ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1


ผู้สอน
กรกนก โสมาบุตร
เข้าสู่ระบบเมื่อ มากกว่า 6 ปี ที่แล้ว

ชื่อวิชา
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

รหัสวิชา
26929

สถานศึกษา
โรงเรียนบ้านหนองกุงโนนทัน

คำอธิบายวิชา

ความหมายของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-book)

          หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ หรือที่รู้จักกันในชื่ออีบุ๊ค (eBook หรือ e-Book) เป็นคำภาษาต่างประเทศ ย่อมาจากคำว่า electronic book หมายถึงหนังสือที่สร้างขึ้นด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์มีลักษณะเป็นเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ โดยปกติมักจะเป็นแฟ้มข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่สามารถอ่านเอกสารผ่านทางหน้าจอคอมพิวเตอร์ทั้งในระบบออฟไลน์และออนไลน์  คุณลักษณะของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์สามารถเชื่อมโยงจุดไปยังส่วนต่างๆ ของหนังสือ เว็บไซต์ต่างๆ ตลอดจนมีปฏิสัมพันธ์และโต้ตอบกับผู้เรียนได้ นอกจากนั้นหนังสืออิเล็กทรอนิกส์สามารถแทรกภาพ เสียง ภาพเคลื่อนไหว แบบทดสอบ และสามารถสั่งพิมพ์เอกสารที่ต้องการออกทางเครื่องพิมพ์ได้ อีกประการหนึ่งที่สำคัญก็คือ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์สามารถปรับปรุงข้อมูลให้ทันสมัยได้ตลอดเวลา ซึ่งคุณสมบัติเหล่านี้จะไม่มีในหนังสือธรรมดาทั่ว

ลักษณะของ E-book         

        รูปแบบสิ่งพิมพ์ด้านอิเล็กทรอนิกส์และมัลติมีเดีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลิตภัณฑ์ที่เป็นแผ่นจานข้อมูลเสียง เช่น ซีดีรอม แผ่นซีดีรอมสามารถจัดข้อมูลได้จำนวนมากในรูปแบบของตัวอักษรทั้งลักษณะภาพดิจิตอล ภาพอะนิเมชั่น วีดีโอ ภาพเคลื่อนไหวต่อเนื่อง คำพูด เสียงดนตรี และเสียงอื่น ๆ

- รูปแบบหนังสือที่อยู่ในรูปแบบดิจิทัล โดยแสดงให้เห็นบนจอคอมพิวเตอร์ไม่บังคับการพิมพ์และการเข้าเล่ม

- รูปแบบของหนังสือที่สามารถนำข้อมูลต่าง ๆ ลงไปจัดเก็บลงในเครื่อง palm ทำให้สามารถที่จะพกพาหนังสือหรือเอกสารจำนวนมากไปอ่าน ณ ที่ใดก็ได้ เพียงแต่นำเครื่อง palm ติดตัวไปเพียงเครื่องเดียว

องค์ประกอบของ E-book         

1. เครื่องอ่าน หรือคอมพิวเตอร์แบบปาล์ม แบบพกพา

2.ซอฟต์แวร์

           -ซอฟต์แวร์สำหรับการอ่าน

           -ซอฟต์แวร์สำหรับการเขียน

3. มาตรฐานของตัวหนังสือ

4. Security / Protection Tools & Standard

5. Multi Fucntion Devices

6.อักขระ (Text) หรือข้อความ

7.ภาพนิ่ง (Still Image)

8.ภาพเคลื่อนไหว (Animation)

9.เสียง (Sound)

10.ภาพวีดิทัศน์ (Video)

11.การจัดเก็บข้อมูลมัลติมีเดีย

ประเภทของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์

          หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ แบ่งออกเป็น 10 ประเภท ดังนี้คือ

          1) หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ หรือแบบตำรา (Textbooks) หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ รูปหนังสือปกติที่พบเห็นทั่วไป หลักหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ชนิดนี้สามารถกล่าวได้ว่าเป็นการแปลงหนังสือจากสภาพสิ่งพิมพ์ปกติเป็นสัญญาณดิจิตอล เพิ่มศักยภาพเดิมการนำเสนอ การปฏิสัมพันธ์ ระหว่างผู้อ่านหนังสืออีเล็กทรอนิกส์ ด้วยศักยภาพของคอมพิวเตอร์ขั้นพื้นฐาน เช่น การเปิดหน้าหนังสือ การสืบค้น การคัดเลือก เป็นต้น

          2) หนังสืออีเล็กทรอนิกส์ แบบหนังสือเสียงอ่าน มีเสียงคำอ่าน เมื่อเปิดหนังสือจะมีเสียง

อ่านหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ประเภทเหมาะสำหรับหนังสือเด็กเริ่มเรียน หรือหนังสือฝึกออกเสียง หรึอฝึกพูด (Talking Book1) เป็นต้น หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ชนิดนี้เป็นการเน้นคุณลักษณะด้านการนำเสนอเนื้อหาที่เป็นตัวอักษรและเสียงเป็นคุณลักษณะหลัก นิยมใช้กับกลุ่มผู้อ่านที่มีระดับลักษณะทางภาษาโดยเฉพาะด้านการฟังหรือการอ่านค่อนข่างต่ำ เหมาะสำหรับการเริ่มต้นเรียนภาษาของเด็ก ๆ หรือผู้ที่กำลังฝึกภาษาที่สอง หรือฝึกภาษาใหม่เป็นต้น

          3) หนังสืออิเล็กทรอนิกส์แบบหนังสือภาพนิ่ง หรืออัลบั้มภาพ (static Picture Books) เป็นหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ที่มีคุณลักษณะหลักเน้นจัดเก็บข้อมูล และนำเสนอข้อมูลในรูปแบบภาพนิ่ง (static picture) หรืออัลบั้มภาพเป็นหลัก เสริมด้วยการนำศักยภาพของคอมพิวเตอร์มาใช้ในการนำเสนอ เช่น การเลือกภาพที่ต้องการ การขยายหรือย่อขนาดของภาพของคอมพิวเตอร์มาใช้ในการนำเสนอ เช่น การเลือกภาพที่ต้องการ การขยายหรือย่อขนาดของภาพหรือตัวอักษร การสำเนาหรือการถ่ายโอนภาพ การแต่งเติมภาพ การเลือกเฉพาะส่วนของภาพ (cropping) หรือเพิ่มข้อมูล เชื่อมโยงภายใน (Linking information) เช่น เชื่อมข้อมูลอธิบายเพิ่มเติม เชื่อมข้อมูลเสียงประกอบ เป็นต้น

          4) หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ แบบหนังสือภาพเคลื่อนไหว (Moving Picture Books) เป็นหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่เน้น การนำเสนอข้อมูลในรูปแบบภาพวีดิทัศน์ (Video Clips) หรือภาพยนตร์สั้น ๆ (Films Clips) ผนวกกับข้อมูลสนเทศที่อยู่ในรูปตัวหนังสือ (Text Information) ผู้อ่านสามารถเลือกชมศึกษาข้อมูลได้ ส่วนใหญ่นิยมนำเสนอข้อมูลเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ หรือเหตุการณ์สำคัญ เช่น ภาพเหตุการณ์สงคราโลก ภาพการกล่าวสุนทรพจน์ของบุคคลสำคัญ ๆ ของโลกในโอกาสต่าง ๆ ภาพเหตุการณ์ความสำเร็จหรือสูญเสียของโลกเป็นต้น

          5) หนังสืออิเล็กทรอนิกส์แบบหนังสือสื่อประสม (Multimedia) เป็นหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่เน้นเสนอข้อมูลเนื้อหาสาระ ในลักษณะแบบสื่อผสมระหว่างสื่อภาพ (Visual Media) เป็นทั้งภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหวกับสื่อประเภทเสียง (Audio Media)ในลักษณะต่าง ๆ ผนวกกับศักยภาพของคอมพิวเตอร์อื่นเช่นเดียวกับหนังสืออิเล็กทรอนิกส์อื่น ๆ ที่กล่าวมาแล้ว

          6) หนังสืออิเล็กทรอนิกส์แบบหนังสือสื่อหลากหลาย (Polymedia books) เป็นหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่มีลักษณะเช่นเดียวกับหนังสืออิเล็กทรอนิกส์แบบสื่อประสม แต่มีความหลากหลายในคุณลักษณะด้านความเชื่อมโยงระหว่างข้อมูลภายในเล่มที่บันทึกในลักษณะต่าง ๆ เช่น ตัวหนังสือภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว เสียงดนตรี และอื่น ๆ เป็นต้น

          7) หนังสืออิเล็กทรอนิกส์แบบหนังสือเชื่อมโยง ( Hypermedia Book) เป็นหนังสือที่มีคุณลักษณะสามารถเชื่อมโยงเนื้อหาสาระภายในเล่ม(Internal Information Linking) ซึ่งผู้อ่านสามารถคลิกเพื่อเชื่อมไปสู่เนื้อหาสาระที่ออกแบบเชื่อมโยงกันภายใน ภารเชื่อมโยงเช่นนี้มีคุณลักษณะเช่นเดียวกับบทเรียนโปรแกรมแบบแตกกิ่ง ( Branching Programmed Instruction)นอกจากนี้ยังสามารถเชื่อมโยงกับแหล่งเอกสารภายนอก (External or Information Sources) เมื่อเชื่อมต่อระบบอินเตอร์เน็ต

          8) หนังสืออิเล็กทรอนิกส์แบบหนังสืออัจฉริยะ ( Intelligent Electronic Books) เป็นหนังสือประสม แต่มีการใช้โปรแกรมชั้นสูงที่สามารถมีปฏิกิริยา หรือ ปฏิสัมพันธ์ กับผู้อ่านเสมือนหนังสือมีสติปัญญา (อัจฉริยะ) ในการไตร่ตรอง หรือคาดคะเนในการโต้ตอบ หรือปฏิกิริยากับผู้อ่าน

          9) หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ แบบสื่อหนังสือทางไกล ( Telemedia Electronic Books)

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ประเภทนี้มีคุณลักษณะหลักต่าง ๆ คล้ายกับ Hypermedia Electronic Books

แต่เน้นการเชื่อมโยงกับแหล่งข้อมูลภายนอกผ่านระบบเครือข่าย ( Online Information Sourcess) ทั้งที่เป็นเครือข่ายเปิด และเครือข่ายเฉพาะสมาชิกของเครือข่าย

          10) หนังสืออิเล็กทรอนิกส์แบบหนังสือไซเบอร์เสปซ (Cyberspace books) หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ประเภทนี้มีลักษณะเหมือนกับหนังสืออิเล็กทรอนิกส์หลาย ๆ แบบที่กล่าวมาแล้วผสมกัน สามารถเชื่อมโยงแหล่งข้อมูลทั้งจากแหล่งภายในและภายนอกสามารถนำเสนอข้อมูลในระบบสื่อที่หลากหลาย สามารถปฏิสัมพันธ์กับผู้อ่านได้หลากหลาย

โครงสร้างหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (eBook Construction)

          ลักษณะโครงสร้างของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์จะมีความคล้ายคลึงกับหนังสือทั่วไปที่พิมพ์ด้วยกระดาษ หากจะมีความแตกต่างที่เห็นได้ชัดเจนก็คือกระบวนการผลิต รูปแบบ และวิธีการอ่านหนังสือ

สรุปโครงสร้างทั่วไปของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ประกอบด้วย

• หน้าปก (Front Cover)

• คำนำ(Introduction)

• สารบัญ (Contents)

• สาระของหนังสือแต่ละหน้า (Pages Contents)

• อ้างอิง (Reference)

• ดัชนี(Index)

• ปกหลัง (Back Cover)

หน้าปก หมายถึง ปกด้านหน้าของหนังสือซึ่งจะอยู่ส่วนแรก เป็นตัวบ่งบอกว่าหนังสือเล่มนี้ชื่ออะไร ใครเป็นผู้แต่ง

คำนำ หมายถึง คำบอกกล่าวของผู้เขียนเพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับข้อมูล และเรื่องราวต่างๆ ของหนังสือเล่มนั้น

สารบัญ หมายถึง ตัวบ่งบอกหัวเรื่องสำคัญที่อยู่ภายในเล่มว่าประกอบด้วยอะไรบ้าง อยู่ที่หน้าใดของหนังสือ สามารถเชื่อมโยงไปสู่หน้าต่างๆ ภายในเล่มได้

สาระของหนังสือแต่ละหน้า หมายถึง ส่วนประกอบสำคัญในแต่ละหน้า ที่ปรากฏภายในเล่ม ประกอบด้วย

• หน้าหนังสือ (Page Number)

• ข้อความ (Texts)

• ภาพประกอบ (Graphics) .jpg, .gif, .bmp, .png, .tiff

• เสียง (Sounds) .mp3, .wav, .midi

• ภาพเคลื่อนไหว (Video Clips, flash) .mpeg, .wav, .avi

• จุดเชื่อมโยง (Links)

อ้างอิง หมายถึง แหล่งข้อมูลที่ใช้นำมาอ้างอิง อาจเป็นเอกสาร ตำรา หรือ เว็บไซต์ก็ได้

ดัชนี หมายถึง การระบุคำสำคัญหรือคำหลักต่างๆ ที่อยู่ภายในเล่ม โดยเรียงลำดับตัวอักษรให้สะดวกต่อการค้นหาพร้อมระบุเลขหน้าและจุดเชื่อมโยง

ปกหลัง หมายถึง ปกด้านหลังของหนังสือซึ่งจะอยู่ส่วนท้ายเล่ม

โปรแกรมที่นิยมใช้ในการสร้าง e-Book

1)   โปรแกรมชุด Flip Album

2)   โปรแกรม Desktop Author

3)   โปรแกรม Flash Album Deluxe

ชุดโปรแกรมทั้ง 3 จะต้องติดตั้งโปรแกรมสำหรับอ่าน e-Book ด้วย มิฉะนั้นแล้วจะเปิดเอกสารไม่ได้ ประกอบด้วย

1)   โปรแกรมชุด Flip Album ตัวอ่านคือ FlipViewer

2)   โปรแกรมชุด DeskTop Author ตัวอ่านคือ DNL Reader

3)   โปรแกรมชุด Flash Album Deluxe ตัวอ่านคือ Flash Player

ข้อดี E-book

1.  ประหยัดต้นทุนในการดำเนินการ

2.  สามารถอยู่ทนทานได้เป็นระยะเวลานาน

3. ไม่ต้องสต็อคของไว้เป็นจำนวนมากๆ

4.  คุณลักษณะพิเศษกว่าหนังสือกระดาษหลายประการ อาทิ แสดงผลด้วย ภาพ ข้อความ เสียง

ภาพเคลื่อนไหว เป็นต้น

5.  สามารถเปิดอ่านเหมือนหนังสือทั่วไป และพกพาหนังสือจำนวนมากติดตัวไปได้ทุกที่ ทุกเวลา

ไม่ต้องใช้อินเตอร์เน็ต ใช้คอมพิวเตอร์ธรรมดาเปิดอ่านได้

6.  ยังสามารถเชื่อมโยงกับข้อความต่างๆ ภายในตัวหนังสือหรือภายนอกเว็บไซต์อื่นๆ จากอินเทอร์เน็ต

7.   ผู้อ่านสามารถอ่านพร้อมๆ กันได้โดยไม่ต้องรอการยืมหรือคืนเหมือนหนังสือกระดาษในห้องสมุด

8.  รูปแบบหนังสือที่อยู่ในรูปแบบดิจิทัล โดยแสดงให้เห็นบนจอคอมพิวเตอร์ไม่บังคับการพิมพ์ และการเข้าเล่ม

9.  กำลังพลสามารถ เรียนรู้ เข้าถึงองค์ความรู้ได้สะดวก ทั้งเวลา สถานที่  

ข้อเสีย E-book

1. ต้องอาศัยพลังงานในการอ่านตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นไฟฟ้าหรือแบตเตอรี่

2. เสียสุขภาพสายตา จากการได้รับแสงจากอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์

3. ขาดความรู้สึก หรืออรรถรส หรือความคลาสสิก

4. การอ่านที่ยุ่งยากต้องอ่านจากคอมพิวเตอร์ หรือ Palm

5. ต้องอาศัยระบบเครือข่าย

6. การละเมิดลิขสิทธิ์


ส่วนประกอบโปรแกรม

ส่วนประกอบและเครื่องมือโปรแกรม FlipAlbum Vista Pro

1. ส่วนประกอบของโปรแกรม FlipAlbum Vista Pro

ในภาพรวมของโปรแกรมเมื่อเราเปิดโปรแกรม FlipAlbum Vista Pro ขึ้นมาใช้งานหน้าจอคอมพิวเตอร์จะปรากฏส่วนต่างๆ ดังนี้

          1.แถบรายการคําสั่ง หรือแถบเมนู (Menu Bar) ในชุดแบบฝึกปฏิบัตินี้จะเรียกว่าแถบเมนู เป็นแถบรายการในโปรแกรม FlipAlbum Vista Pro ซึ่งประกอบด้วยเมนูต่างๆ และ ในแต่ละเมนูจะมีเมนูย่อย (Sub Menu)

          2.แถบเครื่องมือ (Tool Bar) เป็นแถบที่บรรจุเครื่องมือที่เป็นคําสั่งที่ใช้บ่อยๆเครื่องมือเหล่านี้จะมีอยู่ในแถบเมนูอยู่แล้ว แต่เพื่อให้เกิดความสะดวก รวดเร็วและคลิกใช้งานได้เร็วขึ้น

          3.Flip Book คือ หน้าหนังสือที่พลิกได้ เป็นส่วนที่บันทึกเนื้อหาของ e-Book เนื่องจากมีลักษณะคล้ายกับหน้าหนังสือ คือ สามารถพลิกไปยังหน้าต่างๆ ได้ และแสดงภาพเหมือนกับการเปิดพลิกหนังสือจริง ดังนั้น จึงเรียกส่วนนี้ว่า “Flip Book” หรือส่วนหน้าหนังสือที่เปิดพลิกได้

2. แถบรายการคําสั่ง (Menu Bar) หรือแถบเมนู

เมื่อเปิดโปรแกรมแต่ละโปรแกรมขึ้นมา สิ่งที่เหมือนกันคือ ส่วนที่รวบรวมคําสั่งทั้งหมดที่เรียกใช้ได้ในโปรแกรมนั้น ในชุดแบบฝึกปฏิบัตินี้จะเรียกว่า แถบเมนู เป็นแถบรายการคําสั่งที่อยู่ด้านบนซึ่งโปรแกรมทั่วๆ ไป จะต้องมีแถบเมนูนี้เพื่อสั่งการให้โปรแกรมทํางานตามที่ต้องการ ซึ่งประกอบด้วยเมนู จํานวน 12กลุ่ม ดังภาพ

การสร้างงาน บันทึกงาน

การสร้างงานขึ้นมาใหม่ และการบันทึกงาน เป็นพื้นฐานที่นักเรียนจะต้องเรียนรู้ เพราะในการสร้างงานทุกครั้ง เราจะต้องบันทึกงาน เพื่อที่สามารถนำกลับมาปรับปรุงแก้ไขงานนั้นได้ เดี๋ยวเรามาเลยสร้างงานใหม่ กันเลย

ขั้นตอนการสร้างชิ้นงาน

Step: 1 ให้นักเรียนเปิดโปรแกรม Flip Album ขึ้นมาให้พร้อมใช้งานได้เลย

Step: 2 ให้นักเรียนไปที่ Menu Bar เลือกคำสั่ง File ดังภาพตัวอย่างด้านล่าง

Step:3 ให้นักเรียนเลือกคำสั่ง NewBook เพื่อสร้างชิ้นงานขึ้นมาใหม่ หรืออีกวิธี นักเรียนสามารถกดปุ่ม Ctrl+N ที่คีย์บอร์ดก็ได้ ดังภาพตัวอย่างทางด้านล่าง

step:4 จากนั้นจะปรากฏหนังสือขึ้นมาใหม่ 1 เล่ม ดังภาพตัวอย่างทางด้านล่าง


ขั้นตอนการบันทึกงาน

การบันทึกมี 2 แบบ

          แบบที่ 1 การ SAVE คือ การบันทึกงานซ้ำหรือบันทึกให้งานเป็นปัจจุบัน ที่นักเรียนเคยบันทึกงานไว้แล้ว

          แบบที่ 2 การ SAVE AS คือ การบันทึกงานที่จะระบุตำแหน่งการจัดเก็บงานชิ้นงาน

Step: 1 ให้นักเรียไปที่ Menu Bar เลือกคำสั่ง File แล้วเลือกคำสั่ง SAVE AS ดังภาพด้านล่าง

Step: 2 จากนั้นจะปรากฏหน้าต่างขึ้นมาใหม่ดังภาพด้านล่าง ให้นักเรียน เลือกตำแหน่งที่จะจัดเก็บ แล้วสร้างโฟล์เดอร์ขึ้นมาใหม่ พร้อมกับตั้งชื่อให้กับโฟล์เดอร์ จากนั้นตั้งชื่อไฟล์งานของนักเรียนที่ต้องการ ตรง Save as Type ให้เลือกเป็นนามสกุล *.OPF เพื่อให้สามารถนำไฟล์งานกลับมาแก้ไขใหม่ได้ จากนั้นกดปุ่ม SAVE  ตามภาพด้านล่าง

Step : 3 ให้นักเรียนสังเกตตรง Title Bar จะปรากฏชื่อไฟล์งานที่นักเรียนบันทึกไว้ ดังภาพด้านล่าง

Step : 4 ให้นักเรียนเข้าไปดูไฟล์งานที่นักเรียนบันทึกว่า บันทึกไว้ถูกต้องหรือไม่ 

ไฟล์งานที่ได้จะมีทั้งหมด 1 ไฟล์  1 โฟล์เดอร์ ดังภาพด้านล่าง  เสร็จสิ้นขั้นตอนการบันทึกงาน 

การเพิ่ม ลบ หน้ากระดาษ (Page)
การเพิ่ม ลบ หน้ากระดาษ (Page)
          การเพิ่ม ลบ หน้ากระดาษ เป็นขั้นตอนการเพิ่ม ลบ กระดาษ ตามความต้องการของผู้ออกแบบ E-Book ให้เหมาะสมกับเนื้อหาที่ใส่เข้าไปในหน้ากระดาษ ดังนั้น การเพิ่ม ลบ หน้ากระดาษ จึงเป็นสิ่งสำคัญในการสร้าง E-book ด้วย Flip Album

ขั้นตอนการ เพิ่มหน้ากระดาษ
          มี 2 วิธี
วิธีที่ 1

Step : 1 ให้นักเรียนเปิดไฟล์งานที่บันทึกไว้แล้ว ให้พร้อมใช้งาน ดังภาพ

Step : 2 ให้นักเรียนไปที่ Menu Bar เลือกคำสั่ง Edit แล้วเลือก Insert Page จากนั้นให้นักเรียนเลือกว่าจะเพิ่ม หน้าซ้ายหรือหน้าขวา ตามความต้องการของนักเรียนที่จะเพิ่มได้เลย

          Left Page คือ เพิ่มหน้ากระดาษด้านซ้าย
          Right Page  คือ เพิ่มหน้ากระดาษด้านขวา
          Mutiple Page คือ เพิ่มหน้ากระดาษแบบระบุจำนวนหน้า

วิธีที่ 2
Step : 1 ให้นักเรียนคลิ๊กขวาที่หน้ากระดาษฝั่งที่นักเรียนต้องการเพิ่ม จากนั้นเลือกคำสั่ง Insert Page ดังภาพตัวอย่างด้านล่าง

Step : 2 นักเรียนสามารถดูหน้ากระดาษที่เพิ่มขึ้นมาได้ ดังภาพตัวอย่างด้านล่าง

เสร็จสิ้นขั้นตอนการเพิ่มหน้ากระดาษ

ขั้นตอนการ ลบ หน้ากระดาษ
Step : 1 นักเรียนคลิ๊กขวาหน้าที่ต้องการลบ จากนั้นเลือกคำสั่ง Delete Page ดังตัวอย่างภาพด้านล่าง

สังเกตว่าหน้ากระดาษลดลง

การแทรก ตกแต่ง แก้ไข ข้อความ

การแทรก ตกแต่ง แก้ไข ข้อความ

          การใส่ข้อความหรือเนื้อหา เป็นส่วนที่มีความสำคัญมากที่สุด เพราะจะเป็นส่วนที่สื่อความหมาย ให้ผู้ที่อ่านได้เข้าใจในเรื่องราวนั้นๆ ดังนั้นข้าความจึงมีบทบาทเป็นอย่างมาก

ขั้นตอนการแทรก ตกแต่ง แก้ไข ข้อความ

มีอยู่ 2 วิธี

วิธีที่ 1

Step : 1 ให้นักเรียนเปิดโปรแกรม Flip Album ให้พร้อมใช้งาน ดังภาพด้านล่าง

Step : 2 ให้นักเรียนเลือกคำสั่ง Edit ที่ Menu Bar ดังภาพตัวอย่างด้านล่าง

Step : 3 ให้นักเรียนเลือกคำสั่ง Insert Annotation เพื่อที่จะแทรกข้อความ จากนั้นนักเรียนเลือกคำสั่งว่าจะแทรกข้อความด้านซ้ายหรือด้านขวา หน้ากระดาษ ดังภาพด้านล่าง

Step : 4 เมื่อนักเรียนเลือกแทรกข้อความแล้วนั้น นักเรียนสามารถพิมพ์ข้อความที่ต้องการ หรือนักเรียนสามารถ คัดลอกข้อความ จากไฟล์ Word ที่นักเรียนเตรียมมาก็ได้ ดังภาพตัวอย่าง

Step : 5 ถ้านักเรียนต้องการ จะย้ายข้อความ ให้นักเรียน คลิ๊กที่ว่าง 1 ครั้ง นักเรียนสังเกต สัญลักษณ์ ลูกศร จะเป็นสีชมพู ดังภาพตัวอย่าง

Step : 6  จากนั้นนักเรียนนำเมาส์มา ชี้ที่ข้อความที่จะย้าย สังเกตเมาส์จะเป็นรูปมือ แล้วคลิ๊กค้างแล้วย้ายข้อความได้เลย ดังภาพตัวอย่าง

Step : 7  นักเรียนสามารถ ย่อ ขยาย กรอบของข้อความได้อีกด้วย ดังภาพตัวอย่าง

Step : 8 นักเรียนสามารถ แก้ไข ตกแต่ง ข้อความ ได้ตามความต้องการ โดยโปรแกรมจะปรากฎหน้าต่างการปรับแต่งข้อความให้

เสร็จสิ้นการแทรก ข้อความ แก้ไข ปรับแต่งข้อความ วิธีที่ 1

วิธีที่ 2

Step : 1 ให้นักเรียนคลิ๊ก ขวา หน้ากระดาษที่นักเรียนต้องการแทรกข้อความ จากนั้นเลือกคำสั่ง Annotate ดังภาพตัวอย่างด้านล่าง

Step : 2 นักเรียนสามารถแทรกข้อความได้แล้ว ตามวิธีที่ 1 วิธีที่ 2 จะสะดวกรวดเร็วกว่าวิธีที่ 1

การแทรกภาพ

          ภาพเป็นองค์ประกอบสำคัญอีกอย่างที่ สามารถสื่อความหมายได้ ส่วนมากหนังสือจะนำภาพ มาอธิบายเรื่องราวได้ดี กว่าข้อความ เพราะมนุษย์สามารถมองภาพแล้วเกิดเป็นความทรงจำนั้นเอง วันนี้ นักเรียนจะได้เรียนรู้ วิธีการแทรกภาพ

ขั้นตอนการแทรกภาพ

          มี 3 วิธี

วิธีที่ 1

Step : 1 ให้นักเรียนเปิดโปรแกรม Flip Album ให้พร้อมใช้งาน

Step : 2 ให้นักเรียนเลือกคำสั่ง Edit ที่ Menu Bar แล้วเลือก Insert Muti - Media Object ดังภาพด้านล่าง

Step : 3 จากนั้นจะปรากฏ หน้าต่าง แทรกภาพขึ้นมา ให้นักเรียนเลือกตำแหน่งจัดเก็บของภาพ จากนั้น ให้นักเรียนลากภาพที่นักเรียนต้องการลงใส่ หน้ากระดาษ ดังภาพตัวอย่างด้านล่าง

Step : 4 เมื่อนักเรียนแทรกภาพเสร็จแล้ว นักเรียนสามารถ จัดตำแหน่งของภาพได้ โดยการนำเมาส์คลิ๊กค้างที่ภาพ แล้วลากไปวางตำแหน่งที่ต้องการได้เลย

Step : 5 ถ้านักเรียนต้องการ ย่อ ขยายภาพ ให้นักเรียนนำเมาส์มาคลิ๊กที่ภาพ 1 ครั้ง ภาพจะปรากฏ กรอบ Freetranform ขึ้นมา ให้นักเรียน ย่อ ขยาย ตามความต้องการได้เลย ดังภาพด้านล่าง

เสร็จสิ้นขั้นตอนการแทรกภาพ วิธีที่ 1

วิธีที่ 2

Step : 1 ให้นักเรียนคลิ๊กขวาในหน้ากระดาษที่นักเรียนต้องการแทรกภาพ ตามตัวอย่างภาพด้านล่าง

Step : 2 จากนั้นจะปรากฏ หน้าต่าง แทรกภาพขึ้นมา ให้นักเรียนเลือกตำแหน่งจัดเก็บของภาพ จากนั้น ให้นักเรียนลากภาพที่นักเรียนต้องการลงใส่ หน้ากระดาษ ดังภาพตัวอย่างด้านล่าง

Step : 3 จากนั้นนักเรียนปรับแต่งภาพ ได้ตามความต้องการได้เลย

เสร็จสิ้นขั้นตอนการแทรกภาพ วิธีที่ 2

วิธีที่ 3

Step : 1 ให้นักเรียนคลิ๊กเลือกสัญลักษณ์ + ที่ Toolbar ดังภาพด้านล่าง

Step : 2 จากนั้นจะปรากฏ หน้าต่าง แทรกภาพขึ้นมา ให้นักเรียนเลือกตำแหน่งจัดเก็บของภาพ จากนั้น ให้นักเรียนลากภาพที่นักเรียนต้องการลงใส่ หน้ากระดาษ ดังภาพตัวอย่างด้านล่าง

Step : 3 จากนั้นนักเรียนปรับแต่งภาพ ได้ตามความต้องการได้เลย

การแทรกเสียง

การแทรกเสียง

          เสียงเป็นองค์ประกอบสำคัญอีกอย่างหนึ่งที่ทำให้ มนุษย์สามารถสื่อสารกันไปรวดเร็วขึ้น ดังนั้นเสียงจึงเป็นองค์ประกอบที่จะนำมาใช้ในการสร้าง E-Book วันนี้นักเรียนจะได้เรียนรู้วิธีการแทรกเสียง

ขั้นตอนการแทรกเสียง

          มีอยู่  2  วิธี

วิธีที่ 1

Step : 1 ให้นักเรียนเปิดโปรแกรม Flip Album ให้พร้อมใช้งาน ดังภาพตัวอย่างด้านล่าง

Step : 2 ให้นักเรียนเลือกคำสั่ง Edit ที่ Menubar แล้วเลือก Insert Muti-Media Object เพื่อทำการแทรกภาพ ดังตัวอย่างภาพด้านล่าง

Step : 3 ต่อมาจะปรากฏหน้าต่างใหม่ขึ้นมา ให้นักเรียนเข้าไปเลือกตำแหน่งที่จัดเก็บไฟล์เสียงภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ของนักเรียน ดังภาพด้านล่าง

Step : 4 เมื่อนักเรียนเจอไฟล์เสียงที่ต้องการแล้วให้นักเรียน คลิ๊กลากไฟล์ลงมาวางในหน้ากระดาษที่นักเรียนต้องการได้เลย ตามภาพด้านล้าง

Step : 5 เมื่อนักเรียนนำไฟล์เสียงเข้ามาในชิ้นงานแล้วนั้น จะสังเกตได้ว่า จะมีสัญลักษณ์รูปดนตรีขึ้นมา นักเรียนสามารถที่จะจัดตำแหน่งที่ต้องการได้โดยการคลิ๊กลากเสร็จสิ้นขั้นตอนการแทรกเสียง วิธีที่ 1

วิธีที่ 2

Step : 1 ให้นักเรียนคลิ๊กขวาในหน้ากระดาษที่ต้างการแทรกเสียง จากนั้นเลือกคำสั่ง Insert Muti-Media Object ดังภาพด้านล่าง

Step : 2 ต่อมาจะปรากฏหน้าต่างใหม่ขึ้นมา ให้นักเรียนเข้าไปเลือกตำแหน่งที่จัดเก็บไฟล์เสียงภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ของนักเรียน ดังภาพด้านล่าง

Step : 3 เมื่อนักเรียนเจอไฟล์เสียงที่ต้องการแล้วให้นักเรียน คลิ๊กลากไฟล์ลงมาวางในหน้ากระดาษที่นักเรียนต้องการได้เลย ตามภาพด้านล้าง

Step : 4 เมื่อนักเรียนนำไฟล์เสียงเข้ามาในชิ้นงานแล้วนั้น จะสังเกตได้ว่า จะมีสัญลักษณ์รูปดนตรีขึ้นมา นักเรียนสามารถที่จะจัดตำแหน่งที่ต้องการได้โดยการคลิ๊กลาก









ClassStart ให้บริการฟรีโดย บริษัท ปิยะวัฒนา จำกัด
เราเป็นกิจการเพื่อสังคม (Social Enterprise)
สนับสนุนโดย
ผู้ไม่ประสงค์ออกนามท่านหนึ่ง (2563-2566)
มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์ (2561-2563)
กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (2557-2558)
กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (2557)
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (2554-2558)
GotoKnow
ClassStart Books