ภาษาไทยพื้นฐาน


ผู้สอน
นาง เบญจพร สันตา
เข้าสู่ระบบเมื่อ เกือบ 4 ปี ที่แล้ว

ชื่อวิชา
ภาษาไทยพื้นฐาน

รหัสวิชา
37727

สถานศึกษา
โรงเรียนแม่จันวิทยาคม

คำอธิบายวิชา

รายวิชาภาษาไทยสาระพื้นฐานภาคเรียนที่ 1 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6

รหัสวิชา ท 33101 รายวิชาภาษาไทยสาระพื้นฐาน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 คำอธิบายรายวิชา เวลา 40 ชั่วโมง

การอ่าน อ่านงานเขียนทั้งร้อยแก้วร้อยกรองอย่างมีประสิทธิภาพและมีวิจารณญาณตลอดจน เห็น คุณค่า ความงามของภาษา สามารถตีความ แปลความ ขยายความและวินิจฉัยงานเขียน สามารถเลือก อ่านหนังสือได้อย่างหลากหลายเพื่อเป็นพื้นฐานในการพัฒนาสมรรถภาพการเขียนรู้จักเลือกอ่านหนังสือ จากแหล่งการเรียนรู้และสื่อสารสนเทศเพื่อความรอบรู้และเป็นประโยชน์ในการศึกษาต่อ การทำงาน ตลอดจนมีมารยาทและมีนิสัยรักการอ่าน การเขียน การเขียนในรูปแบบต่างๆรู้จักการตั้งประเด็นและหัวข้อในการเขียนได้ตามจุดประสงค์ ทางด้านวิชาการบันเทิงคดีใช้ภาษาได้กะทัดรัดสละสลวยมีการอ้างอิงข้อมูลสารสนเทศได้อย่างถูกต้อง รวมถึงมีนิสัยรักการเขียนและมีมารยาทที่ดีในการเขียน การฟัง การฟังเรื่องราวต่างๆ แล้วนำความรู้จากการฟังการดูสื่อรูปแบบต่างๆ นำไปใช้ประโยชน์ ในการพัฒนาตนเองและสังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพ การพูดในรูปแบบต่างๆ โดยใช้ภาษาที่กะทัดรัด ถูกต้องเหมาะสมมีกริยาท่าทางและการแสดงออกที่เหมาะสมตามหลักการพูดตลอดจนมีมารยาทที่ดีใน การฟัง การดูและการพูด หลักการใช้ภาษา การเข้าใจธรรมชาติของภาษา พลังของภาษา ลักษณะของภาษาไทยสามารถ
ใช้ภาษาในการสื่อสารในชีวิตประจำวันได้อย่างถูกต้องตามกาลเทศะและตัวบุคคลรวมถึงการใช้ สื่อเทคโนโลยีพัฒนาความรู้ อาชีพ การดำเนินชีวิตในสังคม รู้จักสร้างสรรค์งานเชิงวิชาการ เห็นคุณค่า ของตัวเลขไทยเข้าใจการใช้ภาษาของกลุ่มบุคคลในวงการต่างๆในสังคม วรรณคดี การศึกษาบทกวีนิพนธ์ต่างๆ รวมถึงวรรณกรรมประเภทต่างๆ สามารถที่จะประเมิน เนื้อหา คุณค่าด้านวรรณศิลป์ สังคม แล้วนำไปใช้ในชีวิตจริงได้อย่างมีประสิทธิผล ท่องจำและบอกคุณค่า บทอาขยานตามที่กำหนดและบทร้อยกรองที่มีคุณค่าตามความสนใจและนำไปใช้อ้างอิง

ตัวชี้วัด ท1.1 ม. 4-6/1, ม. 4-6/2, ม. 4-6/3, ม.4-6/4 ม.4-6/5,ม.4-6/6,ม. 4-6/7 ม.4-6/8 ม.4-6/9 ท 2.1ม. 4-6/1, ม. 4-6/2,ม. 4-6/3,ม.4-6/5,ม.4-6/6,ม. 4-6/7 ม.4-6/8 ท 3.1ม.4-6/5,ม.4-6/6, ท 4.1 ม. 4-6/1, ม. 4-6/2, ม. 4-6/3,ม.4-6/5,ม.4-6/6, ม. 4-6/7 ท 5.1ม. 4-6/1, ม. 4-6/2, ม. 4-6/3,ม.4-6/5
รวม 28 ตัวชี้วัด

โครงสร้างรายวิชาภาษาไทยสาระพื้นฐาน รหัสวิชา ท 33101 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เวลา 40 ชั่วโมง คะแนน 100 คะแนน

หน่วยที่/ชื่อหน่วย มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด สาระการเรียนรู้ เวลา (ชั่วโมง) น้ำหนัก คะแนน หลักการใช้ภาษา

*ท 4.1 ม. 4-6/1, ม. 4-6/2,

ม. 4-6/*3,ม.4-6/5,ม.4-6/6, ม. 4-6/*7

การเข้าใจธรรมชาติของภาษาพลัง

ของภาษาลักษณะของภาษาไทยสามารถใช้ภาษาในการสื่อสารในชีวิตประจำวันได้อย่างถูกต้องตามกาลเทศะและตัวบุคคลรวมถึงการใช้ สื่อเทคโนโลยีพัฒนาความรู้ อาชีพ การดำเนินชีวิตในสังคม รู้จักสร้างสรรค์งานเชิงวิชาการ เห็นคุณค่า ของตัวเลขไทย เข้าใจการใช้ภาษาของกลุ่มบุคคลในวงการต่าง ในสังคม 8

10

เปิดหูเปิดตาด้วยการอ่าน ท1.1 ม. 4-6/1, ม. 4-6/2, ม. 4-6/3, ม.4-6/4 ม.4-6/5,ม.4-6/6,ม. 4-6/7 ม.4-6/8 ม.4-6/9 การอ่านออกเสียงร้อยแก้วและร้อยกรองหากผู้อ่านอ่านได้อย่างไพเราะชวนฟังถูกต้องตามรูปแบบและฉันทลักษณ์ สามารถตีความ แปลความ วิเคราะห์ วิจารณ์และกรอบความคิด ผังความคิด บันทึกย่อความ รายงานเรื่องที่อ่านได้อย่างถูกต้องตรงประเด็นจึงนับได้ว่าเป็นการพัฒนาการอ่านในระดับที่สูงขึ้น 8 15

หน่วยที่/ชื่อหน่วย มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด สาระการเรียนรู้ เวลา (ชั่วโมง) น้ำหนัก คะแนน สื่อสารด้วยการพูดและการเขียน

*ท 3.1ม.4-6/*5,ม.4-6/ *6,

*ท 4.1 ม.4-6/3 ท 2.1ม. 4-6/1, ม. 4-6/2, ม. 4-6/3,ม.4-6/5,ม.4-6/6, ม. 4-6/7 ม.4-6/8

การพูดและการเขียนเป็นการสื่อสารที่ใช้มากที่สุดในชีวิตประจำวันผู้ส่งสารจึงต้องใช้ภาษาให้ถูกต้องและมีประสิทธิภาพตามหลักการพูดและการเขียนที่ดีได้แก่การพูดในโอกาสต่างๆ การพูดแสดงทรรศนะ การพูดโน้มน้าวใจ   การพูดเสนอแนวคิดใหม่          การเขียนโต้แย้ง ผู้ส่งสารต้องมีมารยาทในการพูดและการเขียนด้วย
10	15

เรียนรู้วรรณกรรม ท 5.1ม. 4-6/1, ม. 4-6/2, ม. 4-6/3,ม.4-6/5

วรรณคดีและวรรณกรรมเป็นงานประพันธ์ที่น่าศึกษา ค้นคว้า การศึกษาวรรณคดีและวรรณกรรมจะศึกษาหลักการวิเคราะห์ วิจารณ์เบื้องต้นรวมไปถึงการวิเคราะห์ถึงลักษณะเดิมของวรรณคดีและวรรณกรรมเกี่ยวกับเหตุการณ์ประวัติศาสตร์และวิถีชีวิตของสังคมในอดีตเพื่อเป็นพื้นฐานในการศึกษาด้านอื่นๆได้แก่ ด้านสังคม ด้านวรรณศิลป์ เพื่อนำความรู้ที่ได้มาปรับใช้กับชีวิตประจำวันอย่างสร้างสรรค์ตามลักษณะวิถีไทยและหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นผู้มีจิตสาธารณะ	10	20
สรุปทบทวนภาพรวม (สอบกลางภาค)	2	20
                                   สรุปทบทวนภาพรวม (สอบปลายภาค)	2	20
               รวมทั้งสิ้นตลอดภาคเรียน	40	100

หมายเหตุ 1) * หมายถึง มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัดที่ถูกใช้มากกว่า 1 หน่วย 2) อัตราส่วนคะแนนระหว่างเรียนกับการสอบ 80 : 20

รายวิชาภาษาไทยสาระพื้นฐานภาคเรียนที่  2

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6

รหัสวิชา ท 33102 รายวิชาภาษาไทยสาระพื้นฐาน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 คำอธิบายรายวิชา เวลา 40 ชั่วโมง

การอ่าน การอ่านงานเขียนทั้งร้อยแก้วและร้อยกรองอย่างเห็นคุณค่าและความงามของภาษาตลอดจนสามารถวิเคราะห์ วินิจฉัยงานเขียนอันเป็นมรดกทางวัฒนธรรมจะทำให้สามารถใช้ภาษาเป็นเครื่องมือ แสวงหาความรู้เพิ่มเติมเป็นการส่งเสริมให้มีความคิดสร้างสรรค์และมีเจตคติที่ดีต่อภาษาไทย การเขียน การเขียนในรูปแบบต่างๆ โดยใช้ภาษาที่กะทัดรัดสละสลวยเลือกใช้ถ้อยคำสำนวนใน การสื่อความคิดเป็นการใช้ภาษาในการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิผล การฟัง การฟังเรื่องราวต่างๆ ที่มีเนื้อหาซับซ้อนอย่างมีวิจารณญาณ สรุปประโยชน์และสาระของ การฟังได้ตลอดจนเลือกฟังสิ่งที่มีคุณค่าและนำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาตนเองและสังคมได้อย่างมี ประสิทธิภาพ การพูดในรูปแบบต่างๆ โดยใช้ภาษาที่กะทัดรัดสละสลวยและสื่อความคิดโดยใช้ถ้อยคำสำนวนได้อย่างเหมาะสมกับเนื้อหา ใช้ภาษาได้อย่างสุภาพเหมาะสมกับสถานการณ์จะช่วยให้การสื่อสารสัมฤทธิ์ผลยิ่งขึ้น หลักการใช้ภาษา ใช้คำและกลุ่มคำสร้างประโยคตรงตามวัตถุประสงค์ใช้ภาษาได้เหมาะสมกับโอกาส กาลเทศะและบุคคลเลือกใช้ระดับของภาษาคำราชาศัพท์อย่างถูกต้องตามฐานะของบุคคลแต่งบทร้อยกรองประเภทร่ายและฉันท์บางชนิดได้อย่างถูกต้องตามลักษณะบังคับของคำประพันธ์ อธิบายและวิเคราะห์การสร้างคำในภาษาไทย วิเคราะห์และประเมินการใช้ภาษาจากสื่อสิ่งพิมพ์และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ วรรณคดี การอ่านวรรณคดีและวรรณกรรมต่างๆ รู้จักใช้ภาษาในการวิจารณ์ วิเคราะห์ องค์ประกอบของงานประพันธ์ เข้าใจประวัติวรรณคดี วรรณกรรมในแต่ละสมัยเพื่อเป็นความรู้พื้นฐาน ในการเข้าใจโลกทัศน์และวิถีชีวิตของคนไทยรวบรวมวรรณกรรมพื้นบ้านและอธิบายภูมิปัญญาทางภาษา

ตัวชี้วัด ท1.1 ม. 4-6/1, ม. 4-6/2, ม. 4-6/3, ม.4-6/4 ม.4-6/5,ม.4-6/6,ม. 4-6/7 ม.4-6/8 ม.4-6/9 ท2.1 ม. 4-6/1, ม. 4-6/2, ม. 4-6/3, ม.4-6/4 ม.4-6/5,ม.4-6/6,ม. 4-6/7 ม.4-6/8 ท 3.1ม. 4-6/1, ม. 4-6/2,ม. 4-6/3,ม.4-6/4 ม.4-6/6 ท 4.1ม. 4-6/1, ม. 4-6/2, ม. 4-6/3 ม.6/4 ,ม. 4-6/7 ท 5.1ม. 4-6/1, ม. 4-6/2, ม. 4-6/3 ,ม.4-6/4 ,ม.4-6/5 ,ม.4-6/6 รวม 33 ตัวชี้วัด

โครงสร้างรายวิชาภาษาไทยสาระพื้นฐาน รหัสวิชา ท 33102 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เวลา 40 ชั่วโมง คะแนน 100 คะแนน

หน่วยที่/ชื่อหน่วย มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด สาระการเรียนรู้ เวลา (ชั่วโมง) น้ำหนัก คะแนน สุนทรียภาพของภาษา

ท 4.1ม. 4-6/1, ม. 4-6/2,

ท 5.1ม.4-6/6

ภาษาไทยเป็นภาษาที่มีความงามในภาษา มีองค์ประกอบได้แก่ เสียงในภาษาประกอบด้วย พยัญชนะ สระ วรรณยุกต์ ซึ่งเมื่อนำมารวมกันแล้วทำให้เกิดเป็นพยางค์ คำ ในภาษาไทยการนำคำและกลุ่มคำมาสร้างประโยคในการสื่อสารทั้งข้อความร้อยแก้ว ร้อยกรอง หากรู้จักสรรคำมาใช้อย่างถูกต้องเหมาะสมกับกาลเทศะและตัวบุคคลแล้วจะช่วยให้เกิดความงามในภาษาสื่อความหมายที่ชัดเจนและสัมฤทธิ์ผล
14











20

สรรหาความรู้จากการอ่าน ท 5.1ม.4-6/6 ท1.1 ม. 4-6/1, ม. 4-6/2, ม. 4-6/3, ม.4-6/4 ม.4-6/5,ม.4-6/6,ม. 4-6/7 ม.4-6/8 ม.4-6/9 การอ่านงานเขียนทั้งร้อยแก้วและร้อยกรองอย่างเห็นคุณค่าและความงามของภาษาตลอดจนสามารถวิเคราะห์ วินิจฉัยงานเขียนอันเป็นมรดกทางวัฒนธรรมจะทำให้สามารถใช้ภาษาเป็นเครื่องมือ แสวงหาความรู้เพิ่มเติมเป็นการส่งเสริมให้เกิดความคิดเชิงสร้างสรรค์และรักษ์ความเป็นไทย 8 15

หน่วยที่/ชื่อหน่วย มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด สาระการเรียนรู้ เวลา (ชั่วโมง) น้ำหนัก คะแนน สร้างแรงบันดาลใจเป็นงานเขียน ท2.1 ม. 4-6/1, ม. 4-6/2, ม. 4-6/3, ม.4-6/4 ม.4-6/5,ม.4-6/6,ม. 4-6/7 ม.4-6/8 ท4.1 ม.6/4

งานเขียนเป็นทักษะการสื่อสารที่แสดงให้เห็นถึงเจตนาของผู้ส่งสารในรูปแบบต่างๆอันได้แก่การเขียนสารคดี บันเทิงคดีการเขียนรายงานเชิงวิชาการการเขียนอ้างอิงข้อมูลสารสนเทศ

การเขียนบันทึกความรู้จากแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลายซึ่งผู้เขียนจะต้องใช้หลักและกระบวนการเขียนที่ถูกต้องตามหลักการของงานเขียนแต่ละประเภทจะทำให้การเขียนสัมฤทธิ์ผล 10 15 เรียนรู้ด้วยการฟัง การดูและการพูด *ท 3.1ม. 4-6/1, ม. 4-6/2,ม. 4-6/3,ม.4-6/4 ม.4-6/*6 *ท 4.1 ม. 4-6/ *7

การฟังและการดูเป็นการรับสารที่มีความจำเป็นในชีวิตประจำวัน ผู้รับสารที่ดีจะต้องฟังและดูอย่างมีวิจารณญาณและถ่ายทอดเรื่องราวได้อย่างถูกต้อง ชัดเจนตลอดจนมีมารยาทในการฟังและการดู
6	10

			
สรุปทบทวนภาพรวม (สอบกลางภาค)	1	20
                                    สรุปทบทวนภาพรวม (สอบปลายภาค)	1	20
                รวมทั้งสิ้นตลอดภาคเรียน	40	100

หมายเหตุ 1) * หมายถึง มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัดที่ถูกใช้มากกว่า 1 หน่วย 2) อัตราส่วนคะแนนระหว่างเรียนกับการสอบ 80 : 20


ClassStart ให้บริการฟรีโดย บริษัท ปิยะวัฒนา จำกัด
เราเป็นกิจการเพื่อสังคม (Social Enterprise)
สนับสนุนโดย
ผู้ไม่ประสงค์ออกนามท่านหนึ่ง (2563-2566)
มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์ (2561-2563)
กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (2557-2558)
กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (2557)
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (2554-2558)
GotoKnow
ClassStart Books