ศิลปะ (ทัศนศิลป์) 101


ผู้สอน
นางสาว กานติมา ปาคำ
เข้าสู่ระบบเมื่อ มากกว่า 4 ปี ที่แล้ว

ชื่อวิชา
ศิลปะ (ทัศนศิลป์) 101

รหัสวิชา
37252

สถานศึกษา
เมืองลีประชาสามัคคี

คำอธิบายวิชา

การวาดเส้นหุ่นนิ่ง การวาดภาพหุ่นนิ่งนั้นนับว่าเป็นจุดเริ่มต้นพื้นฐานของการเริ่มวาดภาพ Drawing อย่างจริงจัง เนื่องจากเป็นการเริ่มฝึกขบวนการทั้งหมดที่จะพัฒนาไปสู่การวาดภาพประเภทอื่น ผลงานการฝึกวาดเส้นชิ้นแรก ๆ ของชีวิตนักศึกษาศิลปะแทนทุกคนนั้นก็น่าจะเป็นภาพหุ่นนิ่ง สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม วงกลม แทบทั้งสิ้น

ความหมายของหุ่นนิ่ง การวาดเส้นหุ่นนิ่ง (STILL – LIFE) คือ สิ่งของเครื่องใช้ที่นำมาจัดขึ้น โดยขอบเขตของหุ่นไม่มากนักเป็นการจัดขึ้นเองภายในห้องในสมัยก่อน ศิลปินยุโรปให้ความสำคัญกับการวาดภาพหุ่นนิ่งเป็นเพียงภาพประกอบของภาพคน เพื่อแสดงฐานะของเจ้าของภาพเท่านั้น ภาพหุ่นนิ่งเริ่มมีความสำคัญตั้งแต่ ศต. 16 โดยเริ่มจากศิลปินสกุลดัตซ์ และอังกฤษ

ประเภทของหุ่นนิ่ง หุ่นนิ่งแบ่งออกเป็น 4 ประเภทคือ

  1.   หุ่นนิ่งจากธรรมชาติ เช่น ดอกไม้ ผลไม้ ฯลฯ
    
  2.   หุ่นนิ่งจากวัตถุสิ่งของ เช่น ขวดแก้ว ไห ฯลฯ
    
  3.   หุ่นนิ่งจากรูปทรงทางวัฒนธรรม เช่น เครื่องแต่งกาย หัวโขน ฯลฯ
    
  4.   หุ่นนิ่งจากวัตถุทางเทคโนโลยี เช่น โลหะ เครื่องจักรฯลฯ
    

การวาดภาพหุ่นนิ่งนั้นนับว่าเป็นจุดเริ่มต้นพื้นฐานของการเริ่มวาดภาพ Drawing อย่างจริงจัง เนื่องจากเป็นการเริ่มฝึกขบวนการทั้งหมดที่จะพัฒนาไปสู่การวาดภาพประเภทอื่น ผลงานการฝึกวาดเส้นชิ้นแรก ๆ ของชีวิตนักศึกษาศิลปะแทนทุกคนนั้นก็น่าจะเป็นภาพหุ่นนิ่ง สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม วงกลม แทบทั้งสิ้น

เหตุใดจึงมีการบรรจุหลักสูตรการวาดภาพหุ่นนิ่งพื้นฐานของวิชาวาดเส้น คำตอบนั้นน่าจะเป็นเพราะมีบางสิ่งที่มากกว่าการนำแค่สิ่งของมาตั้งไว้เฉย ๆ แล้วให้วาดตามที่ตาเห็น

ขั้นตอนการวาดเส้นภาพหุ่นนิ่ง การวาดภาพหุ่นนิ่งนั้น ต่างจากการวาดเส้นประเภทอื่นตรงที่การวาดเส้นหุ่นนิ่งผู้วาดไม่ต้องไปกังวลกับการเปลี่ยนแปลงหรือการเคลื่อนที่ของวัตถุ แต่สิ่งที่ซ้อนอยู่ในกลุ่มวัตถุนั้นนั่นก็คือ การรู้จักพื้นฐานในการเลือกมุมมอง การรู้จักจัดองค์ประกอบการลงน้ำหนักแสงเงา เพราะหากให้คน 10 คนวาดเส้นหุ่นนิ่งแบบเดียวกันก็เชื่อแน่ว่าจะได้ภาพนุ่นนิ่งออกมา 10 แบบ 10 อารมณ์เลยทีเดียว

สำหรับผู้ที่เริ่มวาดภาพหุ่นนิ่งนั้นมีขั้นตอนการวาดดังนี้

  1.   กำหนดพื้นที่หรือขอบเขตทั้งหมดของหุ่นให้เหมาะสมกับหน้ากระดาษ
    
  2.   กำหนดตำแหน่งของวัตถุภายในโดยให้มีวัตถุหลัก 1 ชิ้น ไว้คอยกำหนดสัดส่วนกับวัตถุชิ้นอื่น
    
  3.   ร่างภาพคร่าวๆ
    
  4.   ดูตำแหน่งสัดส่วนให้ถูกต้อง  ปรับปรุงแก้ไขโดยเปรียบเทียบกับวัตถุหลักว่าใหญ่ไป  เล็กไปหรือตำแหน่งสูงต่ำถูกต้องหรือไม่
    
  5.   ให้น้ำหนักแสงเงาแบบรวมๆ ภาพหุ่นนิ่งนั้นมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับเรื่องของพื้นหลัง ฉะนั้นหากต้องการให้วัตถุโดยรวมเป็นน้ำหนักอ่อน พื้นหลังก็ควรจะเป็นน้ำหนักเข้ม หรือหากวัตถุเข้ม พื้นหลังก็ควรจะอ่อน  ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของเรื่องราวที่จะนำเสนอ  ดูว่าลงน้ำหนักไปแล้วงานดูมีบรรยากาศหรือไม่  เพื่อให้งานที่ออกมามีอารมณ์ความรู้สึก
    
  6.   ขั้นตอนต่อมา  คือการเพิ่มรายละเอียดของวัตถุ แสงเงา
    
  7.   ปรับปรุงแก้ไขจนภาพเสร็จสมบูรณ์
    

สรุป การวาดเส้นภาพหุ่นนิ่งโดยเฉพาะการวาดเส้น เป็นการเริ่มต้นในการฝึกทักษะของผู้ที่เรียนรู้ในขั้นเริ่มต้น หุ่นนิ่งมีอยู่หลายประเภทขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้วาดที่ต้องการถ่ายทอดภาพที่มองเห็น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องราวของวัตถุธรรมชาติหรือวัตถุที่มนุษย์สร้างขึ้นการวาดเส้นหุ่นนิ่งที่ดีนั้นผู้วาดจึงจำเป็นต้องศึกษาให้เข้าใจถึงคุณสมบัติเฉพาะตัวของหุ่นนิ่งต้นแบบ ที่จัดวางไว้ว่าหุ่นนิ่งแต่ละประเภทว่ามีความแตกต่างทางกายภาพภายนอกของความเป็นวัตถุนั้น ๆ อย่างไรบ้าง นอกจากสิ่งที่ได้กล่าวไปแล้วนั้น องค์ประกอบสำคัญในการจัดวางหุ่นก็เป็นสิ่งสำคัญอันจะขาดเสียไม่ได้ เพราะเป็นส่วนหนึ่งของหลักสุนทรียะภาพที่จะเกิดขึ้นในงานนั้น ๆ

ด้วยเหตุนี้ ผู้เริ่มเรียนรู้ขั้นแรกจึงควรให้ความสำคัญในการฝึกทักษะของการวาดเส้นหุ่นนิ่งให้ชำนาญเพื่อเป็นพื้นฐานขั้นต้นของการวาดเส้นในลำดับต่อไป


ClassStart ให้บริการฟรีโดย บริษัท ปิยะวัฒนา จำกัด
เราเป็นกิจการเพื่อสังคม (Social Enterprise)
สนับสนุนโดย
ผู้ไม่ประสงค์ออกนามท่านหนึ่ง (2563-2566)
มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์ (2561-2563)
กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (2557-2558)
กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (2557)
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (2554-2558)
GotoKnow
ClassStart Books