สำนวนไทยใกล้ตัว


ผู้สอน
สุวิมล กาลือนัน
เข้าสู่ระบบเมื่อ มากกว่า 5 ปี ที่แล้ว

ชื่อวิชา
สำนวนไทยใกล้ตัว

รหัสวิชา
29793

สถานศึกษา
โรงเรียนบ้านตอแล

คำอธิบายวิชา


สำนวน/สุภาษิตไทย

       สำนวน หมายถึง ถ้อยคำที่เรียบเรียงด้วยความคมคายสละสลวย ใช้พูดสื่อสารกันมีความหมายเป็นนัย กินความลึกซึ้ง แต่เป็นที่เข้าใจกันแพร่หลาย ถ้อยคำที่เรียบเรียงไว้จะสลับที่หรือตัดทอนไม่ได้ เช่น หัวหกก้นขวิด หมูไปไก่มา ตีนเท่าฝาหอย อ้อยเข้าปากช้าง ขวานผ่าซาก คว้าน้ำเหลว ปั้นน้ำเป็นตัว ฯลฯ

      สุภาษิต หมายถึง ถ้อยคำที่กล่าวเป็นทำนองให้ข้อคิด คติ สั่งสอน เพื่อให้กระทำความดีและละเว้นความชั่ว เช่น ความพยายามอยู่ที่ไหน ความสำเร็จอยู่ที่นั่น ฝนทั่งให้เป็นเข็ม ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่วอย่าชิงสุกก่อนห่าม อย่าเห็นกงจักรเป็นดอกบัว กงเกวียนกงกรรม รักวัวให้ผูกรักลูกให้ตี

      คำพังเพย จะเป็นคำที่กล่าวกลางไว้ให้ตีความหมายเข้ากับเรื่อง มีความหมายทำนองติชม การเปรียบเทียบ และให้ข้อคิดในการปฏิบัติ เช่น คางคกขึ้นวอ กระต่ายตื่นตูม เห็นช้างขี้ อย่าขี้ตามช้าง ไก่งามเพราะขน คนงามเพราะแต่ง น้ำพึ่งเรือเสือพึ่งป่า

ตัวอย่างสำนวน  สุภาษิต  คำพังเพย

กบในกะลาครอบ     :    ความรู้และประสบการณ์น้อย เหมือนกบที่ถูกกะลาครอบไว้ แต่สำคัญตนว่ามีความรู้มาก เพราะมองเห็น                                    เพียงกะลาแคบๆ

กระต่ายตื่นตูม         :   อาการที่ตื่นตกใจง่ายโดยไม่ทัน

กิ่งทองใบหยก        :   เหมาะสมกันในทุกด้าน

ขว้างงูไม่พ้นคอ       :  ทำอะไรแล้วผลร้ายกลับมาสู่ตนเอง

ขิงก็รา ข่าก็แรง       :  ต่างก็จัดจ้านพอ ๆ กัน, ต่างก็มีอารมณ์ร้อนพอ ๆ กันต่างไม่ยอมลดละกัน

คนรักเท่าผืนหนัง คนชังเท่าผืนเสื่อ     :  คนรักมีน้อย คนชังมีมาก

ฆ่าควายอย่าเสียดายพริก     :  ทำการใหญ่ไม่ควรตระนี่

งานหลวงไม่ให้ขาด งานราษฎรไม่ให้เสีย     :  ทำงานไม่บกพร่องทั้งงานส่วนรวมและส่วนตัว

จับแพะชนเเกะ  :  การทำอะไรก็ทำแบบขอไปที จับเรื่องนั้นเรื่องนี้มาปนกันเพื่อให้สำเร็จไปคราวหนึ่ง

ใฝ่สูงจนเกินศักดิ์   :   หวังสิ่งที่เกินฐานะของตน



ClassStart ให้บริการฟรีโดย บริษัท ปิยะวัฒนา จำกัด
เราเป็นกิจการเพื่อสังคม (Social Enterprise)
สนับสนุนโดย
ผู้ไม่ประสงค์ออกนามท่านหนึ่ง (2563-2566)
มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์ (2561-2563)
กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (2557-2558)
กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (2557)
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (2554-2558)
GotoKnow
ClassStart Books