สังคมศึกษา ส 22101 ม.2/3,2/5,2/11,2/12


ผู้สอน
นาย ลองฤทธิ์ สังข์สาลี
เข้าสู่ระบบเมื่อ มากกว่า 3 ปี ที่แล้ว

ชื่อวิชา
สังคมศึกษา ส 22101 ม.2/3,2/5,2/11,2/12

รหัสวิชา
42397

สถานศึกษา
โรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภชบางเขน

คำอธิบายวิชา

คำอธิบายวิชา

ศึกษา วิเคราะห์ การเผยแผ่พระพุทธศาสนาสู่ประเทศเพื่อนบ้าน ความสำคัญของพระพุทธศาสนา ที่ช่วยเสริมสร้างความเข้าใจอันดีกับประเทศเพื่อนบ้าน เป็นรากฐานของวัฒนธรรม เอกลักษณ์ของชาติ และมรดกของชาติ การพัฒนาชุมชนและการจัดระเบียบสังคม พุทธประวัติ ตอนผจญมาร การตรัสรู้ การสั่งสอน ประวัติพระสารีบุตร พระโมคคัลลานะ นางขุชชุตตรา พระเจ้าพิมพิสาร มิตตวินทุกชาดก ราโชวาทชาดก พระมหาธรรม-ราชาลิไทย มเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส โครงสร้างและสาระสังเขปของพระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก และพระอภิธรรมปิฎก อธิบายและปฏิบัติตนตามธรรมคุณ และปฏิบัติตนตามข้อธรรมสำคัญในกรอบอริยสัจ 4 ในเรื่อง ธรรมคุณ 6 อริยสัจ 4 ทุกข์ (ธรรมที่ควรรู้) ในเรื่อง ขันธ์ 5 (อายตนะ) สมุทัย (ธรรมที่ควรละ) ในเรื่องหลักกรรม (สมบัติ 4 วิบัติ 4) อกุศลกรรมบถ 10 อบายมุข 6 นิโรธ (ธรรมที่ควรบรรลุ) ในเรื่อง สุข 2 (สามิส นิรามิส) มรรค (ธรรมที่ควรเจริญ) ในเรื่อง บุพพนิมิตของมัชฌิมาปฏิปทา ดรุณธรรรม 6 กุลจิรัฏฐิติธรรม 4 กุศลกรรมบถ 10 สติปัฏฐาน 4 มงคล 38 ในเรื่อง ประพฤติธรรม เว้นจากความชั่ว เว้นจากการดื่มน้ำเมา พุทธศาสนสุภาษิต กมฺมุนา วตฺตติ โลโก กลฺยาณการี กลฺยาณํ ปาปการี จ ปาปกํ สุโข ปุญฺญสฺส อุจฺจโย ปูชโก ลภเต ปูชํ วนฺทโก ปฏิวนฺทนํ การพัฒนาจิตเพื่อการเรียนรู้และดำเนินชีวิตด้วยวิธีคิดแบบอุบายปลุกเร้าคุณธรรม และวิธีคิดแบบอรรถธรรมสัมพันธ์ สวดมนต์แปลแผ่เมตตา บริหารจิตและเจริญปัญญาด้วยอานาปานสติ มรรยาทของความเป็นศาสนิกชนที่ดี ปฏิบัติตนในศาสนพิธี พิธีกรรม และหลักคำสอนที่เกี่ยวเนื่องกับวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา

ศึกษาวิเคราะห์บทบาท ความสำคัญและความสัมพันธ์ของสถาบันทางสังคม ความคล้ายคลึงและความแตกต่างของวัฒนธรรมไทย และวัฒนธรรมของประเทศในภูมิภาคเอเชีย เพื่อนำไปสู่ความเข้าใจอันดีระหว่างกัน ข้อมูลข่าวสารทางการเมืองการปกครองที่มีผลกระทบต่อสังคมไทยสมัยปัจจุบัน กระบวนการในการตรากฎหมาย การปกป้องคุ้มครองผู้อื่นตามหลักสิทธิมนุษยชน การปฏิบัติตนตามสถานภาพ บทบาท สิทธิเสรีภาพ และหน้าที่ในฐานะพลเมืองดี โดยใช้กระบวนการคิด กระบวนการสืบค้นข้อมูล กระบวนการทางสังคม กระบวนการปฏิบัติ กระบวนการเผชิญสถานการณ์และแก้ปัญหา เพื่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ สามารถนำไปปฏิบัติในการดำเนินชีวิต นำไปพัฒนาและแก้ปัญหาของชุมชนและสังคมมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ในด้านรักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย ใฝ่เรียนรู้อยู่อย่าง

ตัวชี้วัด

ส 1.1 ม.2/1 ม.2/2 ม.2/3 ม.2/4 ม.2/5 ม.2/6 ม.2/7 ม.2/8 ม.2/9 ม.2/10 ม.2/11

ส 1.2 ม.2/1 ม.2/2 ม.2/3 ม.2/4 ม.2/5

รวมทั้งหมด 16 ตัวชี้วัด

รายวิชา สังคมศึกษา รหัสวิชา ส22101 (พระพุทธศาสนา – หน้าที่พลเมืองฯ) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 1.5 หน่วยกิต เวลา 60 ชั่วโมง ครูผู้สอน นายลองฤทธิ์ สังข์สาลี

  1. สาระการเรียนรู้ที่ 1 ศาสนา ศีลธรรม และจริยธรรม มาตรฐาน ส 1.1 รู้ และเข้าใจประวัติ ความสำคัญ ศาสดา หลักธรรมของพระพุทธศาสนาหรือศาสนาที่ตนนับถือและศาสนาอื่น มีศรัทธาที่ถูกต้อง ยึดมั่น และปฏิบัติตามหลักธรรม เพื่ออยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข มาตรฐาน ส 1.2 เข้าใจ ตระหนักและปฏิบัติตนเป็นศาสนิกชนที่ดี และธำรงรักษาพระพุทธศาสนาหรือศาสนาที่ตนนับถือ
  2. คำอธิบายรายวิชา/สาระการเรียนรู้ที่ 1 ศาสนา ศีลธรรม และจริยธรรม เวลา 40 ชั่วโมง ศึกษา วิเคราะห์ การเผยแผ่พระพุทธศาสนาสู่ประเทศเพื่อนบ้าน ความสำคัญของพระพุทธศาสนา ที่ช่วยเสริมสร้างความเข้าใจอันดีกับประเทศเพื่อนบ้าน เป็นรากฐานของวัฒนธรรม เอกลักษณ์ของชาติ และมรดกของชาติ การพัฒนาชุมชนและการจัดระเบียบสังคม พุทธประวัติ ตอนผจญมาร การตรัสรู้ การสั่งสอน ประวัติพระสารีบุตร พระโมคคัลลานะ นางขุชชุตตรา พระเจ้าพิมพิสาร มิตตวินทุกชาดก ราโชวาทชาดก พระมหาธรรม-ราชาลิไทยสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส โครงสร้างและสาระสังเขปของพระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก และพระอภิธรรมปิฎก อธิบายและปฏิบัติตนตามธรรมคุณ และปฏิบัติตนตามข้อธรรมสำคัญในกรอบอริยสัจ 4 ในเรื่อง ธรรมคุณ 6 อริยสัจ 4 ทุกข์ (ธรรมที่ควรรู้) ในเรื่อง ขันธ์ 5 (อายตนะ) สมุทัย (ธรรมที่ควรละ) ในเรื่องหลักกรรม (สมบัติ 4 วิบัติ 4) อกุศลกรรมบถ 10 อบายมุข 6 นิโรธ (ธรรมที่ควรบรรลุ) ในเรื่อง สุข 2 (สามิส นิรามิส) มรรค (ธรรมที่ควรเจริญ) ในเรื่อง บุพพนิมิตของมัชฌิมาปฏิปทา ดรุณธรรรม 6 กุลจิรัฏฐิติธรรม 4 กุศลกรรมบถ 10 สติปัฏฐาน 4 มงคล 38 ในเรื่อง ประพฤติธรรม เว้นจากความชั่ว เว้นจากการดื่มน้ำเมา พุทธศาสนสุภาษิต กมฺมุนา วตฺตติ โลโก กลฺยาณการี กลฺยาณํ ปาปการี จ ปาปกํ สุโข ปุญฺญสฺส อุจฺจโย ปูชโก ลภเต ปูชํ วนฺทโก ปฏิวนฺทนํ การพัฒนาจิตเพื่อ การเรียนรู้และดำเนินชีวิตด้วยวิธีคิดแบบอุบายปลุกเร้าคุณธรรม และวิธีคิดแบบอรรถธรรมสัมพันธ์ สวดมนต์แปล แผ่เมตตา บริหารจิตและเจริญปัญญาด้วยอานาปานสติ มีมรรยาทของความเป็นศาสนิกชนที่ดี ปฏิบัติตนในศาสนพิธี พิธีกรรม และหลักคำสอนที่เกี่ยวเนื่องกับวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา โดยใช้กระบวนการคิด กระบวนการสืบค้นข้อมูล กระบวนการทางสังคม กระบวนการปฏิบัติ กระบวนการเผชิญสถานการณ์และแก้ปัญหา เพื่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ สามารถนำไปปฏิบัติในการดำเนินชีวิต นำไปพัฒนาและแก้ปัญหาของชุมชนและสังคม มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ในด้านรักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย ใฝ่เรียนรู้อยู่อย่างพอเพียง มุ่งมั่นในการทำงาน รักความเป็นไทย มีจิตสาธารณะ สามารถดำเนินชีวิตอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติสุข

ตัวชี้วัด ส 1.1 ม.2/1 ม.2/2 ม.2/3 ม.2/4 ม.2/5 ม.2/6 ม.2/7 ม.2/8 ม.2/9 ม.2/10 ม.2/11 ส 1.2 ม.2/1 ม.2/2 ม.2/3 ม.2/4 ม.2/5 รวม 16 ตัวชี้วัด

โรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภชบางเขน สรุปแนวการสอน กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม รายวิชา สังคมศึกษา รหัสวิชา ส22101 (พระพุทธศาสนา – หน้าที่พลเมืองฯ) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 1.5 หน่วยกิต เวลา 60 ชั่วโมง/ปี ครูผู้สอน นางสาวพรพรรณ ศรีอุบล นางสาวดวงกมล ตระกูลพัว นายลองฤทธิ์ สังข์สาลี

  1. สาระการเรียนรู้ที่ 2 หน้าที่พลเมือง และการดำเนินชีวิตในสังคม มาตรฐาน ส 2.1 เข้าใจและปฏิบัติตนตามหน้าที่ของการเป็นพลเมืองดี มีค่านิยมที่ดีงามและธำรงรักษาประเพณีและวัฒนธรรมไทย ดำรงชีวิตอยู่ร่วมกันในสังคมไทยและสังคมโลกอย่างสันติสุข มาตรฐาน ส 2.2 เข้าใจระบบการเมืองการปกครองในสังคมปัจจุบัน ยึดมั่น ศรัทธาและธำรงรักษาไว้ซึ่ง การปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
  2. คำอธิบายรายวิชา/สาระการเรียนรู้ที่ 2 หน้าที่พลเมือง และการดำเนินชีวิตในสังคม เวลา 20 ชั่วโมง ศึกษาวิเคราะห์บทบาท ความสำคัญและความสัมพันธ์ของสถาบันทางสังคม ความคล้ายคลึงและความแตกต่างของวัฒนธรรมไทย และวัฒนธรรมของประเทศในภูมิภาคเอเชีย เพื่อนำไปสู่ความเข้าใจอันดีระหว่างกัน ข้อมูลข่าวสารทางการเมืองการปกครองที่มีผลกระทบต่อสังคมไทยสมัยปัจจุบัน กระบวนการในการตรากฎหมาย การปกป้องคุ้มครองผู้อื่นตามหลักสิทธิมนุษยชน การปฏิบัติตนตามสถานภาพ บทบาท สิทธิเสรีภาพ และหน้าที่ในฐานะพลเมืองดี โดยใช้กระบวนการคิด กระบวนการสืบค้นข้อมูล กระบวนการทางสังคม กระบวนการเผชิญสถานการณ์และแก้ปัญหา กระบวนการปฏิบัติ และกระบวนการกลุ่ม เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจ และปฏิบัติตนตามหน้าที่ของการเป็นพลเมืองดี ดำรงชีวิตร่วมกันในสังคมไทย และสังคมโลกอย่างสันติสุข มีคุณธรรมจริยธรรม และมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ในด้านรักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ มุ่งมั่นในการทำงาน มีจิตสาธารณะ รักความเป็นไทย

ตัวชี้วัด ส 2.1 ม.2/1 ม.2/2 ม.2/3 ม.2/4 ส 2.2 ม.2/1 ม.2/2 รวม 6 ตัวชี้วัด

  1. ตัวชี้วัด/ผลการเรียนรู้ (พระพุทธศาสนา) ข้อที่ ผลการเรียนรู้ ตัวชี้วัด 1 อธิบายการเผยแผ่พระพุทธศาสนา หรือศาสนาที่ตนนับถือสู่ประเทศเพื่อนบ้าน ส 1.1 ม.2/1 2 วิเคราะห์ความสำคัญของพระพุทธ- ศาสนา หรือศาสนาที่ตนนับถือที่ช่วยเสริมสร้างความเข้าใจอันดีกับประเทศเพื่อนบ้าน ส 1.1 ม.2/2 3 วิเคราะห์ความสำคัญของพระพุทธศาสนา หรือศาสนาที่ตนนับถือในฐานะที่เป็นรากฐานของวัฒนธรรม เอกลักษณ์ของชาติและมรดกของชาติ ส 1.1 ม.2/3 4 อภิปรายความสำคัญของพระพุทธศาสนาหรือศาสนาที่ตนนับถือกับการพัฒนาชุมชนและการจัดระเบียบสังคม ส 1.1 ม.2/4 5 วิเคราะห์พุทธประวัติหรือประวัติศาสดาของศาสนาที่ตนนับถือตามที่กำหนด ส 1.1 ม.2/5 6 วิเคราะห์และประพฤติตนตามแบบอย่างการดำเนินชีวิตและข้อคิดจากประวัติสาวก ชาดก/เรื่องเล่าและศาสนิกชนตัวอย่างตามที่กำหนด ส 1.1 ม.2/6 7 อธิบายโครงสร้าง และสาระสังเขปของพระไตรปิฎก หรือคัมภีร์ของศาสนาที่ตนนับถือ ส 1.1 ม.2/7 8 อธิบายธรรมคุณ และข้อธรรมสำคัญในกรอบอริยสัจ ๔ หรือหลักธรรมของศาสนาที่ตนนับถือ ตามที่กำหนด เห็นคุณค่าและนำไปพัฒนา แก้ปัญหาของชุมชนและสังคม ส 1.1 ม.2/8 9 เห็นคุณค่าของการพัฒนาจิตเพื่อการเรียนรู้และดำเนินชีวิต ด้วยวิธีคิดแบบโยนิโสมนสิการ คือ วิธีคิดแบบอุบายปลุกเร้าคุณธรรม และวิธีคิดแบบอรรถธรรมสัมพันธ์ หรือการพัฒนาจิตตามแนวทางของศาสนาที่ตนนับถือ ส 1.1 ม.2/9 10 สวดมนต์ แผ่เมตตา บริหารจิตและเจริญปัญญาด้วยอานาปานสติ หรือตามแนวทางของศาสนาที่ตนนับถือ ส 1.1 ม.2/10 11 วิเคราะห์การปฏิบัติตนตามหลักธรรมทางศาสนาที่ตนนับถือ เพื่อการดำรงตนอย่างเหมาะสม ในกระแสความเปลี่ยนแปลงของโลก และการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข ส 1.1 ม.2/11 12 ปฏิบัติตนอย่างเหมาะสมต่อบุคคลต่างๆ ตามหลักศาสนาที่ตนนับถือตามที่กำหนด ส 1.2 ม.2/1 13 มีมรรยาทของความเป็นศาสนิกชนที่ดี ตามที่กำหนด ส 1.2 ม.2/2 14 วิเคราะห์คุณค่าของศาสนพิธี และปฏิบัติตนได้ถูกต้อง ส 1.2 ม.2/3 15 อธิบายคำสอนที่เกี่ยวเนื่องกับวันสำคัญทางศาสนา และปฏิบัติตนได้ถูกต้อง ส 1.2 ม.2/4 16 อธิบายความแตกต่างของศาสนพิธีพิธีกรรม ตามแนวปฏิบัติของศาสนาอื่น ๆ เพื่อนำไปสู่การยอมรับ และความเข้าใจซึ่งกันและกัน ส 1.2 ม.2/5

  2. ตัวชี้วัด/ผลการเรียนรู้ (หน้าที่พลเมืองฯ) ข้อที่ ผลการเรียนรู้ ตัวชี้วัด 1 อธิบายและปฏิบัติตนตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับตนเอง ครอบครัว ชุมชนและประเทศ ส 2.1 ม.2/1 2 เห็นคุณค่าในการปฏิบัติตนตามสถานภาพ บทบาท สิทธิ เสรีภาพ หน้าที่ในฐานะพลเมืองดี ตามวิถีประชาธิปไตย ส 2.1 ม.2/2 3 วิเคราะห์บทบาท ความสำคัญ และความสัมพันธ์ของสถาบันทางสังคม ส 2.1 ม.2/3 4 อธิบายความคล้ายคลึงและความแตกต่างของวัฒนธรรมไทย และวัฒนธรรมของประเทศในภูมิภาคเอเชีย เพื่อนำไปสู่ความเข้าใจอันดีระหว่างกัน ส 2.1 ม.2/4 5 5. อธิบายกระบวนการในการตรากฎหมาย ส 2.2 ม.2/1 6 6. วิเคราะห์ข้อมูล ข่าวสารทางการเมืองการปกครองที่มีผลกระทบต่อสังคมไทยสมัยปัจจุบัน ส 2.2 ม.2/2

โครงสร้างรายวิชา รหัสวิชา ส22101 รายวิชาสังคมศึกษา ชั้น ม.2 เวลาเรียน 40 ชั่วโมง (สาระการเรียนรู้ที่ 1 ศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม) ลำดับที่ รหัสตัวชี้วัด/ ผลการเรียนรู้ สาระสำคัญ(key concept) ชื่อหน่วยการเรียนรู้ เวลา(ชั่วโมง) น้ำหนักคะแนน 1 ส 1.1 ม.2/1 พระพุทธศาสนาเผยแผ่เข้าสู่ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ตั้งแต่การทำสังคายนาพระไตรปิฎกครั้งที่ 3 โดยการอุปถัมภ์ของ พระเจ้าอโศกมหาราชส่งสมณทูตคือ พระโสณะเถระและพระอุตตระเถระเข้ามา เผยแผ่พระพุทธศาสนา การเผยแผ่พระพุทธศาสนา เข้าสู่ประเทศเพื่อนบ้าน 2 2 ส 1.1 ม.2/2 หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาที่ช่วยเสริมสร้างความเข้าใจอันดีกับประเทศเพื่อนบ้าน ได้แก่ หลักสาราณียธรรม 6 และหลักสังคหวัตถุ 4 ความสำคัญของพระพุทธศาสนาที่ช่วยเสริมสร้างความเข้าใจอันดีกับประเทศเพื่อนบ้าน 1 3 ส 1.1 ม.2/3 รากฐานทางวัฒนธรรมไทยรวมถึงเอกลักษณ์และมรดกของชาติล้วนมีที่มา จากพระพุทธศาสนา ความสำคัญของพระพุทธศาสนาต่อสังคมไทยในฐานะเป็นรากฐานของวัฒนธรรม เอกลักษณ์ และมรดกของชาติ 1 4 ส 1.1 ม.2/4 พระพุทธศาสนามีบทบาทสำคัญในการพัฒนาชาติไทยตั้งแต่สมัยเริ่มต้นประวัติศาสตร์ชาติไทย หลักธรรมทางพระพุทธศาสนามีความสำคัญในการพัฒนาชุมชนและจัดระเบียบของสังคมไทยทั้งด้านการปกครอง การศึกษา ประเพณี วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิต ความสำคัญของพระพุทธศาสนากับการพัฒนาชุมชนและการจัดระเบียบสังคม 2 5 ส 1.1 ม.2/5 พุทธประวัติเหตุการณ์ช่วงผจญมาร การตรัสรู้และการสอนธรรมของพระพุทธเจ้าเป็นแบบอย่างการบำเพ็ญความดีเพื่อประโยชน์ตนและผู้อื่น นำมาซึ่งความสุขความเจริญและความสงบแห่งชีวิต สรุปและวิเคราะห์ พุทธประวัติ 3

โครงสร้างรายวิชา (ต่อ) รหัสวิชา ส22101 รายวิชาสังคมศึกษา ชั้น ม.2 เวลาเรียน 40 ชั่วโมง (สาระการเรียนรู้ที่ 1 ศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม) ลำดับที่ รหัสตัวชี้วัด/ ผลการเรียนรู้ สาระสำคัญ(key concept) ชื่อหน่วยการเรียนรู้ เวลา(ชั่วโมง) น้ำหนักคะแนน 6 ส 1.1 ม.2/6 การศึกษาประวัติของพุทธสาวก พุทธสาวิกา ชาดก และศาสนิกชนตัวอย่าง เป็นการเสริมสร้างศรัทธาในพระพุทธศาสนา เพื่อนำแบบอย่างที่ดีมาดำเนินชีวิต พุทธสาวก พุทธสาวิกา ชาดก และพุทธศาสนิกชนตัวอย่าง 4

7 ส 1.1 ม.2/7 พระไตรปิฎก เป็นคัมภีร์สำคัญของพระพุทธศาสนา เป็นหลักฐานที่เก็บรวบรวมคำสอนของพระพุทธเจ้าไว้เป็นมรดกสืบทอดพระพุทธศาสนา พระไตรปิฎก 3

8 ส 1.1 ม.2/8 พระธรรมคุณเป็นหนึ่งในองค์ประกอบ ของพระรัตนตรัย อริยสัจ 4 เป็นหลักธรรมความจริง แห่งชีวิต เป็นหลักของเหตุและผล เป็นหัวใจหลักของคำสอนทางพระพุทธศาสนา และพุทธศาสน- สุภาษิตเป็นคติธรรมคำสอน บทสั้นที่เป็นคำสอนให้ปฏิบัติตาม เพื่อความสุขของชีวิต ธรรมคุณและข้อธรรมสำคัญในกรอบอริยสัจ 4 6 9 ส 1.1 ม.2/9 โยนิโสมนสิการ การใช้ความคิดที่ถูกวิธี การกระทำในใจโดยแยบคาย มองสิ่งทั้งหลายด้วยความคิดพิจารณา สืบค้นถึงต้นเค้า สาวหาเหตุผล จนตลอดสาย แยกแยะออกพิเคราะห์ ดูด้วยปัญญาที่คิด เป็นระเบียบ และโดยอุบายวิธีคิดให้เห็นสิ่งปัญหานั้น ๆ หรือปัญหานั้น ๆ ตามสภาวะ และตามความสัมพันธ์แห่งเหตุปัจจัย

การพัฒนาจิตเพื่อการเรียนรู้ และดำเนินชีวิตด้วยวิธีคิดแบบ

โยนิโสมนสิการ 2

โครงสร้างรายวิชา (ต่อ) รหัสวิชา ส22101 รายวิชาสังคมศึกษา ชั้น ม.2 เวลาเรียน 40 ชั่วโมง (สาระการเรียนรู้ที่ 1 ศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม) ลำดับที่ รหัสตัวชี้วัด/ ผลการเรียนรู้ สาระสำคัญ(key concept) ชื่อหน่วยการเรียนรู้ เวลา(ชั่วโมง) น้ำหนักคะแนน 10 ส 1.1 ม.2/10 การสวดมนต์ แผ่เมตตา บริหารจิต และเจริญปัญญา เป็นวิธีการที่ทำให้จิตเกิดสมาธิและ มีปัญญา ช่วยยกระดับจิตใจให้สูงขึ้นและมีประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิต การสวดมนต์แปล
แผ่เมตตา บริหารจิต และเจริญปัญญา 3 11 ส 1.1 ม.2/11 หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาเป็นหลักธรรมที่สามารถนำมาใช้ปฏิบัติในชีวิตประจำวันตามกระแสความเปลี่ยนแปลงของโลกได้ทุกยุคสมัย และสร้างการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขในสังคม การปฏิบัติตนตามหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา เพื่อการดำรงตนอย่างเหมาะสมในกระแสความเปลี่ยนแปลงของโลกและการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข 2 12 ส 1.2 ม.2/1 ทิศ 6 ในพระพุทธศาสนา เป็นการกำหนดบทบาทหน้าที่ที่พึงปฏิบัติต่อกันของบุคคลประเภทต่าง ๆ ที่มีความสัมพันธ์กันทางสังคมดุจทิศที่อยู่รอบตัวเพื่อสร้างความสงบสุข และความสัมพันธ์ที่ดี ต่อกันในสังคม การเป็นลูกที่ดีตามหลักทิศเบื้องต้นในทิศ 6 1 13 ส 1.2 ม.2/2 การปฏิสันถาร การปฏิบัติตนต่อพระภิกษุ การแต่งกายให้เหมาะสมกับกาลเทศะเป็นมรรยาทที่พุทธศาสนิกชนพึงปฏิบัติตน มรรยาทของพุทธศาสนิกชนที่ดี 3 14 ส 1.2 ม.2/3 ศาสนพิธีหรือพิธีกรรม เป็นระเบียบแบบแผนที่ดีงามที่นำผู้ปฏิบัติให้เกิดความศรัทธาปฏิบัติตนไปสู่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนาและเป็นการสืบต่ออายุพระพุทธศาสนาให้เจริญมั่นคงสืบไป คุณค่าของศาสนพิธี และการปฏิบัติตนได้อย่างถูกต้อง 3 15 ส 1.2 ม.2/4 ในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา พุทธศาสนิกชนควรเข้าร่วมประกอบพิธีกรรมตามระเบียบพิธีปฏิบัติ เพื่อน้อมนำหลักธรรมคำสอนที่เกี่ยวข้องมายึดถือปฏิบัติเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา และการปฏิบัติตน ได้ถูกต้อง 2

โครงสร้างรายวิชา (ต่อ) รหัสวิชา ส22101 รายวิชาสังคมศึกษา ชั้น ม.2 เวลาเรียน 40 ชั่วโมง (สาระการเรียนรู้ที่ 1 ศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม) ลำดับที่ รหัสตัวชี้วัด/ ผลการเรียนรู้ สาระสำคัญ(key concept) ชื่อหน่วยการเรียนรู้ เวลา(ชั่วโมง) น้ำหนักคะแนน 16 ส 1.2 ม.2/5 สังคมไทยประกอบด้วยผู้ที่นับถือศาสนาต่าง ๆ กัน ศาสนาทุกศาสนามีศาสนพิธี พิธีกรรมและแนวปฏิบัติที่แตกต่างกันออกไป เราจึงควรศึกษาเรียนรู้ให้เกิดความเข้าใจ เพื่อก่อให้เกิดความสัมพันธ์อันดีระหว่างผู้ที่นับถือศาสนาเดียวกัน และต่างศาสนากัน ศาสนพิธี พิธีกรรม ตามแนวปฏิบัติของ ศาสนาอื่น ๆ 2 ประเมินผล (สอบกลางภาคเรียน) รวม 40 50


ClassStart ให้บริการฟรีโดย บริษัท ปิยะวัฒนา จำกัด
เราเป็นกิจการเพื่อสังคม (Social Enterprise)
สนับสนุนโดย
ผู้ไม่ประสงค์ออกนามท่านหนึ่ง (2563-2566)
มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์ (2561-2563)
กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (2557-2558)
กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (2557)
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (2554-2558)
GotoKnow
ClassStart Books