลการเรียนรู้

สัปดาห์ที่ประเมิน

สัดส่วนของการประเมินผล

  1.  สามารถเปรียบเทียบแนวคิดใหม่ทางการศึกษาปฐมวัยในความเหมือนความต่าง

   2. ความสามารถในการเชื่อมโยงเทคโนโลยีที่ส่งเสริมการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย

  3. วิเคราะห์แนวคิดใหม่ทางการศึกษาปฐมวัยในแนวคิดต่างๆ

  4. เชื่อมโยงเทคโนโลยีที่ส่งเสริมการเรียนรู้เพื่อการพัฒนาเด็กปฐมวัย

1.1    ความถูกต้องและระดับของคุณภาพในแต่ละประเด็นความคิด

2.1 ความสอดคล้องระหว่างการเลือกใช้ด้านที่เหมาะสมกับการส่งเสริมการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย

2.2  ความถูกต้องและระดับของละประเด็นความคิด

2.3  ความถูกต้องและระดับของคุณภาพในแต่ละประเด็นความคิด

3.  ความถูกต้องและความเหมาะสมของชิ้นงาน

1-3

20%

 

1.  เปรียบเทียบถึงจุดอ่อนและจุดแข็งของสภาพแวดล้อมและบริบทเด็กปฐมวัยในสังคมไทย

 2.  เชื่อมโยงแนวคิดใหม่ทางการศึกษาปฐมวัยได้เหมาะสมกับสภาพ

แวดล้อมและบริบทเด็กปฐมวัยในสังคมไทย

3.  วิเคราะห์บริบทและจุดเน้นของสภาพแวดล้อม

และบริบทเด็กปฐมวัยในสังคมไทย

 

  1. ตรวจสอบความถูกต้องและความครบถ้วนของรายการประเมิน

 

2. วิเคราะห์สภาพแวดล้อมและบริบทเด็กปฐมวัยในสังคมไทย

 

 

4-6

 

 

20%

1. สามารถเปรียบเทียบแนวคิดและทฤษฎีการพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษาปฐมวัย

2. วิเคราะห์แนวคิดและทฤษฎีการพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษาปฐมวัย

3. มีความสามารถในการเชื่อมโยงแนวคิดในการออกแบบสร้างใช้ประเมินปรับปรุงแก้ไขเพื่อพัฒนานวัตกรรม และเทคโนโลยีการศึกษาปฐมวัย

1. ตรวจสอบประเด็นความคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษาปฐมวัย

2.    ความถูกต้องและความครบถ้วนของผลการออกแบบสร้างใช้ประเมินเพื่อตรวจสอบรายการต่าง ๆ

2.1  ความถูกต้องและความครบถ้วนของการรายงานผลการวิเคราะห์

2.2  ความถูกต้องครบถ้วนตามรายงานผลการวิจัยชั้นเรียน

2.3  ความถูกต้องครบถ้วนตามรายงานผลการวิจัยชั้นเรียน

3.1  ได้สาระครบถ้วนในการแปลบทความภาษาอังกฤษ

3.2  มีชิ้นงานที่ปรากฏทาง  E-mail อย่างน้อย  1  ชิ้น

7-9

10%

1.  สามารถเปรียบเทียบข้อดีและข้อเสียของการเลือกใช้นวัตกรรมกับเทคโนโลยีทางการศึกษาปฐมวัยแบบต่างๆ

2.   สามารถเปรียบเทียบข้อดีของแหล่งเรียนรู้แต่ละประเภทเพื่อใช้ในการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย

2.   การวิเคราะห์แหล่งการเรียนรู้ที่เหมาะสมและการเลือกใช้เพื่อการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย

1. ความถูกต้องและความครบ

ถ้วนของรายการ

2.  ความถูกต้องและความครบ

ถ้วนของรายการ

10-12

10%

1. สามารถเปรียบเทียบข้อดีและข้อเสียของการทำงานเป็นทีมในการพัฒนานวัตกรรม

2.การวิเคราะห์ผลของการทำงานเป็นทีมในการพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษาปฐมวัย

3.  การยอมรับคุณค่าของความคิดเห็นและความร่วมมือจากผู้อื่น

4.การเห็นความร่วมมือในการทำงานโดยใช้หลักมนุษย์สัมพันธ์

1. ตรวจสอบและพิจารณาปัญหา/อุปสรรคที่เกิดขึ้นและแนวทางการแก้ไขของกลุ่ม

2.  แบบประเมินความรู้สึกของสมาชิกแต่ละคน

3.  แบบประเมินความร่วมมือของสมาชิก

4.  การยอมรับคุณค่าผู้อื่นของสมาชิกแต่ละคน

5.  ความเป็นเอกภาพในการทำงานกลุ่ม

13-15

10%

สามารถตอบคำถามและแสดงความคิดเห็นได้โดยใช้หลักการทางวิชาการสนับสนุนคำตอบ

สอบปลายภาค

16

30%

 

 

หมวดที่ 6 ทรัพยากรประกอบการเรียนการสอน

 

1.   ตำราและเอกสารหลัก

 

  1. เอกสารและข้อมูลสำคัญ

 

กระทรวงศึกษาธิการ, สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (2550). การเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยไทยตามแนวคิดไฮสโคป.  กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ วี.ที.ซี.คอมมิวนิเคชั่น

กระทรวงศึกษาธิการ, สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (2550). การเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยไทยตามแนวคิดมอนเตสเซอรี่.  กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ วี.ที.ซี.คอมมิวนิเคชั่น

กระทรวงศึกษาธิการ, สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (2550). การเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยไทยตามแนวคิดวอลดอร์ฟ.  กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ วี.ที.ซี.คอมมิวนิเคชั่น

กระทรวงศึกษาธิการ, สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (2550). การเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยไทยตามแนวคิดเรกจิโอ เอมีเลีย.  กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ วี.ที.ซี.คอมมิวนิเคชั่น

กุลยา  ตันติผลาชีวะ. (2551). รูปแบบการเรียนการสอนปฐมวัยศึกษา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มิตรสัมพันธ์กราฟฟิค จำกัด

อัญญมณี  บุญซื่อ. (2551). รวมนวัตกรรมทฤษฎีการศึกษาปฐมวัย สู่การประยุกต์ใช้ในห้องเรียน.  กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์สาราเด็ก

อารี  สัณหฉวี.  (2544).  นวัตกรรมปฐมวัยศึกษา. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แว่นแก้ว

       

3.   เอกสารและข้อมูลแนะนำ

       http://www.nareumon.com

       http://www.thaiteachers.tv/vdo.php?id=19

 

หมวดที่ 7 การประเมินและปรับปรุงการดำเนินการของรายวิชา

 

1.   กลยุทธ์การประเมินประสิทธิผลของรายวิชาโดยนักศึกษา

 

2.   กลยุทธ์การประเมินการสอน

 

3.   การปรับปรุงการสอน

 

4.   การทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาในรายวิชา

 

5.   การดำเนินการทบทวนและการวางแผนปรับปรุงประสิทธิผลของรายวิชา

การแก้ปัญหาเพื่อปรับปรุงประสิทธิผลของรายวิชาด้วยแบบสอบถามความพึงพอใจของผู้เรียน ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการทำวิจัยในชั้นเรียน


ClassStart ให้บริการฟรีโดย บริษัท ปิยะวัฒนา จำกัด
เราเป็นกิจการเพื่อสังคม (Social Enterprise)
สนับสนุนโดย
ผู้ไม่ประสงค์ออกนามท่านหนึ่ง (2563-2566)
มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์ (2561-2563)
กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (2557-2558)
กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (2557)
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (2554-2558)
GotoKnow
ClassStart Books