การลำเลียงสารผ่านเซล์


ผู้สอน
เกศศิรินทร์ มหรรณพ
เข้าสู่ระบบเมื่อ ประมาณ 6 ปี ที่แล้ว

ชื่อวิชา
การลำเลียงสารผ่านเซล์

รหัสวิชา
29854

สถานศึกษา
เกศศิรินทร์ มหรรณพ

คำอธิบายวิชา

การลำเลียงสารผ่านเซลล์

1. การลำเลียงสารผ่านเยื่อหุ้มเซลล์   

1.1 การเคลื่อนที่แบบไม่ใช้พลังงาน (passive transport)                

 Simple diffusion

      เป็นการแพร่จากบริเวณสารละลายที่มีความเข้มข้นสูงไปยังบริเวณที่มีสารละลายเข้มข้นต่ำจนทั้งสองบริเวณมีความเข้มข้นของสารละลายเท่ากัน เรียก สมดุลการแพร่ (Dynamic equiibrium)เช่น การแพร่ของก๊าซในหลอดเลือดฝอย

Facilitated diffusion                                                                                                                                          

จากบริเวณที่มีความเข้มข้นของสารสูงไปยังบริเวณที่มีความเข้มข้นของสารต่ำโดยผ่านโปรตีน บนเยื่อหุ้มเซลล์ เช่น การเคลื่อนที่ของ  Ca2+,  Cl-,  Na+ และ K+

osmosis

       การเคลื่อนที่ของสารละลายที่มีความเข้มข้นต่ำ(น้ำมาก)ไปยังบริเวณที่มีความเข้มข้นของสารละลายสูง (น้ำน้อย)  โดยผ่านเยื่อเลือกผ่านจนกระทั่งถึงจุดสมดุลเมื่ออัตราการเคลื่อนที่ของนํ้าผ่านเยื่อเลือกผ่านไปและกลับมีค่าเท่า ๆ กันซึ่งการออสโมซิสอาจถือได้ว่าเป็นการแพร่อย่างหนึ่ง การออสโมซิสจะมีผลทำให้รูปร่างของเซลล์เปลี่ยนแปลงดังนี้

1. Isotonic solution คือความเข้มข้นของสารละลายภายในเซลล์และภายนอกเซลล์เท่ากันเซลล์รูปร่างปกติ

2. Hypertonic solution คือความเข้มข้อของสารละลายภายนอกสูงกว่าภายในเซลล์น้ำในเซลล์จึงออสโมซิสออกจากเซลล์ เซลล์จะมีสภาพเหี่ยว เรียกกระบวนการแพร่ของนํ้าออกมาจากไซโทพลาสซึมและมีผลทำให้เซลล์มีปริมาณเล็กลงนี้ว่า พลาสโมไลซิส (Plasmolysis)

3. Hypotonic solution คือความเข้มข้นของสารละลายภายในเซลล์สูงกว่าภายนอกเซลล์ น้ำจึงออสโมซิสเข้ามาในเซลล์ทำให้เซลล์แตกหรือเซลล์เต่งในเซลล์พืช เรียกปรากฏการณ์นี้ว่าพลาสมอบไทซิส (Plasmoptysis)  

1.2 การเคลื่อนที่แบบแอคทีฟทรานสปอร์ (active transport)

Active transport

เป็นการเคลื่อนที่ของสารละลายที่มีความเข้มข้นต่ำไปยังบรเวณที่มีความเข้มข้นของสารละลายสูงโดยใช้พลังงาน ATP และมีการใช้โปรตีนตัวพา 

2. การลำเลียงสารโดยไม่ผ่านเื่อหุ้มเซลล์  

2.1 การเคลื่อนที่แบบเอนโดไซโทซิส (Endocytosis)    

Phagocytosis

การนำสารที่มีลักษณะเป็นของแข็งหรือเซลล์ขนาดเล็ก ๆ เข้าสู่เซลล์โดยการสร้างซูโดโปเดียม (Pseudopodium) โอบล้อมสารนั้นแล้วเกิดเป็นถุงหลุดเข้าไปภายในเซลล์

Pinocytosis   

การนำสารที่เป็นของเหลวหรือสารละลายเข้าสู่เซลล์ โดยการทำให้เยื่อหุ้มเซลล์เว้าเข้าไปในไซโทพลาสซึมเป็นถุงเล็กๆ(Vesicle) และถุงนี้จะปิดสนิทหลุดเข้ามาอยู่ในไซโทพลาสซึม

Recepter-mediate

การสร้างถุงล้อมโดยมีโปรตีนที่อยู่บนเยื่อหุ้มเซลล์เป็นตัวรับ(สาร) ซึ่งสารที่เคลื่อนที่เข้าสู่เซลล์ต้อง มีความจำเพาะในการจับกับโปรตีนตัวรับ ที่เยื่อหุ้มเซลล์จึงจะสามารถเข้าสู่เซลล์ได้

2.2 การเคลื่อนที่แบบเอกโซไซโทซิส (Exocytosis) 

Exocytosis

เป็นการเคลื่อนที่ของสารที่มีขนาดโมเลกุลใหญ่ออกจากเซลล์ โดยสารเหล่านั้นจะบรรจุอยู่ในเวสิเคิล (Vesicle)จากนั้นเวสิเคิลจะค่อยๆ เคลื่อนเข้ามาเชื่อมรวมกับเยื่อหุ้มเซลล์ทำให้สารที่บรรจุอยู่ในเวสิเคิลถูกปล่อยออกสู่นอกเซลล์   

 


ClassStart ให้บริการฟรีโดย บริษัท ปิยะวัฒนา จำกัด
เราเป็นกิจการเพื่อสังคม (Social Enterprise)
สนับสนุนโดย
ผู้ไม่ประสงค์ออกนามท่านหนึ่ง (2563-2566)
มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์ (2561-2563)
กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (2557-2558)
กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (2557)
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (2554-2558)
GotoKnow
ClassStart Books