งานขนมไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5


ผู้สอน
นาง วรรณิการ์ วงศ์มยุรา
เข้าสู่ระบบเมื่อ มากกว่า 10 ปี ที่แล้ว

ชื่อวิชา
งานขนมไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5

รหัสวิชา
2661

สถานศึกษา
โรงเรียนโยธินบำรุง

คำอธิบายวิชา

 

 

เอกสารปฐมนิเทศและการวางแผนการเรียนรู้

ภาคเรียนที่   2    ปีการศึกษา  2556

วิชางานขนมไทย  รหัสวิชา  ง 30282         ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  5     สาระการเรียนรู้เพิ่มเติม

จำนวนคาบ / สัปดาห์  2  คาบ                                       จำนวนหน่วยการเรียน  1  หน่วยการเรียน

ชื่อครูผู้สอน   นางวรรณิการ์  วงศ์มยุรา

   1. คำอธิบายรายวิชา

ศึกษาความรู้ทั่วไปในการทำขนมไทย  การเลือกใช้อุปกรณ์เครื่องใช้สำหรับทำขนมไทย 

การเลือกซื้อและการเก็บรักษาเครื่องปรุงสดและแห้ง เทคนิคการทำขนมไทย การบรรจุ วิธีการ

เก็บรักษาขนมไทยไว้ได้นานถูกสุขลักษณะและการสุขาภิบาลอาหาร

ปฏิบัติงานสำรวจความต้องการของตลาดผู้บริโภค และแหล่งวัสดุเตรียมวัสดุอุปกรณ์และเครื่องใช้ในการทำขนมไทยแต่ละชนิด ทำขนมไทย บรรจุและเก็บ คำนวณค่าใช้จ่าย กำหนดราคาหรือค่าบริการ จดบันทึกปฏิบัติงาน ทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายและประเมินผล โดยใช้กระบวนการทำงาน กระบวนการกลุ่ม การแสวงหาความรู้ กระบวนการแก้ปัญหา การจัดการ การอภิปราย นำเสนอสิ่งที่เรียนรู้และตัดสินใจแก้ปัญหาการทำงานอย่างมีเหตุผล

      เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจ มีความรับผิดชอบ ขยัน ประหยัด ซื่อสัตย์ อดทน และ       ตรงเวลา มีทักษะเกี่ยวกับการทำขนมไทย ทำงานด้วยความมุ่งมั่น มีจิตสำนึกในการใช้พลังงาน  ทรัพยากร และสิ่งแวดล้อม อยู่อย่างพอเพียง จัดแสดงผลงาน ด้วยความชื่นชมและความภาคภูมิใจ


โครงสร้างรายวิชา

ง 30282 งานขนมไทย  สาระการเรียนรู้เพิ่มเติม   กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5      2 ชั่วโมง / สัปดาห์                40 ชั่วโมง / ภาคเรียน    1.0   หน่วยการเรียน

ที่

ชื่อ

หน่วยการเรียนรู้

ผลการเรียนรู้

สาระการเรียนรู้

เวลา

(ชั่วโมง)

คะแนน

1

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ความรู้เบื้องต้น

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

1. เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจและมีเจตคติที่ดีเกี่ยวกับส่วนผสมที่สำคัญในการทำขนมไทย

2. เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจ เลือกใช้อุปกรณ์เครื่องใช้ได้ถูกต้องเหมาะสมกับขนมไทยแต่ละชนิด เลือกซื้อ

เก็บรักษาและตัดสินใจเลือกซื้อเครื่องปรุงสดและเครื่องปรุงแห้งที่มีคุณภาพดีได้

3. เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจ

มีเจตคติที่ดีเกี่ยวกับเทคนิคการทำขนมไทย สามารถบรรจุ เก็บรักษาขนมไทยไว้ได้นานและถูกสุขลักษณะตลอดจนนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้

1. ความรู้ทั่วไป

ในการทำขนมไทย

 

2. การเลือกใช้อุปกรณ์  เครื่องใช้และการเลือกซื้อการเก็บรักษาเครื่องปรุงสด  เครื่องปรุงแห้งในการทำขนมไทย

 

3. เทคนิคในการทำ

ขนมไทย การบรรจุ

การเก็บรักษาขนมไทย

ไว้ได้นานและถูกสุขลักษณะตามหลักสุขาภิบาลอาหาร

12

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

30

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

2

การสำรวจ

และ

ร่องรอย

การปฏิบัติงาน

4. เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจ มีเจตคติที่ดีเกี่ยวกับการสำรวจความต้องการของผู้บริโภค การคำนวณค่าใช้จ่าย กำหนดราคาหรือค่าบริการ และการจัดจำหน่าย  ทำบัญชีรายรับ–รายจ่าย

จดบันทึกการปฏิบัติงาน ประเมินผลงานในแต่ละครั้ง สามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้

4. การสำรวจ

ความต้องการของผู้บริโภค

การคำนวณค่าใช้จ่าย  กำหนดราคาขายหรือค่าบริการ การทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย การจดบันทึก การปฏิบัติงานและการประเมินผล

 

8

20


 

ที่

ชื่อ

หน่วยการเรียนรู้

ผลการเรียนรู้

สาระการเรียนรู้

เวลา

(ชั่วโมง)

คะแนน

3

เรียนรู้

การปฏิบัติงานงานขนมไทย

 

5. มีความรู้ความเข้าใจ  มีคุณธรรม จริยธรรมและมีทักษะในการปฏิบัติงาน งานขนมไทยตามความต้องการของผู้บริโภค ทำงานด้วยความมุ่งมั่น

มีจิตสำนึกในการใช้พลังงาน ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมอยู่อย่างพอเพียง

จัดแสดงผลงานขนมไทยด้วย

ความชื่นชมและภาคภูมิใจ

5.การปฏิบัติงาน

งานขนมไทยตาม

ความต้องการของผู้บริโภค

และการจัดแสดงผลงาน

ขนมไทย 

 

 

 

20

50

รวม

40

100

2. ผลการเรียนรู้

1. เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจและมีเจตคติที่ดีเกี่ยวกับส่วนผสมที่สำคัญในการทำขนมไทย

2. เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจ เลือกใช้อุปกรณ์เครื่องใช้ได้ถูกต้องเหมาะสมกับขนมไทยแต่ละชนิด เลือกซื้อ เก็บรักษาและตัดสินใจเลือกซื้อเครื่องปรุงสดและเครื่องปรุงแห้งที่มีคุณภาพดีได้

   3. เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจ มีเจตคติที่ดีเกี่ยวกับเทคนิคการทำขนมไทย สามารถบรรจุ  เก็บรักษาขนมไทยไว้ได้นานและถูกสุขลักษณะตลอดจนนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้

  4. เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจ มีเจตคติที่ดีเกี่ยวกับการสำรวจความต้องการของตลาดผู้บริโภคการคำนวณค่าใช้จ่าย กำหนดราคาหรือค่าบริการ และการจัดจำหน่าย ทำบัญชีรายรับ–รายจ่าย จดบันทึกการปฏิบัติงาน ประเมินผลงานในแต่ละครั้ง สามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้

    5. เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจ มีคุณธรรมจริยธรรม และมีทักษะในการทำขนมไทย       ชนิดต่างๆ  8 - 10 ชนิด จัดแสดงผลงานขนมไทยด้วยความชื่นชมและภาคภูมิใจ

 

3.  แผนการประเมินผล     อัตราส่วนคะแนนระหว่างภาค  : กลางภาค   =    80 : 20

                                          อัตราส่วนคะแนน           K : P : A         =    30 : 50 : 20

 

 

ผลการ

เรียนรู้

 

รูปแบบการสอบ

คะแนน

เครื่องมือวัด

 

K

P

A

 

1

เก็บคะแนนระหว่างเรียน , สอบกลางภาค

9

15

6

แบบสังเกต , แบบฝึก, แบบประเมิน,แบบทดสอบและแบบเฉลย

 

2

เก็บคะแนนระหว่างเรียน , สอบกลางภาค

6

10

4

แบบสังเกต , แบบฝึก, แบบประเมิน,แบบทดสอบและแบบเฉลย

 

3

เก็บคะแนนระหว่างเรียน , สอบปลายภาค

15

25

10

แบบสังเกต , แบบฝึก, แบบประเมิน

 

 

รวม

 

30

50

20

 

             

 

 

4. รูปแบบการสอนและกิจกรรมการเรียน

         ศึกษา ค้นคว้า รวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ สาธิต คำนวณ สืบค้นภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยใช้กระบวนการทำงาน กระบวนการกลุ่ม การแสวงหาความรู้ กระบวนการแก้ปัญหา การจัดการ การอภิปราย นำเสนอสิ่งที่เรียนรู้และตัดสินใจแก้ปัญหาการทำงานอย่างมีเหตุผล

5. เกณฑ์การให้ระดับผลการเรียนและผลการเรียน

 

ระดับผลการเรียน

ความหมาย

ช่วงคะแนนเป็นร้อยละ

4

3.5

3

2.5

2

1.5

1

0

ผลการเรียนดีเยี่ยม

ผลการเรียนดีมาก

ผลการเรียนดี

ผลการเรียนค่อนข้างดี

ผลการเรียนน่าพอใจ

ผลการเรียนพอใช้

ผลการเรียนผ่านเกณฑ์ขั้นต่ำ

ผลการเรียนต่ำกว่าเกณฑ์

80 -  100

75 – 79

70 – 74

65 – 69

60 – 64

55 – 59

50 – 54

0 - 49

 

6.  ข้อตกลงในการเรียนวิชานี้

1.  ขาดเรียนเกิน  3  ครั้งไม่มีสิทธิ์สอบปลายภาคเรียน

2.  สวมหมวกคลุมผม,ผ้ากันเปื้อน มีผ้าเช็ดมือและตัดเล็บให้สั้นทุกครั้งที่ปฏิบัติงาน

3.  ส่งแบบบันทึกการปฏิบัติงานพร้อมกับแบบประเมินต่างๆหลังการปฏิบัติงานจริง 2 – 3  วัน

4.  ไม่อนุญาตให้ปฏิบัติงานครั้งต่อไป ( งานชิ้นใหม่ ) หากไม่ได้ส่งแบบบันทึก การปฏิบัติงานพร้อมกับแบบประเมินต่าง ๆ ตามข้อตกลง w

5.  ทำความสะอาดห้องเรียน อุปกรณ์ เครื่องใช้และเก็บเข้าที่อย่างเป็นระเบียบเรียบร้อย

6.  ส่งงานทุกครั้งตรงตามเวลาที่กำหนด

7.  เกณฑ์การผ่านผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง

          ประเมินผล  โดยถือเกณฑ์ผ่านสำหรับกลุ่มและผู้ที่มีคะแนนวัดผลร้อยละ   60   ขึ้นไป

8.  ชิ้นงานสำคัญที่นักเรียนต้องส่ง หากนักเรียนไม่ส่งนักเรียนจะมีผลการเรียน

คือ การปฏิบัติโครงงานขนมไทยในท้องถิ่น

9.  คุณลักษณะอันพึงประสงค์

            9.1. ซื่อสัตย์สุจริต (ซื่อสัตย์)

            9.2  มีวินัย (ความรับผิดชอบและตรงเวลา)

            9.3 ใฝ่เรียนรู้ (ขยัน)

            9.4 อยู่อย่างพอเพียง (ประหยัด)

            9.5. มุ่งมั่นในการทำงาน (อดทน)

10. การอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน

          ขอบเขตการประเมิน วัดจากการอ่านหนังสือเรียน บทความ คำแนะนำ คำเตือน แผนภูมิ และตาราง แล้วนำมาสรุปแนวคิดและถ่ายทอดเป็นข้อเขียนหรือรายงานด้วยภาษาที่ถูกต้องเหมาะสม

การประเมินความสามารถในการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน

ระดับผล

การประเมิน

ระดับ

ความหมาย

3

 

2

 

1

 

ดีเยี่ยม

 

ดี

 

ผ่าน

มีผลงานที่แสดงถึงความสามารถในการอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียนที่มีคุณภาพดีเลิศอยู่เสมอ

มีผลงานที่แสดงถึงความสามารถในการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียนที่มีคุณภาพเป็นที่ยอมรับ

มีผลงานที่แสดงถึงความสามารถในการอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียน

ที่มีข้อบกพร่องบางประการ

ตัวอย่างแบบประเมินที่ใช้ในการเรียนการสอนจะแจกให้กับนักเรียนคนละ 1 ชุด


ClassStart ให้บริการฟรีโดย บริษัท ปิยะวัฒนา จำกัด
เราเป็นกิจการเพื่อสังคม (Social Enterprise)
สนับสนุนโดย
ผู้ไม่ประสงค์ออกนามท่านหนึ่ง (2563-2566)
มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์ (2561-2563)
กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (2557-2558)
กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (2557)
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (2554-2558)
GotoKnow
ClassStart Books