พระพุทธศาสนา ม.6


ผู้สอน
ครู อภิชาติ แสงสว่าง
เข้าสู่ระบบเมื่อ ประมาณ 4 ปี ที่แล้ว

ชื่อวิชา
พระพุทธศาสนา ม.6

รหัสวิชา
40792

สถานศึกษา
โรงเรียนมัธยมวัดใหม่กรงทองในพระราชูปถัมภ์

คำอธิบายวิชา

คำอธิบายรายวิชา ส ๓๐๒๐๑ พระพุทธศาสนา ๕ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ ภาคเรียนที่ ๑ เวลา ๒๐ ชั่วโมง จำนวน ๐.๕ หน่วยกิต ศึกษา วิเคราะห์ ฝึกปฏิบัติ สร้างความคิดรวบยอด นำภูมิปัญญาท้องถิ่น สภาพปัญหาชีวิต สภาพแวดล้อมเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้ เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจ พระพุทธ ความสำคัญของพุทธศาสนา ศึกษาพระพุทธศาสนาเรื่อง ทฤษฎีและวิธีการที่เป็นสากลยึดทางสายกลาง หลักการคิดตามนัยแห่งพุทธศาสนาและการคิดแบบวิทยาศาสตร์ พุทธประวัติ ศึกษาการบริหารและธำรงไว้ซึ่งพระพุทธศาสนาและชาดก พระธรรม ศึกษาพระธรรม โอวาท ๓ ไม่กระทำความชั่ว (อกุศลมูล ๓) ทำความดี (กุศลมูล ๓) การทำจิตใจให้บริสุทธิ์ การบริหารจิต เจริญปัญญา (กัมมัฏฐาน ๒ สีลานุสสติ และจาคานุสติ) มงคลชีวิต ศึกษาวิเคราะห์มงคลชีวิต จิตไม่หวั่นไหวเพราะโลกธรรม จิตไม่โศกเศร้า พุทธศาสนสุภาษิต ได้แก่ กยิรา เจ กยิราเถนํ, นาลโสวินฺทเต สุขํ, เนกาสี ลภเต สุขํ พระไตรปิฎก ศึกษาวิเคราะห์พระไตรปิฎก การนำสืบพระไตรปิฎก โครงสร้างพระสุตันตปิฎก ข้อความน่าสนใจ “ตาบอดคลำช้าง” ภาษาบาลี ศึกษาการอ่าน – เขียนภาษาบาลี ฝึกการอ่าน-เขียน กรณียเมตตาสูตร คำศัพท์ทางพระพุทธศาสนา ศึกษาวิเคราะห์ศัพท์ทางศาสนา ได้แก่ สมณะ ขันธ์ จริต อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ทศพิธราชธรรม ตัณหา ชฏิล จรณะ พระสงฆ์ เกี่ยวกับประวัติพุทธสาวก พุทธสาวิกา เรื่อง พระปุณณมันตานีบุตร พระภัททากัจจานาเถรี พระเจ้าพิมพิสาร ชาวพุทธตัวอย่าง ศึกษาวิเคราะห์ประวัติพระธรรมปิฎก สมเด็จพระศรีนครินทรา บรมราชชนนี และชาวพุทธตัวอย่างในท้องถิ่น มารยาทหน้าที่ชาวพุทธ ได้แก่มารยาทในห้องเรียน มารยาทในห้องสมุด มารยาทในห้องบรรยาย มารยาทในห้องประชุม การบรรพชาอุปสมบทในพระพุทธศาสนา การบวชเป็นแม่ชีธรรมจาริณี หรือเนขัมมจารี การศึกษาพุทธศาสนาวันอาทิตย์ ธรรมศึกษา ประโยชน์ของการบรรพชาอุปสมบท การปลูกจิตสำนึก ศาสนาพิธี อธิบายความหมาย ความสำคัญคติธรรมในพิธีกรรม บทสวดมนต์ของผู้เรียนในงานพิธีวันมาฆบูชา วันวิสาขบูชา วันอัฏฐมีบูชา โดยใช้กระบวนการกลุ่ม กระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ กระบวนการสร้างเจตคติ กระบวนการสร้างความตระหนัก กระบวนการค่านิยม และกระบวนการเผชิญสถานการณ์ เพื่อให้เกิดศรัทธาอย่างยิ่งต่อพระรัตนตรัย สามารถนำความรู้ไปประพฤติปฏิบัติตน เป็นพระพุทธ- ศาสนิกชนที่ดี ตามหลักของไตรสิกขา ศีล สมาธิ ปัญญา ซึ่งเป็นกระบวนการเรียนรู้ในการพัฒนาสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ มีคุณธรรม จริยธรรม ในการอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข และสามารถนำหลักธรรมไปใช้เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้การทำงานอย่างมีคุณค่าต่อชีวิต ตนเอง และสังคมโดยส่วนรวม


ClassStart ให้บริการฟรีโดย บริษัท ปิยะวัฒนา จำกัด
เราเป็นกิจการเพื่อสังคม (Social Enterprise)
สนับสนุนโดย
ผู้ไม่ประสงค์ออกนามท่านหนึ่ง (2563-2566)
มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์ (2561-2563)
กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (2557-2558)
กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (2557)
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (2554-2558)
GotoKnow
ClassStart Books