ฟิสิกส์4 (ม.5/2)


ผู้สอน
นาง วัชราภรณ์ ยืนชีวิต
เข้าสู่ระบบเมื่อ มากกว่า 4 ปี ที่แล้ว

ชื่อวิชา
ฟิสิกส์4 (ม.5/2)

รหัสวิชา
37610

สถานศึกษา
โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น ฝ่ายมัธยม (มอดินแดง)

คำอธิบายวิชา

คำอธิบายรายวิชา

เสาะหา ประเมิน และสื่อสารข้อมูล และศึกษาวิเคราะห์หลักการพื้นฐาน และใช้คณิตศาสตร์และการคิดเชิงคำนวณคำนวณเกี่ยวกับ ของไฟฟ้า แม่เหล็กไฟฟ้าและไฟฟ้ากระแสสลับ ประจุไฟฟ้า กฎการอนุรักษ์ประจุไฟฟ้า การเหนี่ยวนำไฟฟ้า แรงระหว่างประจุและกฎของคูลอมบ์ สนามไฟฟ้า เส้นแรงไฟฟ้า ศักยํไฟฟ้า ตัวเก็บประจุ การนำไฟฟ้า กระแสไฟฟ้าในตัวนำโลหะ กฎของโอห์มและความต้านทาน พลังงานในวงจรไฟฟ้าแรงเคลื่อนไฟฟ้าและความต่างศักย์ไฟฟ้า วงจรไฟฟ้ากระแสตรงเครื่องมือวัดทางไฟฟ้า ความสัมพันธ์ระหว่างกระแสไฟฟ้ากับสนามแม่เหล็ก ฟลักซ์แม่เหล็ก ประจุไฟฟ้าในสนามแม่เหล็ก แรงที่กระทำ ต่อลวดตัวนำที่มีกระแสไหลในสนามแม่เหล็ก แกลแวนอมิเตอร์ มอเตอร์กระแสตรง กระแสเหนี่ยวนำ ความเหนี่ยวนำ ความเหนี่ยวนำไฟฟ้า หม้อแปลง ลักษณะไฟฟ้ากระแสสลับ แผนภาพเฟเซอร์ วงจร RLC และ อิมพีแดนซ์ กำลังไฟฟ้าในวงจรกระแสสลับ คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า และการนำความรู้ต่างๆ ไปใช้ประโยชน์ รวมทั้ง ทำปฏิบัติการต่าง ๆ เพื่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ มีทักษะกระบวนการ เจตคติและเห็นคุณค่าของวิทยาศาสตร์สามารถ ใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์และเจตวิทยาศาสตร์ในการสืบเสาะหาความรู้ และการแก้ปัญหา มีความสามารถ ในการสื่อสาร เพื่อให้เกิดความรู้ ความคิด ความเข้าใจ สามารถสื่อสารสิ่งที่เรียนรู้ มีความสามารถในการตัดสนใจ นำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน มีจิตวิทยาศาสตร์ จริยธรรม คุณธรรม และค่านิยมที่เหมาะสม

ผลการเรียนรู้ สาระฟิสิกส์

  1. ประยุกต์ใช้หลักการเกี่ยวกับประจุไฟฟ้า การเหนี่ยวนำประจุไฟฟ้า ตัวนำและฉนวนไฟฟ้าไปอธิบาย ปรากฏการณ์ไฟฟ้าสถิตในธรรมชาติได้
  2. ประยุกต์ใช้ความสัมพันธ์ของแรงระหว่างประจุไฟฟ้า กฎของคูลอมบ์ไปคำนวณหาปริมาณต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง จากสถานการณ์ที่กำหนดให้ได้
  3. ประยุกต์ใช้ความรู้เรื่อง สนามไฟฟ้า เส้นแรงไฟฟ้า ศักย์ไฟฟ้า ไปอธิบายปรากฏการณ์ไฟฟ้าสถิตในธรรมชาติได้
  4. ประยุกต์ใช้หลักการคำนวณหา สนามไฟฟ้า ศักย์ไฟฟ้า ความต่างศักย์ไฟฟ้า ความสัมพันธ์ระหว่างสนามไฟฟ้าและศักย์ไฟฟ้าไปคำนวณหาปริมาณต่างๆ ที่เกี่ยวข้องจากสถานการณ์ที่กำหนดให้ได้
  5. ทำการทดลอง วิเคราะห์ และสรุปผลการทดลอง เกี่ยวกับการประจุ การคายประจุไฟฟ้าของตัวเก็บประจุ การต่อ ตัวเก็บประจุแบบอนุกรม และขนานได้
  6. ประยุกต์ใช้ความรู้เกี่ยวกับ ความจุไฟฟ้า การประจุไฟฟ้า ความต่างศักย์คร่อมตัวเก็บประจุ การต่อตัวเก็บประจุ ไฟฟ้า ไปแก้ปัญหาจากสถานการณ์ที่กำหนดให้ได้
  7. ยกตัวอย่างการนำความรู้เกี่ยวกับไฟฟ้าสถิตไปอธิบายการทำงานของเครื่องใช้บางชนิดได้
  8. อธิบายการเกิดกระแสไฟฟ้า แหล่งกำเนิดไฟฟ้าและการนำไฟฟ้าของตัวกลางต่างๆ ได้
  9. ประยุกต์ใช้ความสัมพันธ์ระหว่างกระแสไฟฟ้า จำนวนประจุไฟฟ้า ขนาดของความเร็วลอยเลื่อนและขนาดของตัวนำไปแก้ปัญหาจากสถานการณ์ที่กำหนดให้ได้
  10. ประยุกต์ใช้ความรู้เกี่ยวกับสภาพต้านทานและสภาพนำไฟฟ้าไปคำนวณหาปริมาณต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับสภาพ ต้านทาน และสภาพนำไฟฟ้าเมื่อกำหนดสถานการณ์ให้ได้
  11. ทำการทดลอง วิเคราะห์ และสรุปผลการทดลองเกี่ยวกับกฎของโอหม์ และความต้านทานกับอุณหภูมิของ ตัวนำได้
  12. ทำการทดลอง วิเคราะห์ และสรุปผลการทดลองเกี่ยวกับ การตัวตัวต้านทานแบบอนุกรม แบบขนาน และแบบ ผสมได้
  13. คำนวณหาความต้านทานรวมจากการต่อตัวต้านทานแบบ อนุกรม แบบขนาน และแบบผสมได้
  14. อธิบายเกี่ยวกับแรงเคลื่อนไฟฟ้าและความต่างศักย์ระหว่างขั้วเซลล์ การต่อเซลไฟฟ้าแบบอนุกรมและแบบขนานได้
  15. ประยุกต์ใช้ความรู้เกี่ยวกับแรงเคลื่อนไฟฟ้า ความต่างศักย์ระหว่างขั้วเซลล์ การต่อเซลไฟฟ้าแบบอนุกรมและแบบขนาน ไปคำนวณหาปริมาณดังกล่าวจากสถานการณ์ที่กำหนดให้ได้
  16. ประยุกต์ใช้กฏของเคอร์ชฮอฟฟ์แก้ปัญหาวงจรไฟฟ้าได้
  17. อธิบายหลักการดัดแปลงแกลแวนอมิเตอร์เป็น แอมมิเตอร์ โวลต์มิเตอร์และโอหม์มิเตอร์ได้
  18. ประยุกต์ใช้ความสัมพันธ์ระหว่าง พลังงานไฟฟ้า กำลังไฟฟ้า ความต่างศักย์ไฟฟ้า กระแสไฟฟ้าและเวลา ไปคำนวณหาปริมาณดังกล่าวจากสถานการณ์ที่กำหนดให้ได้
  19. อธิบายหลักการต่อวงจรไฟฟ้าในบ้านได้
  20. ศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับหลักการทำงานของอุปกรณ์และเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน ตลอดจนวิธีใช้ไฟฟ้าอย่างประหยัดและปลอดภัย พร้อมนำเสนอในลักษณะเอกสารเพื่อเผยแพร่ได้
  21. อธิบายเกี่ยวกับ ขั้วแม่เหล็ก สนามแม่เหล็กโลก ความเป็นแม่เหล็กของสารแม่เหล็ก และฟลักซ์แม่เหล็กได้
  22. ประยุกต์ใช้หลักการเรื่องแรงแระทำต่ออนุภาคที่มีประจุซึ่งเคลื่อนที่ในสนามแม่เหล็กไฟฟ้าสม่ำเสมอ ไปอธิบายวิถิการเคลื่อนที่ของอนุภาคประจุ และคำนวณหา รัศมีความโค้ง มวลอนุภาคที่มีประจุ ระยะ 1 ช่วงเกลียวได้
  23. ประยุกต์ใช้หลักการเรื่องแรงกระทำต่อลวดตัวนำที่มีแกระแสไฟฟ้าผ่านเมื่ออยู่ในสนามแม่เหล็กสม่ำเสมอ ไปคำนวณหาแรงที่กระทำต่อเส้นลวดตรงได้
  24. คำนวณหาสนามแม่เหล็กที่เกิดจากกระแสไฟฟ้าผ่านลวดตัวนำตรงได้
  25. อธิบายและคำนวณหาแรงระหว่างลวดตัวนำสองเส้นที่มีกระแสไฟฟ้าผ่านวางขนานกันในบริเวณที่มีสนามแม่เหล็กได้

ClassStart ให้บริการฟรีโดย บริษัท ปิยะวัฒนา จำกัด
เราเป็นกิจการเพื่อสังคม (Social Enterprise)
สนับสนุนโดย
ผู้ไม่ประสงค์ออกนามท่านหนึ่ง (2563-2566)
มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์ (2561-2563)
กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (2557-2558)
กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (2557)
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (2554-2558)
GotoKnow
ClassStart Books