มัธยมศึกษาปีที่ 2 สาระศิลปะ (ทัศนศิลป์ ดนตรี นาฏศิลป์)


ผู้สอน
ครู ณัฐศักดิ์ สมพงษ์
เข้าสู่ระบบเมื่อ ประมาณ 4 ปี ที่แล้ว

ชื่อวิชา
มัธยมศึกษาปีที่ 2 สาระศิลปะ (ทัศนศิลป์ ดนตรี นาฏศิลป์)

รหัสวิชา
44267

สถานศึกษา
โรงเรียนบ้านขนุน(วันธรรมศาสตร์ศรีสะเกษ 2515)

คำอธิบายวิชา

คำอธิบายรายวิชา

รายวิชา ศิลปะพื้นฐาน ๓ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒

รหัสวิชา ศ๒๒๑๐๑ เวลา ๔๐ ชั่วโมง/ภาคเรียน จำนวน ๑ หน่วยกิต

              บรรยาย อภิปรายถึงทัศนธาตุ ในรูปแบบการนำเสนอและแนวคิดของงานทัศนศิลป์ ที่เลือกบรรยายถึงความเหมือนและแตกต่างของรูปแบบ เทคนิค การใช้วัสดุอุปกรณ์ในงานทัศนศิลป์ของศิลปินศึกษา เทคนิค  หลักการวาดภาพสื่อความหมาย เรื่องราวต่าง ๆ  ศึกษา การสร้างเกณฑ์ประเมินและวิจารณ์งานทัศนศิลป์  บรรยาย เกี่ยวกับวัฒนธรรมที่สะท้อนในงานทัศนศิลป์ในปัจจุบัน เปรียบเทียบงานทัศนศิลป์ของไทยในแต่ละยุคสมัย บรรยาย ถึงการเปลี่ยนแปลงของงานทัศนศิลป์ในแต่ละยุคสมัย โดยเน้นถึงแนวคิด และเนื้อหา   วาดภาพสื่อความหมายเรื่องราวต่าง ๆ รอบตัว แสดง ความประทับใจ ความเป็นไปในสังคมหรือชุมชน ด้วยเทคนิค ลายเส้นดินสอ ลายเส้นปากกา สีชอร์ค สีน้ำ สีโปสเตอร์ 

จัดทำแฟ้มผลงาน แลกเปลี่ยนเรียนรู้ หรือจัดแสดงผลงานให้เพื่อนๆได้ชื่นชมและร่วมชื่นชมผลงานของผู้อื่น ประเมินวิจารณ์ด้วยความชื่นชม และปรับปรุงแก้ไข เปรียบเทียบถึงองค์ประกอบดนตรีที่มาจากวัฒนธรรมที่ต่างกัน ศึกษา หลักการอ่าน, เขียน,ร้องโน้ตไทยและโน้ตสากล ที่มีเครื่องหมายแปลงเสียง หรือสัญลักษณ์ทางดนตรี ระบุถึงปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการสร้างสรรค์งานดนตรี บรรยายบทบาทและอิทธิพลของดนตรีในวัฒนธรรมของประเทศต่าง ๆ อ่าน,เขียน ,ร้อง โน้ตเพลงไทยอัตราจังหวะ สองชั้น, โน้ตสากล (มีเครื่องหมายแปลงเสียง)

แต่งบทเพลงง่ายๆ ถ่ายทอดเรื่องราวความคิดตามจินตนาการ หรือเรื่องราวในชีวิตประจำวัน เรื่องราวในท้องถิ่น ล้านนา มีความคิดสร้างสรรค์ ถ่ายทอดบทเพลงได้อย่างซาบซึ้งน่าชื่นชม

ระบุ ถึงศิลปะแขนงอื่น ๆที่บูรณาการ และเกี่ยวเนื่องกับการแสดง เช่น เรื่อง แสง สี เสียง ฉาก เครื่องแต่งกาย ตลอดจน อุปกรณ์อื่น ๆ อธิบายหลักและวิธีการสร้างสรรค์การแสดงโดยใช้องค์ประกอบนาฏศิลป์และการละคร ระบุ อธิบายถึงหลักการวิเคราะห์การแสดง เปรียบเทียบลักษณะเฉพาะตัวของนาฏศิลป์พื้นเมือง เรื่อง ที่มา ,ความหมาย, วัฒนธรรม

จัดการแสดงเรื่องราวง่ายๆ จากนิทาน นิยายในท้องถิ่น หรือความเป็นไปในสังคมรอบด้าน หรือตามจินตนาการ เลียนแบบละครไทยในแต่ละยุค โดยใช้ การจัดแสง สี เสียง ฉาก เครื่องแต่งกาย อุปกรณ์ประกอบอื่น ๆ อย่างครบองค์ประกอบ ทางนาฎศิลป์และการละคร

ออกแบบประเมินและประเมิน การแสดง สร้างสรรค์และถ่ายทอด การแสดงด้วยองค์ประกอบต่างๆ อย่างครบถ้วนและชื่นชม ร่วมกัน

ตัวชี้วัด ศ ๑.๑ (ม ๒/๑), (ม ๒/๒), (ม ๒/๓) (ม ๒/๔), (ม ๒/๕) ศ ๑.๒ (ม ๒/๑), (ม ๒/๒) ศ ๒.๑ (ม ๒/๑), (ม ๒/๒) , (ม ๒/๓) ศ ๒.๒ (ม ๒/๑) ศ ๓.๑ (ม ๒/๑), (ม ๒/๒), (ม ๒/๓) ศ ๓.๒ (ม ๒/๑) รวม ๑๕ ตัวชี้วัด


ClassStart ให้บริการฟรีโดย บริษัท ปิยะวัฒนา จำกัด
เราเป็นกิจการเพื่อสังคม (Social Enterprise)
สนับสนุนโดย
ผู้ไม่ประสงค์ออกนามท่านหนึ่ง (2563-2566)
มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์ (2561-2563)
กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (2557-2558)
กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (2557)
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (2554-2558)
GotoKnow
ClassStart Books