เคมี3


ผู้สอน
Theerasit Dissakul
เข้าสู่ระบบเมื่อ มากกว่า 6 ปี ที่แล้ว

ชื่อวิชา
เคมี3

รหัสวิชา
26836

สถานศึกษา

คำอธิบายวิชา

1. คำอธิบายรายวิชา

การศึกษาอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี ความหมายของปฏิกิริยาเคมี ชนิดของอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี ทฤษฎีการชน พลังงานกับการดำเนินไปของปฏิกิริยา พลังงานก่อกัมมันต์ ขั้นตอนการเกิดปฏิกิริยาเคมี ปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดปฏิกิริยาเคมี กฎอัตรา อุณหภูมิ ความเข้มข้น ความดัน สมดุลเคมี การเปลี่ยนแปลงที่ผันกลับได้ ภาวะสมดุล สมดุลในปฏิกิริยาเคมี ความสัมพันธ์ระหว่างความเข้มข้นของสารต่างๆ ณ ภาวะสมดุล ค่าคงที่สมดุล การคำนวณเกี่ยวกับค่าคงที่สมดุล การเปลี่ยนแปลงภาวะสมดุล หลักของเลอชาเตอลิเอ สมดุลกรด-เบส สารละลายอิเล็กโทรไลต์ ไอออนในสารละลายกรด-เบส ทฤษฎีกรด-เบส การแตกตัวของกรด-เบส การแตกตัวของน้ำ การคำนวณหาค่า pH ค่าคงที่สมดุลกรด-เบส อินดิเคเตอร์ ปฏิกิริยากรด-เบส ปฏิกิริยาสะเทิน การไทเทรตกรด-เบส สารละลายบัฟเฟอร์และสมบัติของสารละลายบัฟเฟอร์

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ เคมี 3

โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ มีทักษะทางวิทยาศาสตร์ การสืบเสาะหาความรู้ การสำรวจตรวจสอบ การสืบค้นข้อมูล และการอภิปราย มีความสามารถในการตัดสินใจ  เพื่อให้เกิดความรู้ ความคิด ความเข้าใจ สามารถสื่อสารสิ่งที่เรียนรู้ นำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน มีจิตวิทยาศาสตร์ จริยธรรม คุณธรรม และค่านิยมที่เหมาะสม

2. มาตรฐานการเรียนรู้ / ตัวชี้วัด / สาระการเรียนรู้แกนกลาง

3.2 ม.4-6/1-2

มาตรฐาน ว 3.2 : เข้าใจหลักการและธรรมชาติของการเปลี่ยนแปลงสถานะของสาร การเกิดสารละลาย การเกิดปฏิกิริยา มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์  สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์

ตัวชี้วัด 3.2 ม.4-6/1 ทดลอง  อธิบายและเขียนสมการของปฏิกิริยาเคมีทั่วไป ที่พบในชีวิตประจำวัน  รวมทั้งอธิบายผลของสารที่มีต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม

สาระการเรียนรู้แกนกลาง   ในชีวิตประจำวันจะพบเห็นปฏิกิริยาเคมีจำนวนมาก  ทั้งที่เกิดในธรรมชาติและมนุษย์กระทำ  ปฏิกิริยาเคมีเขียนแทนด้วยสมการเคมี  มนุษย์นำสารเคมีมาใช้ประโยชน์ทั้งในบ้าน  ในการทำการเกษตรและอุตสาหกรรม  แต่สารเคมีบางชนิดเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม

ตัวชี้วัด 3.2 ม.4-6/2 ทดลองและอธิบายอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี ปัจจัยที่มีผลต่ออัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมีและนำความรู้ไปใช้ประโยชน์

                สาระการเรียนรู้แกนกลาง ปริมาณของสารตั้งต้นหรือสารผลิตภัณฑ์ที่เปลี่ยนแปลงไปต่อหนึ่งหน่วยเวลา เรียกว่า อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี และปริมาณของสารที่เปลี่ยนไปนั้น อาจวัดได้จากความเข้มข้น ปริมาตร หรือมวลของสาร ซึ่งขึ้นอยู่กับลักษณะของสาร ความเข้มข้น พื้นที่ผิว อุณหภูมิ ตัวเร่งปฏิกิริยาเป็นปัจจัยที่มีผลต่ออัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี การควบคุมปัจจัยเหล่านี้ เพื่อให้ปฏิกิริยาเกิดขึ้นในอัตราที่เหมาะสม สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้



ClassStart ให้บริการฟรีโดย บริษัท ปิยะวัฒนา จำกัด
เราเป็นกิจการเพื่อสังคม (Social Enterprise)
สนับสนุนโดย
ผู้ไม่ประสงค์ออกนามท่านหนึ่ง (2563-2566)
มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์ (2561-2563)
กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (2557-2558)
กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (2557)
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (2554-2558)
GotoKnow
ClassStart Books