Math Classroom


ผู้สอน
กนกพร สุขวัลลิ
เข้าสู่ระบบเมื่อ มากกว่า 5 ปี ที่แล้ว

ชื่อวิชา
Math Classroom

รหัสวิชา
32674

สถานศึกษา
โรงเรียนบ้านท่าม่วง

คำอธิบายวิชา

                                                           

                                                             แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 9

  กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์                                                                    ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
      รายวิชา 13101                                                                                             ภาคเรียนที่ 2
          หน่วยการเรียนรู้ที่ 9 เรื่องเงินและการบันทึกรายรับรายจ่าย                                เวลา 8 ชั่วโมง
          หน่วยย่อยที่ 9.1 เรื่องการบอกจำนวนเงินและเขียนจำนวนเงินโดยใช้จุด             เวลา 2 ชั่วโมง

          มาตรฐานการเรียนรู้

                   ค 1.2   เข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการวัด วัดและคาดคะเนขนาดของสิ่งที่ต้องการวัด และนำไปใช้

           ตัวชี้วัด
                  
ค 1.2 ป.3/1 แสดงวิธีหาคำตอบของโจทย์ปัญหาเกี่ยวกับเงิน

          สาระสำคัญ

           เงินในประเทศไทยมี 2 ประเภท คือ เงินเหรียญประกอบด้วยเหรียญ 25 สตางค์ 50 สตางค์ 1 บาท 2 บาท 5 บาท และเหรียญ 10 บาท และเงินธนบัตร ได้แก่ ธนบัตรฉบับ 10 บาท 20 บาท 50 บาท 100 บาท 500 บาท และ 1,000 บาท การเขียนจำนวนเงินสามารถใช้จุดคั่นระหว่างจำนวนเงินที่มีหน่วยเป็นบาทกับเงินที่มีหน่วยเป็นสตางค์

          จุดประสงค์การเรียนรู้
                  
1. นักเรียนสามารถบอกค่าของเงินเมื่อกำหนดเหรียญและธนบัตรจำนวนหนึ่งได้

                    2. นักเรียนสามารถเขียนจำนวนเงินโดยใช้จุดเมื่อกำหนดเงินจำนวนหนึ่งได้

          สมรรถนะสำคัญ
                   1. ความสามารถในการสื่อสาร
                   2. ความสามารถในการคิดและแก้ปัญหา

                   3. ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต

          คุณลักษณะอันพึงประสงค์

                   1. ซื่อสัตย์สุจริต

                   2. มีวินัย

                   3. ใฝ่เรียนรู้
                   4. มุ่งมั่นในการทางาน

          ชิ้นงาน/ภาระชิ้น

          1. แบบฝึกหัดที่ 9.1.1 , 9.1.4

          แนวการวัดผล

รายการประเมิน

วิธีการ

เครื่องมือ

เกณฑ์การผ่าน

1.ชนิดและค่าของเงินเหรียญและธนบัตร

ตรวจแบบฝึก

แบบฝึกหัดที่ 9.1.1 , 9.1.2

ทำแบบฝึกได้

ถูกต้อง ร้อยละ

80-100 ดีมาก

70-79 ดี

60-69 พอใช้

0-59 ปรับปรุงร้อยละ

80-100 ดีมาก

70-79 ดี

60-69 พอใช้

0-59 ปรับปรุง

2.การเขียนจำนวนเงินโดยใช้จุด

ตรวจแบบฝึก

แบบฝึกหัดที่ 9.1.3 , 9.1.4

เกณฑ์การผ่าน ตั้งแต่ระดับคุณภาพพอใช้ขึ้นไป

สรุป      ผ่าน           ไม่ผ่าน

          สาระการเรียนรู้
                  
1. ชนิดและค่าของเงินเหรียญและธนบัตร

                   2. การเขียนจำนวนเงินโดยใช้จุด

          กิจกรรมการเรียนรู้

          ชั่วโมงที่ 1 เรื่อง ชนิดและค่าของเงินเหรียญและธนบัตร
              ขั้นที่ 1 สัมผัสของจริงหรือวัตถุสามมิติ

1.1 ครูสนทนากับนักเรียนและเล่นเกม “ทายใจ” โดยให้นักเรียนในห้องทายว่าในห้องเรียนของเราวันนี้ใครนำเงินมาโรงเรียนมากที่สุด โดยให้นักเรียนแต่ละคนหยิบเงินที่นักเรียนมีอยู่ขึ้นมาวางบนโต๊ะ บอกว่านักเรียนมีเงินชนิดใดบ้าง รวมเป็นเงินเท่าไร

1.2 ครูสนทนากับนักเรียนเกี่ยวกับชนิดและลักษณะของเงิน โดยศึกษาจากของจริงเพื่อทบทวนเกี่ยวกับค่าของเงิน และนำเงินชนิดที่ยังไม่มีในห้องเรียน เช่น ธนบัตรฉบับละ 100 บาท 500 บาท และ 1,000 บาท มาให้นักเรียนดูและศึกษา

              1.3 ครูให้นักเรียนเก็บเงินตนเอง แล้วนำเงินจำลองมาให้นักเรียนใช้เป็นสื่อ

              ขั้นที่ 2 เชื่อมโยงประสบการณ์จากการสัมผัสวัตถุสามมิติขึ้นเป็นภาพ

              2.1 ครูติดภาพเงินเหรียญและธนบัตรชนิดต่าง ๆ บนกระดานดำ แล้วให้นักเรียนช่วยกันบอกจำนวนเงินว่ามีเงินชนิดใดบ้างและมีจำนวนชนิดละเท่าใด รวมเป็นเงินทั้งหมดเท่าใด จนนักเรียนสามารถบอกจำนวนเงินได้อย่างคล่องแคล่ว เช่น

 
 

                    มีเหรียญ 5 บาท 1 เหรียญ เหรียญ 10 บาท 1 เหรียญ ธนบัตรฉบับละ 20 บาท 1 ฉบับ ธนบัตรฉบับละ 100 บาท 1 ฉบับ รวมเป็นเงิน 135 บาท

<p>
      </p>

</td>

              2.2 ครูแจกบัตรภาพแสดงเงินและบัตรคำจำนวนเงินให้นักเรียนคนละ 1 ใบ จากนั้นให้นักเรียนจับคู่บัตรภาพจำนวนเงินและบัตรคำจำนวนเงินที่มีค่าเท่ากัน นักเรียนที่จับคู่ได้แล้วให้นั่งลง เมื่อครบแล้วครูและเพื่อน ๆ ช่วยกันตรวจสอบความถูกต้อง

                   27 บาท               

</p>

                   50 บาท               

</td>

</p>

                   10 บาท               

   </p>
</td>

                   80 บาท

</td>

</p>

                   125 บาท

   </p>
</td>

                  1000 บาท

              ขั้นที่ 3 เรียนรู้ด้วยการเชื่อมโยงจากภาพควบคู่กับสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์

              3.1 ครูติดบัตรภาพเงินชนิดต่าง ๆ แล้วให้นักเรียนเขียนจำนวนเงินของแต่ละภาพ เช่น

&nbsp;</p>

            รวมเป็น 150 บาท

&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; &nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; <strong>100 บาท&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; 20 บาท&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; 20 บาท&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; </strong></p>

             รวมเป็น 570 บาท

                            500 บาท                   20 บาท                    50 บาท

              ขั้นที่ 4 เรียนรู้ด้วยสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์

              4.1 ครูบอกจำนวนเงินชนิดต่าง ๆ แล้วให้นักเรียนบอกจำนวนเงินทั้งหมด ดังนี้

         ✿ เหรียญสิบบาท 2 เหรียญ เหรียญห้าบาท 1 เหรียญ รวมเป็นเงินกี่บาท (25 บาท)

         ✿ เหรียญห้าบาท 5 เหรียญ เหรียญบาท 3 เหรียญ เหรียญห้าสิบสตางค์ 1 เหรียญ รวมเป็นเงินกี่บาท (28 บาท 50 สตางค์)

         ✿ ธนบัตรยี่สิบบาท 2 ฉบับ รวมเป็นเงินกี่บาท (40 บาท)

         ✿ ธนบัตรหนึ่งร้อยบาท 3 ฉบับ ธนบัตรห้าสิบบาท 1 ฉบับ เหรียญบาท 3 เหรียญรวมเป็นเงินทั้งหมดกี่บาท (353 บาท)

         ✿ ธนบัตรยี่สิบบาท 1 ฉบับ เหรียญสิบบาท 1 เหรียญ เหรียญบาท 3 เหรียญรวมเป็นเงินกี่บาท (33 บาท)

              4.2 นักเรียนแต่ละกลุ่มกำหนดจำนวนเงินธนบัตร เงินเหรียญ กลุ่มละ 5 แบบ แล้วให้เพื่อนต่างกลุ่มตอบจำนวนเงินที่กลุ่มนักเรียนกำหนด เช่น

   </p>
</td>

รวมเป็นเงิน 722 บาท

   </p>
</td>

รวมเป็นเงิน 32 บาท

              4.3 นักเรียนและครูร่วมกันอภิปรายสรุปบทเรียนเกี่ยวกับเงินเหรียญและธนบัตรชนิดต่าง ๆ

              4.4 ให้นักเรียนทำแบบฝึกที่ 9.1.1-9.1.2

สื่อและแหล่งเรียนรู้

          1. เงินเหรียญและธนบัตรชนิดต่าง ๆ ทั้งของจริงและของจำลอง

          2. บัตรภาพจำนวนเงิน

          3. บัตรคำจำนวนเงิน

          4. เกมทายใจ เกมจับคู่

          5. สิ่งของต่าง ๆ หรือบัตรรูปภาพ เช่น ยางลบ ดินสอ สมุด

          6. แบบฝึกที่ 9.1.1-9.1.4



https://www.youtube.com/watch?...     


ClassStart ให้บริการฟรีโดย บริษัท ปิยะวัฒนา จำกัด
เราเป็นกิจการเพื่อสังคม (Social Enterprise)
สนับสนุนโดย
ผู้ไม่ประสงค์ออกนามท่านหนึ่ง (2563-2566)
มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์ (2561-2563)
กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (2557-2558)
กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (2557)
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (2554-2558)
GotoKnow
ClassStart Books