หลักการผลิตสื่อการสอน


ผู้สอน
นางสาว นวลฉวี เทียบสี
เข้าสู่ระบบเมื่อ มากกว่า 12 ปี ที่แล้ว

ชื่อวิชา
หลักการผลิตสื่อการสอน

รหัสวิชา
421

สถานศึกษา
สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตอุดร

คำอธิบายวิชา

                                                     หลักการผลิตสื่อการสอน

1. ต้องออกแบบให้ตรงกับจุดมุ่งหมาย เหมาะสมกับผู้เรียน
2. ผลิตโดยคำนึงถึงประโยชน์ที่จะนำไปใช้งาน
3. สามารถนำไปใช้ได้ง่าย วิธีการใช้ไม่ยุ่งยาก มีคู่มือประกอบการใช้งาน
4. การสื่อบางประเภทไม่จำเป็นต้องแสดงรายละเอียดมากนัก
5. คำนึงถึงความประหยัดทั้งงบประมาณและเวลาให้เหมาะสม

การผลิตสื่อแต่ละประเภท

1. การประดิษฐ์ตัวอักษร

2. บัตรคำ

3. การผนึกภาพ

4. สมุดลำดับภาพ

5. การขยายภาพ

6. แผนภูมิ

7. แผนสถิติ

8. ภาพโปร่งใส

9. สื่ออิเล็กทรอนิกส์.

การประดิษฐ์ตัวอักษร

การผลิตสื่อจะขาดเสียมิได้เลยคือ การประดิษฐ์ตัวอักษร ไม่ว่าจะใช้ประกอบในการจัดทำบัตรคำ ป้ายนิเทศ ป้ายโฆษณา การเขียนเพื่อประกอบเป็นคำบรรยายต่างๆ ถือได้ว่าเป็นเรื่องพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับครูธุรกิจ
การประดิษฐ์ตัวอักษรอย่างเหมาะสมจะช่วยดึงดูดความสนใจของผู้เรียน ทั้งนี้ตัวอักษรที่ประดิษฐ์ต้องมีขนาดพอเหมาะกับระยะในการเรียนรู้ ชัดเจน อ่านง่าย

หลักในการประดิษฐ์ตัวอักษร

1. การเลือกแบบ หรือลักษณะของตัวอักษรที่จะเขียน หัวเรื่อง หรือใจความสำคัญควรจะมีการเน้นรูปแบบ ขนาดที่แตกต่างจากข้อความธรรมดา
2. ขนาดของตัวอักษร ควรสัมพันธ์กับระยะความห่างจากตัวอักษร เช่น ผู้อ่านอยู่ห่าง 4.8 เมตร ตัวอักษรควรจะมีขนาด 1.2 เซนติเมตร
3. ช่องไฟ ต้องคำนึงถึงช่องไฟ เพื่อความสวยงาม ดูเป็นระเบียบ อาจใช้การประมาณด้วยสายตา หรือถือหลักช่องไฟระหว่างตัวอักษรเป็น 1 ใน 3 หรือ 2 ใน 3 ส่วนของตัวอักษร ทั้งนี้ก่อนที่จะประดิษฐ์ตัวอักษร ควรนับจำนวนตัวอักษรเสียก่อน จากนั้นก็หาจุดศูนย์กลาง แล้วจึงลงมือร่างแบบ

การประดิษฐ์ตัวอักษรแบ่งออกเป็น 2 ชนิดคือ

1. การประดิษฐ์อักษรด้วยมือ เช่น ปากกา ดินสอน ปากกาสปีดบอล พู่กัน ชอล์ก ปากกาเมจิ เป็นต้น
2. การประดิษฐ์อักษรด้วยเครื่อง เช่น เครื่องพิมพ์ดีด คอมพิวเตอร์ ตัวอักษรแบบฉลุ ตัวอักษรแบบฝน เป็นต้น

 

วิธีการประดิษฐ์ตัวอักษรด้วยมือ

1. กำหนดจุดสองจุดเป็นส่วนสูงของตัวอักษร แล้วใช้ไม้ฉากลากเส้นขนานผ่านทั้ง 2 จุดนั้น
2. ลากเส้นคู่ขนานกันทั้งด้านบนและล่าง เพื่อเป็นขนาดของหัวตัวอักษร
3. แบ่งช่องออกเป็น 4 ส่วนเท่าๆกัน
4. ใช้เขียนตัวอักษรเพียง 3 ส่วน อีก 1 ส่วน เป็นช่องไฟและกำหนดความหนาของอักษรเป็น 1 ใน 3 ส่วนของขนาดตัวอักษร

หลักในการผลิตสื่อ

1. ต้องออกแบบให้ตรงกับจุดมุ่งหมาย เหมาะสมกับผู้เรียน
2. ผลิตโดยคำนึงถึงประโยชน์ที่จะนำไปใช้งาน
3. สามารถนำไปใช้ได้ง่าย วิธีการใช้ไม่ยุ่งยาก มีคู่มือประกอบการใช้งาน
4. การสื่อบางประเภทไม่จำเป็นต้องแสดงรายละเอียดมากนัก
5. คำนึงถึงความประหยัดทั้งงบประมาณและเวลาให้เหมาะสม

การผลิตสื่อแต่ละประเภท

1. การประดิษฐ์ตัวอักษร

2. บัตรคำ

3. การผนึกภาพ

4. สมุดลำดับภาพ

5. การขยายภาพ

6. แผนภูมิ

7. แผนสถิติ

8. ภาพโปร่งใส

9. สื่ออิเล็กทรอนิกส์.

การประดิษฐ์ตัวอักษร

การผลิตสื่อจะขาดเสียมิได้เลยคือ การประดิษฐ์ตัวอักษร ไม่ว่าจะใช้ประกอบในการจัดทำบัตรคำ ป้ายนิเทศ ป้ายโฆษณา การเขียนเพื่อประกอบเป็นคำบรรยายต่างๆ ถือได้ว่าเป็นเรื่องพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับครูธุรกิจ
การประดิษฐ์ตัวอักษรอย่างเหมาะสมจะช่วยดึงดูดความสนใจของผู้เรียน ทั้งนี้ตัวอักษรที่ประดิษฐ์ต้องมีขนาดพอเหมาะกับระยะในการเรียนรู้ ชัดเจน อ่านง่าย

หลักในการประดิษฐ์ตัวอักษร

1. การเลือกแบบ หรือลักษณะของตัวอักษรที่จะเขียน หัวเรื่อง หรือใจความสำคัญควรจะมีการเน้นรูปแบบ ขนาดที่แตกต่างจากข้อความธรรมดา
2. ขนาดของตัวอักษร ควรสัมพันธ์กับระยะความห่างจากตัวอักษร เช่น ผู้อ่านอยู่ห่าง 4.8 เมตร ตัวอักษรควรจะมีขนาด 1.2 เซนติเมตร
3. ช่องไฟ ต้องคำนึงถึงช่องไฟ เพื่อความสวยงาม ดูเป็นระเบียบ อาจใช้การประมาณด้วยสายตา หรือถือหลักช่องไฟระหว่างตัวอักษรเป็น 1 ใน 3 หรือ 2 ใน 3 ส่วนของตัวอักษร ทั้งนี้ก่อนที่จะประดิษฐ์ตัวอักษร ควรนับจำนวนตัวอักษรเสียก่อน จากนั้นก็หาจุดศูนย์กลาง แล้วจึงลงมือร่างแบบ

การประดิษฐ์ตัวอักษรแบ่งออกเป็น 2 ชนิดคือ

1. การประดิษฐ์อักษรด้วยมือ เช่น ปากกา ดินสอน ปากกาสปีดบอล พู่กัน ชอล์ก ปากกาเมจิ เป็นต้น
2. การประดิษฐ์อักษรด้วยเครื่อง เช่น เครื่องพิมพ์ดีด คอมพิวเตอร์ ตัวอักษรแบบฉลุ ตัวอักษรแบบฝน เป็นต้น

 

วิธีการประดิษฐ์ตัวอักษรด้วยมือ

1. กำหนดจุดสองจุดเป็นส่วนสูงของตัวอักษร แล้วใช้ไม้ฉากลากเส้นขนานผ่านทั้ง 2 จุดนั้น
2. ลากเส้นคู่ขนานกันทั้งด้านบนและล่าง เพื่อเป็นขนาดของหัวตัวอักษร
3. แบ่งช่องออกเป็น 4 ส่วนเท่าๆกัน
4. ใช้เขียนตัวอักษรเพียง 3 ส่วน อีก 1 ส่วน เป็นช่องไฟและกำหนดความหนาของอักษรเป็น 1 ใน 3 ส่วนของขนาดตัวอักษร

 

 

 

 

 

 


ClassStart ให้บริการฟรีโดย บริษัท ปิยะวัฒนา จำกัด
เราเป็นกิจการเพื่อสังคม (Social Enterprise)
สนับสนุนโดย
ผู้ไม่ประสงค์ออกนามท่านหนึ่ง (2563-2566)
มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์ (2561-2563)
กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (2557-2558)
กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (2557)
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (2554-2558)
GotoKnow
ClassStart Books