ฟิสิกส์ประยุกต์3 scius


ผู้สอน
นาง วัชราภรณ์ ยืนชีวิต
เข้าสู่ระบบเมื่อ มากกว่า 4 ปี ที่แล้ว

ชื่อวิชา
ฟิสิกส์ประยุกต์3 scius

รหัสวิชา
37614

สถานศึกษา
โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น ฝ่ายมัธยม (มอดินแดง)

คำอธิบายวิชา

คำอธิบายรายวิชา

เสาะหา ประเมิน และสื่อสารข้อมูล และศึกษาวิเคราะห์หลักการพื้นฐาน และใช้คณิตศาสตร์และการคิดเชิงคำนวณคำนวณเกี่ยวกับ ของไฟฟ้า แม่เหล็กไฟฟ้าและไฟฟ้ากระแสสลับ ประจุไฟฟ้า กฎการอนุรักษ์ประจุไฟฟ้า การเหนี่ยวนำไฟฟ้า แรงระหว่างประจุและกฎของคูลอมบ์ สนามไฟฟ้า เส้นแรงไฟฟ้า ศักยํไฟฟ้า ตัวเก็บประจุ การนำไฟฟ้า กระแสไฟฟ้าในตัวนำโลหะ กฎของโอห์มและความต้านทาน พลังงานในวงจรไฟฟ้าแรงเคลื่อนไฟฟ้าและความต่างศักย์ไฟฟ้า วงจรไฟฟ้ากระแสตรงเครื่องมือวัดทางไฟฟ้า ความสัมพันธ์ระหว่างกระแสไฟฟ้ากับสนามแม่เหล็ก ฟลักซ์แม่เหล็ก ประจุไฟฟ้าในสนามแม่เหล็ก แรงที่กระทำ ต่อลวดตัวนำที่มีกระแสไหลในสนามแม่เหล็ก แกลแวนอมิเตอร์ มอเตอร์กระแสตรง กระแสเหนี่ยวนำ ความเหนี่ยวนำ ความเหนี่ยวนำไฟฟ้า หม้อแปลง ลักษณะไฟฟ้ากระแสสลับ แผนภาพเฟเซอร์ วงจร RLC และ อิมพีแดนซ์ กำลังไฟฟ้าในวงจรกระแสสลับ คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า และการนำความรู้ต่างๆ ไปใช้ประโยชน์ รวมทั้ง ทำปฏิบัติการต่าง ๆ เพื่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ มีทักษะกระบวนการ เจตคติและเห็นคุณค่าของวิทยาศาสตร์สามารถ ใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์และเจตวิทยาศาสตร์ในการสืบเสาะหาความรู้ และการแก้ปัญหา มีความสามารถ ในการสื่อสาร เพื่อให้เกิดความรู้ ความคิด ความเข้าใจ สามารถสื่อสารสิ่งที่เรียนรู้ มีความสามารถในการตัดสนใจ นำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน มีจิตวิทยาศาสตร์ จริยธรรม คุณธรรม และค่านิยมที่เหมาะสม

ผลการเรียนรู้ สาระฟิสิกส์

  1. ประยุกต์ใช้หลักการเกี่ยวกับประจุไฟฟ้า การเหนี่ยวนำประจุไฟฟ้า ตัวนำและฉนวนไฟฟ้าไปอธิบาย ปรากฏการณ์ไฟฟ้าสถิตในธรรมชาติได้
  2. ประยุกต์ใช้ความสัมพันธ์ของแรงระหว่างประจุไฟฟ้า กฎของคูลอมบ์ไปคำนวณหาปริมาณต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง จากสถานการณ์ที่กำหนดให้ได้
  3. ประยุกต์ใช้ความรู้เรื่อง สนามไฟฟ้า เส้นแรงไฟฟ้า ศักย์ไฟฟ้า ไปอธิบายปรากฏการณ์ไฟฟ้าสถิตในธรรมชาติได้
  4. ประยุกต์ใช้หลักการคำนวณหา สนามไฟฟ้า ศักย์ไฟฟ้า ความต่างศักย์ไฟฟ้า ความสัมพันธ์ระหว่างสนามไฟฟ้าและศักย์ไฟฟ้าไปคำนวณหาปริมาณต่างๆ ที่เกี่ยวข้องจากสถานการณ์ที่กำหนดให้ได้
  5. ทำการทดลอง วิเคราะห์ และสรุปผลการทดลอง เกี่ยวกับการประจุ การคายประจุไฟฟ้าของตัวเก็บประจุ การต่อ ตัวเก็บประจุแบบอนุกรม และขนานได้
  6. ประยุกต์ใช้ความรู้เกี่ยวกับ ความจุไฟฟ้า การประจุไฟฟ้า ความต่างศักย์คร่อมตัวเก็บประจุ การต่อตัวเก็บประจุ ไฟฟ้า ไปแก้ปัญหาจากสถานการณ์ที่กำหนดให้ได้
  7. ยกตัวอย่างการนำความรู้เกี่ยวกับไฟฟ้าสถิตไปอธิบายการทำงานของเครื่องใช้บางชนิดได้
  8. อธิบายการเกิดกระแสไฟฟ้า แหล่งกำเนิดไฟฟ้าและการนำไฟฟ้าของตัวกลางต่างๆ ได้
  9. ประยุกต์ใช้ความสัมพันธ์ระหว่างกระแสไฟฟ้า จำนวนประจุไฟฟ้า ขนาดของความเร็วลอยเลื่อนและขนาดของตัวนำไปแก้ปัญหาจากสถานการณ์ที่กำหนดให้ได้
  10. ประยุกต์ใช้ความรู้เกี่ยวกับสภาพต้านทานและสภาพนำไฟฟ้าไปคำนวณหาปริมาณต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับสภาพ ต้านทาน และสภาพนำไฟฟ้าเมื่อกำหนดสถานการณ์ให้ได้
  11. ทำการทดลอง วิเคราะห์ และสรุปผลการทดลองเกี่ยวกับกฎของโอหม์ และความต้านทานกับอุณหภูมิของ ตัวนำได้
  12. ทำการทดลอง วิเคราะห์ และสรุปผลการทดลองเกี่ยวกับ การตัวตัวต้านทานแบบอนุกรม แบบขนาน และแบบ ผสมได้
  13. คำนวณหาความต้านทานรวมจากการต่อตัวต้านทานแบบ อนุกรม แบบขนาน และแบบผสมได้
  14. อธิบายเกี่ยวกับแรงเคลื่อนไฟฟ้าและความต่างศักย์ระหว่างขั้วเซลล์ การต่อเซลไฟฟ้าแบบอนุกรมและแบบขนานได้
  15. ประยุกต์ใช้ความรู้เกี่ยวกับแรงเคลื่อนไฟฟ้า ความต่างศักย์ระหว่างขั้วเซลล์ การต่อเซลไฟฟ้าแบบอนุกรมและแบบขนาน ไปคำนวณหาปริมาณดังกล่าวจากสถานการณ์ที่กำหนดให้ได้
  16. ประยุกต์ใช้กฏของเคอร์ชฮอฟฟ์แก้ปัญหาวงจรไฟฟ้าได้
  17. อธิบายหลักการดัดแปลงแกลแวนอมิเตอร์เป็น แอมมิเตอร์ โวลต์มิเตอร์และโอหม์มิเตอร์ได้
  18. ประยุกต์ใช้ความสัมพันธ์ระหว่าง พลังงานไฟฟ้า กำลังไฟฟ้า ความต่างศักย์ไฟฟ้า กระแสไฟฟ้าและเวลา ไปคำนวณหาปริมาณดังกล่าวจากสถานการณ์ที่กำหนดให้ได้
  19. อธิบายหลักการต่อวงจรไฟฟ้าในบ้านได้
  20. ศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับหลักการทำงานของอุปกรณ์และเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน ตลอดจนวิธีใช้ไฟฟ้าอย่างประหยัดและปลอดภัย พร้อมนำเสนอในลักษณะเอกสารเพื่อเผยแพร่ได้
  21. อธิบายเกี่ยวกับ ขั้วแม่เหล็ก สนามแม่เหล็กโลก ความเป็นแม่เหล็กของสารแม่เหล็ก และฟลักซ์แม่เหล็กได้
  22. ประยุกต์ใช้หลักการเรื่องแรงแระทำต่ออนุภาคที่มีประจุซึ่งเคลื่อนที่ในสนามแม่เหล็กไฟฟ้าสม่ำเสมอ ไปอธิบายวิถิการเคลื่อนที่ของอนุภาคประจุ และคำนวณหา รัศมีความโค้ง มวลอนุภาคที่มีประจุ ระยะ 1 ช่วงเกลียวได้
  23. ประยุกต์ใช้หลักการเรื่องแรงกระทำต่อลวดตัวนำที่มีแกระแสไฟฟ้าผ่านเมื่ออยู่ในสนามแม่เหล็กสม่ำเสมอ ไปคำนวณหาแรงที่กระทำต่อเส้นลวดตรงได้
  24. คำนวณหาสนามแม่เหล็กที่เกิดจากกระแสไฟฟ้าผ่านลวดตัวนำตรงได้
  25. อธิบายและคำนวณหาแรงระหว่างลวดตัวนำสองเส้นที่มีกระแสไฟฟ้าผ่านวางขนานกันในบริเวณที่มีสนามแม่เหล็กได้

ClassStart ให้บริการฟรีโดย บริษัท ปิยะวัฒนา จำกัด
เราเป็นกิจการเพื่อสังคม (Social Enterprise)
สนับสนุนโดย
ผู้ไม่ประสงค์ออกนามท่านหนึ่ง (2563-2566)
มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์ (2561-2563)
กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (2557-2558)
กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (2557)
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (2554-2558)
GotoKnow
ClassStart Books