ธุรกิจ โรงงานผลิตน้ำเเข็ง


ผู้สอน
นางสาว พิกุล กันทะ
เข้าสู่ระบบเมื่อ มากกว่า 4 ปี ที่แล้ว

ชื่อวิชา
ธุรกิจ โรงงานผลิตน้ำเเข็ง

รหัสวิชา
36793

สถานศึกษา
มหาวิทยาลัยเนชั่น ลำปาง

คำอธิบายวิชา

สําหรับผู้ประกอบการรายใหม่ที่สนใจจะลงทุนโรงผลิตน้ำแข็ง เนื่องจากเมืองไทยมีอากาศร้อน “น้ำแข็ง” จึง มีบทบาทที่จะช่วยคลายความร้อนได้เป็นอย่างดี การทําน้ำแข็งเป็นธุรกิจที่สามารถเติบโตได้อีกมาก เพราะสภาพอากาศในประเทศเอื้ออํานวยปัจจุบันนี้ โรงงานน้ำแข็งยังมีจํานวนน้อย จะเห็นไดว่าโรงงานน้ำแข็งมีอยู่ประมาณ 1 หรือ 2 โรง เท่านั้นในแต่ละพื้นที่หรือแต่ละเขต ขณะที่ประชากรเพิ่มจํานวนมากขึ้น เนื่องจากการเกิด การย้ายถิ่นที่อยู่อาศัย ทําให้ความต้องการบริโภคน้ำแข็งเพิ่มจํานวนขึ้น โดยเฉพาะพื้นที่ที่มีความเจริญอย่างไรก็ตาม การจัดตั้งโรงผลิตน้ำแข็งไม่ใช่เรื่องง่ายๆ เหตุผลเพราะธุรกิจนี้อาศัยเงินลงทุนสูง ขณะเดียวกัน ธุรกิจนี้ก็แข่งขันกันสูง และมีการกําหนดพื้นที่ขาย สําหรับผู้ประกอบการราย

ใหม่ที่สนใจจะลงทุนโรงผลิตน้ำแข็ง อาจศึกษาข้อมูลเบื้องต้นดังต่อไปนี้ เพื่อประกอบการตัดสินใจ

  1. ศักยภาพของผู้ประกอบการ

· มีความพร้อมในเรื่องเงินลงทุนเริ่มต้น ผู้ ประกอบการจะต้องมีเงินลงทุนสูงพอสมควรไม่ว่าจะลงทุนในด้านเครื่องจักรและ วัสดุอุปกรณ์การทําน้ำแข็ง เช่น เครื่องกรองน้ำห้องเย็น รวมไปถึงผู้ประกอบการต้องมีเงินทุนหมุนเวียน เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายการผลิตในแต่ละเดือน เช่น ค่าไฟฟ้า ค่าน้ำประปาหรือค่าน้ำบาดาล ค่าจ้างพนักงาน ฯลฯ รวมไปถึงการให้เครดิตกับลูกค่า

· มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีและรักงานบริการ เนื่อง จากผู้ประกอบการจะต้องติดต่อกับตัวแทนจําหน่ายเพื่อส่งน้ำแข็ง ผู้ประกอบการจึงควรเป็นคนที่มีอัธยาศัยดี เพราะสินค้าประเภทนี้ ราคาจะใกล้เคียงกัน ดังนั้น ผู้ประกอบการจึงควรมีการบริการที่ดี เพื่อสร้างความประทับใจให้กับลูกค้า

· มีทําเลที่ตั้งที่เหมาะสมในการทําธุรกิจ กล่าวคือ ควรตั้งอยู่ไม่ไกลจากชุมชนมี ประชากรหนาแน่น เช่น อยู่ใกล้ตลาด หอพัก อพาร์ทเม้นท์ และเส้นทางขนส่งสะดวก ทั้งการนําสินค้าไปจําหน่ายและบริโภค เพราะน้ำแข็งเป็นผลิตภัณฑ์ที่ละลายเร็ว ลูกค้าส่วนมากจึงมักอยู่ในเขตพื้นที่ใกล้เคียงกับโรงงานผลิตน้ำแข็ง ฉะนั้น ถ้าเส้นทางการขนส่งไม่สะดวก ลูกค้าอาจหันไปใช้บริการกับสถานประกอบการอื่นที่อยู่ใกล้กว่า เนื่องจากลูกค้าจะเสียเวลาเดินทางน้อยกว่า และประหยัดค่าใช้จ่ายในการขนส่งมากกว่า

  1. การติดต่อกับหน่วยราชการ

ผู้ประกอบการโรงงานน้ำแข็งจะต้องติดต่อกับหน่วยงานราชการ ดังนี้

  1. หน่วยงานท้องที่ ในเรื่องการขออนุญาตสถานที่ผลิตอาหารและการชําระภาษีโรงเรือน

  2. กรมโรงงาน หากสถานประกอบการเข้าข่ายโรงงาน โดยดูจากจํานวนแรงม้าของเครื่องจักร

  3. กรมทรัพยากรธรณี ในกรณีที่ไม่มีน้ำประปา หรือน้ำประปาไม่เพียงพอ

  4. การไฟฟ้า เนื่องจากกําลังไฟฟ้าที่ใช้ตามบ้านเรือนไม่เพียงพอต่อกําลังการผลิตของเครื่องจักร

  5. กรมทะเบียนการค่า เพื่อการจัดตั้งกิจการ

  6. สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยาหรือสาธารณสุขจังหวัด เช่น การขออนุญาตผลิตอาหารและการขอเครื่องหมาย อย.

  7. ภาษี เพื่อเสียภาษีเงินได้ และภาษีมูลค่าเพิ่ม

  8. หน่วยงานท้องถิ่น/สํานักงานเขต

¨ การขออนุญาตสถานที่ผลิตอาหาร

ผู้ประกอบการจะต้องตรวจสอบว่า สถานที่ผลิตอยู่ในความรับผิดชอบของหน่วยงานราชการท้องถิ่นใด เช่น เทศบาล องค์การบริหารส่วนจังหวัด องค์การบริหารส่วนตําบลหรือกรุงเทพมหานคร เป็นต้น และส่วนราชการท้องถิ่นนั้น กําหนดให้การผลิตอาหารต้องยื่นขออนุญาตหรือไม่

§ สถานที่ติดต่อ

กรุงเทพมหานคร ติดต่อสํานักงานเขต

ต่างจังหวัด ติดต่อราชการส่วนท้องถิ่น เช่น เทศบาล องค์การบริหารส่วนจังหวัด

องค์การบริหารส่วนตําบล

§ ค่าธรรมเนียมการขออนุญาต

ขึ้นอยู่กับข้อกําหนดของแต่ละท้องถิ่น โดยทั่วไป ผู้ประกอบการจะต้องเสียค่าธรรม

เนียมไม่เกิน 1,000 บาท แต่อัตราสูงสุดที่กฎหมายกําหนดไว้ คือ 10,000 บาท

ผู้ประกอบการสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้จาก

http://www.fda.moph.go.th/fda-net/html/product/other/kbs3/fdframe.htm

บทที่ 6 หน้า 66 - 74

¨ ภาษีโรงเรือนและที่ดิน

ในกรณีที่สิ่งปลูกสร้างเป็นอาคารหรือโรงเรือน ผู้ประกอบการจะต้องเสียภาษีโรงเรือนและที่ดิน

กรุงเทพ มหานคร สามารถชําระได้ยังสํานักงานเขตที่โรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างตั้งอยู่ต่าง จังหวัด ชําระได้ที่เทศบาล องค์การบริหารส่วนจังหวัด องค์การบริหารส่วนตําบล รายละเอียดการเสียภาษี ผู้สนใจสามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ http://www.bma.go.th/html/page4.html

  1. กรมโรงงานอุตสาหกรรม

สถานที่เข้าข่ายโรงงาน สามารถแยกได้เป็น 3 ประเภท ดังนี้

  1. โรงงานประเภท 1 มีเครื่องจักรหรืออุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิต 5 – 20 แรงม้า หรือมีคนงานไม่เกิน 20 คน โรงงานประเภทนี้ไม่ต้องขออนุญาต แต่ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในกฏกระทรวงและประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม

  2. โรงงานประเภท 2 มีเครื่องจักรที่ใช้ในการผลิต 20 – 50 แรงม้า หรือมีคนงานไม่เกิน50 คน เมื่อจะเริ่มประกอบกิจการ โรงงานต้องแจ้งต่อกรมโรงงานอุตสาหกรรม หรือ สํานักงานอุตสาหกรรมจังหวัด ที่โรงงานตั้งอยู่

  3. โรงงานประเภท 3 มีเครื่องจักรหรืออุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิตเกิน 50 แรงม้า หรือมีคนงานเกิน 50 คน หรือโรงงานประเภท 1 และ 2 ที่มีการใช้ฟืน ขี้เลื่อย หรือแกลบเป็นเชื้อเพลิงในการผลิต ผู้ประกอบการต้องยื่นขออนุญาตก้อน จึงจะตั้งโรงงานได้

§ การชําระค่าธรรมเนียม

ค่าธรรมเนียมใบอนุญาต มีตั้งแต่ 500 บาท สูงสุด 50,000 บาท ขึ้นอยู่กับจํานวนแรงม้าของเครื่องจักร

ค่าธรรมเนียมรายปี มีตั้งแต่ 150 บาท สูงสุด 18,000 บาท ผู้ประกอบกิจการโรงงานจําพวกที่ 2 และ 3 ต้อง ชําระค่าธรรมเนียมรายปีทุกปี ตั้งแต่วันเริ่มประกอบกิจการโรงงาน ถ้าผู้ประกอบการมิได้เสียค้าธรรมเนียมภายในเวลาที่กําหนด ผู้ประกอบการจะต้องเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละห้าต่อเดือน

§ สถานที่ชําระค่าธรรมเนียม

โรงงานในเขตกรุงเทพมหานคร ชําระค่าธรรมเนียมที่กรมโรงงานอุตสาหกรรม

โรงงานในจังหวัดอื่นๆ ชําระที่สํานักงานอุตสาหกรรมจังหวัดที่โรงงานตั้งอยู่ผู้สนใจสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติม ได้ที่

http://www.fda.moph.go.th/fda-net/html/product/other/kbs3/fdframe.htm

บทที่ 6 หน้า 66 - 74, การขออนุญาตตั้งสถานที่ผลิตอาหาร

  1. กรมทรัพยากรธรณี

¨ การขอใช้น้ำบาดาลและการขออนุญาตเจาะน้ำบาดาล

ในกรณีที่ผู้ประกอบการมีปัญหาเรื่องน้ำ คือ น้ำประปาไปไม่ถึง หรือน้ำประปาเข้าถึง แต่ไม่

เพียงพอต่อการผลิตสินค้า ผู้ประกอบการจะต้องขออนุญาตการใช้น้ำบาดาลกับกรมทรัพยากรธรณี

§ สถานที่ยื่นคําขอ

กองควบคุมกิจการน้ำบาดาล หรือฝ่ายพัฒนาน้ำบาดาล หรือทรัพยากรธรณีประจําท้องที่ หรืออุตสาหกรรมจังหวัด ผู้สนใจสามารถศึกษารายละเอียดการขออนุญาต ได้ที่

http://www.dmr.go.th/service/TSOOOOOM.htm

4.การไฟฟ้า

¨ การขอติดตั้งหม้อแปลงไฟฟ้า

ในการผลิตน้ำแข็งนั้น ไฟฟ้าเป็นสิ่งจําเป็น แต่หม้อแปลงที่ใช้ตามบ้านมักมีกําลังการผลิต

ไฟฟ้าไม่เพียงพอ ผู้ประกอบการต้องขอติดตั้งหม้อแปลงไฟฟ้า ให้เหมาะสมกับกําลังไฟที่ใช้

§ สถานที่ติดต่อ

กรุงเทพมหานคร ติดต่อที่การไฟฟ้านครหลวงเขตหรือสาขาย่อย

ต่างจังหวัด ติดต่อได้ที่การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ของแต่ละจังหวัด

ผู้สนใจสามารถศึกษารายละเอียดการขอไฟฟ้าเพิ่มเติม ได้ที่

http://www.mahadthai.com/html/

  1. กรมทะเบียนการค่า

รายละเอียดการจัดตั้งธุรกิจ / การขออนุญาต ผู้สนใจสามารถศึกษาเพิ่มเติม ได้ที่

http://www.thairegistration.com/thai/register/detail5.phtml

  1. สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา

¨ การขออนุญาตผลิตอาหาร

สถาน ที่ผลิตอาหารที่เข้าข่ายโรงงาน ผู้ประกอบการจะต้องยื่นขออนุญาตเป็นผู้ผลิตอาหารต่อสํานักคณะกรรมการอาหาร และยา หรือสํานักงานสาธารณสุขจังหวัด ที่โรงงานตั้งอยู่

§ สถานที่ติดต่อ (กรณีเข้าข่ายโรงงาน)

กรุงเทพมหานคร ติดต่อกองควบคุมอาหาร สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยากระทรวงสาธารณสุข

ต่างจังหวัด ติดต่อสํานักงานสาธารณสุขจังหวัด ซึ่งสถานที่ผลิตตั้งอยู่ผู้ประกอบการสามารถศึกษารายละเอียดการขออนุญาตเพิ่มเติม ได้ที่

http://www.fda.moph.go.th/fda-net/html/product/other/kbs3/fdframe.htm

บทที่ 6 หน้า 66 – 74

¨ การขออนุญาตผลิตภัณฑ (ขอเครื่องหมาย อย.)

ผู้ ประกอบการโรงน้ำแข็งจะต้องส่งตัวอย่างมาวิเคราะห์ตามที่กฎหมายกําหนด และนําผลวิเคราะห์มายื่นขออนุญาตผลิตต่อสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.)/สํานักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.)

§ สถานที่ออกใบอนุญาต (เครื่องหมาย อย.)

กรุงเทพมหานคร ติดต่อกองควบคุมอาหาร สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา

กระทรวงสาธารณสุข ถ.ติวานนท์ นนทบุรี 11000

ต่างจังหวัด สํานักงานสาธารณสุขจังหวัด ซึ่งสถานที่ผลิตตั้งอยู่

ผู้สนใจสามารถศึกษารายละเอียดขั้นตอนการขออนุญาต ได้ที่

http://www.fda.moph.go.th/fda-net/html/product/other/kbs3/fdframe.htm

บทที่ 6 หน้า 75 – 77

  1. กรมสรรพากร

รายละเอียดการจดทะเบียน / ชําระภาษี ผู้ประกอบการสามารถศึกษา ได้ที่

http://www.ismed.or.th/knowledge/alpha/body1/body1.htm

หรือที่ กรมสรรพากร http://www.rd.go.th

  1. ภาพรวมการตลาด

โรง น้ำแข็งเป็นธุรกิจที่ต้องลงทุนสูง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเครื่องจักร วัสดุอุปกรณ์การผลิตน้ำแข็ง การทําโรงน้ำแข็งจึงจําเพาะอยู่ในกลุ่มของคนที่มีสายป่านยาวเท่านั้น และสังเกตได้ประการ หนึ่งว่า ธุรกิจผลิตน้ำแข็งมักจะทํากันมาตั้งแต่สมัยบรรพบุรุษ จนถึงรุ่นลูกรุ่นหลาน โรงงานน้ำแข็งโดยทั่วไปที่เปิดกันอยู่ทุกวันนี้มักตั้งมานานนับเป็นสิบๆ ปี ทั้งผู้ผลิตและกลุ่มลูกค้าก็เป็นกลุ่มเดิมๆ ดังนั้น การเจาะหาส่วนแบ่งทางการตลาดในเขตพื้นที่นั้นๆ จะทําได้ค่อนข้างยากสําหรับโรงน้ำแข็งเปิดใหม่ เพราะธุรกิจนี้มีการกําหนดพื้นที่การจําหน่ายน้ำแข็ง ผู้ประกอบการรายใหม่จะต้องขยันหาตลาด และสร้างสินค้าของตนให้ลูกค้าเกิดความเชื่อมั่น และที่สําคัญ คือ การมีบริการที่ดีและประทับใจ

3.1 กลุ่มลูกค้า สามารถแบ่งตามชนิดของน้ำแข็งได้ ดังนี้

3.2 ธุรกิจหลักธุรกิจเสริม

ธุรกิจ หลักคือการผลิตน้ำแข็ง และหากผู้ประกอบการต้องการมีรายได้เสริม ก็สามารถทําน้ำดื่มบรรจุขวดขาย เพราะกระบวนการผลิตน้ำดื่มบรรจุขวดคล้ายคลึงกับการทําน้ำแข็ง รวมทั้งกลุ่มลูกค้าก็เป็นกลุ่มเดียวกัน อย่างไรก็ตาม ก่อนเลือกทําธุรกิจเสริม ผู้ประกอบการควรคํานึงถึงว่าตลาดมีรองรับหรือไม่ คุ้มพอที่จะทําทั้งน้ำแข็งและน้ำดื่มควบคู้กันไปได้หรือไม่ รวมถึงจะสามารถผลิตสินค้าออกมาได้อย่างมีคุณภาพเพียงใด

3.3 ส่วนผสมทางการตลาด

¨ การกําหนดราคา (Price)

การตั้งราคาน้ำแข็งนั้น จะขึ้นอยู่กับสภาวะทั่วไปของตลาดและต้นทุนการผลิต ดังนี้

  1. สภาวะทางการตลาด ผู้ประกอบการรายใหม่ควรสํารวจราคาจากผู้ประกอบการ เดิมที่ขายอยู่ในพื้นที่นั้น ๆ เพื่อไม่ราคาสูงหรือต่ำจนเกินไป

  2. ต้นทุนการผลิต เช่น ค่าน้ำ ค่าไฟฟ้า หากปัจจัยการผลิตปรับราคาสูงขึ้น ก็ทําให้ผู้ประกอบการอาจต้องเพิ่มราคาน้ำแข็ง

ปัจจุบัน การตั้งราคาขายส่งน้ำแข็งแต่ละพื้นที่หรือแต่ละย่านจะใกล้เคียงกันน้ำ ราคาขายส่งอยู่ที่ 1.50 – 2 บาท/กิโลกรัม

¨ ช่องทางการจําหน่าย (Place)

ก่อน ทําธุรกิจน้ำแข็ง ผู้ประกอบการจะต้องสํารวจหาช่องทางการกระจาย หรือจําหน่ายสินค้าเสียก่อน โดยปกติ ผู้ประกอบการมีวิธีการกระจายสินค้า ดังต่อไปนี้

¨ การส่งเสริมการขาย (Promotion)

ผู้ประกอบการแต่ละคนอาจมีวิธีการส่งเสริมการขายที่แตกต่างกัน เช่น

3.4 สภาพการแข่งขันในตลาด

  1. ธุรกิจน้ำแข็งมีการแข่งขันกันอย่างรุนแรงมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ถึงแม้โรงน้ำแข็งในพื้นที่จะมีจํานวนน้อยก็ตาม

  2. เนื่อง จากธุรกิจน้ำแข็งให้ผลตอบแทนสูง การแข่งขันจึงออกมาในรูปของการตัดราคาและการกําหนดพื้นที่จําหน่ายหากผู้ ประกอบการรายใหม่สนใจธุรกิจนี้ ผู้ประกอบการจะต้องสํารวจว่า ในเขตพื้นที่นั้น ๆ มีธุรกิจประเภทเดียวกันกี่แห่ง และผู้ประกอบการจะสามารถหาส่วนแบ่งตลาดได้คุ้มกับการลงทุนหรือไม่

  3. การผลิต

การผลิตน้ำแข็ง ผู้ประกอบการจะต่องเน้นเรื่องความสะอาดเป็นสําคัญ “น้ำ” ต้องปราศจากเชื้อจุลลินทรีย์ ก้อนน้ำแข็งมีลักษณะใส เพื่อแสดงถึงความสะอาดของน้ำ

4.1 ขั้นตอนการผลิตน้ำแข็ง

  1. สูบ น้ำดิบจากบ่อบาดาลเข้าถังพักน้ำ เพื่อผ่านกระบวนการแยกสารละลายบางชนิดที่ปนอยู่กับน้ำดิบออก โดยการฉีดน้ำผ่านอากาศ และผสมสารคลอรีนเพื่อฆ่าเชื้อโรค

  2. นําน้ำที่ผ่านกระบวนการจากข้อ 1 มาลงถังพักที่ 2 เพื่อผ่านกระบวนการกรองหยาบ โดยผ่านเครื่องกรองน้ำที่ขนาดความละเอียด 5 micron จากนั้นนําน้ำเข้าถังพักน้ำที่ 3

  3. นําน้ำจากบ่อพักที่ 3 ผ่านปั้ม เข้าเครื่องกรองผ่านสารแมงกานีส เครื่องกรองสารคาร์บอน เครื่องกรองสารเรซินประจุบวกและสารเรซินประจุลบ

  4. นําน้ำจากข้อ 3 ผ่านเครื่องกรองหยาบ ความละเอียดขนาด 5 micron จากนั้นผ่านเครื่องกรองความละเอียดขนาด 0.03 micron แล้วผ่านเครื่อง UV นําน้ำเข้าถังพัก เพื่อรอส่งเข้าเครื่องผลิตน้ำแข็ง

  5. นําน้ำจากข้อ 4 เข้าเครื่องผลิตน้ำแข็ง และนําไปบรรจุกระสอบหรือถุงพลาสติกใสเพื่อจัดจําหน่าย

· คุณสมบัติของน้ำที่ผลิตน้ำแข็ง

การผลิตน้ำแข็งเพื่อบริโภคจะต้องใช้น้ำสะอาดและได้มาตรฐานตามที่อย.กําหนดดังต่อไปนี้

  1. คุณสมบัติทางฟิสิกส์ น้ำที่นํามาผลิตน้ำแข็งจะต้องไม่มีสีกลิ่น แต่ไม่รวมถึงกลิ่นคลอรีน ความขุ่นไม่เกิน 5.0 ซิลิกาสเกล และค่าความเป็นกรด – ด่างอยู่ระหว่าง 6.5 ถึง 8.5

  2. ปริมาณสารทั้งหมด (Total – Solid) ไม่เกิน 500 มิลลิกรัมต่อน้ำสะอาด 1 ลิตร ความกระด่างคํานวณเป็นแคลเซียมคาร์บอเนตไม่เกิน 100 มิลลิกรัมต่อน้ำสะอาด 1 ลิตร แคดเมียมไม่เกิน 0.005 มิลลิกรัมต่อน้ำสะอาด 1 ลิตร และเหล็กไม่เกิน 0.3 มิลลิกรัมต่อน้ำสะอาด 1 ลิตร

  3. จุลินทรีย์ น้ำที่ผลิตจะต้องไม่มีบักเตรีชนิด อี.โคไล ไม่มีจุลินทรีย์ที่ทําให้เกิดโรคและตรวจพบบักเตรีชนิดโคลิฟอร์มน้อยกว่า 2.2 ต่อน้ำสะอาด 100 มิลลิลิตรโดยวิธี เอ็มพีเอ็น

· ภาชนะบรรจุน้ำแข็ง

จะใช้ภาชนะบรรจุต่างกัน ดังนี้

§ น้ำแข็งส่วนมากถูกบรรจุในถุงพลาสติกและถุงพลาสติกดังกล่าวต้องมีคุณสมบัติดังนี้

อาหาร นอกจากนี้ ผู้ประกอบการจะต้องแจ้งให้ละเอียดทุกขนาดบรรจุ หรือแจ้งเป็นช่วงตามชนิดของภาชนะบรรจุ โดยระบุเป็นน้ำหนักสุทธิในระบบเมตริก เช่น ถุงพลาสติกชนิดโพลีเอทธิลีน ใส ไม่มีสี น้ำหนักสุทธิ 300 กรัม ถึง 1 กิโลกรัม

· การแสดงฉลากน้ำแข็ง

สําหรับน้ำแข็งหลอด ผู้ประกอบการต้องแสดงฉลากไว้ในที่เปิดเผยและมองเห็นได้ชัดเจนบนภาชนะบรรจุ สีที่ใช้ควรตัดกับพื้นของฉลาก เพื่อให้อ่านได้ชัดเจน โดยมีข้อความดังนี้

  1. ชื่ออาหาร และคํากํากับชื่ออาหาร “น้ำแข็งใช้รับประทานได้”

  2. ปริมาณ น้ำหนักสุทธิ …. กรัม หรือ กิโลกรัม

  3. มีเลขทะเบียนตํารับอาหาร หรือเลขที่อนุญาตใช้ฉลากอาหารในเครื่องหมาย อย.

4.2 โรงงาน สิ่งปลูกสร้างและสภาพแวดล้อม

  1. บริเวณโดยรอบโรงงานต้องสะอาด ไม่มีสิ่งปฏิกูล หรือไม่การสะสมสิ่งที่ไม่ใช้แล้วเพราะอาจเป็นแหล่งเพาะพันธุ์แมลง และสัตว์นําโรคต่าง ๆ

  2. มีท่อระบายน้ำ ให้น้ำไหลลงสู่ทางระบายน้ำสาธารณะ เพื่อไม่ให้น้ำขังแฉะและสกปรก ป้องกันการเกิดเชื้อโรคต่างๆ

  3. อาคารการผลิตต้องสามารถป้องกันแมลงและสัตว์นําโรคได้ เช่น นก หนูและแมลงต่าง ๆ

  4. มีแสงสว่าง การระบายอากาศที่ดีและเหมาะสม

  5. บ่อพักน้ำจะต้องไม่มีตะไคร้น้ำ และมีฝาปิดมิดชิดเพื่อป้องกันไม่ให้เศษไม้ ฝุ่น ละอองต่าง ๆ หล่นลงไป

  6. แยกบริเวณที่ลูกค้ามารับสินค้ากับบริเวณผลิตออกจากกัน เพื่อป้องกันสิ่งปนเปื้อน

4.3 วิธีบริหารแรงงาน

4.4 การวางแผนการผลิตให้ทันกับความต้องการของลูกค้า

การวางแผนการผลิตให้ทันกับความต้องการของลูกค้า ผู้ประกอบการจะต้องคํานึงถึง 2 ปัจจัยดังนี้

¨ การ วางแผนการผลิตสําหรับน้ำแข็งแต่ละชนิด กล่าวคือ หากเป็นน้ำแข็งถ้วย ผู้ผลิตสามารถผลิตน้ำแข็งออกมาเก็บไว้ในสต็อกได้ เพราะใช้เวลาในการผลิตไม่มาก

¨ ความ ต้องการบริโภคน้ำแข็งจะเป็นไปตามช่วงฤดู เช่น ในช่วงหน้าร้อน ผู้ประกอบการส่วนมากมักประสบปัญหาผลิตสินค้าไม่พอกับความต้องการของลูกค้า ส่วนหน้าหนาว ถ้าผู้ผลิตผลิตสินค้าออกมามากเกินไป ก็อาจทําให้ผู้ประกอบการสูญเสียค่าใช้จ่ายเป็นจํานวนมาก ดังนั้น ผู้ประกอบการจะต้องวางแผนการผลิตให้เหมาะสมกับความต้องการของลูกค้าในแต่ละ ช่วงฤดู

4.6 แหล่งที่สามารถให้ความรู้เรื่องการผลิต

ผู้ประกอบการสามารถหาความรู้เกี่ยวกับการผลิตน้ำแข็งได้จากโรงน้ำแข็งที่ทํามา นานโดยอาจสมัครเข้าเป็นพนักงานในโรงงาน เพื่อเรียนรู้ขั้นตอนต่าง ๆ และอีกแหล่งหนึ่งคือข้อมูลจากตัวแทนจําหน่ายเครื่องจักร เพราะทางบริษัทจะรู้ขั้นตอนการผลิตของเครื่องทุกชนิด

5 การบริหาร

โดย ส่วนใหญ่ การบริหารโรงงานน้ำแข็งจะไม่ค่อยมีความซับซ่อน เนื่องจากใช้จํานวนแรงงานไม่มากนัก เจ้าของกิจการมักเป็นผู้ควบคุมดูแลเองทุกอย่าง เช่น เอกสารและการเงิน การสรรหาและคัดเลือกพนักงาน อย่างไรก็ตาม โรงงานน้ำแข็งอาจประกอบไปด้วยพนักงาน ดังนี้

ทั้งนี้ การแบ่งงานอาจมากหรือน้อยกว่านี้ตามขนาดของโรงงาน และกําลังการผลิตน้ำแข็ง

5.1 การพัฒนาแรงงาน

เนื่อง จากการผลิตน้ำแข็ง ต้องอาศัยความสะอาดเป็นปัจจัยสําคัญฉะนั้นพนักงานที่ปฏิบัติงานจะต้องรักษา ความสะอาดทั้งต่อตนเอง และสถานประกอบการเพื่อผู้บริโภคจะได้ไว้วางใจในการใช้สินค้า ผู้ประกอบการอาจพัฒนาพนักงานโดยการส่งไปอบรม เช่น เรื่อง 5 ส. และพาไปดูงานตามโรงงานที่ได้มาตรฐาน เพื่อให้พนักงานนํามาปรับใช้ในสถานประกอบการ

5.2 วิธีการทําให้สินค้าหรือบริการมีคุณภาพที่ต่อเนื่อง

การรักษาคุณภาพการผลิตน้ำแข็งให้ต่อเนื่องนั้น ผู้ประกอบการควรกระทํา ดังนี้

  1. รักษาคุณภาพของน้ำ หากน้ำที่ใช้ไม่ใช้น้ำประปา น้ำดังกล่าวควรผ่านกระบวนการต่าง ๆ เพื่อให้ได้มาตรฐานตามที่ อย.กําหนด

  2. คุณภาพของน้ำแข็งโดยมากน้ำแข็งขายดีในช่วงหน้าร้อน ผู้ประกอบการจะเร่งการผลิต จนบางครั้งทําให้น้ำแข็งไม่เต็ม ฉะนั้น ผู้ประกอบการต้องคอยตรวจสอบและพัฒนาในช่วงที่เร่งการผลิต เพื่อให้สินค้าออกมามีคุณภาพ

  3. การรักษาความสะอาด ทุก ขั้นตอนต้องสะอาดและผ่านกรรมวิธีการฆ่าเชื้อ โดยเฉพาะภาชนะที่ใช้บรรจุสินค้า เช่น ถุงกระสอบ ซึ่งนิยมนํากลับมาใช้ใหม่ ผู้ผลิตจะต้องทําความสะอาดถุงดังกล่าวอย่างดี เพื่อให้ผู้บริโภคมีความมั่นใจในสินค้า รวมถึงสถานที่เก็บน้ำจะต้องสะอาด ไม่มีฝุ่น เศษไม้ หรือตะไคร้น้ำในอ่างเก็บน้ำ

  4. การดูแลรักษาเครื่องจักรอย่างสม่ำเสมอ ผู้ ประกอบการควรตรวจเช็คเครื่องจักรเพื่อให้เครื่องจักรมีกําลังการผลิตสม่ำ เสมอ เพราะหากเครื่องจักรเสียแต่ละครั้ง จะใช้เวลาในการซ่อมนานและเสียค่าใช้จ่ายเป็นจํานวนมาก เนื่องจากเครื่องจักรส่วนใหญ่เป็นการนําเข้าจากต่างประเทศ ค่าอะไหล่อุปกรณ์ต่าง ๆ จึงมีราคาสูงตามไปด้วย

  5. การเงิน

6.1. การจัดหาเงินทุน

เนื่อง จากธุรกิจผลิตน้ำแข็งใช้เงินลงทุนสูง ผู้ประกอบการอาจต้องพึ่งสถาบันการเงิน แต่ก่อนกู้เงินจากสถาบันการเงินนั้น ผู้ประกอบการควรคํานวณยอดขายก่อนว่า เพียงพอกับการจ่ายเงินที่กู้มาจากสถาบันการเงินหรือไม่

6.2 การลงทุนโรงผลิตน้ำแข็งหลอด

วงเงินเริ่มต้น การทําธุรกิจน้ำแข็งต้องใช้เงินเป็นจํานวนมาก ผู้ผลิตน้ำแข็งหลอดควรมีเงินทุนไม่ต่ำกว่า 5,500,000 บาท (ห้าล้านห้าแสนบาท) เป็นอย่างน้อยแบ่งเป็น

§ เงินทุนในสินทรัพย์ถาวร

Ø การสร้างโรงงาน โรงงานน้ำแข็งหลอดควรจะมีพื้นที่ไม่ต่ำกว่า 50 ตารางวา การสร้างโรงงาน (ไม่รวมที่ดิน) อาจตกประมาณ 1,000,000 บาท

Ø เครื่องจักรและอุปกรณ์ แบ่งได้เป็น

§ เงินทุนหมุนเวียน

สําหรับโรงงานผลิตน้ำแข็งหลอดขนาดเล็กควรมีเงินทุนหมุนเวียนอย่างน้อยประมาณ 500,000 บาท (ห้าแสนบาท) ต่อเดือน แบ่งเป็น

6.3.การลงทุนของโรงผลิตน้ำข็ง

วงเงินเริ่มต้น หากเป็นน้ำแข็ง ผู้ประกอบการควรมีเงินลงทุนไม่ต่ำกว่า10,300,000 บาท (สิบล้านสามแสนบาท) เพราะการทําแข็งซองนั้นจะต้องสร้างบ่อและซองในการทําน้ำแข็ง แบ่งเป็น

§ เงินทุนในสินทรัพย์ถาวร

Ø การสร้างโรงงานน้ำแข็งซอง โรงงานน้ำแข็งซองควรมีพื้นที่ไม่ต่ำกว่า 430 ตารางเมตร การสร้างโครงสร้างของโรงงาน (ไม่รวมที่ดิน) อาจตกประมาณ 2,000,000 บาท

Ø เครื่องจักรและอุปกรณ์ แบ่งออกเป็น

ส่วนน้ำแข็งซองไม่ต้องสร้างห้องเย็น เพราะถ้าลูกค้ายังไม่สั่ง ผู้ผลิตก็สามารถเก็บไว้ในบ่อน้ำแข็งได้

§ เงินทุนหมุนเวียน

ผู้ประกอบการโรงงานน้ำแข็งซองขนาดเล็กควรมีเงินทุนหมุนเวียนต่อเดือนประมาณ 3-4 แสนบาท ประกอบไปด้วย

โรงงานน้ำแข็งซองอาจลงทุนสูงกว่านี้ เช่น บางแห่งลงทุนสูงถึง 20 ล้านบาท ซึ่งทําให้เงินทุนหมุนเวียนต่อเดือนสูงขึ้นไปด้วย

6.4.อัตรากําไรที่ได้

§ น้ำแข็งซอง การกําหนดราคาน้ำแข็งซองจะขึ้นอยู่กับแต่ละพื้นที่ หากแต่โดยทั่วไป ผู้ผลิตจะขายราคาประมาณ 80-100 บาท/ซอง โดยมีต้นทุนการดําเนินการผลิต (ค่าไฟฟ้า+ค่าน้ำ+ ค่าแรงงาน+อื่นๆ) ตกประมาณ 40-50 บาท/ซอง ฉะนั้น กําไรของการขายน้ำแข็งซองเมื่อหักเฉพาะต้นทุนการดําเนินการผลิต (ยังไม่ได้หักเงินทุนในสินทรัพย์ถาวร) จะอยู่ประมาณ 50% ต่อซอง

§ น้ำแข็งหลอด การกําหนดราคาน้ำแข็งหลอดจะขึ้นอยู่กับแต่ละพื้นที่ หากแต่โดยทั่วไป จะตักใส่กระสอบชั่งกิโลกรัมละ 2 บาท โดยมีต้นทุนการผลิต (ค่าน้ำ+ ค่าไฟฟ้า+ค่าแรงงาน+ค่าอื่นๆ) อยู่ประมาณ 80-90 สตางค์/กิโลกรัม ฉะนั้น กําไรของการขายน้ำแข็งหลอด เมื่อหักเฉพาะต้นทุนการดําเนินการผลิต (ยังไม่ได้หักเงินทุนในสินทรัพย์ถาวร) จะอยู่ประมาณ 55-60% ต่อกิโลกรัม

ระยะเวลาคืนทุนของโรงงานน้ำแข็งหลอดและน้ำแข็งซอง

ระยะ เวลาคืนทุนของธุรกิจผลิตน้ำแข็งหลอดแลเะน้ำแข็งซองแต่ละรายจะไม่เท่ากันทั้ง นี้ขึ้นอยู่กับขนาดของธุรกิจ ความรู้ความสามารถของผู้ประกอบการในการบริหารธุรกิจรวมถึงปัจจัยอื่น ๆ อย่างไรก็ตาม จากการสัมภาษณ์ผู้ประกอบการน้ำแข็งหลอดและน้ำแข็งซอง ระยะเวลาการคืนทุนจะอยู่ประมาณ 5 - 7 ปี

6.5. วิธีประหยัดค่าใช้จ่าย

  1. รู้ทุกขั้นตอนการผลิต (Know How) ผู้ ประกอบการต้องเรียนรู้ทุกขั้นตอนการผลิตเพื่อผู้ประกอบการจะได้ทราบว่าความ สูญเสียอยู่ในขั้นตอนใด ก่อนแก้ไขต่อไป เช่นการสูญเสียน้ำจากกระบวนการผลิต น้ำที่สูญเสียนั้นมาจากขั้นตอนใด และสามารถนํากลับมาใช้ใหม่ได้หรือไม่

  2. การสั่งซื้อบรรจุภัณฑ์ (PACKAGE) และ สารที่ใช้ในการผลิต เช่น พวกถุงพลาสติกถุงกระสอบ คลอรีน แอมโมเนีย ฟรีออน ฯลฯ หากผู้ประกอบการสั่งซื้อในปริมาณมาก ผู้ประกอบการจะได้ส่วนลดสูงกว่าการซื้อในปริมาณน้อย แต่ทั้งนี้ ผู้ประกอบการควรคํานวณถึงปริมาณการขายของกิจการด้วย

  3. การนําของที่ใช้แล้ว และเกิดความเสียหายมาดัดแปลง เช่น ผู้ประกอบการสามารถนําถุงกระสอบที่ขาดมาดัดแปลงเป็นผ้าคลุมรถน้ำแข็งขณะขนส่ง เพราะถุงกระสอบสามารถเก็บความเย็นของน้ำแข็งได้

  4. การคําณวนปริมาณการขายในแต่ละวัน ผู้ ประกอบการจะต้องคํานวณยอดขายในแต่ละวันว่าอยู่ที่ขนาดใด และไม่ควรผลิตสินค้าออกมามากเกินไป เพราะค่าใช้จ่ายต่าง ๆ จะเพิ่มขึ้น ไม่ว่าจะเป็นน้ำ ไฟฟ้า โดยเฉพาะสถานประกอบการที่ใช้น้ำบาดาล ผู้ประกอบการควรวางแผนการผลิตให้รอบคอบ เพราะนับวันน้ำบาดาลจะยิ่งน้อยลง และเมื่อน้ำน้อยลง ผู้ผลิตจะต้องขุดเจาะให้ลึกลงไปอีก ทําให้ผู้ผลิตมีค่าใช้จ่ายเพิ่มมากขึ้นในการขุดเจาะน้ำบาดาล

  5. วางแผนเส้นทางการขนส่ง ในกรณีที่ผู้ประกอบการส่งน้ำแข็งเอง ผู้ประกอบการควรวางแผนเส้นทางขนส่ง เพื่อให้ประหยัดเวลาและลดความสูญเสียของน้ำแข็ง

  6. ดูแลรักษาเครื่องจักรอย่างสม่ำเสมอ วิธีนี้จะประหยัดค่าใช้จ่ายได้อย่างมากเพราะเครื่องจักรแต่ละตัวมีราคาสูง และส่วนมากนําเข้าจากต่างประเทศ

  7. เงื่อนไขและข้อจํากัดที่สําคัญ

  1. ตัวสินค้า น้ำแข็งเป็นสินค้าที่ไม่สามารถขนส่งไปได้ระยะไกลๆ เนื่องจากสภาพอากาศที่ร้อน

  2. การกําหนดพื้นที่การขาย ผู้ประกอบการในแวดวงจะทราบกันเอง ทําให้ผู้ประกอบ

การไม่สามารถขยายตลาดออกไปได้ไกลมากนัก

  1. ปัจจัยที่ทําให้ธุรกิจประสบความสําเร็จ

แหล่งข้อมูลอ้างอิง

เว็บไซต์

กรมทะเบียนการค้า, การจดทะเบียนการค้า, http://www.thairegistration.com/thai/register/detail5.phtml

กรมทรัพยากรธรณี, การขออนุญาตใช้น้ำบาดาล, http://www.dmr.go.th/service/TSOOOOOM.htm

สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา, น้ำแข็งบริโภค, ขั้นตอนการผลิตน้ำแข็งซอง, คุณ สมบัติของน้ำที่ผลิตน้ำแข็ง, http://www.fda.moph.go.th/fdanet/ html/product/food/ice.htm

สถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม, ภาษีเงินได้ , ภาษีมูลค่าเพิ่ม, http://www.ismed.or.th/knowledge/alpha/body1/body1.htm หรือที่ กรมสรรพากร http://www.rd.go.th

กรุงเทพมหานคร, การให้บริการ, ภาษีโรงเรือนและที่ดิน, http://www.bma.go.th/html/page4.html

สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา, บทที่ 6 หน้า 66 - 74, การขออนุญาตหน่วยงานท้อง

ที่, http://www.fda.moph.go.th/fda-net/html/product/other/kbs3/fdframe.htm

สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา, บทที่ 6 หน้า 66 - 74, การขออนุญาตกรมโรงงาน,

http://www.fda.moph.go.th/fda-net/html/product/other/kbs3/fdframe.htm

สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา, บทที่ 6 หน้า 66 - 74, การขออนุญาตผลิตอาหาร,

http://www.fda.moph.go.th/fda-net/html/product/other/kbs3/fdframe.htm

สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา, บทที่ 6 หน้า 75 – 77, การขอเครื่องหมาย อย,

http://www.fda.moph.go.th/fda-net/html/product/other/kbs3/fdframe.htm

กระทรวงมหาดไทย, e-Mahadthai, การขอไฟฟ้า,

http://www.mahadthai.com/html/

สัมภาษณ์

จตุพล โชติวัฒนะผล. รองกรรมการผู้จัดการห้างหุ้นส่วนจํากัดสหวัฒนาน้ำแข็งหลอด.

สัมภาษณ์โดย จิราพร ศรีพลเงิน. 18 มิถุนายน 2545.

ชัดชม อัศวเปรม. เจ้าของโรงงานสหผล. สัมภาษณ์โดย จิราพร ศรีพลเงิน.

21 มิถุนายน 2545.

ชัยวัฒน์ สินติชีวะวงศ์. เจ้าของบริษัทแสงสุวรรณ น้ำแข็งหลอด จํากัด. สัมภาษณ์โดย

จิราพร ศรีพลเงิน. 19 มิถุนายน 2545.

พิมุข แผ่วดี. ผู้จัดการทั่วไปบริษัทดาวคะนองค้าน้ำแข็ง. สัมภาษณ์โดย จิราพร ศรีพลเงิน.

14 มิถุนายน 2545

หนังสือ ส่งเสริมอุตสาหกรรม, กรม. โครงการ 13 : เร่งรัดปรับปรุงประสิทธิภาพการประกอบธุรกิจอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม. ม.ป.ท., ม.ป.ป.

คําไข คัมภีร์ 108 ธุรกิจ โรงผลิตน้ำแข็ง

หมายเหตุ

Ø ข้อมูลดังกล่าวเป็นเพียงการให้ความรู้เบื้องต้นเท่านั้น

Ø การ เก็บข้อมูลได้ดําเนินการในช่วงระยะเวลาหนึ่งเท่านั้น ดังนั้น ข้อมูลอาจเปลี่ยนแปลงได้ตามสถานการณ์ต่าง ๆ ที่เข้ามากระทบต่อธุรกิจฉะนั้นสําหรับผู้ที่คิดจะลงทุนจึงควรปรึกษาเพิ่ม เติมจากฝ่ายบริการปรึกษาแนะนําทาง

ธุรกิจของสถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (ISMED)

เบอร์โทร. 0-2564-4000

ลิขสิทธิ์โดย : สถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม


ClassStart ให้บริการฟรีโดย บริษัท ปิยะวัฒนา จำกัด
เราเป็นกิจการเพื่อสังคม (Social Enterprise)
สนับสนุนโดย
ผู้ไม่ประสงค์ออกนามท่านหนึ่ง (2563-2566)
มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์ (2561-2563)
กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (2557-2558)
กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (2557)
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (2554-2558)
GotoKnow
ClassStart Books