ฟิสิกส์ ม.4/1


ผู้สอน
นาย ไพวุฒิ ขุนซาง
เข้าสู่ระบบเมื่อ เกือบ 4 ปี ที่แล้ว

ชื่อวิชา
ฟิสิกส์ ม.4/1

รหัสวิชา
38706

สถานศึกษา
โรงเรียนแม่จันวิทยาคม

คำอธิบายวิชา

คำอธิบายรายวิชา รายวิชา ฟิสิกส์ รหัสวิชา ว 31202 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวนหน่วยการเรียน 2.0 หน่วยกิต เวลา 80 ชั่วโมง …………………………………………………………………………………………………………………………………………………

ศึกษา หลักการของกลศาสตร์ในเรื่องสมดุลกลและเงื่อนไขที่ทำให้วัตถุหรือระบบอยู่ในสมดุลกล ศูนย์กลางมวลของวัตถุ  และผลของศูนย์ถ่วงที่มีต่อเสถียรภาพของวัตถุ  งาน  พลังงาน  ความสัมพันธ์ระหว่างงานและพลังงานจลน์    ความสัมพันธ์ระหว่างงานและพลังงานศักย์โน้มถ่วง  และความสัมพันธ์ระหว่างขนาดของแรงที่ใช้ดึงสปริงกับระยะที่สปริงยืดออก  แรงอนุรักษ์  กฎการอนุรักษ์พลังงาน  กำลัง  เครื่องกลอย่างง่าย  ประสิทธิภาพและการได้เปรียบเชิงกลของเครื่องกลอย่างง่ายบางชนิด  โมเมนตัม  การชนกันของวัตถุในหนึ่งมิติ  การดล  แรงดล  และกฎการอนุรักษ์โมเมนตัม  การเคลื่อนที่แบบโพรเจกไทล์และการเคลื่อนที่แบบวงกลมในระนาบระดับ
โดยใช้กระบวนการวิทยาศาสตร์  การสืบเสาะหาความรู้    การสืบค้นข้อมูล การสังเกต  วิเคราะห์  เปรียบเทียบ อธิบาย  อภิปราย  และสรุป เพื่อให้เกิดความรู้  ความเข้าใจ  มีความสามารถตัดสินใจ  มีทักษะปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์  รวมทั้งทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ในด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ  ด้านการคิดและการแก้ปัญหา  ด้านการสื่อสาร  สามารถสื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวันของตนเอง  มีจิตวิทยาศาสตร์  จริยธรรม  คุณธรรม  และค่านิยมที่เหมาะสม

ผลการเรียนรู้

  1. อธิบายสมดุลกลของวัตถุ โมเมนต์และผลรวมของโมเมนต์ที่มีต่อการหมุน แรงคู่ควบและผลของของแรงคู่ควบที่มีต่อสมดุลของวัตถุ เขียนแผนภาพวัตถุอิสระเมื่อวัตถุอยู่ในสมดุลกล และคำนวณปริมาณต่างๆที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งทดลองและอธิบายสมดุลของแรงสามแรง
  2. สังเกตและอธิบายสภาพการเคลื่อนที่ของวัตถุ เมื่อแรงที่กระทำต่อวัตถุผ่านศูนย์กลางมวลของวัตถุ และผลของศูนย์ถ่วงที่มีต่อเสถียรภาพของวัตถุ
  3. วิเคราะห์ และคำนวณงานของแรงคงตัว จากสมการและพื้นที่ใต้กราฟ ความสัมพันธ์ระหว่างแรงกับตำแหน่ง รวมทั้งอธิบายและคำนวณกำลังเฉี่ย
  4. อธิบาย และคำนวณพลังงานจลน์ พลังงานศักย์ พลังงานกล ทดลองหาความสัมพันธ์งานและพลังงานจลน์ ความสัมพันธ์ระหว่างงานและพลังงานศักย์โน้มถ่วง และความสัมพันธ์ระหว่างขนาดของแรงที่ใช้ดึงสปริงกับระยะที่สปริงยืดออก และความสัมพันธ์งานและพลังงานศักย์ยืดหยุ่น รวมทั้งอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างงานของแรงลัพธ์และพลังงานจลน์ และคำนวณงานที่เกิดขึ้นจากแรงลัพธ์
  5. อธิบายกฎการอนุรักษ์พลังงานกล รวมทั้งวิเคราะห์ และคำนวณปริมาณต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนที่ของวัตถุในสถานการณ์ต่าง ๆ โดยใช้กฎการอนุรักษ์พลังงานกล
  6. อธิบาย การทำงาน ประสิทธิภาพและการได้เปรียบเชิงกลของเครื่องกลอย่างง่ายบางชนิด โดยใช้ความรู้เรื่องงานและสมดุลกล รวมทั้งคำนวณประสิทธิภาพและการได้เปรียบเชิงกล
  7. อธิบาย และคำนวณโมเมนตัมของวัตถุ และการดลจากสมการและพื้นที่ใต้กราฟความสัมพันธ์ระหว่างแรงลัพธ์กับเวลา รวมทั้งอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างแรงดลกับโมเมนตัม
  8. ทดลอง อธิบาย และคำนวณปริมาณต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการชนกันของวัตถุในหนึ่งมิติทั้งแบบยืดหยุ่น ไม่ยืดหยุ่น และการดีดตัวแยกออกจากกันในหนึ่งมิติซึ่งเป็นไปตามกฎการอนุรักษ์โมเมนตัม
  9. อธิบาย วิเคราะห์ และคำนวณปริมาณต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนที่แบบโพรเจกไทล์และทดลองการเคลื่อนที่แบบโพรเจกไทล์
  10. ทดลอง และอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างแรงสู่ศูนย์กลาง รัศมีของการเคลื่อนที่ อัตราเร็งเชิงเส้น อัตราเร็วเชิงมุม และมวลของวัตถุในการเคลื่อนที่แบบวงกลลมในระนาบระดับ รวมทั้งคำนวณปริมาณต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง และประยุกต์ใช้ความรู้การเคลื่อนที่แบบวงกลมในการอธิบายการโคจรของดาวเทียม

รวมผลการเรียนรู้ 10 ข้อ


ClassStart ให้บริการฟรีโดย บริษัท ปิยะวัฒนา จำกัด
เราเป็นกิจการเพื่อสังคม (Social Enterprise)
สนับสนุนโดย
ผู้ไม่ประสงค์ออกนามท่านหนึ่ง (2563-2566)
มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์ (2561-2563)
กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (2557-2558)
กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (2557)
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (2554-2558)
GotoKnow
ClassStart Books